สั่นสะเทือน...เตือนแผ่นดินไหวในไทย

แสดงความคิดเห็น

แผนที่ประเทศไทย

„“…วันที่ 4 พ.ค. 58 เวลา 22.00 น. แผ่นดินไหวบริเวณ อ.ท่าสองยางจ.ตาก (17.63,97.96) ขนาด 2.6 แมกนิจูด/วันที่ 5 พ.ค. 58 เวลา 16.28 น. แผ่นดินไหว อ.เมือง จ.เชียงราย (19.903, 99.762) ขนาด 1.5 แมกนิจูด/วันที่ 6 พ.ค. 58 เวลา 04.18 น. แผ่นดินไหว อ.เกาะยาว จ.พังงา (7.846,98.540) ขนาด 4.6 แมกนิจูด และในเวลา 12.25 น. เกิดแผ่นดินไหวในทะเล บริเวณ อ.เกาะยาว จ.พังงา (7.83,98.54) ขนาด 3.2 แมกนิจูด วันที่ 7 พ.ค. 58 เวลา 00.30 น. แผ่นดินไหวในทะเลบริเวณ อ.เกาะยาว จ.พังงา(7.84, 98.52) ขนาด 4.8 แมกนิจูด และวันที่ 8 พ.ค. 58 เวลา 12.14 น. แผ่นดินไหวในทะเลบริเวณ อ.เกาะยาว จ.พังงา (7.85, 98.51) ขนาด 2.7 แมกนิจูด... นี่คือข้อมูลบางช่วงเวลาที่ผ่านมาซึ่งเป็นรายงานของสำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหวกรมอุตุนิยมวิทยาที่แจ้งเหตุแผ่นดินไหวในประเทศไทยช่วงต้นเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาซึ่งห่างจากการเกิดแผ่นดินไหวที่เนปาลไม่นานนัก… ทำให้หลายภาคส่วนทั้งกลุ่มหน่วยงานราชการภาคเอกชนและประชาชนในพื้นที่ที่อยู่ในจุดเสี่ยงต่างให้ความสนใจเฝ้าติดตามข่าวกันอย่างใกล้ชิด แต่แล้วความแน่นอนคือความไม่แน่นอน…ความชัดเจนก็ไม่กระจ่างชัดการออกข่าวสารบางเรื่องบางประเด็นกลายเป็น ข้อถกเถียงกันของกลุ่มนักวิชาการที่ทำให้ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะคนในพื้นที่ต่างอยู่ในภาวะหวาดกลัวและขวัญผวา โดยหลังเกิดแผ่นดินไหวหนักในประเทศไทย นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติเปิดเผยว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เนปาลตนมีความเป็นห่วงว่าอาจจะเกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ในไทยเป็นครั้งที่ 2 ยิ่งการเกิดแผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย 4.5 แมกนิจูด ที่เกาะยาว อาจส่งผลต่อรอยเลื่อนในประเทศไทยทั้ง 14 แห่ง นายสมิทธ กล่าวต่อว่า ปัญหาที่กลัวเพราะมีรอยเลื่อนขนาดใหญ่คือรอยเลื่อนสะแก หรือสกายเริ่มจากปากแม่น้ำอิระวดียาวสุดหัวเกาะสุมาตรา พาดผ่าน จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต เคยเกิดไหวรุนแรงในทะเลห่างจากไทยหลายร้อยกิโลเมตร ยังมีคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อปี 2547 ซึ่งระยะเวลาเดินทางของคลื่นแค่ 90 นาที ถือเป็นรอยเลื่อนมีพลังมากจากการมุดตัวของเปลือกโลกอินเดียและยูเรเซียมีพลังงานสะสมมากในที่ตั้งภาคใต้ของประเทศไทยถ้ารอยเลื่อนนี้เคลื่อนตัวอีกจะเกิดสึนามิอีกครั้งอย่างรุนแรงขึ้น“

แผ่นดินไหว

„นอกจากนี้ยังเป็นห่วงรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ใต้เขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรีล้วนแต่ตั้งอยู่บนรอยเลื่อนที่มีความเครียดสะสมของพลังงานซึ่งตอนนี้มีมากเต็ม ที่แล้วหากเกิดรอยเลื่อนใหญ่แม้ไม่ ไหวรุนแรง ก็อาจทำให้เขื่อนแตกได้ และ จ.กาญจนบุรี อาจเกิดน้ำท่วมสูงถึง 22 เมตร...ที่ผ่านมาไม่อยากเถียงกับพวกนักวิชาการที่ชอบออกมาพูดว่าเป็นเพียงการขยับตัวให้เข้าที่และไม่เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ ๆ ในไทยแต่เป็นห่วงชาวบ้านอาจตั้งรับไม่ทันเพราะหน่วยงานรัฐละเลย…นี่คือข้อห่วงใยของประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติที่ดูจะขัดแย้งกับกลุ่มนักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้องของภาครัฐ ด้าน พล.ร.อ.เกาะหลัก เจริญรุกข์ ผู้เชี่ยวชาญศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติอธิบายเรื่องการเกิดแผ่นดินไหวว่าการเกิดแผ่นดินไหวไม่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทยมีรอยเลื่อนเล็ก ๆ 4 รอย ได้แก่รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ เจดีย์สามองค์ ระนองและคลองมะรุ่ยซึ่งทั้ง 4 รอยหากเกิดแผ่นดินไหวจะมีความรุนแรงไม่เกิน 5 แมกนิจูดและจะไม่สามารถสร้างความเสียหายให้เขื่อนศรีนครินทร์ได้เพราะได้สร้างไว้รองรับการไหวถึง 7 แมกนิจูดและหากมีการไหวจริงด้วยสภาพตัวเขื่อนที่เป็นเขื่อนหินทิ้งยิ่งจะทำให้ตัวเขื่อนมีความแน่นแข็งแรงมากขึ้น ส่วนเรื่องการเกิดสึนามินั้นจะเกิดได้ในทะเลเท่านั้นและศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ มีลำดับขั้นตอนในการติดตามเช่นการเฝ้าระวังการตรวจสอบข้อมูลทุ่นที่เกาะเมียง จ.ระนองตรวจจุดที่สึนามิจะเข้าและประสานหน่วยงานราชการเข้าช่วยเหลือซึ่งทุกขั้นตอนใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง โดยประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวได้ที่สายด่วนศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ 192 หรือ 0-2399-4114 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง… คำชี้แจงของภาครัฐต่อสถานการณ์ตื่นตูมเรื่องแผ่นดินไหว ขณะในส่วนภูมิภาคตามพื้นที่นั้นต่างมีความเชื่อไปในแนวทางเดียวกันว่าหากเกิดแผ่นดินไหวจะสามารถรับมือกับสถานการณ์ได้โดย นายประยูร รัตนเสนีย์ ผวจ.พังงา ยืนยันว่าไม่ได้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในพื้นที่ มีเพียงการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กเท่านั้นและทางราชการไม่เคยมีประกาศเตือนตามที่ผู้ไม่หวังดีกล่าวอ้างพร้อมสั่งการให้เจ้าหน้าที่เร่งประชา สัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชนและนักท่องเที่ยว “เราเพิ่มความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวด้วยการลงพื้นที่เขาหลักเพื่อดูการทำงานของระบบเตือนภัยมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยากของหอเตือนภัย หอเตือนภัยเพื่อนพึ่งภาฯ และลงตรวจสอบพื้นที่ อ.เกาะยาว ด้วย” ผวจ.พังงา ระบุไว้ ด้าน นายเถลิงศักดิ์ ภูวญาณพงศ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณ ภัยจังหวัดกระบี่ เปิดเผยว่า เหตุแผ่นดินไหวที่จ.พังงา มีหลายพื้นที่รับรู้แรงสั่นสะเทือนหลังเกิดเหตุประมาณ 1 ชั่วโมงประชาชนที่อพยพก็ได้กลับลงมาอยู่ตามที่พักอาศัย และใช้ชีวิตตามปกติ ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติไม่ตื่นตระหนกแต่อย่างใด ส่วน นางมนฤดี เกตุพันธุ์ ผอ.ท่าอากาศยานภูเก็ต เปิดเผยว่า สนามบินมีการ เตรียมความพร้อมรับมือเหตุการณ์แผ่นดินไหวและกรณีเกิดคลื่นสึนามิตลอด 24 ชั่วโมงโดยมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและมีการฝึกซ้อมตามแผนฉุกเฉินต่อเนื่องโดยมั่นใจรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้ ขณะเดียวกัน น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ที่ปรึกษาด้านการสื่อสารกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และผู้ดูแลศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติกล่าวว่า กรณีแผ่นดินไหวตอนใต้เกาะยาวขนาด 4.6 แมกนิจูดส่งผลให้ได้รับแรงสั่นไหวในหลายพื้นที่ใน จ.ภูเก็ต จ.พังงา และ จ.กระบี่ ซึ่งกรณีดังกล่าวถือว่าไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน อย่างไรก็ตาม ประชาชนในพื้นที่มีความระมัดระวังตัวและมีประสบการณ์รับฟังคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่องซึ่งเมื่อได้รับแรงสั่นสะเทือนก็ขึ้นไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยเมื่อเหตุการณ์ปกติก็กลับลงมาใช้ชีวิตตามปกติทั้งนี้ ที่ผ่านมาศูนย์เตือนภัยฯก็ได้มีการจัดโครงการสร้างองค์ความรู้ต่อภัยพิบัติในทุกปีจึงทำให้ประชาชนหรือแม้แต่นักท่องเที่ยวในพื้นที่เสี่ยงภัยต่าง ๆ มีความรู้ความเข้าใจเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นถือว่าลดความเสียหายได้ดี อีกทางหนึ่ง ศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย หัวหน้าชุดโครงการวิจัยลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)ให้ข้อมูลไว้ตอนหนึ่งว่าประเทศไทยยังมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ขนาด 6.8-7.2 แมกนิจูดได้ จากบริเวณรอยเลื่อนแม่จันรอยเลื่อนเถิน และรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์แม้ว่าอาจจะยังไม่เกิดในเร็ว ๆ นี้ก็ตาม หากการเกิดแผ่นดินไหวแล้วมีผล กระทบต่อตึกสูงในพื้นที่และกรุงเทพฯนั้นอาจจะเป็นไปได้ใน 3 กรณี คือ 1. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.5 ริคเตอร์ ที่จังหวัดกาญจนบุรีที่ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 200 กิโลเมตร 2. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.0 ริคเตอร์ ตามรอยเลื่อนสกาย ที่ห่างจาก กทม.ไม่เกิน 400 กิโลเมตรและ 3. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.5 ริคเตอร์ ที่เกิดขึ้นตามแนวแผ่นเปลือกโลก ยูเรเซีย อย่างไรก็ดีแม้ว่าการเกิดแผ่นดินไหวจะไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้แต่การ เตรียมการรับมือด้วยสร้างอาคารที่แข็งแรงตามมาตรฐาน จะช่วยลดความเสียหายได้เป็นอย่างมาก…หากเรารู้จักการเกิดแผ่นดินไหวและมีสติไม่ตื่นตูมหรือตระหนกไปกับคำพยากรณ์หรือคาดเดาจากเหตุการณ์หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งเชื่อว่าเราจะรอดปลอด ภัยจากภัยธรรมชาติที่เราห้ามไม่ได้แต่เราเรียนรู้และเอาตัวรอดจากมันได้แน่นอน. ทีมข่าวเฉพาะกิจรายงาน“

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/320456 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 12 พ.ค.58
วันที่โพสต์: 13/05/2558 เวลา 11:01:05 ดูภาพสไลด์โชว์ สั่นสะเทือน...เตือนแผ่นดินไหวในไทย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

แผนที่ประเทศไทย „“…วันที่ 4 พ.ค. 58 เวลา 22.00 น. แผ่นดินไหวบริเวณ อ.ท่าสองยางจ.ตาก (17.63,97.96) ขนาด 2.6 แมกนิจูด/วันที่ 5 พ.ค. 58 เวลา 16.28 น. แผ่นดินไหว อ.เมือง จ.เชียงราย (19.903, 99.762) ขนาด 1.5 แมกนิจูด/วันที่ 6 พ.ค. 58 เวลา 04.18 น. แผ่นดินไหว อ.เกาะยาว จ.พังงา (7.846,98.540) ขนาด 4.6 แมกนิจูด และในเวลา 12.25 น. เกิดแผ่นดินไหวในทะเล บริเวณ อ.เกาะยาว จ.พังงา (7.83,98.54) ขนาด 3.2 แมกนิจูด วันที่ 7 พ.ค. 58 เวลา 00.30 น. แผ่นดินไหวในทะเลบริเวณ อ.เกาะยาว จ.พังงา(7.84, 98.52) ขนาด 4.8 แมกนิจูด และวันที่ 8 พ.ค. 58 เวลา 12.14 น. แผ่นดินไหวในทะเลบริเวณ อ.เกาะยาว จ.พังงา (7.85, 98.51) ขนาด 2.7 แมกนิจูด... นี่คือข้อมูลบางช่วงเวลาที่ผ่านมาซึ่งเป็นรายงานของสำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหวกรมอุตุนิยมวิทยาที่แจ้งเหตุแผ่นดินไหวในประเทศไทยช่วงต้นเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาซึ่งห่างจากการเกิดแผ่นดินไหวที่เนปาลไม่นานนัก… ทำให้หลายภาคส่วนทั้งกลุ่มหน่วยงานราชการภาคเอกชนและประชาชนในพื้นที่ที่อยู่ในจุดเสี่ยงต่างให้ความสนใจเฝ้าติดตามข่าวกันอย่างใกล้ชิด แต่แล้วความแน่นอนคือความไม่แน่นอน…ความชัดเจนก็ไม่กระจ่างชัดการออกข่าวสารบางเรื่องบางประเด็นกลายเป็น ข้อถกเถียงกันของกลุ่มนักวิชาการที่ทำให้ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะคนในพื้นที่ต่างอยู่ในภาวะหวาดกลัวและขวัญผวา โดยหลังเกิดแผ่นดินไหวหนักในประเทศไทย นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติเปิดเผยว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เนปาลตนมีความเป็นห่วงว่าอาจจะเกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ในไทยเป็นครั้งที่ 2 ยิ่งการเกิดแผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย 4.5 แมกนิจูด ที่เกาะยาว อาจส่งผลต่อรอยเลื่อนในประเทศไทยทั้ง 14 แห่ง นายสมิทธ กล่าวต่อว่า ปัญหาที่กลัวเพราะมีรอยเลื่อนขนาดใหญ่คือรอยเลื่อนสะแก หรือสกายเริ่มจากปากแม่น้ำอิระวดียาวสุดหัวเกาะสุมาตรา พาดผ่าน จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต เคยเกิดไหวรุนแรงในทะเลห่างจากไทยหลายร้อยกิโลเมตร ยังมีคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อปี 2547 ซึ่งระยะเวลาเดินทางของคลื่นแค่ 90 นาที ถือเป็นรอยเลื่อนมีพลังมากจากการมุดตัวของเปลือกโลกอินเดียและยูเรเซียมีพลังงานสะสมมากในที่ตั้งภาคใต้ของประเทศไทยถ้ารอยเลื่อนนี้เคลื่อนตัวอีกจะเกิดสึนามิอีกครั้งอย่างรุนแรงขึ้น“ แผ่นดินไหว „นอกจากนี้ยังเป็นห่วงรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ใต้เขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรีล้วนแต่ตั้งอยู่บนรอยเลื่อนที่มีความเครียดสะสมของพลังงานซึ่งตอนนี้มีมากเต็ม ที่แล้วหากเกิดรอยเลื่อนใหญ่แม้ไม่ ไหวรุนแรง ก็อาจทำให้เขื่อนแตกได้ และ จ.กาญจนบุรี อาจเกิดน้ำท่วมสูงถึง 22 เมตร...ที่ผ่านมาไม่อยากเถียงกับพวกนักวิชาการที่ชอบออกมาพูดว่าเป็นเพียงการขยับตัวให้เข้าที่และไม่เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ ๆ ในไทยแต่เป็นห่วงชาวบ้านอาจตั้งรับไม่ทันเพราะหน่วยงานรัฐละเลย…นี่คือข้อห่วงใยของประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติที่ดูจะขัดแย้งกับกลุ่มนักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้องของภาครัฐ ด้าน พล.ร.อ.เกาะหลัก เจริญรุกข์ ผู้เชี่ยวชาญศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติอธิบายเรื่องการเกิดแผ่นดินไหวว่าการเกิดแผ่นดินไหวไม่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทยมีรอยเลื่อนเล็ก ๆ 4 รอย ได้แก่รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ เจดีย์สามองค์ ระนองและคลองมะรุ่ยซึ่งทั้ง 4 รอยหากเกิดแผ่นดินไหวจะมีความรุนแรงไม่เกิน 5 แมกนิจูดและจะไม่สามารถสร้างความเสียหายให้เขื่อนศรีนครินทร์ได้เพราะได้สร้างไว้รองรับการไหวถึง 7 แมกนิจูดและหากมีการไหวจริงด้วยสภาพตัวเขื่อนที่เป็นเขื่อนหินทิ้งยิ่งจะทำให้ตัวเขื่อนมีความแน่นแข็งแรงมากขึ้น ส่วนเรื่องการเกิดสึนามินั้นจะเกิดได้ในทะเลเท่านั้นและศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ มีลำดับขั้นตอนในการติดตามเช่นการเฝ้าระวังการตรวจสอบข้อมูลทุ่นที่เกาะเมียง จ.ระนองตรวจจุดที่สึนามิจะเข้าและประสานหน่วยงานราชการเข้าช่วยเหลือซึ่งทุกขั้นตอนใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง โดยประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวได้ที่สายด่วนศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ 192 หรือ 0-2399-4114 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง… คำชี้แจงของภาครัฐต่อสถานการณ์ตื่นตูมเรื่องแผ่นดินไหว ขณะในส่วนภูมิภาคตามพื้นที่นั้นต่างมีความเชื่อไปในแนวทางเดียวกันว่าหากเกิดแผ่นดินไหวจะสามารถรับมือกับสถานการณ์ได้โดย นายประยูร รัตนเสนีย์ ผวจ.พังงา ยืนยันว่าไม่ได้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในพื้นที่ มีเพียงการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กเท่านั้นและทางราชการไม่เคยมีประกาศเตือนตามที่ผู้ไม่หวังดีกล่าวอ้างพร้อมสั่งการให้เจ้าหน้าที่เร่งประชา สัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชนและนักท่องเที่ยว “เราเพิ่มความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวด้วยการลงพื้นที่เขาหลักเพื่อดูการทำงานของระบบเตือนภัยมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยากของหอเตือนภัย หอเตือนภัยเพื่อนพึ่งภาฯ และลงตรวจสอบพื้นที่ อ.เกาะยาว ด้วย” ผวจ.พังงา ระบุไว้ ด้าน นายเถลิงศักดิ์ ภูวญาณพงศ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณ ภัยจังหวัดกระบี่ เปิดเผยว่า เหตุแผ่นดินไหวที่จ.พังงา มีหลายพื้นที่รับรู้แรงสั่นสะเทือนหลังเกิดเหตุประมาณ 1 ชั่วโมงประชาชนที่อพยพก็ได้กลับลงมาอยู่ตามที่พักอาศัย และใช้ชีวิตตามปกติ ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติไม่ตื่นตระหนกแต่อย่างใด ส่วน นางมนฤดี เกตุพันธุ์ ผอ.ท่าอากาศยานภูเก็ต เปิดเผยว่า สนามบินมีการ เตรียมความพร้อมรับมือเหตุการณ์แผ่นดินไหวและกรณีเกิดคลื่นสึนามิตลอด 24 ชั่วโมงโดยมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและมีการฝึกซ้อมตามแผนฉุกเฉินต่อเนื่องโดยมั่นใจรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้ ขณะเดียวกัน น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ที่ปรึกษาด้านการสื่อสารกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และผู้ดูแลศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติกล่าวว่า กรณีแผ่นดินไหวตอนใต้เกาะยาวขนาด 4.6 แมกนิจูดส่งผลให้ได้รับแรงสั่นไหวในหลายพื้นที่ใน จ.ภูเก็ต จ.พังงา และ จ.กระบี่ ซึ่งกรณีดังกล่าวถือว่าไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน อย่างไรก็ตาม ประชาชนในพื้นที่มีความระมัดระวังตัวและมีประสบการณ์รับฟังคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่องซึ่งเมื่อได้รับแรงสั่นสะเทือนก็ขึ้นไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยเมื่อเหตุการณ์ปกติก็กลับลงมาใช้ชีวิตตามปกติทั้งนี้ ที่ผ่านมาศูนย์เตือนภัยฯก็ได้มีการจัดโครงการสร้างองค์ความรู้ต่อภัยพิบัติในทุกปีจึงทำให้ประชาชนหรือแม้แต่นักท่องเที่ยวในพื้นที่เสี่ยงภัยต่าง ๆ มีความรู้ความเข้าใจเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นถือว่าลดความเสียหายได้ดี อีกทางหนึ่ง ศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย หัวหน้าชุดโครงการวิจัยลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)ให้ข้อมูลไว้ตอนหนึ่งว่าประเทศไทยยังมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ขนาด 6.8-7.2 แมกนิจูดได้ จากบริเวณรอยเลื่อนแม่จันรอยเลื่อนเถิน และรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์แม้ว่าอาจจะยังไม่เกิดในเร็ว ๆ นี้ก็ตาม หากการเกิดแผ่นดินไหวแล้วมีผล กระทบต่อตึกสูงในพื้นที่และกรุงเทพฯนั้นอาจจะเป็นไปได้ใน 3 กรณี คือ 1. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.5 ริคเตอร์ ที่จังหวัดกาญจนบุรีที่ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 200 กิโลเมตร 2. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.0 ริคเตอร์ ตามรอยเลื่อนสกาย ที่ห่างจาก กทม.ไม่เกิน 400 กิโลเมตรและ 3. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.5 ริคเตอร์ ที่เกิดขึ้นตามแนวแผ่นเปลือกโลก ยูเรเซีย อย่างไรก็ดีแม้ว่าการเกิดแผ่นดินไหวจะไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้แต่การ เตรียมการรับมือด้วยสร้างอาคารที่แข็งแรงตามมาตรฐาน จะช่วยลดความเสียหายได้เป็นอย่างมาก…หากเรารู้จักการเกิดแผ่นดินไหวและมีสติไม่ตื่นตูมหรือตระหนกไปกับคำพยากรณ์หรือคาดเดาจากเหตุการณ์หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งเชื่อว่าเราจะรอดปลอด ภัยจากภัยธรรมชาติที่เราห้ามไม่ได้แต่เราเรียนรู้และเอาตัวรอดจากมันได้แน่นอน. ทีมข่าวเฉพาะกิจรายงาน“ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/320456

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...