กสทช.-ลาดกระบัง เล็งตั้งเลขฉุกเฉิน แจ้งเหตุภัยพิบัติทั่วไทย

แสดงความคิดเห็น

กสทช.-ลาดกระบัง เล็งตั้งเลขหมายฉุกเฉิน แจ้งเหตุภัยพิบัติทั่วไทย

กสทช. ทุ่ม 7 ล้าน ลงนามสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ศึกษาวิจัย เล็งตั้งเลขหมายฉุกเฉิน 112 โทรฟรีเหตุภัยพิบัติ คาด 10 เดือน สรุป ก่อนได้ใช้จริงในอีก 3 ปี ข้างหน้า ...

พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร กรรมการ กสทช. เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 56 พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า กสทช. และกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดให้มีบริการเลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร ภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ และภารกิจบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (USO) วางแผนงานและกำหนดใช้คลื่นความถี่กลาง เฉพาะกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินหรือภัยพิบัติ รวมทั้งบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ เหตุฉุกเฉินของประเทศไทย ซึ่งจะร่วมดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายใน 10 เดือน หรือประมาณเดือน ส.ค.2557

พล.อ.สุกิจ กล่าวต่อว่า การศึกษาครั้งนี้ ได้เปรียบเทียบรูปแบบการบริหารจัดการ เลขหมายฉุกเฉินในต่างประเทศ เช่น เลขหมายฉุกเฉิน 112 ของสหภาพยุโรป เลขหมายฉุกเฉิน 911 ในสหรัฐฯ โดยเบื้องต้น อาจรวมเลขหมายกับ 191 แต่การปรับเปลี่ยน ไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ กทค. หรือ กสทช. แต่ต้องนำเข้าคณะกรรมการ กสทช. และพิจารณาร่วมหลายฝ่าย ซึ่งหากรัฐบาลเห็นว่า ควรเป็นระบบเดียวกันทุกประเภท ก็อาจได้รับการพิจารณาในภายหลัง

นายถวิล พึ่งมา อธิการบดี สจล. ด้าน นายถวิล พึ่งมา อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้รับงบประมาณการศึกษา จำนวน 7 ล้านบาท โดยมีแนวโน้มที่จะใช้เลขหมาย 112 เป็นเลข 3 ตัว เพื่อให้เกิดการจดจำง่าย ซึ่งเบื้องต้น จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับภัยพิบัติ อาทิ สึนามิ วาตภัย อุทกภัย โดยเมื่อมีการโทรเข้ามาในแต่ละพื้นที่ ระบบจะตัดเข้าสู่จังหวัดนั้นๆ และจะกระจายไปยังจุดต่าง ๆ ใกล้เคียง ซึ่งประชาชนสามารถโทรผ่านทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรศัพท์บ้าน และโทรศัพท์สาธารณะได้ฟรี โดยคาดว่า ภายใน 3 ปี หรือปี 2559 จะเริ่มใช้งานเลขหมายดังกล่าวได้

ขณะที่ก่อนหน้านี้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ขอเลขหมายพิเศษมายัง กสทช. คือ 192 สำหรับการจัดทำหมายเลขฉุกเฉินแห่งชาติ เช่นเดียวกับหมายเลข 911 ของประเทศสหรัฐฯ ซึ่งสาเหตุที่ต้องเป็นเลขหมาย 3 ตัว เพื่อง่ายต่อการจำ เพราะที่ผ่านมา ประเทศไทยไม่เคยมีเลขหมายพิเศษในลักษณะนี้มาก่อน

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/tech/383071

( ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 พ.ย.56 )

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 พ.ย.56
วันที่โพสต์: 16/11/2556 เวลา 03:28:11 ดูภาพสไลด์โชว์ กสทช.-ลาดกระบัง เล็งตั้งเลขฉุกเฉิน แจ้งเหตุภัยพิบัติทั่วไทย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

กสทช.-ลาดกระบัง เล็งตั้งเลขหมายฉุกเฉิน แจ้งเหตุภัยพิบัติทั่วไทย กสทช. ทุ่ม 7 ล้าน ลงนามสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ศึกษาวิจัย เล็งตั้งเลขหมายฉุกเฉิน 112 โทรฟรีเหตุภัยพิบัติ คาด 10 เดือน สรุป ก่อนได้ใช้จริงในอีก 3 ปี ข้างหน้า ... พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร กรรมการ กสทช.เมื่อวันที่ 15 พ.ย. 56 พล.อ.สุกิจ ขมะสุนทร กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า กสทช. และกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ กับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดให้มีบริการเลขหมายโทรศัพท์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร ภายใต้กรอบอำนาจหน้าที่ และภารกิจบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (USO) วางแผนงานและกำหนดใช้คลื่นความถี่กลาง เฉพาะกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินหรือภัยพิบัติ รวมทั้งบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ เหตุฉุกเฉินของประเทศไทย ซึ่งจะร่วมดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายใน 10 เดือน หรือประมาณเดือน ส.ค.2557 พล.อ.สุกิจ กล่าวต่อว่า การศึกษาครั้งนี้ ได้เปรียบเทียบรูปแบบการบริหารจัดการ เลขหมายฉุกเฉินในต่างประเทศ เช่น เลขหมายฉุกเฉิน 112 ของสหภาพยุโรป เลขหมายฉุกเฉิน 911 ในสหรัฐฯ โดยเบื้องต้น อาจรวมเลขหมายกับ 191 แต่การปรับเปลี่ยน ไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ กทค. หรือ กสทช. แต่ต้องนำเข้าคณะกรรมการ กสทช. และพิจารณาร่วมหลายฝ่าย ซึ่งหากรัฐบาลเห็นว่า ควรเป็นระบบเดียวกันทุกประเภท ก็อาจได้รับการพิจารณาในภายหลัง นายถวิล พึ่งมา อธิการบดี สจล.ด้าน นายถวิล พึ่งมา อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้รับงบประมาณการศึกษา จำนวน 7 ล้านบาท โดยมีแนวโน้มที่จะใช้เลขหมาย 112 เป็นเลข 3 ตัว เพื่อให้เกิดการจดจำง่าย ซึ่งเบื้องต้น จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับภัยพิบัติ อาทิ สึนามิ วาตภัย อุทกภัย โดยเมื่อมีการโทรเข้ามาในแต่ละพื้นที่ ระบบจะตัดเข้าสู่จังหวัดนั้นๆ และจะกระจายไปยังจุดต่าง ๆ ใกล้เคียง ซึ่งประชาชนสามารถโทรผ่านทั้งโทรศัพท์เคลื่อนที่ โทรศัพท์บ้าน และโทรศัพท์สาธารณะได้ฟรี โดยคาดว่า ภายใน 3 ปี หรือปี 2559 จะเริ่มใช้งานเลขหมายดังกล่าวได้ ขณะที่ก่อนหน้านี้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ขอเลขหมายพิเศษมายัง กสทช. คือ 192 สำหรับการจัดทำหมายเลขฉุกเฉินแห่งชาติ เช่นเดียวกับหมายเลข 911 ของประเทศสหรัฐฯ ซึ่งสาเหตุที่ต้องเป็นเลขหมาย 3 ตัว เพื่อง่ายต่อการจำ เพราะที่ผ่านมา ประเทศไทยไม่เคยมีเลขหมายพิเศษในลักษณะนี้มาก่อน ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/tech/383071 ( ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 15 พ.ย.56 )

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...