สั่นสะเทือน...เตือนแผ่นดินไหวในไทย
„“…วันที่ 4 พ.ค. 58 เวลา 22.00 น. แผ่นดินไหวบริเวณ อ.ท่าสองยางจ.ตาก (17.63,97.96) ขนาด 2.6 แมกนิจูด/วันที่ 5 พ.ค. 58 เวลา 16.28 น. แผ่นดินไหว อ.เมือง จ.เชียงราย (19.903, 99.762) ขนาด 1.5 แมกนิจูด/วันที่ 6 พ.ค. 58 เวลา 04.18 น. แผ่นดินไหว อ.เกาะยาว จ.พังงา (7.846,98.540) ขนาด 4.6 แมกนิจูด และในเวลา 12.25 น. เกิดแผ่นดินไหวในทะเล บริเวณ อ.เกาะยาว จ.พังงา (7.83,98.54) ขนาด 3.2 แมกนิจูด วันที่ 7 พ.ค. 58 เวลา 00.30 น. แผ่นดินไหวในทะเลบริเวณ อ.เกาะยาว จ.พังงา(7.84, 98.52) ขนาด 4.8 แมกนิจูด และวันที่ 8 พ.ค. 58 เวลา 12.14 น. แผ่นดินไหวในทะเลบริเวณ อ.เกาะยาว จ.พังงา (7.85, 98.51) ขนาด 2.7 แมกนิจูด... นี่คือข้อมูลบางช่วงเวลาที่ผ่านมาซึ่งเป็นรายงานของสำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหวกรมอุตุนิยมวิทยาที่แจ้งเหตุแผ่นดินไหวในประเทศไทยช่วงต้นเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาซึ่งห่างจากการเกิดแผ่นดินไหวที่เนปาลไม่นานนัก… ทำให้หลายภาคส่วนทั้งกลุ่มหน่วยงานราชการภาคเอกชนและประชาชนในพื้นที่ที่อยู่ในจุดเสี่ยงต่างให้ความสนใจเฝ้าติดตามข่าวกันอย่างใกล้ชิด แต่แล้วความแน่นอนคือความไม่แน่นอน…ความชัดเจนก็ไม่กระจ่างชัดการออกข่าวสารบางเรื่องบางประเด็นกลายเป็น ข้อถกเถียงกันของกลุ่มนักวิชาการที่ทำให้ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะคนในพื้นที่ต่างอยู่ในภาวะหวาดกลัวและขวัญผวา โดยหลังเกิดแผ่นดินไหวหนักในประเทศไทย นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติเปิดเผยว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เนปาลตนมีความเป็นห่วงว่าอาจจะเกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ในไทยเป็นครั้งที่ 2 ยิ่งการเกิดแผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย 4.5 แมกนิจูด ที่เกาะยาว อาจส่งผลต่อรอยเลื่อนในประเทศไทยทั้ง 14 แห่ง นายสมิทธ กล่าวต่อว่า ปัญหาที่กลัวเพราะมีรอยเลื่อนขนาดใหญ่คือรอยเลื่อนสะแก หรือสกายเริ่มจากปากแม่น้ำอิระวดียาวสุดหัวเกาะสุมาตรา พาดผ่าน จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต เคยเกิดไหวรุนแรงในทะเลห่างจากไทยหลายร้อยกิโลเมตร ยังมีคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อปี 2547 ซึ่งระยะเวลาเดินทางของคลื่นแค่ 90 นาที ถือเป็นรอยเลื่อนมีพลังมากจากการมุดตัวของเปลือกโลกอินเดียและยูเรเซียมีพลังงานสะสมมากในที่ตั้งภาคใต้ของประเทศไทยถ้ารอยเลื่อนนี้เคลื่อนตัวอีกจะเกิดสึนามิอีกครั้งอย่างรุนแรงขึ้น“
„นอกจากนี้ยังเป็นห่วงรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ใต้เขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรีล้วนแต่ตั้งอยู่บนรอยเลื่อนที่มีความเครียดสะสมของพลังงานซึ่งตอนนี้มีมากเต็ม ที่แล้วหากเกิดรอยเลื่อนใหญ่แม้ไม่ ไหวรุนแรง ก็อาจทำให้เขื่อนแตกได้ และ จ.กาญจนบุรี อาจเกิดน้ำท่วมสูงถึง 22 เมตร...ที่ผ่านมาไม่อยากเถียงกับพวกนักวิชาการที่ชอบออกมาพูดว่าเป็นเพียงการขยับตัวให้เข้าที่และไม่เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ ๆ ในไทยแต่เป็นห่วงชาวบ้านอาจตั้งรับไม่ทันเพราะหน่วยงานรัฐละเลย…นี่คือข้อห่วงใยของประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติที่ดูจะขัดแย้งกับกลุ่มนักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้องของภาครัฐ ด้าน พล.ร.อ.เกาะหลัก เจริญรุกข์ ผู้เชี่ยวชาญศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติอธิบายเรื่องการเกิดแผ่นดินไหวว่าการเกิดแผ่นดินไหวไม่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทยมีรอยเลื่อนเล็ก ๆ 4 รอย ได้แก่รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ เจดีย์สามองค์ ระนองและคลองมะรุ่ยซึ่งทั้ง 4 รอยหากเกิดแผ่นดินไหวจะมีความรุนแรงไม่เกิน 5 แมกนิจูดและจะไม่สามารถสร้างความเสียหายให้เขื่อนศรีนครินทร์ได้เพราะได้สร้างไว้รองรับการไหวถึง 7 แมกนิจูดและหากมีการไหวจริงด้วยสภาพตัวเขื่อนที่เป็นเขื่อนหินทิ้งยิ่งจะทำให้ตัวเขื่อนมีความแน่นแข็งแรงมากขึ้น ส่วนเรื่องการเกิดสึนามินั้นจะเกิดได้ในทะเลเท่านั้นและศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ มีลำดับขั้นตอนในการติดตามเช่นการเฝ้าระวังการตรวจสอบข้อมูลทุ่นที่เกาะเมียง จ.ระนองตรวจจุดที่สึนามิจะเข้าและประสานหน่วยงานราชการเข้าช่วยเหลือซึ่งทุกขั้นตอนใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง โดยประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวได้ที่สายด่วนศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ 192 หรือ 0-2399-4114 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง… คำชี้แจงของภาครัฐต่อสถานการณ์ตื่นตูมเรื่องแผ่นดินไหว ขณะในส่วนภูมิภาคตามพื้นที่นั้นต่างมีความเชื่อไปในแนวทางเดียวกันว่าหากเกิดแผ่นดินไหวจะสามารถรับมือกับสถานการณ์ได้โดย นายประยูร รัตนเสนีย์ ผวจ.พังงา ยืนยันว่าไม่ได้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในพื้นที่ มีเพียงการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กเท่านั้นและทางราชการไม่เคยมีประกาศเตือนตามที่ผู้ไม่หวังดีกล่าวอ้างพร้อมสั่งการให้เจ้าหน้าที่เร่งประชา สัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชนและนักท่องเที่ยว “เราเพิ่มความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวด้วยการลงพื้นที่เขาหลักเพื่อดูการทำงานของระบบเตือนภัยมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยากของหอเตือนภัย หอเตือนภัยเพื่อนพึ่งภาฯ และลงตรวจสอบพื้นที่ อ.เกาะยาว ด้วย” ผวจ.พังงา ระบุไว้ ด้าน นายเถลิงศักดิ์ ภูวญาณพงศ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณ ภัยจังหวัดกระบี่ เปิดเผยว่า เหตุแผ่นดินไหวที่จ.พังงา มีหลายพื้นที่รับรู้แรงสั่นสะเทือนหลังเกิดเหตุประมาณ 1 ชั่วโมงประชาชนที่อพยพก็ได้กลับลงมาอยู่ตามที่พักอาศัย และใช้ชีวิตตามปกติ ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติไม่ตื่นตระหนกแต่อย่างใด ส่วน นางมนฤดี เกตุพันธุ์ ผอ.ท่าอากาศยานภูเก็ต เปิดเผยว่า สนามบินมีการ เตรียมความพร้อมรับมือเหตุการณ์แผ่นดินไหวและกรณีเกิดคลื่นสึนามิตลอด 24 ชั่วโมงโดยมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและมีการฝึกซ้อมตามแผนฉุกเฉินต่อเนื่องโดยมั่นใจรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้ ขณะเดียวกัน น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ที่ปรึกษาด้านการสื่อสารกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และผู้ดูแลศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติกล่าวว่า กรณีแผ่นดินไหวตอนใต้เกาะยาวขนาด 4.6 แมกนิจูดส่งผลให้ได้รับแรงสั่นไหวในหลายพื้นที่ใน จ.ภูเก็ต จ.พังงา และ จ.กระบี่ ซึ่งกรณีดังกล่าวถือว่าไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน อย่างไรก็ตาม ประชาชนในพื้นที่มีความระมัดระวังตัวและมีประสบการณ์รับฟังคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่องซึ่งเมื่อได้รับแรงสั่นสะเทือนก็ขึ้นไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยเมื่อเหตุการณ์ปกติก็กลับลงมาใช้ชีวิตตามปกติทั้งนี้ ที่ผ่านมาศูนย์เตือนภัยฯก็ได้มีการจัดโครงการสร้างองค์ความรู้ต่อภัยพิบัติในทุกปีจึงทำให้ประชาชนหรือแม้แต่นักท่องเที่ยวในพื้นที่เสี่ยงภัยต่าง ๆ มีความรู้ความเข้าใจเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นถือว่าลดความเสียหายได้ดี อีกทางหนึ่ง ศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย หัวหน้าชุดโครงการวิจัยลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)ให้ข้อมูลไว้ตอนหนึ่งว่าประเทศไทยยังมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ขนาด 6.8-7.2 แมกนิจูดได้ จากบริเวณรอยเลื่อนแม่จันรอยเลื่อนเถิน และรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์แม้ว่าอาจจะยังไม่เกิดในเร็ว ๆ นี้ก็ตาม หากการเกิดแผ่นดินไหวแล้วมีผล กระทบต่อตึกสูงในพื้นที่และกรุงเทพฯนั้นอาจจะเป็นไปได้ใน 3 กรณี คือ 1. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.5 ริคเตอร์ ที่จังหวัดกาญจนบุรีที่ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 200 กิโลเมตร 2. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.0 ริคเตอร์ ตามรอยเลื่อนสกาย ที่ห่างจาก กทม.ไม่เกิน 400 กิโลเมตรและ 3. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.5 ริคเตอร์ ที่เกิดขึ้นตามแนวแผ่นเปลือกโลก ยูเรเซีย อย่างไรก็ดีแม้ว่าการเกิดแผ่นดินไหวจะไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้แต่การ เตรียมการรับมือด้วยสร้างอาคารที่แข็งแรงตามมาตรฐาน จะช่วยลดความเสียหายได้เป็นอย่างมาก…หากเรารู้จักการเกิดแผ่นดินไหวและมีสติไม่ตื่นตูมหรือตระหนกไปกับคำพยากรณ์หรือคาดเดาจากเหตุการณ์หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งเชื่อว่าเราจะรอดปลอด ภัยจากภัยธรรมชาติที่เราห้ามไม่ได้แต่เราเรียนรู้และเอาตัวรอดจากมันได้แน่นอน. ทีมข่าวเฉพาะกิจรายงาน“
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/320456 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
แผนที่ประเทศไทย „“…วันที่ 4 พ.ค. 58 เวลา 22.00 น. แผ่นดินไหวบริเวณ อ.ท่าสองยางจ.ตาก (17.63,97.96) ขนาด 2.6 แมกนิจูด/วันที่ 5 พ.ค. 58 เวลา 16.28 น. แผ่นดินไหว อ.เมือง จ.เชียงราย (19.903, 99.762) ขนาด 1.5 แมกนิจูด/วันที่ 6 พ.ค. 58 เวลา 04.18 น. แผ่นดินไหว อ.เกาะยาว จ.พังงา (7.846,98.540) ขนาด 4.6 แมกนิจูด และในเวลา 12.25 น. เกิดแผ่นดินไหวในทะเล บริเวณ อ.เกาะยาว จ.พังงา (7.83,98.54) ขนาด 3.2 แมกนิจูด วันที่ 7 พ.ค. 58 เวลา 00.30 น. แผ่นดินไหวในทะเลบริเวณ อ.เกาะยาว จ.พังงา(7.84, 98.52) ขนาด 4.8 แมกนิจูด และวันที่ 8 พ.ค. 58 เวลา 12.14 น. แผ่นดินไหวในทะเลบริเวณ อ.เกาะยาว จ.พังงา (7.85, 98.51) ขนาด 2.7 แมกนิจูด... นี่คือข้อมูลบางช่วงเวลาที่ผ่านมาซึ่งเป็นรายงานของสำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหวกรมอุตุนิยมวิทยาที่แจ้งเหตุแผ่นดินไหวในประเทศไทยช่วงต้นเดือน พ.ค. ที่ผ่านมาซึ่งห่างจากการเกิดแผ่นดินไหวที่เนปาลไม่นานนัก… ทำให้หลายภาคส่วนทั้งกลุ่มหน่วยงานราชการภาคเอกชนและประชาชนในพื้นที่ที่อยู่ในจุดเสี่ยงต่างให้ความสนใจเฝ้าติดตามข่าวกันอย่างใกล้ชิด แต่แล้วความแน่นอนคือความไม่แน่นอน…ความชัดเจนก็ไม่กระจ่างชัดการออกข่าวสารบางเรื่องบางประเด็นกลายเป็น ข้อถกเถียงกันของกลุ่มนักวิชาการที่ทำให้ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะคนในพื้นที่ต่างอยู่ในภาวะหวาดกลัวและขวัญผวา โดยหลังเกิดแผ่นดินไหวหนักในประเทศไทย นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติเปิดเผยว่า จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เนปาลตนมีความเป็นห่วงว่าอาจจะเกิดคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ในไทยเป็นครั้งที่ 2 ยิ่งการเกิดแผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนคลองมะรุ่ย 4.5 แมกนิจูด ที่เกาะยาว อาจส่งผลต่อรอยเลื่อนในประเทศไทยทั้ง 14 แห่ง นายสมิทธ กล่าวต่อว่า ปัญหาที่กลัวเพราะมีรอยเลื่อนขนาดใหญ่คือรอยเลื่อนสะแก หรือสกายเริ่มจากปากแม่น้ำอิระวดียาวสุดหัวเกาะสุมาตรา พาดผ่าน จ.ระนอง พังงา ภูเก็ต เคยเกิดไหวรุนแรงในทะเลห่างจากไทยหลายร้อยกิโลเมตร ยังมีคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อปี 2547 ซึ่งระยะเวลาเดินทางของคลื่นแค่ 90 นาที ถือเป็นรอยเลื่อนมีพลังมากจากการมุดตัวของเปลือกโลกอินเดียและยูเรเซียมีพลังงานสะสมมากในที่ตั้งภาคใต้ของประเทศไทยถ้ารอยเลื่อนนี้เคลื่อนตัวอีกจะเกิดสึนามิอีกครั้งอย่างรุนแรงขึ้น“ แผ่นดินไหว „นอกจากนี้ยังเป็นห่วงรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ใต้เขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรีล้วนแต่ตั้งอยู่บนรอยเลื่อนที่มีความเครียดสะสมของพลังงานซึ่งตอนนี้มีมากเต็ม ที่แล้วหากเกิดรอยเลื่อนใหญ่แม้ไม่ ไหวรุนแรง ก็อาจทำให้เขื่อนแตกได้ และ จ.กาญจนบุรี อาจเกิดน้ำท่วมสูงถึง 22 เมตร...ที่ผ่านมาไม่อยากเถียงกับพวกนักวิชาการที่ชอบออกมาพูดว่าเป็นเพียงการขยับตัวให้เข้าที่และไม่เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ ๆ ในไทยแต่เป็นห่วงชาวบ้านอาจตั้งรับไม่ทันเพราะหน่วยงานรัฐละเลย…นี่คือข้อห่วงใยของประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติที่ดูจะขัดแย้งกับกลุ่มนักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้องของภาครัฐ ด้าน พล.ร.อ.เกาะหลัก เจริญรุกข์ ผู้เชี่ยวชาญศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติอธิบายเรื่องการเกิดแผ่นดินไหวว่าการเกิดแผ่นดินไหวไม่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทยมีรอยเลื่อนเล็ก ๆ 4 รอย ได้แก่รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ เจดีย์สามองค์ ระนองและคลองมะรุ่ยซึ่งทั้ง 4 รอยหากเกิดแผ่นดินไหวจะมีความรุนแรงไม่เกิน 5 แมกนิจูดและจะไม่สามารถสร้างความเสียหายให้เขื่อนศรีนครินทร์ได้เพราะได้สร้างไว้รองรับการไหวถึง 7 แมกนิจูดและหากมีการไหวจริงด้วยสภาพตัวเขื่อนที่เป็นเขื่อนหินทิ้งยิ่งจะทำให้ตัวเขื่อนมีความแน่นแข็งแรงมากขึ้น ส่วนเรื่องการเกิดสึนามินั้นจะเกิดได้ในทะเลเท่านั้นและศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ มีลำดับขั้นตอนในการติดตามเช่นการเฝ้าระวังการตรวจสอบข้อมูลทุ่นที่เกาะเมียง จ.ระนองตรวจจุดที่สึนามิจะเข้าและประสานหน่วยงานราชการเข้าช่วยเหลือซึ่งทุกขั้นตอนใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง โดยประชาชนสามารถสอบถามข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวได้ที่สายด่วนศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ 192 หรือ 0-2399-4114 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง… คำชี้แจงของภาครัฐต่อสถานการณ์ตื่นตูมเรื่องแผ่นดินไหว ขณะในส่วนภูมิภาคตามพื้นที่นั้นต่างมีความเชื่อไปในแนวทางเดียวกันว่าหากเกิดแผ่นดินไหวจะสามารถรับมือกับสถานการณ์ได้โดย นายประยูร รัตนเสนีย์ ผวจ.พังงา ยืนยันว่าไม่ได้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในพื้นที่ มีเพียงการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กเท่านั้นและทางราชการไม่เคยมีประกาศเตือนตามที่ผู้ไม่หวังดีกล่าวอ้างพร้อมสั่งการให้เจ้าหน้าที่เร่งประชา สัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชนและนักท่องเที่ยว “เราเพิ่มความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวด้วยการลงพื้นที่เขาหลักเพื่อดูการทำงานของระบบเตือนภัยมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยากของหอเตือนภัย หอเตือนภัยเพื่อนพึ่งภาฯ และลงตรวจสอบพื้นที่ อ.เกาะยาว ด้วย” ผวจ.พังงา ระบุไว้ ด้าน นายเถลิงศักดิ์ ภูวญาณพงศ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณ ภัยจังหวัดกระบี่ เปิดเผยว่า เหตุแผ่นดินไหวที่จ.พังงา มีหลายพื้นที่รับรู้แรงสั่นสะเทือนหลังเกิดเหตุประมาณ 1 ชั่วโมงประชาชนที่อพยพก็ได้กลับลงมาอยู่ตามที่พักอาศัย และใช้ชีวิตตามปกติ ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติไม่ตื่นตระหนกแต่อย่างใด ส่วน นางมนฤดี เกตุพันธุ์ ผอ.ท่าอากาศยานภูเก็ต เปิดเผยว่า สนามบินมีการ เตรียมความพร้อมรับมือเหตุการณ์แผ่นดินไหวและกรณีเกิดคลื่นสึนามิตลอด 24 ชั่วโมงโดยมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและมีการฝึกซ้อมตามแผนฉุกเฉินต่อเนื่องโดยมั่นใจรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้ ขณะเดียวกัน น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ที่ปรึกษาด้านการสื่อสารกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และผู้ดูแลศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติกล่าวว่า กรณีแผ่นดินไหวตอนใต้เกาะยาวขนาด 4.6 แมกนิจูดส่งผลให้ได้รับแรงสั่นไหวในหลายพื้นที่ใน จ.ภูเก็ต จ.พังงา และ จ.กระบี่ ซึ่งกรณีดังกล่าวถือว่าไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชน อย่างไรก็ตาม ประชาชนในพื้นที่มีความระมัดระวังตัวและมีประสบการณ์รับฟังคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่องซึ่งเมื่อได้รับแรงสั่นสะเทือนก็ขึ้นไปอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยเมื่อเหตุการณ์ปกติก็กลับลงมาใช้ชีวิตตามปกติทั้งนี้ ที่ผ่านมาศูนย์เตือนภัยฯก็ได้มีการจัดโครงการสร้างองค์ความรู้ต่อภัยพิบัติในทุกปีจึงทำให้ประชาชนหรือแม้แต่นักท่องเที่ยวในพื้นที่เสี่ยงภัยต่าง ๆ มีความรู้ความเข้าใจเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นถือว่าลดความเสียหายได้ดี อีกทางหนึ่ง ศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย หัวหน้าชุดโครงการวิจัยลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)ให้ข้อมูลไว้ตอนหนึ่งว่าประเทศไทยยังมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ขนาด 6.8-7.2 แมกนิจูดได้ จากบริเวณรอยเลื่อนแม่จันรอยเลื่อนเถิน และรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์แม้ว่าอาจจะยังไม่เกิดในเร็ว ๆ นี้ก็ตาม หากการเกิดแผ่นดินไหวแล้วมีผล กระทบต่อตึกสูงในพื้นที่และกรุงเทพฯนั้นอาจจะเป็นไปได้ใน 3 กรณี คือ 1. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.5 ริคเตอร์ ที่จังหวัดกาญจนบุรีที่ห่างจากกรุงเทพฯประมาณ 200 กิโลเมตร 2. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.0 ริคเตอร์ ตามรอยเลื่อนสกาย ที่ห่างจาก กทม.ไม่เกิน 400 กิโลเมตรและ 3. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.5 ริคเตอร์ ที่เกิดขึ้นตามแนวแผ่นเปลือกโลก ยูเรเซีย อย่างไรก็ดีแม้ว่าการเกิดแผ่นดินไหวจะไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้แต่การ เตรียมการรับมือด้วยสร้างอาคารที่แข็งแรงตามมาตรฐาน จะช่วยลดความเสียหายได้เป็นอย่างมาก…หากเรารู้จักการเกิดแผ่นดินไหวและมีสติไม่ตื่นตูมหรือตระหนกไปกับคำพยากรณ์หรือคาดเดาจากเหตุการณ์หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งเชื่อว่าเราจะรอดปลอด ภัยจากภัยธรรมชาติที่เราห้ามไม่ได้แต่เราเรียนรู้และเอาตัวรอดจากมันได้แน่นอน. ทีมข่าวเฉพาะกิจรายงาน“ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/article/320456
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)