เรียนรู้ญี่ปุ่น...รับมือภัยพิบัติ'หนีรอดเองให้ได้72ชั่วโมง'

แสดงความคิดเห็น

เรียนรู้ญี่ปุ่น...รับมือภัยพิบัติ'หนีรอดเองให้ได้72ชั่วโมง'

เรียนรู้ญี่ปุ่น...รับมือภัยพิบัติ'หนีรอดเองให้ได้72ชั่วโมง' : โดย...พวงชมพู ประเสริฐ

"72 ชั่วโมง" หรือ 3 วันเป็นช่วงเวลาที่ประเทศญี่ปุ่นกำหนดเพื่อให้ประชาชนช่วยเหลือตัวเองให้ อยู่รอดยามเกิดภัยพิบัติ ก่อนที่ความช่วยเหลือของรัฐบาลจะเข้าถึง โดยเฉพาะภัยจากการเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งญี่ปุ่นมีการคาดการณ์ว่าจะเกิดแผ่นดินไหวใหญ่อีก 2 ครั้งบริเวณตอนกลางของเกาะฮอนชูและโตเกียว โดยหากช่วยชีวิตตัวเองไม่ได้ใน 72 ชั่วโมงโอกาสรอดชีวิตจะน้อยลง ราว 4 ปีก่อนญี่ปุ่นจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ภัยพิบัติ ให้ประชาชนเข้ามาเรียนรู้การป้องกันและช่วยเหลือตัวเองหนีรอดจากแผ่นดินไหว ซึ่งเมื่อวันที่ 28 กันยายน ที่ผ่านมา นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นำคณะศึกษาดูงานเรื่องการสื่อสารความเสี่ยงภาวะภัยพิบัติที่ศูนย์เตือนภัย พิบัติThe Tokyo Rinkai Disaster Prevention Park

มร.ยามาซากิ จูนิชิ ผู้จัดการศูนย์ อธิบายว่า การเรียนรู้ที่ศูนย์จะใช้เกมเป็นสื่อ โดยให้ตอบคำถามตามที่เกมถาม มีให้เลือกเป็นภาษาญี่ปุ่นหรือภาษาอังกฤษ ผู้ที่เหมาะจะเข้ามาเรียนรู้ในศูนย์แห่งนี้คือคนทุกเพศทุกวัย เพียงแต่ในการเรียนรู้ต้องใช้เกมเป็นสื่อจึงอาจเป็นปัญหาสำหรับเด็กที่อายุ น้อยเกินไปที่ยังอ่านหนังสือไม่ออก เพราะฉะนั้นต้องให้ผู้ปกครองมาด้วย บางครั้งเด็กจะตกใจและกลัว เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้และฝึกของผู้ปกครองเรื่องวิธีการดูแลเด็กที่ ตกใจช่วงแผ่นดินไหว ทั้งหมดจะแบ่งเป็น 4 โซนเพื่อให้รู้ว่าภายใน 72 ชั่วโมงต้องทำอย่างไรให้รอด ปัจจุบันมีคนเข้าเรียนรู้ปีละ 2-3 แสนคน

ภายหลังผู้เข้าเรียนรู้ได้รับเครื่องเกม จะถูกบอกให้จินตนาการว่าเกิดแผ่นดินไหวในช่วงเช้ามืดของวันหนึ่งท่ามกลางฤดู หนาว ขณะกำลังอยู่บนชั้น 10 ของห้างสรรพสินค้า จากนั้นจะเข้าสู่การเรียนรู้ภายในห้องจำลองเหตุการณ์ที่แบ่งเป็น 4 โซน โซนที่ 1 ช่วงเกิดภัยพิบัติ ฝึกหนีออกจากอาคารขณะเกิดแผ่นดินไหว โซนที่ 2 การเอาตัวรอด จำลองเหมือนทุกคนหนีออกมาอยู่บนถนน ช็อปปิ้ง มีสิ่งที่เป็นอันตรายอยู่รายรอบตัว จากจุดนี้ให้เริ่มตอบคำถามในเกม เช่น เบอร์ฉุกเฉินขอความช่วยเหลือ เป็นต้น เมื่อตอบครบทุกข้อจะมีคะแนนปรากฏเพื่อบ่งบอกว่าหากประสบภัยจริงเราจะเอาตัว รอดได้หรือไม่ และมีห้องแสดงอุปกรณ์ยึดเฟอร์นิเจอร์ไม่ให้ล้ม เนื่องจากอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นหากอยู่ในบ้านส่วนใหญ่เกิดจากการถูก เฟอร์นิเจอร์ล้มทับ ส่วนตัวอาคารจะมีมาตรฐานการป้องกันสูง อาทิ ฐานเป็นสปริง

โซนที่ 3 การหนีออกจากพื้นที่ประสบภัย เป็นห้องฉายวิดีโอที่ทำขึ้นเฉพาะ แสดงความวุ่นวายที่เกิดขึ้น ทั้งไฟดับ อุบัติเหตุทางการจราจร รถไฟตกราง รถดับเพลิงและรถพยาบาลวิ่งไปช่วยเหลือไม่ได้ เพื่อให้ผู้เข้าเรียนรู้เห็นสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น และโซนที่ 4 การไปสถานที่ปลอดภัย จำลองพื้นที่หลบภัยชั่วคราว มีทั้งน้ำ อาหาร ห้องส้วมชั่วคราว ตู้หลบภัยที่เป็นเหมือนตู้คอนเทนเนอร์ โดยรัฐบาลท้องถิ่นเป็นผู้จัดหา ซึ่งพื้นที่หลบภัยชั่วคราว ส่วนใหญ่จะเป็นสวนสาธารณสุข ซึ่งยามปกติจะมีป้ายสัญลักษณ์บอกไว้ว่าเป็นพื้นที่หลบภัยชั่วคราว ประชาชนทุกคนจึงต้องรู้ว่าใกล้บ้านตนเองมีพื้นที่หลบภัยชั่วคราวอยู่ตรงจุด ใด เมื่อประสบเหตุจะได้รู้ว่าจะไปที่ไหน อย่างไร ก่อนที่จะอพยพไปยังศูนย์พักพิงหากภัยนั้นรุนแรงจนพื้นที่ลี้ภัยชั่วคราวอยู่ ไม่ได้ ซึ่งศูนย์พักพิงส่วนใหญ่เป็นโรงเรียน จะมีสต็อกอาหาร เครื่องดื่ม และอาศัยอยู่ที่นี่เป็นหลัก

"ศูนย์นี้ต้องการให้รู้ว่าตอนเกิดเหตุแผ่นดินไหวจะเป็นอย่าง ไรและทำอย่างไรจึงจะเอาตัวเองรอดได้ โดยหลักสำคัญของการหนีภัย คือ ต้องเอาตัวเองให้รอดก่อน ถ้าเอาตัวเองไม่รอดก็จะไม่สามารถช่วยเหลือคนอื่นในครอบครัวได้" มร.ยามาซากิ ย้ำ

ยามที่เกิดแผ่นดินไหวขึ้นจริงในระดับ 6 ริกเตอร์ขึ้นไป กองบัญชาการจะถูกตั้งขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาลมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ส่วนศูนย์เรียนรู้แห่งนี้จะกลายเป็นศูนย์กลางเก็บข้อมูล ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งรัฐและเอกชน มีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ทำหน้าที่เก็บและรวบรวมข้อมูลป้อนให้กองบัญชาการตัดสินใจ โดยมีหอส่งคลื่น สัญญาณใช้วิทยุในการสื่อสาร มีจอทีวีที่จะรับภาพจากเฮลิคอปเตอร์ของรัฐบาลที่ส่งขึ้นบินทั่วพื้นที่เกิด เหตุ แล้วส่งภาพกลับมาที่จอภายในศูนย์ และมีทีวีจอยักษ์ 360 นิ้ว สำหรับแสดงภาพสำคัญ 1 ภาพที่ได้รับคัดเลือก เพื่อให้ทุกคนเห็นและพิจารณาพร้อมกัน นอกจากนี้ มีจอทีวีเล็กๆ ที่ใช้รับภาพข่าวสารจากเอกชนมาพิจารณาด้วย ที่สำคัญ โครงสร้างอาคารของศูนย์ บริเวณฐานจะมีสปริงช่วยลดแรงแผ่นดินไหวจาก 7 ริกเตอร์ เหลือเพียง 4 ริกเตอร์ และเมื่อแผ่นดินโยกอาคารจะโยกประมาณ 14 เซนติเมตร แต่ไม่มีผลกระทบอะไรเกิดขึ้น

สำหรับประเทศไทย นพ.วชิระ ให้ความเห็นว่า การได้เรียนรู้การเตรียมการรับมือภัยพิบัติจากประเทศญี่ปุ่นที่มีภัย ธรรมชาติค่อนข้างมาก ทำให้เห็นว่าประเทศไทยแม้จะมีภัยพิบัติน้อยกว่าแต่ควรมีการเตรียมรับมือ โดยเฉพาะการเตรียมประชาชนให้พร้อม ทุกคนควรรู้วิธีการเอาตัวรอดด้วยตนเองเบื้องต้นเมื่อเผชิญเหตุตั้งแต่เด็ก ต้องรู้ว่าใครต้องทำอะไร เป็นสิ่งที่ครอบครัวหรือโรงเรียนต้องให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้ หากไม่มีการเตรียมประชาชนให้พร้อมเมื่อประสบภัยจะขวัญเสีย ไม่มีสติ ตรงข้ามถ้าได้เรียนรู้ว่าต้องทำอย่างไร จะมีสติรู้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้

ทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้การช่วยเหลือตัวเองให้อยู่รอดก่อน ที่ความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐจะเข้ามาถึงอย่างน้อย 72 ชั่วโมง ประเทศไทยอาจจะไม่มีภัยแผ่นดินไหวรุนแรงแบบญี่ปุ่น แต่หลักการนี้น่าจะใช้ได้กับทุกภัยพิบัติ แม้แต่ช่วงน้ำท่วม และยามประสบภัยจริง สิ่งสำคัญที่สุด คือ

............................

(เรียนรู้ญี่ปุ่น...รับมือภัยพิบัติ'หนีรอดเองให้ได้72ชั่วโมง' : โดย...พวงชมพู ประเสริฐ)

ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20131018/170720.html (ขนาดไฟล์: 167)

คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ต.ค.56

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 18/10/2556 เวลา 04:51:36 ดูภาพสไลด์โชว์ เรียนรู้ญี่ปุ่น...รับมือภัยพิบัติ'หนีรอดเองให้ได้72ชั่วโมง'

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เรียนรู้ญี่ปุ่น...รับมือภัยพิบัติ\'หนีรอดเองให้ได้72ชั่วโมง\' เรียนรู้ญี่ปุ่น...รับมือภัยพิบัติ'หนีรอดเองให้ได้72ชั่วโมง' : โดย...พวงชมพู ประเสริฐ "72 ชั่วโมง" หรือ 3 วันเป็นช่วงเวลาที่ประเทศญี่ปุ่นกำหนดเพื่อให้ประชาชนช่วยเหลือตัวเองให้ อยู่รอดยามเกิดภัยพิบัติ ก่อนที่ความช่วยเหลือของรัฐบาลจะเข้าถึง โดยเฉพาะภัยจากการเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งญี่ปุ่นมีการคาดการณ์ว่าจะเกิดแผ่นดินไหวใหญ่อีก 2 ครั้งบริเวณตอนกลางของเกาะฮอนชูและโตเกียว โดยหากช่วยชีวิตตัวเองไม่ได้ใน 72 ชั่วโมงโอกาสรอดชีวิตจะน้อยลง ราว 4 ปีก่อนญี่ปุ่นจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ภัยพิบัติ ให้ประชาชนเข้ามาเรียนรู้การป้องกันและช่วยเหลือตัวเองหนีรอดจากแผ่นดินไหว ซึ่งเมื่อวันที่ 28 กันยายน ที่ผ่านมา นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นำคณะศึกษาดูงานเรื่องการสื่อสารความเสี่ยงภาวะภัยพิบัติที่ศูนย์เตือนภัย พิบัติThe Tokyo Rinkai Disaster Prevention Park มร.ยามาซากิ จูนิชิ ผู้จัดการศูนย์ อธิบายว่า การเรียนรู้ที่ศูนย์จะใช้เกมเป็นสื่อ โดยให้ตอบคำถามตามที่เกมถาม มีให้เลือกเป็นภาษาญี่ปุ่นหรือภาษาอังกฤษ ผู้ที่เหมาะจะเข้ามาเรียนรู้ในศูนย์แห่งนี้คือคนทุกเพศทุกวัย เพียงแต่ในการเรียนรู้ต้องใช้เกมเป็นสื่อจึงอาจเป็นปัญหาสำหรับเด็กที่อายุ น้อยเกินไปที่ยังอ่านหนังสือไม่ออก เพราะฉะนั้นต้องให้ผู้ปกครองมาด้วย บางครั้งเด็กจะตกใจและกลัว เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้และฝึกของผู้ปกครองเรื่องวิธีการดูแลเด็กที่ ตกใจช่วงแผ่นดินไหว ทั้งหมดจะแบ่งเป็น 4 โซนเพื่อให้รู้ว่าภายใน 72 ชั่วโมงต้องทำอย่างไรให้รอด ปัจจุบันมีคนเข้าเรียนรู้ปีละ 2-3 แสนคน ภายหลังผู้เข้าเรียนรู้ได้รับเครื่องเกม จะถูกบอกให้จินตนาการว่าเกิดแผ่นดินไหวในช่วงเช้ามืดของวันหนึ่งท่ามกลางฤดู หนาว ขณะกำลังอยู่บนชั้น 10 ของห้างสรรพสินค้า จากนั้นจะเข้าสู่การเรียนรู้ภายในห้องจำลองเหตุการณ์ที่แบ่งเป็น 4 โซน โซนที่ 1 ช่วงเกิดภัยพิบัติ ฝึกหนีออกจากอาคารขณะเกิดแผ่นดินไหว โซนที่ 2 การเอาตัวรอด จำลองเหมือนทุกคนหนีออกมาอยู่บนถนน ช็อปปิ้ง มีสิ่งที่เป็นอันตรายอยู่รายรอบตัว จากจุดนี้ให้เริ่มตอบคำถามในเกม เช่น เบอร์ฉุกเฉินขอความช่วยเหลือ เป็นต้น เมื่อตอบครบทุกข้อจะมีคะแนนปรากฏเพื่อบ่งบอกว่าหากประสบภัยจริงเราจะเอาตัว รอดได้หรือไม่ และมีห้องแสดงอุปกรณ์ยึดเฟอร์นิเจอร์ไม่ให้ล้ม เนื่องจากอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นหากอยู่ในบ้านส่วนใหญ่เกิดจากการถูก เฟอร์นิเจอร์ล้มทับ ส่วนตัวอาคารจะมีมาตรฐานการป้องกันสูง อาทิ ฐานเป็นสปริง โซนที่ 3 การหนีออกจากพื้นที่ประสบภัย เป็นห้องฉายวิดีโอที่ทำขึ้นเฉพาะ แสดงความวุ่นวายที่เกิดขึ้น ทั้งไฟดับ อุบัติเหตุทางการจราจร รถไฟตกราง รถดับเพลิงและรถพยาบาลวิ่งไปช่วยเหลือไม่ได้ เพื่อให้ผู้เข้าเรียนรู้เห็นสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น และโซนที่ 4 การไปสถานที่ปลอดภัย จำลองพื้นที่หลบภัยชั่วคราว มีทั้งน้ำ อาหาร ห้องส้วมชั่วคราว ตู้หลบภัยที่เป็นเหมือนตู้คอนเทนเนอร์ โดยรัฐบาลท้องถิ่นเป็นผู้จัดหา ซึ่งพื้นที่หลบภัยชั่วคราว ส่วนใหญ่จะเป็นสวนสาธารณสุข ซึ่งยามปกติจะมีป้ายสัญลักษณ์บอกไว้ว่าเป็นพื้นที่หลบภัยชั่วคราว ประชาชนทุกคนจึงต้องรู้ว่าใกล้บ้านตนเองมีพื้นที่หลบภัยชั่วคราวอยู่ตรงจุด ใด เมื่อประสบเหตุจะได้รู้ว่าจะไปที่ไหน อย่างไร ก่อนที่จะอพยพไปยังศูนย์พักพิงหากภัยนั้นรุนแรงจนพื้นที่ลี้ภัยชั่วคราวอยู่ ไม่ได้ ซึ่งศูนย์พักพิงส่วนใหญ่เป็นโรงเรียน จะมีสต็อกอาหาร เครื่องดื่ม และอาศัยอยู่ที่นี่เป็นหลัก "ศูนย์นี้ต้องการให้รู้ว่าตอนเกิดเหตุแผ่นดินไหวจะเป็นอย่าง ไรและทำอย่างไรจึงจะเอาตัวเองรอดได้ โดยหลักสำคัญของการหนีภัย คือ ต้องเอาตัวเองให้รอดก่อน ถ้าเอาตัวเองไม่รอดก็จะไม่สามารถช่วยเหลือคนอื่นในครอบครัวได้" มร.ยามาซากิ ย้ำ ยามที่เกิดแผ่นดินไหวขึ้นจริงในระดับ 6 ริกเตอร์ขึ้นไป กองบัญชาการจะถูกตั้งขึ้นที่ทำเนียบรัฐบาลมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ส่วนศูนย์เรียนรู้แห่งนี้จะกลายเป็นศูนย์กลางเก็บข้อมูล ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งรัฐและเอกชน มีรองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ทำหน้าที่เก็บและรวบรวมข้อมูลป้อนให้กองบัญชาการตัดสินใจ โดยมีหอส่งคลื่น สัญญาณใช้วิทยุในการสื่อสาร มีจอทีวีที่จะรับภาพจากเฮลิคอปเตอร์ของรัฐบาลที่ส่งขึ้นบินทั่วพื้นที่เกิด เหตุ แล้วส่งภาพกลับมาที่จอภายในศูนย์ และมีทีวีจอยักษ์ 360 นิ้ว สำหรับแสดงภาพสำคัญ 1 ภาพที่ได้รับคัดเลือก เพื่อให้ทุกคนเห็นและพิจารณาพร้อมกัน นอกจากนี้ มีจอทีวีเล็กๆ ที่ใช้รับภาพข่าวสารจากเอกชนมาพิจารณาด้วย ที่สำคัญ โครงสร้างอาคารของศูนย์ บริเวณฐานจะมีสปริงช่วยลดแรงแผ่นดินไหวจาก 7 ริกเตอร์ เหลือเพียง 4 ริกเตอร์ และเมื่อแผ่นดินโยกอาคารจะโยกประมาณ 14 เซนติเมตร แต่ไม่มีผลกระทบอะไรเกิดขึ้น สำหรับประเทศไทย นพ.วชิระ ให้ความเห็นว่า การได้เรียนรู้การเตรียมการรับมือภัยพิบัติจากประเทศญี่ปุ่นที่มีภัย ธรรมชาติค่อนข้างมาก ทำให้เห็นว่าประเทศไทยแม้จะมีภัยพิบัติน้อยกว่าแต่ควรมีการเตรียมรับมือ โดยเฉพาะการเตรียมประชาชนให้พร้อม ทุกคนควรรู้วิธีการเอาตัวรอดด้วยตนเองเบื้องต้นเมื่อเผชิญเหตุตั้งแต่เด็ก ต้องรู้ว่าใครต้องทำอะไร เป็นสิ่งที่ครอบครัวหรือโรงเรียนต้องให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้ หากไม่มีการเตรียมประชาชนให้พร้อมเมื่อประสบภัยจะขวัญเสีย ไม่มีสติ ตรงข้ามถ้าได้เรียนรู้ว่าต้องทำอย่างไร จะมีสติรู้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ทุกคนจำเป็นต้องเรียนรู้การช่วยเหลือตัวเองให้อยู่รอดก่อน ที่ความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐจะเข้ามาถึงอย่างน้อย 72 ชั่วโมง ประเทศไทยอาจจะไม่มีภัยแผ่นดินไหวรุนแรงแบบญี่ปุ่น แต่หลักการนี้น่าจะใช้ได้กับทุกภัยพิบัติ แม้แต่ช่วงน้ำท่วม และยามประสบภัยจริง สิ่งสำคัญที่สุด คือ ............................ (เรียนรู้ญี่ปุ่น...รับมือภัยพิบัติ'หนีรอดเองให้ได้72ชั่วโมง' : โดย...พวงชมพู ประเสริฐ) ขอบคุณ... http://www.komchadluek.net/detail/20131018/170720.html คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 18 ต.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...