จ้างงานคนพิการ กฎหมายไม่ขลัง
พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2556 กำหนดมาตรการสำคัญไว้ เพื่อส่งเสริมอาชีพและคุ้มครองการมีงานทำของคนพิการ หรือให้คนพิการมีโอกาสใช้ความสามารถ มีรายได้ และพึ่งพาตนเอง เพื่อลดภาระของครอบครัว
กฎหมายกำหนดให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างร่วมกัน ใน 3 วิธี ดังต่อไปนี้ 1. รับคนพิการเข้าทำงาน 2. ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือ 3. ให้สัมปทาน หรือสิทธิแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินในการประกอบอาชีพ
นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการทั้งรัฐและเอกชน จะเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งดังกล่าว หรืออาจเลือกใช้ 2 หรือ 3 วิธีผสมผสานกัน (วิธีการลูกผสม) กฎหมายก็เปิดช่องให้สามารถทำได้ ตามมาตรา 33 ของ พ.ร.บ.ฉบับนี้กำหนดให้นายจ้างหรือเจ้าของ สถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติงาน ตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป รับคนพิการที่สามารถทำงานได้ ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใด ในอัตราส่วนลูกจ้างฯ 100 คนต่อคนพิการ 1 คน โดยเศษของ 100 ที่เกิน 50 คน ให้รับคนพิการเพิ่มอีก 1 คน โดยนายจ้างจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีจำนวน 1 เท่าของค่าจ้างที่จ่ายให้แก่คนพิการ
ยกตัวอย่าง บริษัท โชคดี จำกัด มีลูกจ้าง 100 คน ตามกฎหมายจะต้องรับลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติงานที่พิการเข้าทำงานในบริษัทนี้ จำนวน 1 คน แต่ถ้าบริษัท โชคดี จำกัด มีลูกจ้างทั้งสิ้น 151 คน บริษัทจะต้องรับลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติงานที่พิการเข้าทำงานจำนวน 2 คน หรือหากบริษัทนี้มีลูกจ้าง 351 คนจะต้องรับลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติงานที่พิการเข้าทำงาน จำนวนทั้งสิ้น 4 คน เป็นต้น
แต่ถ้าบริษัท โชคดี จำกัด ไม่สะดวกที่จะทำตาม ม.33 กฎหมายให้ใช้ทางเลือกถัดมาใน ม.34 ซึ่งกำหนดให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่มิได้รับคนพิการเข้าทำงานตาม ม.33 และมิได้ดำเนินการตาม ม.35สามารถใช้วิธีนำส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นรายปี
โดยให้คำนวณจากอัตราค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมาย ที่ใช้บังคับหลังสุดในปีก่อนหน้าปีที่นำส่ง คูณด้วย 365 วันต่อคนพิการที่มิได้รับเข้าทำงาน 1 คน หากส่งล่าช้าหรือส่งไม่ครบให้เสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ของจำนวนเงินที่ยังไม่ได้นำส่ง แต่ถ้าได้รับคนพิการเข้าทำงานหรือส่งเงินเข้ากองทุนแล้ว มีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษี เป็นร้อยละของจำนวนเงินค่าจ้างที่จ่ายให้แก่คนพิการหรือที่ส่งเข้ากองทุนแล้วแต่กรณี
ตามมาตรา 35 กรณีที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ ไม่ประสงค์จะปฏิบัติตาม ม.33 และ 34 หน่วยงานของรัฐ นายจ้าง หรือเจ้าของสถานประกอบการนั้นๆ อาจใช้วิธีให้สัมปทาน จัดหาสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงาน หรือจ้างเหมาบริการ โดยวิธีกรณีพิเศษ ไม่ก็ฝึกงานหรือจัดให้มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ล่ามภาษามือหรือให้การช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการ หรือผู้ดูแลคนพิการแทนได้ เช่น บริษัท โชคดี จำกัด ไม่สะดวกที่จะจ้างคนพิการไว้ทำงาน และไม่ประสงค์จะส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เป็นรายปี ก็สามารถเลือกใช้มาตรการที่สามได้ เช่น จัดหาสถานที่ให้คนพิการสามารถเข้าไปขายสินค้าภายในบริษัท เป็นต้น
เมื่อนายจ้าง หรือผู้ประกอบการทำดี กฎหมายก็มีรางวัลให้ ตามมาตรา 38 ของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ซึ่งกำหนดให้ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่จ้างคนพิการมากกว่าร้อยละ 60 ของพนักงานทั้งหมดที่มีอยู่ โดยมีระยะเวลาจ้างเกินกว่า 180 วันในปีภาษีใด มีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น ในอัตรา 3 เท่าของค่าใช้จ่ายแต่ถ้าไม่ยอมทำตามที่กฎหมายกำหนด กฎหมายก็มีบทลงโทษเขียนไว้ใน ม.36 โดยให้อายัดทรัพย์สินของนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ ซึ่งไม่ยอมส่งเงินตาม ม.34
เบญจางค์ สุขจำนง ผู้จัดการแผนงานวิชาการ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ด้านเศรษฐกิจและสังคม มูลนิธิสร้างสรรค์สังคมและสุขภาวะ และ แก้วตา วิศวบำรุงชัย นักวิชาการของสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) ร่วมกันอธิบายว่า ทุกวันนี้ทั่วประเทศมีคนพิการทุกประเภทรวมกันประมาณ 1.5–1.6 ล้านคน โดยมีคนพิการที่อยู่ในวัยแรงงาน อายุตั้งแต่ 15-60 ปี ประมาณ 8 แสนคน (ข้อมูล ณ เดือน มิ.ย.2558)
แต่เมื่อพิจารณาจากสถิติการปฏิบัติตามกฎหมายเมื่อปี 2557 เทียบกับจำนวนสถานประกอบการทั่วประเทศ ซึ่งมีลูกจ้าง ตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ซึ่งมีอยู่ทั้งสิ้นจำนวน 12,469 แห่ง คำนวณออกมาแล้วมีคนพิการ ที่สถานประกอบการเหล่านั้นต้องรับเข้าทำงานรวมไม่น้อยกว่า 58,253 คน แต่ในความเป็นจริงมีสถานประกอบการที่รับคนพิการเข้าทำงาน ตาม ม.33 เพียงแค่ 24,492 ราย นอกนั้นหันไปใช้วิธีส่งเงินเข้ากองทุนฯตาม ม.34 หรือใช้วิธีให้สัมปทานตาม ม.35 แทนการจ้างงานคนพิการ
ทั้งคู่ตั้งข้อสังเกตว่า การที่สถานประกอบการหลายแห่งยังไม่รับคนพิการเข้าทำงานอาจเป็นเพราะมีข้อจำกัดบางประการ เช่น สถานที่ยังไม่พร้อม ยกตัวอย่าง หากรับคนพิการเข้าทำงาน ต้องจัดทำห้องน้ำใหม่ที่มีขนาดกว้างพอให้รถวีลแชร์สามารถเข้าไปได้มีทางลาดและ ราวจับสำหรับคนพิการ เป็นต้น
แก้วตาบอกว่า การปรับปรุงสถานที่เพื่อรองรับลูกจ้างหรือพนักงานที่พิการ กฎหมายกำหนดให้สามารถนำค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงไป หักลดหย่อนภาษีได้ อีกอย่าง ไม่เพียงแต่คนพิการจะได้รับประโยชน์ การปรับปรุงดังกล่าวยังเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกจ้างหรือพนักงาน ที่ตั้งครรภ์ ซึ่งมีความยากลำบากในการเคลื่อนไหวหรือลูกจ้างที่สูงอายุได้รับประโยชน์ด้วย
ขณะที่เบญจางค์เสริมว่า ที่จริงเจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการให้มีการจ้างงานหรือรับคนพิการเข้าทำงาน เพื่อขยายโอกาสให้คนพิการมีอาชีพ มีงานทำ และมีรายได้ เพราะวิธีนี้คนพิการจะได้รับประโยชน์โดยตรง การเลี่ยงไปใช้มาตรการอื่น เช่น ส่งเงินเข้ากองทุนฯ กว่าเงินจะตกถึงมือคนพิการต้องผ่านเงื่อนไขขั้นตอนการใช้เงินมากมาย ไม่เช่นนั้นก็ควรหันไปใช้วิธีรับซื้อผลิตภัณฑ์ที่คนพิการทำขายก็ยังดี
ทั้งคู่บอกว่า ถึงแม้ตัวเลขการรับคนพิการเข้าทำงานตามกฎหมาย ยังดูห่างไกลจากเป้าหมายที่ควรจะเป็น แต่ก็มีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะนายจ้างหรือผู้ประกอบการหลายคนยังไม่ทราบว่ามีกฎหมายดังกล่าวให้ต้องปฏิบัติ หรือทราบแต่อาจเป็นเพราะสภาพแวดล้อมในที่ทำงานยังไม่อำนวย หรืองานบางอย่าง การจะให้คนพิการทำอาจต้องใช้ผู้คอยช่วยเหลือเกื้อกูลเขาอีกทอด หรือต้องมีสิ่งเสริมเพิ่มเติมอำนวยความสะดวกในการทำงาน แต่ปัจจุบันก็มีหน่วยงานของรัฐและบริษัทหลายแห่งที่รับคนพิการไว้ทำงาน และสมควรได้รับการยกย่อง เช่น สปสช. สำนักพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.พิจิตร บริษัท เอไอเอส จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร รวมทั้งธุรกิจบริการตามร้านอาหารอีกหลายแห่ง เป็นต้น
“คนพิการส่วนใหญ่มีศักยภาพ สามารถทำงานได้ไม่ต่างกับคนร่างกายปกติ เพียงแต่สังคมยังไม่ค่อยเปิดโอกาสให้พวกเขาเท่าที่ควร การจะให้คนพิการออกมาใช้ชีวิตร่วมกับคนปกติ และเป็นที่ยอมรับในสังคม อย่าลืมว่าพวกเขาต้องอาศัยกำลังใจและแรงผลักดันมหาศาล หากเราช่วยกันหยิบยื่นโอกาสให้พวกเขา ย่อมช่วยกันลดปัญหาให้สังคมได้อีกทาง” เบญจางค์ทิ้งท้าย.
ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/542051 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เบญจางค์ สุขจำนง ผู้จัดการแผนงานวิชาการ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ด้านเศรษฐกิจและสังคม มูลนิธิสร้างสรรค์สังคมและสุขภาวะ และ แก้วตา วิศวบำรุงชัย นักวิชาการของสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2556 กำหนดมาตรการสำคัญไว้ เพื่อส่งเสริมอาชีพและคุ้มครองการมีงานทำของคนพิการ หรือให้คนพิการมีโอกาสใช้ความสามารถ มีรายได้ และพึ่งพาตนเอง เพื่อลดภาระของครอบครัว กฎหมายกำหนดให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างร่วมกัน ใน 3 วิธี ดังต่อไปนี้ 1. รับคนพิการเข้าทำงาน 2. ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือ 3. ให้สัมปทาน หรือสิทธิแก่คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินในการประกอบอาชีพ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการทั้งรัฐและเอกชน จะเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งดังกล่าว หรืออาจเลือกใช้ 2 หรือ 3 วิธีผสมผสานกัน (วิธีการลูกผสม) กฎหมายก็เปิดช่องให้สามารถทำได้ ตามมาตรา 33 ของ พ.ร.บ.ฉบับนี้กำหนดให้นายจ้างหรือเจ้าของ สถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติงาน ตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป รับคนพิการที่สามารถทำงานได้ ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งใด ในอัตราส่วนลูกจ้างฯ 100 คนต่อคนพิการ 1 คน โดยเศษของ 100 ที่เกิน 50 คน ให้รับคนพิการเพิ่มอีก 1 คน โดยนายจ้างจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีจำนวน 1 เท่าของค่าจ้างที่จ่ายให้แก่คนพิการ ยกตัวอย่าง บริษัท โชคดี จำกัด มีลูกจ้าง 100 คน ตามกฎหมายจะต้องรับลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติงานที่พิการเข้าทำงานในบริษัทนี้ จำนวน 1 คน แต่ถ้าบริษัท โชคดี จำกัด มีลูกจ้างทั้งสิ้น 151 คน บริษัทจะต้องรับลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติงานที่พิการเข้าทำงานจำนวน 2 คน หรือหากบริษัทนี้มีลูกจ้าง 351 คนจะต้องรับลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติงานที่พิการเข้าทำงาน จำนวนทั้งสิ้น 4 คน เป็นต้น แต่ถ้าบริษัท โชคดี จำกัด ไม่สะดวกที่จะทำตาม ม.33 กฎหมายให้ใช้ทางเลือกถัดมาใน ม.34 ซึ่งกำหนดให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่มิได้รับคนพิการเข้าทำงานตาม ม.33 และมิได้ดำเนินการตาม ม.35สามารถใช้วิธีนำส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการเป็นรายปี โดยให้คำนวณจากอัตราค่าแรงขั้นต่ำตามกฎหมาย ที่ใช้บังคับหลังสุดในปีก่อนหน้าปีที่นำส่ง คูณด้วย 365 วันต่อคนพิการที่มิได้รับเข้าทำงาน 1 คน หากส่งล่าช้าหรือส่งไม่ครบให้เสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ของจำนวนเงินที่ยังไม่ได้นำส่ง แต่ถ้าได้รับคนพิการเข้าทำงานหรือส่งเงินเข้ากองทุนแล้ว มีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษี เป็นร้อยละของจำนวนเงินค่าจ้างที่จ่ายให้แก่คนพิการหรือที่ส่งเข้ากองทุนแล้วแต่กรณี ตามมาตรา 35 กรณีที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ ไม่ประสงค์จะปฏิบัติตาม ม.33 และ 34 หน่วยงานของรัฐ นายจ้าง หรือเจ้าของสถานประกอบการนั้นๆ อาจใช้วิธีให้สัมปทาน จัดหาสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ จัดจ้างเหมาช่วงงาน หรือจ้างเหมาบริการ โดยวิธีกรณีพิเศษ ไม่ก็ฝึกงานหรือจัดให้มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวก ล่ามภาษามือหรือให้การช่วยเหลืออื่นใดแก่คนพิการ หรือผู้ดูแลคนพิการแทนได้ เช่น บริษัท โชคดี จำกัด ไม่สะดวกที่จะจ้างคนพิการไว้ทำงาน และไม่ประสงค์จะส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เป็นรายปี ก็สามารถเลือกใช้มาตรการที่สามได้ เช่น จัดหาสถานที่ให้คนพิการสามารถเข้าไปขายสินค้าภายในบริษัท เป็นต้น เมื่อนายจ้าง หรือผู้ประกอบการทำดี กฎหมายก็มีรางวัลให้ ตามมาตรา 38 ของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ซึ่งกำหนดให้ นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการที่จ้างคนพิการมากกว่าร้อยละ 60 ของพนักงานทั้งหมดที่มีอยู่ โดยมีระยะเวลาจ้างเกินกว่า 180 วันในปีภาษีใด มีสิทธิได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ในปีภาษีนั้น ในอัตรา 3 เท่าของค่าใช้จ่ายแต่ถ้าไม่ยอมทำตามที่กฎหมายกำหนด กฎหมายก็มีบทลงโทษเขียนไว้ใน ม.36 โดยให้อายัดทรัพย์สินของนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ ซึ่งไม่ยอมส่งเงินตาม ม.34 เบญจางค์ สุขจำนง ผู้จัดการแผนงานวิชาการ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ด้านเศรษฐกิจและสังคม มูลนิธิสร้างสรรค์สังคมและสุขภาวะ และ แก้วตา วิศวบำรุงชัย นักวิชาการของสถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ (สสพ.) ร่วมกันอธิบายว่า ทุกวันนี้ทั่วประเทศมีคนพิการทุกประเภทรวมกันประมาณ 1.5–1.6 ล้านคน โดยมีคนพิการที่อยู่ในวัยแรงงาน อายุตั้งแต่ 15-60 ปี ประมาณ 8 แสนคน (ข้อมูล ณ เดือน มิ.ย.2558) แต่เมื่อพิจารณาจากสถิติการปฏิบัติตามกฎหมายเมื่อปี 2557 เทียบกับจำนวนสถานประกอบการทั่วประเทศ ซึ่งมีลูกจ้าง ตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ซึ่งมีอยู่ทั้งสิ้นจำนวน 12,469 แห่ง คำนวณออกมาแล้วมีคนพิการ ที่สถานประกอบการเหล่านั้นต้องรับเข้าทำงานรวมไม่น้อยกว่า 58,253 คน แต่ในความเป็นจริงมีสถานประกอบการที่รับคนพิการเข้าทำงาน ตาม ม.33 เพียงแค่ 24,492 ราย นอกนั้นหันไปใช้วิธีส่งเงินเข้ากองทุนฯตาม ม.34 หรือใช้วิธีให้สัมปทานตาม ม.35 แทนการจ้างงานคนพิการ ทั้งคู่ตั้งข้อสังเกตว่า การที่สถานประกอบการหลายแห่งยังไม่รับคนพิการเข้าทำงานอาจเป็นเพราะมีข้อจำกัดบางประการ เช่น สถานที่ยังไม่พร้อม ยกตัวอย่าง หากรับคนพิการเข้าทำงาน ต้องจัดทำห้องน้ำใหม่ที่มีขนาดกว้างพอให้รถวีลแชร์สามารถเข้าไปได้มีทางลาดและ ราวจับสำหรับคนพิการ เป็นต้น แก้วตาบอกว่า การปรับปรุงสถานที่เพื่อรองรับลูกจ้างหรือพนักงานที่พิการ กฎหมายกำหนดให้สามารถนำค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงไป หักลดหย่อนภาษีได้ อีกอย่าง ไม่เพียงแต่คนพิการจะได้รับประโยชน์ การปรับปรุงดังกล่าวยังเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกจ้างหรือพนักงาน ที่ตั้งครรภ์ ซึ่งมีความยากลำบากในการเคลื่อนไหวหรือลูกจ้างที่สูงอายุได้รับประโยชน์ด้วย ขณะที่เบญจางค์เสริมว่า ที่จริงเจตนารมณ์ของกฎหมายต้องการให้มีการจ้างงานหรือรับคนพิการเข้าทำงาน เพื่อขยายโอกาสให้คนพิการมีอาชีพ มีงานทำ และมีรายได้ เพราะวิธีนี้คนพิการจะได้รับประโยชน์โดยตรง การเลี่ยงไปใช้มาตรการอื่น เช่น ส่งเงินเข้ากองทุนฯ กว่าเงินจะตกถึงมือคนพิการต้องผ่านเงื่อนไขขั้นตอนการใช้เงินมากมาย ไม่เช่นนั้นก็ควรหันไปใช้วิธีรับซื้อผลิตภัณฑ์ที่คนพิการทำขายก็ยังดี ทั้งคู่บอกว่า ถึงแม้ตัวเลขการรับคนพิการเข้าทำงานตามกฎหมาย ยังดูห่างไกลจากเป้าหมายที่ควรจะเป็น แต่ก็มีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะนายจ้างหรือผู้ประกอบการหลายคนยังไม่ทราบว่ามีกฎหมายดังกล่าวให้ต้องปฏิบัติ หรือทราบแต่อาจเป็นเพราะสภาพแวดล้อมในที่ทำงานยังไม่อำนวย หรืองานบางอย่าง การจะให้คนพิการทำอาจต้องใช้ผู้คอยช่วยเหลือเกื้อกูลเขาอีกทอด หรือต้องมีสิ่งเสริมเพิ่มเติมอำนวยความสะดวกในการทำงาน แต่ปัจจุบันก็มีหน่วยงานของรัฐและบริษัทหลายแห่งที่รับคนพิการไว้ทำงาน และสมควรได้รับการยกย่อง เช่น สปสช. สำนักพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.พิจิตร บริษัท เอไอเอส จำกัด (มหาชน) บริษัท เบทาโกร รวมทั้งธุรกิจบริการตามร้านอาหารอีกหลายแห่ง เป็นต้น “คนพิการส่วนใหญ่มีศักยภาพ สามารถทำงานได้ไม่ต่างกับคนร่างกายปกติ เพียงแต่สังคมยังไม่ค่อยเปิดโอกาสให้พวกเขาเท่าที่ควร การจะให้คนพิการออกมาใช้ชีวิตร่วมกับคนปกติ และเป็นที่ยอมรับในสังคม อย่าลืมว่าพวกเขาต้องอาศัยกำลังใจและแรงผลักดันมหาศาล หากเราช่วยกันหยิบยื่นโอกาสให้พวกเขา ย่อมช่วยกันลดปัญหาให้สังคมได้อีกทาง” เบญจางค์ทิ้งท้าย. ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/542051
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)