ผลวิจัยชี้ “จีน-อินเดีย” มีผู้ป่วยทางจิตมากกว่า 1 ใน 3 ของโลก แต่น้อยคนที่ได้รับการรักษา
เอเอฟพี - ผลวิจัยล่าสุดชี้จีนและอินเดียเป็นบ้านของประชากรที่ป่วยทางจิตมากกว่า 1 ใน 3 ของโลกแต่มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ได้รับการรักษา
งานวิจัย 3 ชิ้นที่เผยแพร่ลงในวารสารการแพทย์ เดอะ แลนเซ็ต และ เดอะ แลนเซ็ต ไซไคอะทรี วันนี้ (18 พ.ค.) เนื่องในโอกาสการก่อตั้งพันธมิตรสุขภาพจิตจีน-อินเดีย (China-India Mental Health Alliance) ระบุว่า ทั้ง 2 ชาติยังไม่มีทรัพยากรเพียงพอที่จะรับมือกับปัญหาสุขภาพจิตของพลเมือง
ผลการศึกษาพบว่า จีนและอินเดียมีประชากรที่ประสบปัญหาสุขภาพจิต ประสาท และโรคทางจิตเวชที่เกิดจากการใช้สารเสพติด มากกว่าในกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูงทั่วโลกรวมกันเสียอีก และปัญหานี้จะยิ่งเป็นภาระหนักแก่รัฐบาลในอีกไม่กี่ทศวรรษหน้า โดยเฉพาะอินเดีย ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ป่วยทางจิตเพิ่มขึ้นอีก 1 ใน 4 ภายในปี2025
จีนจะต้องเตรียมรับมือกับจำนวนผู้ป่วยสมองเสื่อม (dementia) ที่เพิ่มขึ้นตามอายุประชากร ซึ่งเป็นผลพวงมาจากนโยบายคุมกำเนิดเข้มงวดที่ใช้มานานกว่า 35 ปี งานวิจัยพบว่า ชาวจีนที่มีปัญหาสุขภาพจิตเล็กๆ น้อยๆ เช่น โรคเครียด หรือโรควิตกกังวล รวมไปถึงผู้ที่มีอาการทางจิตจากการใช้สารเสพติด และผู้ป่วยความจำเสื่อม ได้เดินทางไปพบแพทย์เพียงราวๆ6%เท่านั้น
ไมเคิล ฟิลลิปส์ หนึ่งในหัวหน้าคณะผู้เรียบเรียงรายงาน และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเอมอรีในเมืองแอตแลนตา และมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทง (Shanghai Jiao Tong University) ระบุว่า “ความขาดแคลนบุคลากรทางด้านจิตเวชในพื้นที่ชนบทของจีน...รุนแรงเป็นพิเศษ”
ชาวจีนกว่าครึ่งที่มีอาการป่วยทางจิตขั้นรุนแรง เช่น โรคจิตเภท (Schizophrenia) ยังไม่เคยได้รับการดูแลจากแพทย์ส่วนสถิติที่อินเดียก็ไม่แตกต่างกันนัก ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตในกลุ่มประเทศร่ำรวยนั้นมีโอกาสเข้าถึงการรักษาสูงกว่า70%ขึ้นไป
ในแง่ของงบประมาณ ที่รัฐใช้จ่ายเพื่อรับมือปัญหาสุขภาพจิตของประชาชนก็แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและชาติมหาอำนาจ จีนและอินเดียจัดสรรงบประมาณสาธารณสุขเพื่อดูแลปัญหาสุขภาพจิตไม่ถึง 1% ในขณะที่สหรัฐฯ ทุ่มงบให้แก่งานด้านนี้ถึง 6% ส่วนเยอรมนีและฝรั่งเศสก็มากกว่า 10% ขึ้นไป
แม้ปักกิ่งและนิวเดลีจะเริ่มมีนโยบายเชิงรุกเพื่อช่วยเหลือพลเมืองที่ป่วยทางจิต แต่สถานการณ์ในภาพรวมก็ยังไม่ดีขึ้นเท่าไหร่ “ช่องว่างด้านการรักษาพยาบาลยังคงกว้างมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท” วิกราม ปาเตลอาจารย์จากวิทยาลัยสุขภาพและเวชศาสตร์เขตร้อนมหาวิทยาลัยลอนดอนเอ่ยถึงสถานการณ์ในอินเดีย
รายงานชุดนี้ สรุปว่า ระบบการแพทย์ของจีนและอินเดียอาจต้องใช้เวลาอีกหลายสิบปีกว่าจะเติมเต็มช่องว่างเหล่านี้ได้ พร้อมทั้งเสนอแนะให้มีการฝึกฝนเพิ่มเติมแก่เหล่าผู้ปฏิบัติโยคะในอินเดีย หรือหมอสมุนไพรในจีน ให้ตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาสุขภาพจิต และเข้ามามีส่วนช่วยดูแลประชาชนในด้านนี้
ขอบคุณ... http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000049906 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ผลวิจัยชี้ “จีน-อินเดีย” มีผู้ป่วยทางจิตมากกว่า 1 ใน 3 ของโลก แต่น้อยคนที่ได้รับการรักษา เอเอฟพี - ผลวิจัยล่าสุดชี้จีนและอินเดียเป็นบ้านของประชากรที่ป่วยทางจิตมากกว่า 1 ใน 3 ของโลกแต่มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ได้รับการรักษา งานวิจัย 3 ชิ้นที่เผยแพร่ลงในวารสารการแพทย์ เดอะ แลนเซ็ต และ เดอะ แลนเซ็ต ไซไคอะทรี วันนี้ (18 พ.ค.) เนื่องในโอกาสการก่อตั้งพันธมิตรสุขภาพจิตจีน-อินเดีย (China-India Mental Health Alliance) ระบุว่า ทั้ง 2 ชาติยังไม่มีทรัพยากรเพียงพอที่จะรับมือกับปัญหาสุขภาพจิตของพลเมือง ผลการศึกษาพบว่า จีนและอินเดียมีประชากรที่ประสบปัญหาสุขภาพจิต ประสาท และโรคทางจิตเวชที่เกิดจากการใช้สารเสพติด มากกว่าในกลุ่มประเทศที่มีรายได้สูงทั่วโลกรวมกันเสียอีก และปัญหานี้จะยิ่งเป็นภาระหนักแก่รัฐบาลในอีกไม่กี่ทศวรรษหน้า โดยเฉพาะอินเดีย ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ป่วยทางจิตเพิ่มขึ้นอีก 1 ใน 4 ภายในปี2025 จีนจะต้องเตรียมรับมือกับจำนวนผู้ป่วยสมองเสื่อม (dementia) ที่เพิ่มขึ้นตามอายุประชากร ซึ่งเป็นผลพวงมาจากนโยบายคุมกำเนิดเข้มงวดที่ใช้มานานกว่า 35 ปี งานวิจัยพบว่า ชาวจีนที่มีปัญหาสุขภาพจิตเล็กๆ น้อยๆ เช่น โรคเครียด หรือโรควิตกกังวล รวมไปถึงผู้ที่มีอาการทางจิตจากการใช้สารเสพติด และผู้ป่วยความจำเสื่อม ได้เดินทางไปพบแพทย์เพียงราวๆ6%เท่านั้น ไมเคิล ฟิลลิปส์ หนึ่งในหัวหน้าคณะผู้เรียบเรียงรายงาน และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเอมอรีในเมืองแอตแลนตา และมหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทง (Shanghai Jiao Tong University) ระบุว่า “ความขาดแคลนบุคลากรทางด้านจิตเวชในพื้นที่ชนบทของจีน...รุนแรงเป็นพิเศษ” ชาวจีนกว่าครึ่งที่มีอาการป่วยทางจิตขั้นรุนแรง เช่น โรคจิตเภท (Schizophrenia) ยังไม่เคยได้รับการดูแลจากแพทย์ส่วนสถิติที่อินเดียก็ไม่แตกต่างกันนัก ในทางตรงกันข้าม ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตในกลุ่มประเทศร่ำรวยนั้นมีโอกาสเข้าถึงการรักษาสูงกว่า70%ขึ้นไป ในแง่ของงบประมาณ ที่รัฐใช้จ่ายเพื่อรับมือปัญหาสุขภาพจิตของประชาชนก็แตกต่างอย่างเห็นได้ชัดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและชาติมหาอำนาจ จีนและอินเดียจัดสรรงบประมาณสาธารณสุขเพื่อดูแลปัญหาสุขภาพจิตไม่ถึง 1% ในขณะที่สหรัฐฯ ทุ่มงบให้แก่งานด้านนี้ถึง 6% ส่วนเยอรมนีและฝรั่งเศสก็มากกว่า 10% ขึ้นไป แม้ปักกิ่งและนิวเดลีจะเริ่มมีนโยบายเชิงรุกเพื่อช่วยเหลือพลเมืองที่ป่วยทางจิต แต่สถานการณ์ในภาพรวมก็ยังไม่ดีขึ้นเท่าไหร่ “ช่องว่างด้านการรักษาพยาบาลยังคงกว้างมาก โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบท” วิกราม ปาเตลอาจารย์จากวิทยาลัยสุขภาพและเวชศาสตร์เขตร้อนมหาวิทยาลัยลอนดอนเอ่ยถึงสถานการณ์ในอินเดีย รายงานชุดนี้ สรุปว่า ระบบการแพทย์ของจีนและอินเดียอาจต้องใช้เวลาอีกหลายสิบปีกว่าจะเติมเต็มช่องว่างเหล่านี้ได้ พร้อมทั้งเสนอแนะให้มีการฝึกฝนเพิ่มเติมแก่เหล่าผู้ปฏิบัติโยคะในอินเดีย หรือหมอสมุนไพรในจีน ให้ตระหนักถึงความรุนแรงของปัญหาสุขภาพจิต และเข้ามามีส่วนช่วยดูแลประชาชนในด้านนี้ ขอบคุณ... http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000049906
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)