เรื่องอื่นไว้ว่ากันทีหลัง!‘ฟื้นฟูคนน้ำท่วม’‘ชัดหรือยัง?’ เรื่องนี้
แม้จะไม่เท่ากับที่เกิดเมื่อปี 2554 แต่กับ “น้ำท่วม” ในประเทศไทย ในปี 2556 นี้ ก็ใช่ว่าจะไม่รุนแรง ซึ่งก็มี ’ประชาชนคนไทย“ ต้องประสบกับ ’ทุกข์จากน้ำท่วมเป็นจำนวนมาก“ จากสถานการณ์น้ำท่วมในเกือบ 40 จังหวัด เกือบ 300 อำเภอ เกือบ 1,700 ตำบล เกือบ 13,600 หมู่บ้าน กระทบต่อคนไทยเกือบ 1 ล้านครัวเรือน หรือกว่า 3 ล้านคน
ทั้งนี้ กับโครงการบริหารจัดการเรื่องน้ำ ซึ่งถึงตอนนี้ยังมีรูปธรรมจับต้องไม่ค่อยได้ กับกรณีที่รัฐบาล ภาครัฐ มีแนวนโยบายจะใช้งบประมาณก้อนมหึมาตามโครงการบริหารจัดการเรื่องน้ำ เอาเข้าจริงจะอย่างไร? นั่นก็ว่ากันไป...
แต่ที่จะ ’ต้องชัดเจน“ คือ ’ฟื้นฟูคนถูกน้ำท่วม“
น้ำท่วมปีนี้มาตรการฟื้นฟูเตรียมชัดหรือยัง???
ย้อนดูตอนน้ำท่วมใหญ่ในไทยปลายปี 2554 กับการฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม ในส่วนของการ “จัดระบบช่วยคน-ฟื้นฟูประชาชน” ซึ่งก็สำคัญ ทางนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ เคยสะท้อนไว้น่าสนใจ และก็น่าจะเป็นเสียงสะท้อนที่ปรับใช้กับน้ำท่วมปี 2556 นี้ได้ โดยนักวิชาการรายนี้ระบุไว้ สรุปได้ประมาณว่า...
การฟื้นฟู สร้างอนาคตประเทศ เป็นเรื่องสำคัญ ที่ต้องทำในระยะยาว แต่เฉพาะหน้า สิ่งที่ทุกคนจับตา และให้ความสำคัญมาก คือเรื่องการช่วยเหลือในระดับจุลภาค มากกว่าในภาพมหภาค ซึ่งคนในชาติ หรือแม้แต่ในสายตานักลงทุนต่างชาติ จะมองรัฐบาล รัฐ เรื่องการแก้ไขเรื่องน้ำ ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม ก่อนเป็นอันดับแรก
’เรื่องอื่น“ ไว้ว่ากันทีหลัง!!!!!
การช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมนั้น รัฐบาล ภาครัฐ ต้องจัดลำดับความสำคัญ ต้องให้ความสำคัญกับคนที่เดือดร้อนมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด คนที่เดือดร้อนมากที่สุดคือคนที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม ซึ่งมีปัญหาตั้งแต่การดำรงชีพพื้นฐาน คนที่เดือดร้อน ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร แรงงาน ประชาชนทั่วไป ทางรัฐบาล ภาครัฐ ต้องพูดถึงคนเหล่านี้ให้ชัดเจนครอบคลุม ก่อนจะพูดถึงเรื่องอื่นที่เกี่ยวเนื่องซึ่งเป็นเรื่องอนาคตที่ยังมาไม่ถึง
ในการแก้ไขปัญหาหลังน้ำท่วม เมื่อน้ำลดแล้ว นักวิชาการรายเดิมระบุไว้ว่า...ควรจัดลำดับคนที่ลำบาก อาทิ เกษตรกร ซึ่งพื้นที่เกษตรกรรมเสียหาย, แรงงาน จากการตกงาน, ประชาชนทั่วไป ที่เดือดร้อนเรื่องการดำรงชีพพื้นฐาน
มีมาตรการอะไร ๆ ตั้งมากมาย ที่รัฐบาล ภาครัฐ สามารถช่วยได้เลย อาทิ ให้เงินช่วยเหลือ ผ่อนผันหนี้สิน หางานให้ทำ ฯลฯ ซึ่งเป็นการเยียวยาในเบื้องต้น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิต ทำอาชีพต่อไปได้ ซึ่งคนไทยกลุ่มต่าง ๆ เป็นฟันเฟือง เป็นแรงงานทางเศรษฐกิจ หากคนไทยไม่ได้รับการช่วยเหลือให้ลุกขึ้นยืนได้ เศรษฐกิจประเทศ
ไทยก็เดินหน้าต่อไปไม่ได้
“ความช่วยเหลือต้องเป็นแบบฝนตกทั่วฟ้า เป็นธรรม เท่าเทียม ครอบคลุมทุกด้าน ทุกกลุ่มคนที่เดือดร้อน มิฉะนั้นจะกลายเป็นปัญหาความขัดแย้ง อันจะกลายเป็นปัญหาสังคมต่อไป”...
รศ.ดร.สมภพ ชี้ไว้
ย้ำ...ว่านี่เป็นการระบุถึงปี 2554
แต่...ปี 2556 ก็ไม่น่าจะล้าสมัย!!
และกับน้ำท่วมปี 2554 นั้น นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์อีกรายหนึ่ง คือ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ก็ได้สะท้อนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ผ่าน “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ไว้เช่นกัน โดยมีประเด็นที่สำคัญบางช่วงบางตอนคือ... รัฐบาล ภาครัฐ ควรต้องดูแลแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้ผ่านพ้นให้ได้ก่อน ควรต้องช่วยเหลือคนที่ประสบอุทกภัยตัวจริงให้ได้ก่อน เพื่อให้กลับมายืนขึ้นได้ ดูแลช่วยเหลือตนเองได้ หลังจากนั้นค่อยพูดถึงเรื่องอนาคตว่าจะทำอะไรกันต่อไป ซึ่งเรื่องอนาคตจะยังไม่เห็นชัดเจนว่าจะเดินหน้าอย่างไร หากปัญหาเฉพาะหน้ายังไม่ได้รับการแก้ไข
“การแก้ไขปัญหาในระดับย่อย ซึ่งมีบุคคลประสบอุทกภัยมากมาย ทั้งเกษตรกร แรงงาน ประชาชนทั่วไป ต้องมีการพูดถึงในรูปแบบแผนฟื้นฟูที่ชัดเจน ...”...รศ.ดร.สมชาย ระบุไว้ ซึ่งกับผลกระทบต่อประชาชนคนไทยจากภัยน้ำท่วมปลายปี 2554 นั้น ทางนักวิชาการรายนี้ยังได้เสนอไว้ด้วยว่า...การฟื้นฟู มาตรการช่วยเหลือนั้น ควรมีการตั้งคณะกรรมการย่อยโดยมีตัวแทนของกลุ่มผู้เดือดร้อนทุก ๆ กลุ่มอยู่ในคณะกรรมการย่อยด้วย เพื่อที่จะให้แต่ละกลุ่มได้ชี้แจงปัญหาที่ต้องประสบ ว่าในรายละเอียดเป็นอย่างไร ต้องการความช่วยเหลืออะไร โดยวิธีนี้จะช่วยให้ได้รายละเอียดปัญหาที่ชัดเจน รับรู้ความต้องการของแต่ละกลุ่ม เพื่อใช้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา กำหนดมาตรการความช่วยเหลือฟื้นฟูที่ครอบคลุมความต้องการและความจำเป็นของคน ทุกกลุ่ม...ซึ่งกรณีนี้ก็น่าพิจารณาไม่เพียงกับน้ำท่วมปี 2554
ทั้งนี้ กับการย้อนความคิดเห็น ข้อเสนอ ในการที่รัฐบาล ภาครัฐ ต้องมีมาตรการ ’ช่วยเหลือฟื้นฟูประชาชนคนไทย“ ที่ประสบภัย ประสบ ’ทุกข์จากน้ำท่วม“ อย่าง รวดเร็ว-เหมาะสม-ครอบคลุม-เป็นธรรม-ชัดเจน นั้น ณ ที่นี้มิใช่จะชี้ว่ากับน้ำท่วมปี 2556 นี้ รัฐบาล ภาครัฐ ทำได้ไม่รวดเร็ว-ไม่เหมาะสม-ไม่ครอบคลุม-ไม่เป็นธรรม-ไม่ชัดเจน และก็เชื่อว่า จากประสบการณ์ปี 2554 น่าจะสามารถปรับใช้กับปี 2556 และทำได้มีประสิทธิภาพ ซึ่ง ณ ที่นี้คิดเห็นเช่นนี้
’น้ำท่วม“ ปีนี้ รัฐบาล ภาครัฐ ทำอะไร?-อย่างไร?
’ฟื้นฟูแก้ไขทุกข์น้ำท่วม“ ให้คนไทยได้แค่ไหน?
ฟังเสียงคนไทยที่ทุกข์น้ำท่วม ก็ย่อมจะชี้ชัด!!!!!.
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/223/239512 (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 ต.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เหตุการณ์น้ำท่วมบ้านเรือนประชาชน แม้จะไม่เท่ากับที่เกิดเมื่อปี 2554 แต่กับ “น้ำท่วม” ในประเทศไทย ในปี 2556 นี้ ก็ใช่ว่าจะไม่รุนแรง ซึ่งก็มี ’ประชาชนคนไทย“ ต้องประสบกับ ’ทุกข์จากน้ำท่วมเป็นจำนวนมาก“ จากสถานการณ์น้ำท่วมในเกือบ 40 จังหวัด เกือบ 300 อำเภอ เกือบ 1,700 ตำบล เกือบ 13,600 หมู่บ้าน กระทบต่อคนไทยเกือบ 1 ล้านครัวเรือน หรือกว่า 3 ล้านคน ทั้งนี้ กับโครงการบริหารจัดการเรื่องน้ำ ซึ่งถึงตอนนี้ยังมีรูปธรรมจับต้องไม่ค่อยได้ กับกรณีที่รัฐบาล ภาครัฐ มีแนวนโยบายจะใช้งบประมาณก้อนมหึมาตามโครงการบริหารจัดการเรื่องน้ำ เอาเข้าจริงจะอย่างไร? นั่นก็ว่ากันไป... แต่ที่จะ ’ต้องชัดเจน“ คือ ’ฟื้นฟูคนถูกน้ำท่วม“ น้ำท่วมปีนี้มาตรการฟื้นฟูเตรียมชัดหรือยัง??? ย้อนดูตอนน้ำท่วมใหญ่ในไทยปลายปี 2554 กับการฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม ในส่วนของการ “จัดระบบช่วยคน-ฟื้นฟูประชาชน” ซึ่งก็สำคัญ ทางนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ เคยสะท้อนไว้น่าสนใจ และก็น่าจะเป็นเสียงสะท้อนที่ปรับใช้กับน้ำท่วมปี 2556 นี้ได้ โดยนักวิชาการรายนี้ระบุไว้ สรุปได้ประมาณว่า... การฟื้นฟู สร้างอนาคตประเทศ เป็นเรื่องสำคัญ ที่ต้องทำในระยะยาว แต่เฉพาะหน้า สิ่งที่ทุกคนจับตา และให้ความสำคัญมาก คือเรื่องการช่วยเหลือในระดับจุลภาค มากกว่าในภาพมหภาค ซึ่งคนในชาติ หรือแม้แต่ในสายตานักลงทุนต่างชาติ จะมองรัฐบาล รัฐ เรื่องการแก้ไขเรื่องน้ำ ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำท่วม ก่อนเป็นอันดับแรก ’เรื่องอื่น“ ไว้ว่ากันทีหลัง!!!!! การช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมนั้น รัฐบาล ภาครัฐ ต้องจัดลำดับความสำคัญ ต้องให้ความสำคัญกับคนที่เดือดร้อนมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด คนที่เดือดร้อนมากที่สุดคือคนที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วม ซึ่งมีปัญหาตั้งแต่การดำรงชีพพื้นฐาน คนที่เดือดร้อน ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร แรงงาน ประชาชนทั่วไป ทางรัฐบาล ภาครัฐ ต้องพูดถึงคนเหล่านี้ให้ชัดเจนครอบคลุม ก่อนจะพูดถึงเรื่องอื่นที่เกี่ยวเนื่องซึ่งเป็นเรื่องอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ในการแก้ไขปัญหาหลังน้ำท่วม เมื่อน้ำลดแล้ว นักวิชาการรายเดิมระบุไว้ว่า...ควรจัดลำดับคนที่ลำบาก อาทิ เกษตรกร ซึ่งพื้นที่เกษตรกรรมเสียหาย, แรงงาน จากการตกงาน, ประชาชนทั่วไป ที่เดือดร้อนเรื่องการดำรงชีพพื้นฐาน มีมาตรการอะไร ๆ ตั้งมากมาย ที่รัฐบาล ภาครัฐ สามารถช่วยได้เลย อาทิ ให้เงินช่วยเหลือ ผ่อนผันหนี้สิน หางานให้ทำ ฯลฯ ซึ่งเป็นการเยียวยาในเบื้องต้น เพื่อให้สามารถดำรงชีวิต ทำอาชีพต่อไปได้ ซึ่งคนไทยกลุ่มต่าง ๆ เป็นฟันเฟือง เป็นแรงงานทางเศรษฐกิจ หากคนไทยไม่ได้รับการช่วยเหลือให้ลุกขึ้นยืนได้ เศรษฐกิจประเทศ ไทยก็เดินหน้าต่อไปไม่ได้ “ความช่วยเหลือต้องเป็นแบบฝนตกทั่วฟ้า เป็นธรรม เท่าเทียม ครอบคลุมทุกด้าน ทุกกลุ่มคนที่เดือดร้อน มิฉะนั้นจะกลายเป็นปัญหาความขัดแย้ง อันจะกลายเป็นปัญหาสังคมต่อไป”... รศ.ดร.สมภพ ชี้ไว้ ย้ำ...ว่านี่เป็นการระบุถึงปี 2554 แต่...ปี 2556 ก็ไม่น่าจะล้าสมัย!! และกับน้ำท่วมปี 2554 นั้น นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์อีกรายหนึ่ง คือ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ก็ได้สะท้อนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ผ่าน “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ไว้เช่นกัน โดยมีประเด็นที่สำคัญบางช่วงบางตอนคือ... รัฐบาล ภาครัฐ ควรต้องดูแลแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้ผ่านพ้นให้ได้ก่อน ควรต้องช่วยเหลือคนที่ประสบอุทกภัยตัวจริงให้ได้ก่อน เพื่อให้กลับมายืนขึ้นได้ ดูแลช่วยเหลือตนเองได้ หลังจากนั้นค่อยพูดถึงเรื่องอนาคตว่าจะทำอะไรกันต่อไป ซึ่งเรื่องอนาคตจะยังไม่เห็นชัดเจนว่าจะเดินหน้าอย่างไร หากปัญหาเฉพาะหน้ายังไม่ได้รับการแก้ไข “การแก้ไขปัญหาในระดับย่อย ซึ่งมีบุคคลประสบอุทกภัยมากมาย ทั้งเกษตรกร แรงงาน ประชาชนทั่วไป ต้องมีการพูดถึงในรูปแบบแผนฟื้นฟูที่ชัดเจน ...”...รศ.ดร.สมชาย ระบุไว้ ซึ่งกับผลกระทบต่อประชาชนคนไทยจากภัยน้ำท่วมปลายปี 2554 นั้น ทางนักวิชาการรายนี้ยังได้เสนอไว้ด้วยว่า...การฟื้นฟู มาตรการช่วยเหลือนั้น ควรมีการตั้งคณะกรรมการย่อยโดยมีตัวแทนของกลุ่มผู้เดือดร้อนทุก ๆ กลุ่มอยู่ในคณะกรรมการย่อยด้วย เพื่อที่จะให้แต่ละกลุ่มได้ชี้แจงปัญหาที่ต้องประสบ ว่าในรายละเอียดเป็นอย่างไร ต้องการความช่วยเหลืออะไร โดยวิธีนี้จะช่วยให้ได้รายละเอียดปัญหาที่ชัดเจน รับรู้ความต้องการของแต่ละกลุ่ม เพื่อใช้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา กำหนดมาตรการความช่วยเหลือฟื้นฟูที่ครอบคลุมความต้องการและความจำเป็นของคน ทุกกลุ่ม...ซึ่งกรณีนี้ก็น่าพิจารณาไม่เพียงกับน้ำท่วมปี 2554 ทั้งนี้ กับการย้อนความคิดเห็น ข้อเสนอ ในการที่รัฐบาล ภาครัฐ ต้องมีมาตรการ ’ช่วยเหลือฟื้นฟูประชาชนคนไทย“ ที่ประสบภัย ประสบ ’ทุกข์จากน้ำท่วม“ อย่าง รวดเร็ว-เหมาะสม-ครอบคลุม-เป็นธรรม-ชัดเจน นั้น ณ ที่นี้มิใช่จะชี้ว่ากับน้ำท่วมปี 2556 นี้ รัฐบาล ภาครัฐ ทำได้ไม่รวดเร็ว-ไม่เหมาะสม-ไม่ครอบคลุม-ไม่เป็นธรรม-ไม่ชัดเจน และก็เชื่อว่า จากประสบการณ์ปี 2554 น่าจะสามารถปรับใช้กับปี 2556 และทำได้มีประสิทธิภาพ ซึ่ง ณ ที่นี้คิดเห็นเช่นนี้ ’น้ำท่วม“ ปีนี้ รัฐบาล ภาครัฐ ทำอะไร?-อย่างไร? ’ฟื้นฟูแก้ไขทุกข์น้ำท่วม“ ให้คนไทยได้แค่ไหน? ฟังเสียงคนไทยที่ทุกข์น้ำท่วม ก็ย่อมจะชี้ชัด!!!!!. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/223/239512 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 ต.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)