สิทธิที่มี-สิ่งที่ต้องระวัง ‘หลังน้ำท่วม’ อะไรควรได้-ควรกลัว!
จากที่ “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ได้สะท้อนไปเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว เกี่ยวกับ ’ทุกข์คนไทย“ จาก ’ภัยน้ำท่วม“ ในปี 2556 นี้ ในประเด็น รัฐบาล ภาครัฐ ชัดเจนกับ “มาตรการช่วยเหลือฟื้นฟู” ผู้ที่ประสบภัย แล้วหรือยัง? อย่างไร? ล่าสุดเรื่องนี้ก็มีการระบุออกมาจากทางรัฐบาล จากทางภาครัฐที่เกี่ยวข้อง แล้วในระดับหนึ่ง
ผู้ประสบภัยควรได้รับรู้ถึงสิทธิที่พึงมีพึงได้
และแม้น้ำท่วมจะคลี่คลายก็อย่าลืมระวัง!!!
ทั้งนี้ ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในปี 2556 นี้นั้น ณ วันที่ 12 ต.ค.ที่ผ่านมา มีตัวเลขออกมาว่า มีผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงประมาณ 3,050,000 คน หรือกว่า 1,030,000 ครัวเรือน ใน 42 จังหวัด และมีการระบุออกมาจากภาครัฐว่า รัฐบาลยืนยันที่จะดูแลช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยอย่างไม่มีข้อจำกัด จะดูแลอย่างเสมอภาคเป็นธรรมในทุก ๆ พื้นที่ และจะมีการลงพื้นที่ดำเนินการช่วยเหลือแบบเชิงรุก ซึ่งเอาเข้าจริงจังจะอย่างไรก็ลองตามดูกัน??
อย่างไรก็ตาม หากโฟกัสที่การช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมด้วยเงินงบประมาณจากภาษี ที่จัดเก็บจากประชาชนคนไทยโดยรวมนั้น ล่าสุดก็เริ่มมีการระบุถึงประกาศหลักเกณฑ์ให้ได้รับรู้บ้างแล้ว โดยสังเขปคือ...
ค่าช่วยเหลือในการดำรงชีพเบื้องต้นกรณีที่บ้านเสียหายทั้งหลัง ครอบครัวละไม่เกิน 3,000 บาท, กรณีเช่าบ้านอยู่แล้วบ้านเสียหายจนอยู่ไม่ได้ ได้ค่าเช่าบ้านครอบครัวละไม่เกิน 1,700 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 2 เดือน, ค่าซ่อมแซมหรือก่อสร้างที่อยู่อาศัย ตามที่จ่ายจริง แต่หลังละไม่เกิน 33,000 บาท, ค่าวัสดุซ่อมแซมโรงเรือนเก็บพืชผลการเกษตรและคอกสัตว์ ครอบครัวละไม่เกิน 5,000 บาท, ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ หรือเงินทุนในการหาเลี้ยงชีพ เท่าที่จ่ายจริง แต่ครอบครัวละไม่เกิน 11,000 บาท, ค่าช่วยเหลือเบื้องต้นผู้บาดเจ็บสาหัสที่ต้องรักษาในโรงพยาบาล 3 วันขึ้นไป รายละ 3,000 บาท, ค่าช่วยเหลือเบื้องต้นผู้บาดเจ็บถึงขั้นพิการไม่สามารถประกอบอาชีพได้ 10,000 บาท, ค่าจัดการศพผู้เสียชีวิต รายละไม่เกิน 25,000 บาท กรณีผู้เสียชีวิตเป็นหัวหน้าครอบครัวหรือเป็นผู้หารายได้เลี้ยงดูครอบครัว สามารถจะได้รับเงินสงเคราะห์ครอบครัวเพิ่มอีกไม่เกิน 25,000 บาท ฯลฯ
หลักเกณฑ์ที่ยกตัวอย่างนี้มิใช่แค่มาตรการเฉพาะกิจ แต่เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556 ซึ่งคนไทยควรได้รู้
หรือถ้าผู้ประสบภัยน้ำท่วมเป็นเกษตรกร เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และกำลังกังวลใจเรื่องหนี้สินเชื่อ ทาง ธ.ก.ส. ก็ประกาศแล้วว่า นอกจากจะมีการมอบเงินช่วยเหลือกรณีผู้นำครอบครัวเสียชีวิต หรือบ้านพังจนอยู่อาศัยไม่ได้ รายละ 20,000 บาท และกรณีเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นได้รับความเสียหาย รายละ 2,000 บาท ทาง ธ.ก.ส. ก็ยังมีมาตรการช่วยเหลือด้านภาระหนี้สินในเบื้องต้น สำหรับเกษตรกรลูกค้าสินเชื่อที่ประสบภัยน้ำท่วม โดยหากผลผลิตทางการเกษตรเสียหายร้ายแรงเกินกว่าร้อยละ 50 จะขยายเวลาชำระหนี้ให้ โดยไม่มีการคิดเบี้ยปรับ พร้อมทั้งจะให้สินเชื่อใหม่เพื่อใช้ฟื้นฟูด้านการผลิตด้วย
กับธนาคารออมสิน ก็มีข่าวว่าออกเกณฑ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งมีทั้งปล่อยกู้เพิ่มเติมให้กับลูกค้าเดิม พักชำระหนี้ให้ ลดวงเงินผ่อนค่างวดต่อเดือน ขยายเวลาผ่อนชำระหนี้ ก็ลองไปศึกษารายละเอียดกันดู
“ทุกข์ภัยน้ำท่วม”มีทั้งส่วนที่ต้องช่วย-จะช่วย และผู้ประสบภัยก็ “อย่าประมาทแม้น้ำจะลด” ทั้งนี้ นอกจากภัยในช่วงที่น้ำท่วมแล้ว แม้น้ำจะลดก็อาจจะมีภัยแฝงอยู่ ไม่ว่าจะเป็น...สัตว์อันตราย สัตว์พิษต่าง ๆ เช่น ตะขาบ แมงป่อง งู, เชื้อโรคต่าง ๆ เช่น เชื้อโรคฉี่หนู-เลปโตสไปโรซิส ที่เชื้อมักจะมากับน้ำ และเมื่อน้ำลดแล้วยิ่งต้องระวังเพราะเชื้อร้ายที่อันตรายนี้มักจะระบาดง่ายจากโคลนตมหรือดินที่ชื้นแฉะ
บ้านเรือนเกิดปัญหาจากน้ำท่วม นี่ก็ต้องระวัง ซึ่งน้ำที่ท่วมอาจทำให้ผนังหรือกำแพงแตก คานหรือเสามีปัญหาที่รอยต่อ โครงสร้างที่แช่น้ำเกิดสนิม ตัวบ้านเคลื่อนออกจากฐานราก ซึ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่อันตราย นอกจากนี้ ภัยจากน้ำท่วม ซึ่งรวมถึงตอนที่น้ำลดแล้ว ที่ “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ขอเตือนย้ำกันไว้อีกก็คือ ไฟฟ้าดูด-ไฟฟ้าช็อต ซึ่งตอนที่น้ำยังท่วมบางพื้นที่อาจจะมีการตัดกระแสไฟฟ้า พอน้ำลดแล้ว มี การจ่ายไฟปกติแล้ว ตามบ้านเรือนก็ต้องระวังให้ดี อาจจะมีกระแสไฟฟ้า รั่วอยู่ ไม่ว่าจะเป็นในบ้านเราเองหรือบ้านใกล้เรือนเคียง ต้องระวังอุปกรณ์ ไฟฟ้าที่ติดตั้งอยู่บริเวณที่ชื้นแฉะ ต้องงดใช้งดสัมผัสอุปกรณ์ไฟฟ้าขณะที่ตัวเปียกชื้นหรือยืนอยู่บนพื้นที่ชื้น แฉะ อย่าใช้เครื่องไฟฟ้าที่เสียหายจาก น้ำท่วมโดยที่ยังไม่ได้ผ่านการซ่อมแซมจากช่างผู้ชำนาญ ถ้าเปิดใช้เครื่อง ไฟฟ้าแล้วพบว่าผิดปกติ เช่น เหม็นไหม้ มีเสียงดัง ฯลฯ ให้หยุดใช้ทันที ก็ต้องพึงตระหนักกันไว้ว่าน้ำท่วมทีไรมักจะมีคนไทยต้องเสียชีวิตเพราะกระแส ไฟฟ้า และขอเน้นว่าภัยนี้เกิดได้ทั้งตอนน้ำท่วมและน้ำลด
ก็เป็นเรื่องของ ’สิทธิที่มี“ และ ’สิ่งที่ต้องระวัง“
ณ ที่นี้ก็นำมา ’บอกกล่าว-ย้ำเตือน“ ไว้อีกครั้ง
หวังให้ ’คนทุกข์น้ำท่วม“ ฟื้นคืนสุขได้โดยเร็ว.
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/223/240171 (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ต.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เหตุการณ์น้ำท่วมสูง จากที่ “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ได้สะท้อนไปเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว เกี่ยวกับ ’ทุกข์คนไทย“ จาก ’ภัยน้ำท่วม“ ในปี 2556 นี้ ในประเด็น รัฐบาล ภาครัฐ ชัดเจนกับ “มาตรการช่วยเหลือฟื้นฟู” ผู้ที่ประสบภัย แล้วหรือยัง? อย่างไร? ล่าสุดเรื่องนี้ก็มีการระบุออกมาจากทางรัฐบาล จากทางภาครัฐที่เกี่ยวข้อง แล้วในระดับหนึ่ง ผู้ประสบภัยควรได้รับรู้ถึงสิทธิที่พึงมีพึงได้ และแม้น้ำท่วมจะคลี่คลายก็อย่าลืมระวัง!!! ทั้งนี้ ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในปี 2556 นี้นั้น ณ วันที่ 12 ต.ค.ที่ผ่านมา มีตัวเลขออกมาว่า มีผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงประมาณ 3,050,000 คน หรือกว่า 1,030,000 ครัวเรือน ใน 42 จังหวัด และมีการระบุออกมาจากภาครัฐว่า รัฐบาลยืนยันที่จะดูแลช่วยเหลือผู้ที่ประสบภัยอย่างไม่มีข้อจำกัด จะดูแลอย่างเสมอภาคเป็นธรรมในทุก ๆ พื้นที่ และจะมีการลงพื้นที่ดำเนินการช่วยเหลือแบบเชิงรุก ซึ่งเอาเข้าจริงจังจะอย่างไรก็ลองตามดูกัน?? อย่างไรก็ตาม หากโฟกัสที่การช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมด้วยเงินงบประมาณจากภาษี ที่จัดเก็บจากประชาชนคนไทยโดยรวมนั้น ล่าสุดก็เริ่มมีการระบุถึงประกาศหลักเกณฑ์ให้ได้รับรู้บ้างแล้ว โดยสังเขปคือ... ค่าช่วยเหลือในการดำรงชีพเบื้องต้นกรณีที่บ้านเสียหายทั้งหลัง ครอบครัวละไม่เกิน 3,000 บาท, กรณีเช่าบ้านอยู่แล้วบ้านเสียหายจนอยู่ไม่ได้ ได้ค่าเช่าบ้านครอบครัวละไม่เกิน 1,700 บาท เป็นเวลาไม่เกิน 2 เดือน, ค่าซ่อมแซมหรือก่อสร้างที่อยู่อาศัย ตามที่จ่ายจริง แต่หลังละไม่เกิน 33,000 บาท, ค่าวัสดุซ่อมแซมโรงเรือนเก็บพืชผลการเกษตรและคอกสัตว์ ครอบครัวละไม่เกิน 5,000 บาท, ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ หรือเงินทุนในการหาเลี้ยงชีพ เท่าที่จ่ายจริง แต่ครอบครัวละไม่เกิน 11,000 บาท, ค่าช่วยเหลือเบื้องต้นผู้บาดเจ็บสาหัสที่ต้องรักษาในโรงพยาบาล 3 วันขึ้นไป รายละ 3,000 บาท, ค่าช่วยเหลือเบื้องต้นผู้บาดเจ็บถึงขั้นพิการไม่สามารถประกอบอาชีพได้ 10,000 บาท, ค่าจัดการศพผู้เสียชีวิต รายละไม่เกิน 25,000 บาท กรณีผู้เสียชีวิตเป็นหัวหน้าครอบครัวหรือเป็นผู้หารายได้เลี้ยงดูครอบครัว สามารถจะได้รับเงินสงเคราะห์ครอบครัวเพิ่มอีกไม่เกิน 25,000 บาท ฯลฯ หลักเกณฑ์ที่ยกตัวอย่างนี้มิใช่แค่มาตรการเฉพาะกิจ แต่เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556 ซึ่งคนไทยควรได้รู้ หรือถ้าผู้ประสบภัยน้ำท่วมเป็นเกษตรกร เป็นลูกค้า ธ.ก.ส. หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และกำลังกังวลใจเรื่องหนี้สินเชื่อ ทาง ธ.ก.ส. ก็ประกาศแล้วว่า นอกจากจะมีการมอบเงินช่วยเหลือกรณีผู้นำครอบครัวเสียชีวิต หรือบ้านพังจนอยู่อาศัยไม่ได้ รายละ 20,000 บาท และกรณีเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นได้รับความเสียหาย รายละ 2,000 บาท ทาง ธ.ก.ส. ก็ยังมีมาตรการช่วยเหลือด้านภาระหนี้สินในเบื้องต้น สำหรับเกษตรกรลูกค้าสินเชื่อที่ประสบภัยน้ำท่วม โดยหากผลผลิตทางการเกษตรเสียหายร้ายแรงเกินกว่าร้อยละ 50 จะขยายเวลาชำระหนี้ให้ โดยไม่มีการคิดเบี้ยปรับ พร้อมทั้งจะให้สินเชื่อใหม่เพื่อใช้ฟื้นฟูด้านการผลิตด้วย กับธนาคารออมสิน ก็มีข่าวว่าออกเกณฑ์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งมีทั้งปล่อยกู้เพิ่มเติมให้กับลูกค้าเดิม พักชำระหนี้ให้ ลดวงเงินผ่อนค่างวดต่อเดือน ขยายเวลาผ่อนชำระหนี้ ก็ลองไปศึกษารายละเอียดกันดู “ทุกข์ภัยน้ำท่วม”มีทั้งส่วนที่ต้องช่วย-จะช่วย และผู้ประสบภัยก็ “อย่าประมาทแม้น้ำจะลด” ทั้งนี้ นอกจากภัยในช่วงที่น้ำท่วมแล้ว แม้น้ำจะลดก็อาจจะมีภัยแฝงอยู่ ไม่ว่าจะเป็น...สัตว์อันตราย สัตว์พิษต่าง ๆ เช่น ตะขาบ แมงป่อง งู, เชื้อโรคต่าง ๆ เช่น เชื้อโรคฉี่หนู-เลปโตสไปโรซิส ที่เชื้อมักจะมากับน้ำ และเมื่อน้ำลดแล้วยิ่งต้องระวังเพราะเชื้อร้ายที่อันตรายนี้มักจะระบาดง่ายจากโคลนตมหรือดินที่ชื้นแฉะ บ้านเรือนเกิดปัญหาจากน้ำท่วม นี่ก็ต้องระวัง ซึ่งน้ำที่ท่วมอาจทำให้ผนังหรือกำแพงแตก คานหรือเสามีปัญหาที่รอยต่อ โครงสร้างที่แช่น้ำเกิดสนิม ตัวบ้านเคลื่อนออกจากฐานราก ซึ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่อันตราย นอกจากนี้ ภัยจากน้ำท่วม ซึ่งรวมถึงตอนที่น้ำลดแล้ว ที่ “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ขอเตือนย้ำกันไว้อีกก็คือ ไฟฟ้าดูด-ไฟฟ้าช็อต ซึ่งตอนที่น้ำยังท่วมบางพื้นที่อาจจะมีการตัดกระแสไฟฟ้า พอน้ำลดแล้ว มี การจ่ายไฟปกติแล้ว ตามบ้านเรือนก็ต้องระวังให้ดี อาจจะมีกระแสไฟฟ้า รั่วอยู่ ไม่ว่าจะเป็นในบ้านเราเองหรือบ้านใกล้เรือนเคียง ต้องระวังอุปกรณ์ ไฟฟ้าที่ติดตั้งอยู่บริเวณที่ชื้นแฉะ ต้องงดใช้งดสัมผัสอุปกรณ์ไฟฟ้าขณะที่ตัวเปียกชื้นหรือยืนอยู่บนพื้นที่ชื้น แฉะ อย่าใช้เครื่องไฟฟ้าที่เสียหายจาก น้ำท่วมโดยที่ยังไม่ได้ผ่านการซ่อมแซมจากช่างผู้ชำนาญ ถ้าเปิดใช้เครื่อง ไฟฟ้าแล้วพบว่าผิดปกติ เช่น เหม็นไหม้ มีเสียงดัง ฯลฯ ให้หยุดใช้ทันที ก็ต้องพึงตระหนักกันไว้ว่าน้ำท่วมทีไรมักจะมีคนไทยต้องเสียชีวิตเพราะกระแส ไฟฟ้า และขอเน้นว่าภัยนี้เกิดได้ทั้งตอนน้ำท่วมและน้ำลด ก็เป็นเรื่องของ ’สิทธิที่มี“ และ ’สิ่งที่ต้องระวัง“ ณ ที่นี้ก็นำมา ’บอกกล่าว-ย้ำเตือน“ ไว้อีกครั้ง หวังให้ ’คนทุกข์น้ำท่วม“ ฟื้นคืนสุขได้โดยเร็ว. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/223/240171 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 ต.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)