เครื่องอุ่นดินช่วยพลิกวิกฤติอุทกภัยน้ำท่วม

แสดงความคิดเห็น

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คิดค้นนวัตกรรมเครื่องอุ่นดินด้วยคลื่นไมโครเวฟ สามารถฟื้นคืนชีพ "ดิน” ด้วยเวลาเพียง 3 วัน ช่วยเหลือเกษตรกรไทยในวิกฤติน้ำท่วม

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดตัวนวัตกรรมเครื่องส่งคลื่นไมโครเวฟ เร่งอัตราการคายน้ำของดิน ช่วยเหลือเกษตรกรไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วม โดยที่คลื่นไมโครเวฟสามารถทำให้ความชื้นในดินลดลง และมีอุณหภูมิในดินเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง ของระยะห่างจากหลุม 5-15 เซนติเมตร ซึ่งคาดว่าหากได้นำไปใช้จริงหลังจากการเกิดน้ำท่วม ก็จะสามารถทำให้เกษตรกรร่นระยะเวลาในการรอคอยดินเพื่อให้กลับมาเป็นปกติก่อนทำการปลูกพืชจริงได้ ซึ่งใช้ระยะเวลาเพียง 1-3 วัน ขึ้นกับสภาพภูมิอากาศและขนาดพื้นที่ทางการเกษตร อีกทั้งยังสามารถช่วยให้เกษตรกรประหยัดต้นทุนและแรงงานคนไปได้มากกว่า 50%

ที่ผ่านมา หากนาข้าวและสวนผลไม้ต่างๆ จมอยู่ใต้น้ำไม่น้อยกว่า 1 เดือน จะส่งผลให้รากต้นไม้เน่าเปื่อย เกษตรกรจะมีวิธีการระบายน้ำที่ท่วมหน้าดินลงคลองระบายน้ำ แล้วปล่อยให้ความชื้นในดินลดลงด้วยการคายน้ำของดินเอง และการขุดหลุมรอบๆ ต้นไม้ เพื่อให้น้ำในดินบริเวณรอบๆ ซึมเข้ามาในหลุมที่ขุดไว้ แล้วสูบน้ำในหลุมทิ้ง โดยใช้ระยะเวลานานประมาณ 1-3 อาทิตย์ กว่าที่เกษตรกรจะกลับมาทำพื้นที่ทางการเกษตรได้อีกครั้ง ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อภาคเกษตรกรรม ซึ่งเครื่องส่งคลื่นไมโครเวฟ เร่งอัตราการคายน้ำของดิน ถือเป็นนวัตกรรมที่สามารถช่วยเหลือสังคมได้ สอดคล้องกับจุดยืนของการเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศที่มุ่งวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและเป็นที่พึ่งของสังคม สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับนวัตกรรมเครื่องส่งคลื่นไมโครเวฟ เร่งอัตราการคายน้ำของดิน สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เบอร์โทรศัพท์ 0-2329-8000 ถึง 99 ต่อ 3781 ถึง 4 หรือเข้าไปที่www.kmitl.ac.th

ศ.ดร.โมไนย ไกรฤกษ์ อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อปี 2554 ได้เกิดเหตุน้ำท่วมครั้งใหญ่ในประเทศไทย ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างยิ่งทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม ธนาคารโลกเองได้ประเมินความเสียหายครั้งนี้ไว้สูงถึง 45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในส่วนของภาคเกษตรกรรม ทั้งนาข้าวและสวนผลไม้ต่างๆ จมอยู่ใต้น้ำไม่น้อยกว่า 1 เดือน ทำให้รากต้นไม้เน่าเปื่อย ซึ่งถ้าหากเกษตรกรไม่สามารถระบายน้ำออกและลดความชื้นในดินได้ทันท่วงที จะทำให้ต้นไม้ตายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างยิ่งต่อภาคเกษตรกรรม ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการคิดค้น วิจัยงานสายอากาศร่องบนท่อนำคลื่นสี่เหลี่ยมมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเร่งอัตราการคายน้ำของดิน โดยมีนายธัญวัฒน์ ลิมปิติ นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นหนึ่งในทีมวิจัยและพัฒนาคลื่นไมโครเวฟลดความชื้นในดิน

นายธัญวัฒน์ ลิมปิติ นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวว่า งานวิจัยชิ้นนี้นำเสนอกระบวนการในการผลิตสายอากาศร่องบนท่อนำคลื่นสี่เหลี่ยมที่ถูกออกแบบเพื่อใช้ในการแผ่พลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสู่ดิน โดยมีคลื่นไมโครเวฟเป็นตัวกลางในการเร่งอัตราการคายน้ำของดิน ซึ่งกำหนดให้กำลังงานที่ป้อนให้สายอากาศเท่ากับ 800 วัตต์ และเมื่อใช้คลื่นไมโครเวฟในการเร่งอัตราการคายน้ำของดินทดสอบภาคสนามที่สวนส้มโอ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พบว่าเมื่อนำสายอากาศร่องบนท่อนำคลื่นเพื่อช่วยลดความชื้นในดินที่มีคลื่นไมโครเวฟเป็นตัวนำนั้น ทำให้ความชื้นในดินลดลงได้อย่างรวดเร็ว และมีอุณหภูมิในดินเพิ่มขึ้น ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง ซึ่งวิธีการไมโครเวฟนี้ เมื่อระยะเวลาเพิ่มขึ้น อุณหภูมิก็จะเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดที่ระยะห่างจากหลุมเท่ากับ 5 เซนติเมตร โดยอุณหภูมิเดิมอยู่ที่ 30 องศาเซลเซียส แต่หลังจากการใช้วิธีการไมโครเวฟ อุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้น เป็น 55 องศาเซลเซียส ส่วนความชื้นก็ลดลงตามไปด้วย จากเดิม 61% (wet basis) เหลือเพียง 16% (wet basis) สำหรับ 10 เซนติเมตร อุณหภูมิเดิมอยู่ที่ 27 องศาเซลเซียส แต่หลังจากการใช้วิธีการไมโครเวฟ อุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้น เป็น 57 องศาเซลเซียส และความชื้นจากเดิมคือ 63% (wet basis) เหลือเพียง 48% (wet basis) ส่วนที่ระยะห่างจากหลุม 15 เซนติเมตร อุณหภูมิเดิมอยู่ที่ 28 องศาเซลเซียส แต่หลังจากการใช้วิธีการไมโครเวฟ อุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้น เป็น 38 องศาเซลเซียส และความชื้นจากเดิมคือ 63% (wet basis) เหลือเพียง 55% (wet basis)

ที่มา: ไทยโพสต์ออนไลน์ 1 ต.ค.2555
วันที่โพสต์: 6/10/2555 เวลา 01:01:02

ชอบเรื่องนี้ไหม? ชอบ ไม่ชอบ ไม่มีความเห็น

ยังไม่มีเรตติ้ง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คิดค้นนวัตกรรมเครื่องอุ่นดินด้วยคลื่นไมโครเวฟ สามารถฟื้นคืนชีพ "ดิน” ด้วยเวลาเพียง 3 วัน ช่วยเหลือเกษตรกรไทยในวิกฤติน้ำท่วม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดตัวนวัตกรรมเครื่องส่งคลื่นไมโครเวฟ เร่งอัตราการคายน้ำของดิน ช่วยเหลือเกษตรกรไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วม โดยที่คลื่นไมโครเวฟสามารถทำให้ความชื้นในดินลดลง และมีอุณหภูมิในดินเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง ของระยะห่างจากหลุม 5-15 เซนติเมตร ซึ่งคาดว่าหากได้นำไปใช้จริงหลังจากการเกิดน้ำท่วม ก็จะสามารถทำให้เกษตรกรร่นระยะเวลาในการรอคอยดินเพื่อให้กลับมาเป็นปกติก่อนทำการปลูกพืชจริงได้ ซึ่งใช้ระยะเวลาเพียง 1-3 วัน ขึ้นกับสภาพภูมิอากาศและขนาดพื้นที่ทางการเกษตร อีกทั้งยังสามารถช่วยให้เกษตรกรประหยัดต้นทุนและแรงงานคนไปได้มากกว่า 50% ที่ผ่านมา หากนาข้าวและสวนผลไม้ต่างๆ จมอยู่ใต้น้ำไม่น้อยกว่า 1 เดือน จะส่งผลให้รากต้นไม้เน่าเปื่อย เกษตรกรจะมีวิธีการระบายน้ำที่ท่วมหน้าดินลงคลองระบายน้ำ แล้วปล่อยให้ความชื้นในดินลดลงด้วยการคายน้ำของดินเอง และการขุดหลุมรอบๆ ต้นไม้ เพื่อให้น้ำในดินบริเวณรอบๆ ซึมเข้ามาในหลุมที่ขุดไว้ แล้วสูบน้ำในหลุมทิ้ง โดยใช้ระยะเวลานานประมาณ 1-3 อาทิตย์ กว่าที่เกษตรกรจะกลับมาทำพื้นที่ทางการเกษตรได้อีกครั้ง ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อภาคเกษตรกรรม ซึ่งเครื่องส่งคลื่นไมโครเวฟ เร่งอัตราการคายน้ำของดิน ถือเป็นนวัตกรรมที่สามารถช่วยเหลือสังคมได้ สอดคล้องกับจุดยืนของการเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศที่มุ่งวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและเป็นที่พึ่งของสังคม สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับนวัตกรรมเครื่องส่งคลื่นไมโครเวฟ เร่งอัตราการคายน้ำของดิน สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เบอร์โทรศัพท์ 0-2329-8000 ถึง 99 ต่อ 3781 ถึง 4 หรือเข้าไปที่www.kmitl.ac.th ศ.ดร.โมไนย ไกรฤกษ์ อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อปี 2554 ได้เกิดเหตุน้ำท่วมครั้งใหญ่ในประเทศไทย ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างยิ่งทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม ธนาคารโลกเองได้ประเมินความเสียหายครั้งนี้ไว้สูงถึง 45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในส่วนของภาคเกษตรกรรม ทั้งนาข้าวและสวนผลไม้ต่างๆ จมอยู่ใต้น้ำไม่น้อยกว่า 1 เดือน ทำให้รากต้นไม้เน่าเปื่อย ซึ่งถ้าหากเกษตรกรไม่สามารถระบายน้ำออกและลดความชื้นในดินได้ทันท่วงที จะทำให้ต้นไม้ตายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างยิ่งต่อภาคเกษตรกรรม ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการคิดค้น วิจัยงานสายอากาศร่องบนท่อนำคลื่นสี่เหลี่ยมมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเร่งอัตราการคายน้ำของดิน โดยมีนายธัญวัฒน์ ลิมปิติ นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นหนึ่งในทีมวิจัยและพัฒนาคลื่นไมโครเวฟลดความชื้นในดิน นายธัญวัฒน์ ลิมปิติ นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวว่า งานวิจัยชิ้นนี้นำเสนอกระบวนการในการผลิตสายอากาศร่องบนท่อนำคลื่นสี่เหลี่ยมที่ถูกออกแบบเพื่อใช้ในการแผ่พลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสู่ดิน โดยมีคลื่นไมโครเวฟเป็นตัวกลางในการเร่งอัตราการคายน้ำของดิน ซึ่งกำหนดให้กำลังงานที่ป้อนให้สายอากาศเท่ากับ 800 วัตต์ และเมื่อใช้คลื่นไมโครเวฟในการเร่งอัตราการคายน้ำของดินทดสอบภาคสนามที่สวนส้มโอ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พบว่าเมื่อนำสายอากาศร่องบนท่อนำคลื่นเพื่อช่วยลดความชื้นในดินที่มีคลื่นไมโครเวฟเป็นตัวนำนั้น ทำให้ความชื้นในดินลดลงได้อย่างรวดเร็ว และมีอุณหภูมิในดินเพิ่มขึ้น ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง ซึ่งวิธีการไมโครเวฟนี้ เมื่อระยะเวลาเพิ่มขึ้น อุณหภูมิก็จะเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดที่ระยะห่างจากหลุมเท่ากับ 5 เซนติเมตร โดยอุณหภูมิเดิมอยู่ที่ 30 องศาเซลเซียส แต่หลังจากการใช้วิธีการไมโครเวฟ อุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้น เป็น 55 องศาเซลเซียส ส่วนความชื้นก็ลดลงตามไปด้วย จากเดิม 61% (wet basis) เหลือเพียง 16% (wet basis) สำหรับ 10 เซนติเมตร อุณหภูมิเดิมอยู่ที่ 27 องศาเซลเซียส แต่หลังจากการใช้วิธีการไมโครเวฟ อุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้น เป็น 57 องศาเซลเซียส และความชื้นจากเดิมคือ 63% (wet basis) เหลือเพียง 48% (wet basis) ส่วนที่ระยะห่างจากหลุม 15 เซนติเมตร อุณหภูมิเดิมอยู่ที่ 28 องศาเซลเซียส แต่หลังจากการใช้วิธีการไมโครเวฟ อุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้น เป็น 38 องศาเซลเซียส และความชื้นจากเดิมคือ 63% (wet basis) เหลือเพียง 55% (wet

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...