ยูนิเซฟเรียกร้องสังคมเปิดโอกาสให้เด็กพิการมีส่วนร่วมมากขึ้น
องค์การยูนิเซฟออกรายงานสภาวะเด็กโลกประจำปี 2556 ซึ่งปีนี้ว่าด้วยเรื่องเด็กพิการ (The State of the World’s Children – Children with Disabilities) และเรียกร้องให้สังคมยอมรับในความสามารถและศักยภาพของเด็กพิการ และเปิดโอกาสให้เด็กพิการได้มีส่วนร่วมในสังคมมากขึ้น
“เมื่อคุณมอง ที่ความพิการก่อนมองความสามารถของเด็ก นอกจากจะเป็นเรื่องที่ผิดต่อเด็กแล้ว ยังทำให้สังคมเสียโอกาสที่จะได้ประโยชน์จากศักยภาพของเด็กพิการอีกด้วย เมื่อเด็กขาดโอกาสสังคมก็เสียประโยชน์ ฉะนั้นเมื่อเด็กได้รับโอกาส สังคมก็จะได้รับประโยชน์เช่นกัน” นายแอนโทนี่ เลค ผู้อำนวยการบริหารขององค์การยูนิเซฟกล่าว
ในประเทศไทย จากการสำรวจความพิการ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี พ.ศ. 2550 พบว่ามีผู้พิการจำนวน 1.87 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 2.9 ของประชากรทั้งหมด มีเด็กพิการอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่มาจดทะเบียนคนพิการจำนวน 74,502 คน อย่างไรก็ตาม คาดว่ายังมีเด็กพิการอีกจำนวนมากที่ไม่ได้ลงทะเบียน เด็กพิการส่วนใหญ่ในประเทศไทยคือกลุ่มพิการทางสติปัญญา นอกจากนี้ ยังพบว่าประชากรที่พิการอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปถึงร้อยละ 24.3 ไม่ได้รับการศึกษา และมีประชากรพิการวัยแรงงาน เพียงร้อยละ 53.3 ที่มีงานทำ
รายงานสภาวะเด็กโลกปี 2556 ระบุว่า เด็กพิการมักเป็นกลุ่มที่ได้รับการดูแลทางสุขภาพหรือไปโรงเรียนน้อยที่สุด และเสี่ยงต่อความรุนแรง การทารุณกรรม การถูกแสวงประโยชน์และถูกทอดทิ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่เด็กพิการที่เข้าถึงยาก หรือที่ถูกทอดทิ้งให้อยู่ในศูนย์ผู้พิการต่างๆ อันเป็นผลมาจากการถูกตีตราทางสังคม หรือการที่ครอบครัวไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่ายในการดูแลพวกเขาได้ ปัจจัยหลายอย่างนี้ทำให้เด็กพิการกลายเป็นกลุ่มเด็กที่ขาดโอกาสที่สุดในโลก กลุ่มหนึ่ง รายงานยังระบุอีกว่าเด็กพิการเพศหญิงมักได้รับอาหารและการดูแลน้อยกว่าเด็กพิการเพศชาย
รายงานฉบับนี้ได้เรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกให้สัตยาบันในอนุสัญญาว่าด้วย สิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities) และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child) และดำเนินการเพื่อประกันสิทธิของเด็กและคนพิการ ตลอดจนสนับสนุนให้ครอบครัวสามารถเลี้ยงดูเด็กพิการได้ ที่ผ่านมา หนึ่งในสามของประเทศทั่วโลกยังไม่ได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของ คนพิการ สำหรับประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาฯ นี้แล้วเมื่อ พ.ศ. 2550
นอกจากนี้ รายงานเน้นถึงความสำคัญในการให้เด็กและผู้พิการมีส่วนร่วมในการออกแบบ โครงการและบริการต่างๆ สำหรับผู้พิการ อีกทั้งยังเรียกร้องให้ประชาชนทั่วไป ผู้บริหารประเทศ และหน่วยงานต่างๆ เช่น โรงเรียน และสถานพยาบาล ยุติการเลือกปฏิบัติต่อผู้พิการด้วย
ขอบคุณ... http://prachatai.com/journal/2013/05/46971 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
องค์การยูนิเซฟออกรายงานสภาวะเด็กโลกประจำปี 2556 ซึ่งปีนี้ว่าด้วยเรื่องเด็กพิการ (The State of the World’s Children – Children with Disabilities) และเรียกร้องให้สังคมยอมรับในความสามารถและศักยภาพของเด็กพิการ และเปิดโอกาสให้เด็กพิการได้มีส่วนร่วมในสังคมมากขึ้น “เมื่อคุณมอง ที่ความพิการก่อนมองความสามารถของเด็ก นอกจากจะเป็นเรื่องที่ผิดต่อเด็กแล้ว ยังทำให้สังคมเสียโอกาสที่จะได้ประโยชน์จากศักยภาพของเด็กพิการอีกด้วย เมื่อเด็กขาดโอกาสสังคมก็เสียประโยชน์ ฉะนั้นเมื่อเด็กได้รับโอกาส สังคมก็จะได้รับประโยชน์เช่นกัน” นายแอนโทนี่ เลค ผู้อำนวยการบริหารขององค์การยูนิเซฟกล่าว ในประเทศไทย จากการสำรวจความพิการ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี พ.ศ. 2550 พบว่ามีผู้พิการจำนวน 1.87 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 2.9 ของประชากรทั้งหมด มีเด็กพิการอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่มาจดทะเบียนคนพิการจำนวน 74,502 คน อย่างไรก็ตาม คาดว่ายังมีเด็กพิการอีกจำนวนมากที่ไม่ได้ลงทะเบียน เด็กพิการส่วนใหญ่ในประเทศไทยคือกลุ่มพิการทางสติปัญญา นอกจากนี้ ยังพบว่าประชากรที่พิการอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปถึงร้อยละ 24.3 ไม่ได้รับการศึกษา และมีประชากรพิการวัยแรงงาน เพียงร้อยละ 53.3 ที่มีงานทำ รายงานสภาวะเด็กโลกปี 2556 ระบุว่า เด็กพิการมักเป็นกลุ่มที่ได้รับการดูแลทางสุขภาพหรือไปโรงเรียนน้อยที่สุด และเสี่ยงต่อความรุนแรง การทารุณกรรม การถูกแสวงประโยชน์และถูกทอดทิ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่เด็กพิการที่เข้าถึงยาก หรือที่ถูกทอดทิ้งให้อยู่ในศูนย์ผู้พิการต่างๆ อันเป็นผลมาจากการถูกตีตราทางสังคม หรือการที่ครอบครัวไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่ายในการดูแลพวกเขาได้ ปัจจัยหลายอย่างนี้ทำให้เด็กพิการกลายเป็นกลุ่มเด็กที่ขาดโอกาสที่สุดในโลก กลุ่มหนึ่ง รายงานยังระบุอีกว่าเด็กพิการเพศหญิงมักได้รับอาหารและการดูแลน้อยกว่าเด็กพิการเพศชาย รายงานฉบับนี้ได้เรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกให้สัตยาบันในอนุสัญญาว่าด้วย สิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities) และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child) และดำเนินการเพื่อประกันสิทธิของเด็กและคนพิการ ตลอดจนสนับสนุนให้ครอบครัวสามารถเลี้ยงดูเด็กพิการได้ ที่ผ่านมา หนึ่งในสามของประเทศทั่วโลกยังไม่ได้ให้สัตยาบันในอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของ คนพิการ สำหรับประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาฯ นี้แล้วเมื่อ พ.ศ. 2550 นอกจากนี้ รายงานเน้นถึงความสำคัญในการให้เด็กและผู้พิการมีส่วนร่วมในการออกแบบ โครงการและบริการต่างๆ สำหรับผู้พิการ อีกทั้งยังเรียกร้องให้ประชาชนทั่วไป ผู้บริหารประเทศ และหน่วยงานต่างๆ เช่น โรงเรียน และสถานพยาบาล ยุติการเลือกปฏิบัติต่อผู้พิการด้วย ขอบคุณ... http://prachatai.com/journal/2013/05/46971
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)