แผนรับมือภัยพิบัติญี่ปุ่นความพร้อมประชาชนคือหัวใจ

แสดงความคิดเห็น

เหตุแผ่นดินไหวและสึนามิถล่มทางภาคตะวันออกของญี่ปุ่นเมื่อปี 2011

เหตุแผ่นดินไหวและสึนามิถล่มทางภาคตะวันออกของญี่ปุ่นเมื่อปี 2011 สร้างความสะเทือนใจให้แก่ประชาคมโลก ทำให้หลายฝ่ายเกิดความวิตกถึงอนาคตของญี่ปุ่นหลังมหาภัยพิบัติ แต่กลับพบว่ายอดผู้เสียชีวิตมีจำนวนน้อยอย่างเหลือเชื่อเมื่อเทียบกับภัย พิบัติที่เกิดขึ้นในส่วนอื่นๆ ของโลก

อะไรเป็นเคล็ดลับที่ทำให้ชาวอาทิตย์อุทัยสามารถคุมสติและประคองชีวิตรอดได้ในเหตุวิกฤต?

แม้ว่าญี่ปุ่นจะเพียบพร้อมไปด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และแผนการการเตรียมความพร้อมจัดการของภาครัฐที่โดดเด่น แต่ต้องยอมรับว่าที่เป็นหัวใจสำคัญที่ญี่ปุ่นเห็นความสำคัญมาโดยตลอดนั่นคือ “ความพร้อมภาคประชาชน” ที่จะต้องทำให้มีทักษะในการเอาชีวิตรอดจากเหตุวิกฤตที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าใน เบื้องต้นได้ รวมถึงรู้ว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเกิดภัย เพื่อจะทำให้ตนเองสามารถไปอยู่ในที่ปลอดภัยที่รัฐจัดเตรียมไว้ให้ได้ โดยไม่มัวแต่เฝ้านั่งรอรับความช่วยเหลือเพียงฝ่ายเดียว

ยามาซากิ จุนอิชิ ยามาซากิ จุนอิชิ ผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้เพื่อรับมือภัยพิบัติซึ่งตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว เปิดเผยว่า การเตรียมความพร้อมในระดับของประชาชนทั่วไปเน้นไปที่การสอนให้ประชาชนรู้จัก วิธีเอาตัวรอด และสามารถพึ่งพาตนเองได้ภายหลังเกิดอันตรายได้อย่างน้อย 72 ชั่วโมง เพื่อยืดโอกาสในการเอาชีวิตรอด และรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐ

“ช่วงระยะเวลา 72 ชั่วโมง หลังเกิดเหตุภัยพิบัติดังกล่าวถือเป็นสำคัญมาก เพราะถ้าเลยจากนี้ไปโอกาสในการรอดชีวิตจะลดน้อยลงอย่างมาก” จุนนิชิ กล่าวพร้อมเสริมว่า ปัจจุบันในญี่ปุ่นมีศูนย์ฝึกลักษณะเช่นนี้หลายแห่งแล้ว และได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้ามารับการฝึกฝนและทบทวนความรู้ในการเอาตัวรอด จากเหตุภัยพิบัติได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น

ที่ ญี่ปุ่น ให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมและการฝึกฝนประชาชนให้เรียนรู้ที่จะอยู่ กับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นตลอดเวลาเป็นอย่างมาก ซึ่งการฝึกฝนนี้จะเริ่มต้นตั้งแต่เด็กๆ เพื่อทำให้มีความคุ้นเคยกับทักษะในการเอาตัวรอดตั้งแต่เยาว์วัย

ทั้งนี้ การเข้ารับฝึกฝนและเรียนรู้วิธีเอาตัวรอดจากภัยพิบัติ อาจฟังดูเหมือนเป็นเรื่องซีเรียสจริงจัง แต่ทว่าที่ ญี่ปุ่น โดยเฉพาะที่ ศูนย์การเรียนรู้เพื่อรับมือภัยพิบัติ ที่ กรุงโตเกียว กลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น เนื่องจากบรรยากาศตลอดจนรูปแบบเนื้อหาการนำเสนอในการฝึกอบรมกลับทำให้ ทุกอย่างดูน่าสนใจ

ศูนย์วอร์รูมจำลองภัยพิบัติญี่ปุ่น เนื่องจากขั้นตอนการจำลองเหตุภัยพิบัติต่างๆมีการนำเทคโนโลยีแสงสีเสียง ที่ทันสมัยมา ทำให้ผู้คนรู้สึกเหมือนว่าอยู่ในเหตุภัยพิบัติจริง โดยเฉพาะแผ่นดินไหว อีกทั้ง ยังมีการแจกเครื่องเล่นเกม ซึ่งจะมีการตั้งคำถามเพื่อให้ประชาชนได้ทดสอบความรู้ของตนเอง ยามเมื่อเกิดเหตุอยู่ตรงหน้า เช่น เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว สถานที่ปลอดภัยที่สุดคือ ที่ใด โดยในคำตอบจะตัวเลือกมาให้ 4 ช้อยส์ (คำตอบที่ถูกคือ นอกบ้าน) และยามเกิดแผ่นดินไหว สถานที่ไหนเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้มากที่สุด (คำตอบที่ถูกคือร้านอาหาร) เป็นต้น

ศูนย์วอร์รูมจำลองภัยพิบัติญี่ปุ่น ฉะนั้น ด้วยรูปแบบการนำเสนอที่ผสมผสานระหว่างเนื้อหาและรูปแบบที่น่าสนใจ จึงไม่แปลกใจที่ ศูนย์ดังกล่าวจะได้รับความสนใจจากประชาชนทุกเพศทุกวัยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเด็กๆ ดูได้จากจำนวนของประชาชนที่เข้ามารับการฝึกในศูนย์ดังกล่าว ที่เพิ่งเปิดมาได้เพียง 4 ปี มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆในทุกๆปี โดยในปีแรกมีคนเข้าฝึก 9 หมื่นคน ขณะที่ปีที่แล้วอยู่ที่ประมาณ 2.8 แสนคน

ทั้งนี้ นอกจากการเข้ารับการฝึกฝน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กๆ จะทำให้ได้เริ่มเรียนรู้และคุ้นเคยที่จะรับมือกับเหตุฉุกเฉินตั้งแต่เยาว์ วัยแล้ว ก็ยังถือเป็นโอกาสดีที่พ่อแม่และผู้ปกครองจะได้เริ่มหันมาเรียนรู้ในการช่วย เหลือเด็กยามเมื่อเกิดภัยพิบัติจริงๆ อีกด้วย

ศูนย์ภัยพิบัติแบ่งเนื้อหาการฝึกและจำลองสถานการณ์จริงให้ทดลองหนีภัยออก เป็น 4 สถานีได้แก่ 1.สถานีเอาตัวรอดในขณะเกิดเหตุ 2.สถานีหลบหนีออกจากจุดเกิดเหตุ 3.สถานีเข้าสู่จุดรวมพล และ 4.สถานีทดลองใช้ชีวิตในแคมป์หลบภัย โดยทั้งหมดถือเป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้ประชาชนเกิดความคุ้นชินและทราบวิธี ปฏิบัติตัวหากเกิดเหตุภัยพิบัติขึ้นจริง

ศูนย์วอร์รูมจำลองภัยพิบัติญี่ปุ่น ถึงกระนั้น แม้ว่าทุกขั้นตอนการฝึกจะมีความสำคัญ แต่ จุนนิชิ กล่าวว่า “ขั้นตอนการหลบหนีไปยังสถานที่ปลอดภัย” หรือ ขั้นตอนที่ 3 มีความสำคัญที่สุด เพราะนี่คือขั้นตอนที่จะช่วยทำให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้รู้ว่า เมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นแล้ว จะต้องหลบหนีไปรวมกันอยู่ ณ ที่จุดใด

“ยามเมื่อเกิดภัยพิบัติแล้ว ถือเป็นเรื่องสำคัญมากที่ประชาชนจะต้องรู้ว่าจะหลบหนีไปที่ไหนได้บ้างที่จะ ทำให้พวกเขาปลอดภัย” จุนนิชิ กล่าว

นอกจากการเตรียมพร้อมภาคประชาชนแล้ว เมื่อลองขยับขึ้นไปมองในด้านการรับมือของรัฐบาล ราชการและรัฐบาลของญี่ปุ่นเองก็มีความพร้อมในการรับมือกับเหตุฉุกเฉินที่อาจ เกิดขึ้นตลอดเวลาเช่นกัน โดยเฉพาะในส่วนของรัฐบาลกลางที่ได้มีการวางมาตรการในการจัดตั้งศูนย์ บัญชาการภัยพิบัติกลาง หรือห้อง “วอร์รูม” ขึ้นทันที หากมีภัยพิบัติร้ายแรงเกิดขึ้น โดยให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ควบคุมจัดการและมีอำนาจสิทธิขาดในการตัดสินใจ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีเอกภาพ

ไม่เพียงเท่านั้น หน่วยงานที่รับผิดชอบในการคาดการณ์และจับตาเรื่องภัยพิบัติ ยังทำงานในเชิงรุกด้วยการจับตาความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านภัย พิบัติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมล่วงหน้า ซึ่งล่าสุดทางการญี่ปุ่นคาดว่าในอนาคตอันใกล้นี้มีโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหว ครั้งใหญ่ในกรุงโตเกียว และเมืองนาโกยา

ขณะเดียวกัน ในส่วนของหน่วยงานอิสระต่างๆที่ไม่สังกัดภาครัฐของญี่ปุ่นเอง ก็มีการเตรียมความพร้อมอยู่ตลอดเวลาเฉกเช่นเดียวกัน ดังเห็นได้จากกรณีของ โรงพยาบาลกาชาดสากล ในเมืองอิชิโนมากิ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่เคยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรับรักษาผู้ประสบภัยเห ตุสึนามิในปี 2011 ได้หันมาเตรียมความพร้อมมาตรการรับมือเหตุฉุกเฉินด้านภัยพิบัติที่เข้มข้น มากขึ้นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น การจัดสรรพื้นที่ให้สามารรถรองรับและขยายผู้ป่วยมากขึ้น การฝึกซ้อมการรับมือกับเหตุฉุกเฉินที่เข้มข้น

อิมามูระ มาซาโตชิ อิมามูระ มาซาโตชิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกาชาดสากล ในเมืองอิชิโนมากิ เผยว่า ภายหลังจากเหตุภัยพิบัติครั้งเลวร้ายในปี 2011 ทางโรงพยาบาลได้ตั้งแผนกเพื่อรับมือกับเหตุภัยพิบัติโดยเฉพาะขึ้นมา และมีเจ้าหน้าที่ประจำ เพื่อหาข้อมูลเชิงวิชาการในการป้องกันเหตุในอนาคต

“แผนกรับมือภัยพิบัติไม่ได้มีหน้าที่รักษาคนไข้ แต่มีขึ้นเพื่อศึกษาและพัฒนาหาแนวทางในการให้ความช่วยเหลือคนไข้เมื่อเกิด เหตุ และแผนกนี้จะติดต่อกับนักวิชาการในมหาวิทยาลัย รวมถึงเปิดให้มีการประกวดผลงานวิจัย เพื่อพัฒนามาตรการช่วยเหลือผู้ป่วยยามฉุกเฉิน” มาซาโตชิ กล่าว

นอกจากนี้ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ยังเผยต่อว่าปัจจุบันทางโรงพยาบาลทำการฝึกซ้อมใหญ่ในการรับมือกับเหตุฉุก เฉิน และขนย้ายผู้ป่วย เสมือนจริง 2 ครั้งต่อปี ในขณะที่บางแผนกมีการฝึกซ้อมทุกอาทิตย์ เพื่อตรวจเช็คความพร้อมของอุปกรณ์ต่างๆอยู่ตลอดเวลา

เมื่อลองมองหันมามอง ความพร้อมในการรับมือด้านภัยพิบัติของไทย แม้ว่าบทเรียนน้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี 2011 ที่ผ่านมาจะเริ่มทำให้ทางการไทยเริ่มมีแนวทางในการจัดการรับมือที่ชัดเจน ขึ้น เช่น มีการมอบหมายหน้าที่ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธาณภัยเป็นหน่วยงานหลักในการ การรับผิดชอบ การเริ่มมีการประชุมซักซ้อมแผนของหน่วยงานต่างๆ แต่ในส่วนความพร้อมของภาคประชาชนไทยยังไม่ได้รับการเตรียมพร้อมเท่าที่ควร โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับความพร้อมของชาวญี่ปุ่น ที่ความพร้อมในด้านนี้มาก

“การเตรียมความพร้อมภาคประชาชนของไทยในการรับมือกับภัยพิบัติ ยังเป็นสิ่งที่ควรต้องได้รับการพัฒนาอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดภัยพิบัติแล้ว ประชาชนจะต้องรู้หน้าที่ตนเอง เพื่อจะรู้ว่าจะหนีไปที่ไหน เมื่อยามเกิดเหตุฉุกเฉิน และพาตนเองไปยังที่ปลอดภัยได้” นายแพทย์ วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขของไทย กล่าวให้สัมภาษณ์ในระหว่างการไปศึกษาดูงาน ด้านการสื่อสารความเสี่ยงด้านภัยพิบัติที่ประเทศญี่ปุ่น พร้อมกับย้ำว่า การฝึกและหใความรู้แก่ให้ประชาชนในการเอาชีวิตรอดและพึ่งพาตนเองได้อย่าง น้อย 72 ชั่วโมงคือสิ่งสำคัญที่สุด

นอกจากนี้ นายแพทย์ วชิระ กล่าวต่อว่า ถึงแม้ว่าไทยจะไม่มีเหตุภัยพิบัติเกิดขึ้นบ่อยครั้งเหมือนกับญี่ปุ่น แต่ในหลักการและขั้นตอนในการรับมือภัยพิบัติของญี่ปุ่นในหลายๆอย่าง เช่น การเตรียมความพร้อมในเรื่องของประชาชน ก็ถือเป็นรูปแบบที่น่าสนใจ และนำมาประยุกต์ปรับใช้กับกรณีของไทยได้...โดย..พันธสิทธิ เจริญพาณิชย์พันธ์

จึงนับเป็นอีกหนึ่งบทเรียนจากต่างแดนในการรับมือด้านภัยพิบัติที่น่าสนใจไม่น้อย

ขอบคุณ http://www.posttoday.com/วิเคราะห์/ต่างประเทศ/252054/เจาะแผนรับมือภัยพิบัติญี่ปุ่น (ขนาดไฟล์: 167)

(โพสต์ทูเดย์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ต.ค.56)

ที่มา: โพสต์ทูเดย์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 10/10/2556 เวลา 03:11:32 ดูภาพสไลด์โชว์ แผนรับมือภัยพิบัติญี่ปุ่นความพร้อมประชาชนคือหัวใจ

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เหตุแผ่นดินไหวและสึนามิถล่มทางภาคตะวันออกของญี่ปุ่นเมื่อปี 2011 เหตุแผ่นดินไหวและสึนามิถล่มทางภาคตะวันออกของญี่ปุ่นเมื่อปี 2011 สร้างความสะเทือนใจให้แก่ประชาคมโลก ทำให้หลายฝ่ายเกิดความวิตกถึงอนาคตของญี่ปุ่นหลังมหาภัยพิบัติ แต่กลับพบว่ายอดผู้เสียชีวิตมีจำนวนน้อยอย่างเหลือเชื่อเมื่อเทียบกับภัย พิบัติที่เกิดขึ้นในส่วนอื่นๆ ของโลก อะไรเป็นเคล็ดลับที่ทำให้ชาวอาทิตย์อุทัยสามารถคุมสติและประคองชีวิตรอดได้ในเหตุวิกฤต? แม้ว่าญี่ปุ่นจะเพียบพร้อมไปด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และแผนการการเตรียมความพร้อมจัดการของภาครัฐที่โดดเด่น แต่ต้องยอมรับว่าที่เป็นหัวใจสำคัญที่ญี่ปุ่นเห็นความสำคัญมาโดยตลอดนั่นคือ “ความพร้อมภาคประชาชน” ที่จะต้องทำให้มีทักษะในการเอาชีวิตรอดจากเหตุวิกฤตที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าใน เบื้องต้นได้ รวมถึงรู้ว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อเกิดภัย เพื่อจะทำให้ตนเองสามารถไปอยู่ในที่ปลอดภัยที่รัฐจัดเตรียมไว้ให้ได้ โดยไม่มัวแต่เฝ้านั่งรอรับความช่วยเหลือเพียงฝ่ายเดียว ยามาซากิ จุนอิชิยามาซากิ จุนอิชิ ผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้เพื่อรับมือภัยพิบัติซึ่งตั้งอยู่ในกรุงโตเกียว เปิดเผยว่า การเตรียมความพร้อมในระดับของประชาชนทั่วไปเน้นไปที่การสอนให้ประชาชนรู้จัก วิธีเอาตัวรอด และสามารถพึ่งพาตนเองได้ภายหลังเกิดอันตรายได้อย่างน้อย 72 ชั่วโมง เพื่อยืดโอกาสในการเอาชีวิตรอด และรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานรัฐ “ช่วงระยะเวลา 72 ชั่วโมง หลังเกิดเหตุภัยพิบัติดังกล่าวถือเป็นสำคัญมาก เพราะถ้าเลยจากนี้ไปโอกาสในการรอดชีวิตจะลดน้อยลงอย่างมาก” จุนนิชิ กล่าวพร้อมเสริมว่า ปัจจุบันในญี่ปุ่นมีศูนย์ฝึกลักษณะเช่นนี้หลายแห่งแล้ว และได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้ามารับการฝึกฝนและทบทวนความรู้ในการเอาตัวรอด จากเหตุภัยพิบัติได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น ที่ ญี่ปุ่น ให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมและการฝึกฝนประชาชนให้เรียนรู้ที่จะอยู่ กับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้นตลอดเวลาเป็นอย่างมาก ซึ่งการฝึกฝนนี้จะเริ่มต้นตั้งแต่เด็กๆ เพื่อทำให้มีความคุ้นเคยกับทักษะในการเอาตัวรอดตั้งแต่เยาว์วัย ทั้งนี้ การเข้ารับฝึกฝนและเรียนรู้วิธีเอาตัวรอดจากภัยพิบัติ อาจฟังดูเหมือนเป็นเรื่องซีเรียสจริงจัง แต่ทว่าที่ ญี่ปุ่น โดยเฉพาะที่ ศูนย์การเรียนรู้เพื่อรับมือภัยพิบัติ ที่ กรุงโตเกียว กลับไม่ได้เป็นเช่นนั้น เนื่องจากบรรยากาศตลอดจนรูปแบบเนื้อหาการนำเสนอในการฝึกอบรมกลับทำให้ ทุกอย่างดูน่าสนใจ ศูนย์วอร์รูมจำลองภัยพิบัติญี่ปุ่นเนื่องจากขั้นตอนการจำลองเหตุภัยพิบัติต่างๆมีการนำเทคโนโลยีแสงสีเสียง ที่ทันสมัยมา ทำให้ผู้คนรู้สึกเหมือนว่าอยู่ในเหตุภัยพิบัติจริง โดยเฉพาะแผ่นดินไหว อีกทั้ง ยังมีการแจกเครื่องเล่นเกม ซึ่งจะมีการตั้งคำถามเพื่อให้ประชาชนได้ทดสอบความรู้ของตนเอง ยามเมื่อเกิดเหตุอยู่ตรงหน้า เช่น เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว สถานที่ปลอดภัยที่สุดคือ ที่ใด โดยในคำตอบจะตัวเลือกมาให้ 4 ช้อยส์ (คำตอบที่ถูกคือ นอกบ้าน) และยามเกิดแผ่นดินไหว สถานที่ไหนเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้มากที่สุด (คำตอบที่ถูกคือร้านอาหาร) เป็นต้น ศูนย์วอร์รูมจำลองภัยพิบัติญี่ปุ่นฉะนั้น ด้วยรูปแบบการนำเสนอที่ผสมผสานระหว่างเนื้อหาและรูปแบบที่น่าสนใจ จึงไม่แปลกใจที่ ศูนย์ดังกล่าวจะได้รับความสนใจจากประชาชนทุกเพศทุกวัยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเด็กๆ ดูได้จากจำนวนของประชาชนที่เข้ามารับการฝึกในศูนย์ดังกล่าว ที่เพิ่งเปิดมาได้เพียง 4 ปี มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆในทุกๆปี โดยในปีแรกมีคนเข้าฝึก 9 หมื่นคน ขณะที่ปีที่แล้วอยู่ที่ประมาณ 2.8 แสนคน ทั้งนี้ นอกจากการเข้ารับการฝึกฝน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กๆ จะทำให้ได้เริ่มเรียนรู้และคุ้นเคยที่จะรับมือกับเหตุฉุกเฉินตั้งแต่เยาว์ วัยแล้ว ก็ยังถือเป็นโอกาสดีที่พ่อแม่และผู้ปกครองจะได้เริ่มหันมาเรียนรู้ในการช่วย เหลือเด็กยามเมื่อเกิดภัยพิบัติจริงๆ อีกด้วย ศูนย์ภัยพิบัติแบ่งเนื้อหาการฝึกและจำลองสถานการณ์จริงให้ทดลองหนีภัยออก เป็น 4 สถานีได้แก่ 1.สถานีเอาตัวรอดในขณะเกิดเหตุ 2.สถานีหลบหนีออกจากจุดเกิดเหตุ 3.สถานีเข้าสู่จุดรวมพล และ 4.สถานีทดลองใช้ชีวิตในแคมป์หลบภัย โดยทั้งหมดถือเป็นกระบวนการสำคัญที่ทำให้ประชาชนเกิดความคุ้นชินและทราบวิธี ปฏิบัติตัวหากเกิดเหตุภัยพิบัติขึ้นจริง ศูนย์วอร์รูมจำลองภัยพิบัติญี่ปุ่นถึงกระนั้น แม้ว่าทุกขั้นตอนการฝึกจะมีความสำคัญ แต่ จุนนิชิ กล่าวว่า “ขั้นตอนการหลบหนีไปยังสถานที่ปลอดภัย” หรือ ขั้นตอนที่ 3 มีความสำคัญที่สุด เพราะนี่คือขั้นตอนที่จะช่วยทำให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้รู้ว่า เมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นแล้ว จะต้องหลบหนีไปรวมกันอยู่ ณ ที่จุดใด “ยามเมื่อเกิดภัยพิบัติแล้ว ถือเป็นเรื่องสำคัญมากที่ประชาชนจะต้องรู้ว่าจะหลบหนีไปที่ไหนได้บ้างที่จะ ทำให้พวกเขาปลอดภัย” จุนนิชิ กล่าว นอกจากการเตรียมพร้อมภาคประชาชนแล้ว เมื่อลองขยับขึ้นไปมองในด้านการรับมือของรัฐบาล ราชการและรัฐบาลของญี่ปุ่นเองก็มีความพร้อมในการรับมือกับเหตุฉุกเฉินที่อาจ เกิดขึ้นตลอดเวลาเช่นกัน โดยเฉพาะในส่วนของรัฐบาลกลางที่ได้มีการวางมาตรการในการจัดตั้งศูนย์ บัญชาการภัยพิบัติกลาง หรือห้อง “วอร์รูม” ขึ้นทันที หากมีภัยพิบัติร้ายแรงเกิดขึ้น โดยให้รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ควบคุมจัดการและมีอำนาจสิทธิขาดในการตัดสินใจ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีเอกภาพ ไม่เพียงเท่านั้น หน่วยงานที่รับผิดชอบในการคาดการณ์และจับตาเรื่องภัยพิบัติ ยังทำงานในเชิงรุกด้วยการจับตาความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับความเสี่ยงด้านภัย พิบัติที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมล่วงหน้า ซึ่งล่าสุดทางการญี่ปุ่นคาดว่าในอนาคตอันใกล้นี้มีโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหว ครั้งใหญ่ในกรุงโตเกียว และเมืองนาโกยา ขณะเดียวกัน ในส่วนของหน่วยงานอิสระต่างๆที่ไม่สังกัดภาครัฐของญี่ปุ่นเอง ก็มีการเตรียมความพร้อมอยู่ตลอดเวลาเฉกเช่นเดียวกัน ดังเห็นได้จากกรณีของ โรงพยาบาลกาชาดสากล ในเมืองอิชิโนมากิ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่เคยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรับรักษาผู้ประสบภัยเห ตุสึนามิในปี 2011 ได้หันมาเตรียมความพร้อมมาตรการรับมือเหตุฉุกเฉินด้านภัยพิบัติที่เข้มข้น มากขึ้นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น การจัดสรรพื้นที่ให้สามารรถรองรับและขยายผู้ป่วยมากขึ้น การฝึกซ้อมการรับมือกับเหตุฉุกเฉินที่เข้มข้น อิมามูระ มาซาโตชิอิมามูระ มาซาโตชิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกาชาดสากล ในเมืองอิชิโนมากิ เผยว่า ภายหลังจากเหตุภัยพิบัติครั้งเลวร้ายในปี 2011 ทางโรงพยาบาลได้ตั้งแผนกเพื่อรับมือกับเหตุภัยพิบัติโดยเฉพาะขึ้นมา และมีเจ้าหน้าที่ประจำ เพื่อหาข้อมูลเชิงวิชาการในการป้องกันเหตุในอนาคต “แผนกรับมือภัยพิบัติไม่ได้มีหน้าที่รักษาคนไข้ แต่มีขึ้นเพื่อศึกษาและพัฒนาหาแนวทางในการให้ความช่วยเหลือคนไข้เมื่อเกิด เหตุ และแผนกนี้จะติดต่อกับนักวิชาการในมหาวิทยาลัย รวมถึงเปิดให้มีการประกวดผลงานวิจัย เพื่อพัฒนามาตรการช่วยเหลือผู้ป่วยยามฉุกเฉิน” มาซาโตชิ กล่าว นอกจากนี้ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ยังเผยต่อว่าปัจจุบันทางโรงพยาบาลทำการฝึกซ้อมใหญ่ในการรับมือกับเหตุฉุก เฉิน และขนย้ายผู้ป่วย เสมือนจริง 2 ครั้งต่อปี ในขณะที่บางแผนกมีการฝึกซ้อมทุกอาทิตย์ เพื่อตรวจเช็คความพร้อมของอุปกรณ์ต่างๆอยู่ตลอดเวลา เมื่อลองมองหันมามอง ความพร้อมในการรับมือด้านภัยพิบัติของไทย แม้ว่าบทเรียนน้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี 2011 ที่ผ่านมาจะเริ่มทำให้ทางการไทยเริ่มมีแนวทางในการจัดการรับมือที่ชัดเจน ขึ้น เช่น มีการมอบหมายหน้าที่ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธาณภัยเป็นหน่วยงานหลักในการ การรับผิดชอบ การเริ่มมีการประชุมซักซ้อมแผนของหน่วยงานต่างๆ แต่ในส่วนความพร้อมของภาคประชาชนไทยยังไม่ได้รับการเตรียมพร้อมเท่าที่ควร โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับความพร้อมของชาวญี่ปุ่น ที่ความพร้อมในด้านนี้มาก “การเตรียมความพร้อมภาคประชาชนของไทยในการรับมือกับภัยพิบัติ ยังเป็นสิ่งที่ควรต้องได้รับการพัฒนาอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดภัยพิบัติแล้ว ประชาชนจะต้องรู้หน้าที่ตนเอง เพื่อจะรู้ว่าจะหนีไปที่ไหน เมื่อยามเกิดเหตุฉุกเฉิน และพาตนเองไปยังที่ปลอดภัยได้” นายแพทย์ วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขของไทย กล่าวให้สัมภาษณ์ในระหว่างการไปศึกษาดูงาน ด้านการสื่อสารความเสี่ยงด้านภัยพิบัติที่ประเทศญี่ปุ่น

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...