เครื่องอุ่นดินช่วยพลิกวิกฤติอุทกภัยน้ำท่วม
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คิดค้นนวัตกรรมเครื่องอุ่นดินด้วยคลื่นไมโครเวฟ สามารถฟื้นคืนชีพ "ดิน” ด้วยเวลาเพียง 3 วัน ช่วยเหลือเกษตรกรไทยในวิกฤติน้ำท่วม
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดตัวนวัตกรรมเครื่องส่งคลื่นไมโครเวฟ เร่งอัตราการคายน้ำของดิน ช่วยเหลือเกษตรกรไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วม โดยที่คลื่นไมโครเวฟสามารถทำให้ความชื้นในดินลดลง และมีอุณหภูมิในดินเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง ของระยะห่างจากหลุม 5-15 เซนติเมตร ซึ่งคาดว่าหากได้นำไปใช้จริงหลังจากการเกิดน้ำท่วม ก็จะสามารถทำให้เกษตรกรร่นระยะเวลาในการรอคอยดินเพื่อให้กลับมาเป็นปกติก่อนทำการปลูกพืชจริงได้ ซึ่งใช้ระยะเวลาเพียง 1-3 วัน ขึ้นกับสภาพภูมิอากาศและขนาดพื้นที่ทางการเกษตร อีกทั้งยังสามารถช่วยให้เกษตรกรประหยัดต้นทุนและแรงงานคนไปได้มากกว่า 50%
ที่ผ่านมา หากนาข้าวและสวนผลไม้ต่างๆ จมอยู่ใต้น้ำไม่น้อยกว่า 1 เดือน จะส่งผลให้รากต้นไม้เน่าเปื่อย เกษตรกรจะมีวิธีการระบายน้ำที่ท่วมหน้าดินลงคลองระบายน้ำ แล้วปล่อยให้ความชื้นในดินลดลงด้วยการคายน้ำของดินเอง และการขุดหลุมรอบๆ ต้นไม้ เพื่อให้น้ำในดินบริเวณรอบๆ ซึมเข้ามาในหลุมที่ขุดไว้ แล้วสูบน้ำในหลุมทิ้ง โดยใช้ระยะเวลานานประมาณ 1-3 อาทิตย์ กว่าที่เกษตรกรจะกลับมาทำพื้นที่ทางการเกษตรได้อีกครั้ง ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อภาคเกษตรกรรม ซึ่งเครื่องส่งคลื่นไมโครเวฟ เร่งอัตราการคายน้ำของดิน ถือเป็นนวัตกรรมที่สามารถช่วยเหลือสังคมได้ สอดคล้องกับจุดยืนของการเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศที่มุ่งวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและเป็นที่พึ่งของสังคม สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับนวัตกรรมเครื่องส่งคลื่นไมโครเวฟ เร่งอัตราการคายน้ำของดิน สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เบอร์โทรศัพท์ 0-2329-8000 ถึง 99 ต่อ 3781 ถึง 4 หรือเข้าไปที่www.kmitl.ac.th
ศ.ดร.โมไนย ไกรฤกษ์ อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อปี 2554 ได้เกิดเหตุน้ำท่วมครั้งใหญ่ในประเทศไทย ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างยิ่งทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม ธนาคารโลกเองได้ประเมินความเสียหายครั้งนี้ไว้สูงถึง 45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในส่วนของภาคเกษตรกรรม ทั้งนาข้าวและสวนผลไม้ต่างๆ จมอยู่ใต้น้ำไม่น้อยกว่า 1 เดือน ทำให้รากต้นไม้เน่าเปื่อย ซึ่งถ้าหากเกษตรกรไม่สามารถระบายน้ำออกและลดความชื้นในดินได้ทันท่วงที จะทำให้ต้นไม้ตายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างยิ่งต่อภาคเกษตรกรรม ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการคิดค้น วิจัยงานสายอากาศร่องบนท่อนำคลื่นสี่เหลี่ยมมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเร่งอัตราการคายน้ำของดิน โดยมีนายธัญวัฒน์ ลิมปิติ นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นหนึ่งในทีมวิจัยและพัฒนาคลื่นไมโครเวฟลดความชื้นในดิน
นายธัญวัฒน์ ลิมปิติ นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวว่า งานวิจัยชิ้นนี้นำเสนอกระบวนการในการผลิตสายอากาศร่องบนท่อนำคลื่นสี่เหลี่ยมที่ถูกออกแบบเพื่อใช้ในการแผ่พลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสู่ดิน โดยมีคลื่นไมโครเวฟเป็นตัวกลางในการเร่งอัตราการคายน้ำของดิน ซึ่งกำหนดให้กำลังงานที่ป้อนให้สายอากาศเท่ากับ 800 วัตต์ และเมื่อใช้คลื่นไมโครเวฟในการเร่งอัตราการคายน้ำของดินทดสอบภาคสนามที่สวนส้มโอ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พบว่าเมื่อนำสายอากาศร่องบนท่อนำคลื่นเพื่อช่วยลดความชื้นในดินที่มีคลื่นไมโครเวฟเป็นตัวนำนั้น ทำให้ความชื้นในดินลดลงได้อย่างรวดเร็ว และมีอุณหภูมิในดินเพิ่มขึ้น ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง ซึ่งวิธีการไมโครเวฟนี้ เมื่อระยะเวลาเพิ่มขึ้น อุณหภูมิก็จะเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดที่ระยะห่างจากหลุมเท่ากับ 5 เซนติเมตร โดยอุณหภูมิเดิมอยู่ที่ 30 องศาเซลเซียส แต่หลังจากการใช้วิธีการไมโครเวฟ อุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้น เป็น 55 องศาเซลเซียส ส่วนความชื้นก็ลดลงตามไปด้วย จากเดิม 61% (wet basis) เหลือเพียง 16% (wet basis) สำหรับ 10 เซนติเมตร อุณหภูมิเดิมอยู่ที่ 27 องศาเซลเซียส แต่หลังจากการใช้วิธีการไมโครเวฟ อุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้น เป็น 57 องศาเซลเซียส และความชื้นจากเดิมคือ 63% (wet basis) เหลือเพียง 48% (wet basis) ส่วนที่ระยะห่างจากหลุม 15 เซนติเมตร อุณหภูมิเดิมอยู่ที่ 28 องศาเซลเซียส แต่หลังจากการใช้วิธีการไมโครเวฟ อุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้น เป็น 38 องศาเซลเซียส และความชื้นจากเดิมคือ 63% (wet basis) เหลือเพียง 55% (wet basis)
ยังไม่มีเรตติ้ง
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คิดค้นนวัตกรรมเครื่องอุ่นดินด้วยคลื่นไมโครเวฟ สามารถฟื้นคืนชีพ "ดิน” ด้วยเวลาเพียง 3 วัน ช่วยเหลือเกษตรกรไทยในวิกฤติน้ำท่วม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดตัวนวัตกรรมเครื่องส่งคลื่นไมโครเวฟ เร่งอัตราการคายน้ำของดิน ช่วยเหลือเกษตรกรไทยที่ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วม โดยที่คลื่นไมโครเวฟสามารถทำให้ความชื้นในดินลดลง และมีอุณหภูมิในดินเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง ของระยะห่างจากหลุม 5-15 เซนติเมตร ซึ่งคาดว่าหากได้นำไปใช้จริงหลังจากการเกิดน้ำท่วม ก็จะสามารถทำให้เกษตรกรร่นระยะเวลาในการรอคอยดินเพื่อให้กลับมาเป็นปกติก่อนทำการปลูกพืชจริงได้ ซึ่งใช้ระยะเวลาเพียง 1-3 วัน ขึ้นกับสภาพภูมิอากาศและขนาดพื้นที่ทางการเกษตร อีกทั้งยังสามารถช่วยให้เกษตรกรประหยัดต้นทุนและแรงงานคนไปได้มากกว่า 50% ที่ผ่านมา หากนาข้าวและสวนผลไม้ต่างๆ จมอยู่ใต้น้ำไม่น้อยกว่า 1 เดือน จะส่งผลให้รากต้นไม้เน่าเปื่อย เกษตรกรจะมีวิธีการระบายน้ำที่ท่วมหน้าดินลงคลองระบายน้ำ แล้วปล่อยให้ความชื้นในดินลดลงด้วยการคายน้ำของดินเอง และการขุดหลุมรอบๆ ต้นไม้ เพื่อให้น้ำในดินบริเวณรอบๆ ซึมเข้ามาในหลุมที่ขุดไว้ แล้วสูบน้ำในหลุมทิ้ง โดยใช้ระยะเวลานานประมาณ 1-3 อาทิตย์ กว่าที่เกษตรกรจะกลับมาทำพื้นที่ทางการเกษตรได้อีกครั้ง ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากต่อภาคเกษตรกรรม ซึ่งเครื่องส่งคลื่นไมโครเวฟ เร่งอัตราการคายน้ำของดิน ถือเป็นนวัตกรรมที่สามารถช่วยเหลือสังคมได้ สอดคล้องกับจุดยืนของการเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศที่มุ่งวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและเป็นที่พึ่งของสังคม สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับนวัตกรรมเครื่องส่งคลื่นไมโครเวฟ เร่งอัตราการคายน้ำของดิน สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เบอร์โทรศัพท์ 0-2329-8000 ถึง 99 ต่อ 3781 ถึง 4 หรือเข้าไปที่www.kmitl.ac.th ศ.ดร.โมไนย ไกรฤกษ์ อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อปี 2554 ได้เกิดเหตุน้ำท่วมครั้งใหญ่ในประเทศไทย ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างยิ่งทั้งภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรม ธนาคารโลกเองได้ประเมินความเสียหายครั้งนี้ไว้สูงถึง 45 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในส่วนของภาคเกษตรกรรม ทั้งนาข้าวและสวนผลไม้ต่างๆ จมอยู่ใต้น้ำไม่น้อยกว่า 1 เดือน ทำให้รากต้นไม้เน่าเปื่อย ซึ่งถ้าหากเกษตรกรไม่สามารถระบายน้ำออกและลดความชื้นในดินได้ทันท่วงที จะทำให้ต้นไม้ตายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างยิ่งต่อภาคเกษตรกรรม ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการคิดค้น วิจัยงานสายอากาศร่องบนท่อนำคลื่นสี่เหลี่ยมมาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเร่งอัตราการคายน้ำของดิน โดยมีนายธัญวัฒน์ ลิมปิติ นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นหนึ่งในทีมวิจัยและพัฒนาคลื่นไมโครเวฟลดความชื้นในดิน นายธัญวัฒน์ ลิมปิติ นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวว่า งานวิจัยชิ้นนี้นำเสนอกระบวนการในการผลิตสายอากาศร่องบนท่อนำคลื่นสี่เหลี่ยมที่ถูกออกแบบเพื่อใช้ในการแผ่พลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสู่ดิน โดยมีคลื่นไมโครเวฟเป็นตัวกลางในการเร่งอัตราการคายน้ำของดิน ซึ่งกำหนดให้กำลังงานที่ป้อนให้สายอากาศเท่ากับ 800 วัตต์ และเมื่อใช้คลื่นไมโครเวฟในการเร่งอัตราการคายน้ำของดินทดสอบภาคสนามที่สวนส้มโอ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม พบว่าเมื่อนำสายอากาศร่องบนท่อนำคลื่นเพื่อช่วยลดความชื้นในดินที่มีคลื่นไมโครเวฟเป็นตัวนำนั้น ทำให้ความชื้นในดินลดลงได้อย่างรวดเร็ว และมีอุณหภูมิในดินเพิ่มขึ้น ภายในระยะเวลา 1 ชั่วโมง ซึ่งวิธีการไมโครเวฟนี้ เมื่อระยะเวลาเพิ่มขึ้น อุณหภูมิก็จะเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดที่ระยะห่างจากหลุมเท่ากับ 5 เซนติเมตร โดยอุณหภูมิเดิมอยู่ที่ 30 องศาเซลเซียส แต่หลังจากการใช้วิธีการไมโครเวฟ อุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้น เป็น 55 องศาเซลเซียส ส่วนความชื้นก็ลดลงตามไปด้วย จากเดิม 61% (wet basis) เหลือเพียง 16% (wet basis) สำหรับ 10 เซนติเมตร อุณหภูมิเดิมอยู่ที่ 27 องศาเซลเซียส แต่หลังจากการใช้วิธีการไมโครเวฟ อุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้น เป็น 57 องศาเซลเซียส และความชื้นจากเดิมคือ 63% (wet basis) เหลือเพียง 48% (wet basis) ส่วนที่ระยะห่างจากหลุม 15 เซนติเมตร อุณหภูมิเดิมอยู่ที่ 28 องศาเซลเซียส แต่หลังจากการใช้วิธีการไมโครเวฟ อุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้น เป็น 38 องศาเซลเซียส และความชื้นจากเดิมคือ 63% (wet basis) เหลือเพียง 55% (wet
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)