เปิดคู่มือ "รู้แล้วรอด" สอนเด็กรับมือภัยพิบัติ
"รู้แล้วรอด อยากให้เธอได้รู้แล้วรอด รู้แล้วรอด...อยากให้เธอได้รู้"
ท่อนฮุกของเพลง "รู้แล้วรอด" เน้นย้ำถึงความหมายของเพลง ที่แต่งขึ้นเพื่อนำมาประกอบการสื่อสารสาระให้ความรู้กลุ่ม เป้าหมาย อย่างเด็กและเยาวชนได้ตื่นตัวและหันมาสนใจเรื่องภัยพิบัติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ทำให้ภัยพิบัติแต่ละครั้ง มีความรุนแรงมากขึ้นทุกที การเตรียมความพร้อมด้วยการสร้างความรู้ให้กับเด็กๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ
โครงการส่งมอบชุดความรู้เตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ "รู้แล้วรอด" ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การอนามัยโลก ซึ่งสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานแห่งชาติ (สพฐ.) และองค์การอนามัยโลก ร่วมกันจัดทำโครงการเผยแพร่ความรู้และปลูก จิตสำนึกที่ดีต่อส่วนรวมแก่เยาวชนไทยในด้านการรับมือกับภัยพิบัติโดยง่าย
จัดทำเป็นชุดความรู้ประกอบด้วย แผ่นพับคู่มือจิตอาสา แผ่นพับคู่มือกระเป๋ายังชีพ หนังสือคู่มือรับภัยพิบัติ (ฉบับพกพา) เกมกระดาน เกมการ์ด และเกมตัวต่อ เพื่อออกเดินทางไปจัดนิทรรศการเคลื่อนที่ในช่วงเดือนพ.ย.-ธ.ค. ในโรงเรียนนำร่องทั่วประเทศ
ตั้งแต่เกิดสึนามิ เมื่อปี 2547 คนไทยได้เรียนรู้ว่าภัยธรรมชาติเป็นเรื่องยิ่งใหญ่และทำให้อยู่อย่างปลอดภัยเหมือนเดิมไม่ได้ เพราะสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปแล้ว
นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการ สพฉ. ชี้ให้เห็นว่า จากความเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศ ทำให้แต่ละพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดภัยธรรมชาติรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจากเหตุการณ์สึนามิ และอีกหลายๆ เหตุการณ์เห็นได้ชัดว่า คนไทยยังไม่พร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ แม้หน่วยงานรัฐจะเตรียมความพร้อม เช่น สายด่วน 1669 หรือศูนย์บรรเทาสาธารณภัย แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ฉะนั้นจึงต้องฝังความรู้เหล่านี้ลงไปในระดับชุมชน เป้าหมายคือทำให้เด็กไทยมี ความรู้ว่าภัยอะไรบ้างที่สามารถเกิดขึ้นได้ในประเทศไทยและจะรับมืออย่างไร
"หากยกตัวอย่างจากประเทศญี่ปุ่นซึ่งถือเป็นประเทศที่เตรียมความพร้อมให้กับประชากรได้รับมือกับภัยพิบัติได้ดี ก็ใช้วิธีแทรกความรู้เข้าไปในบทเรียน ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุเด็กๆ จะรู้ว่าต้องทำตัวอย่างไรและไม่ตื่นตกใจ เช่น แผ่นดินไหว ทุกคนก็หมอบต่ำกับพื้น หรืออยู่ใต้โต๊ะทันที ซึ่งถือว่าดูแลตัวเองได้ และเมื่อโต เด็กเหล่านี้ก็จะมีหัวใจจิตอาสาที่ออกทำงานช่วยเหลือคนอื่นได้" นพ.อนุชากล่าว
ชุดความรู้ "รู้แล้วรอด" มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและเยาวชน เนื้อหาจึงผ่านกระบวนการคิดให้เกิดการสื่อสารด้วยความสร้างสรรค์ เป็นเรื่องสนุกที่แฝงด้วยสาระความรู้
วิภาวี คุณาวิชยานนท์ ผู้จัดการโครงการส่งมอบชุดความรู้เตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ "รู้แล้วรอด" อธิบายถึงการจัดทำชุดความรู้นี้ว่า ทีม D4D หรือ Design for Disaster คือ การรวมตัวของคนอาสาเพื่อนำสิ่งที่ถนัด คือ งานออกแบบมาใช้เพื่อรับมือกับภัยพิบัติ โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากช่วงน้ำท่วมใหญ่ ก่อนที่จะทำงานมาเรื่อยๆ โดยมีหน่วยงานภาครัฐสนับสนุน เพื่อออกแบบคู่มือรับมือภัยพิบัติที่สอดแทรกความบันเทิงลงไป เพื่อสร้างความตระหนักและการเผยแพร่ความรู้เตรียมรับมือกับภัยพิบัติในรูปแบบต่างๆ
รูปแบบของชุดความรู้ จะเป็นการเตรียมความพร้อม เน้นทั้งช่วงก่อน ระหว่าง และหลังเกิดภัยพิบัติ โดย ยึดหลักการศึกษาผสมผสานควบคู่ไปกับความบันเทิง (EDUTAINMENT = Education + Entertainment) สอดแทรกเข้าไปในชีวิตประจำวัน ผ่านสื่อสร้างสรรค์หลากหลายรูปแบบ เช่น ในงานออกแบบชุดความรู้ "รู้แล้วรอด" ออกแบบ "ครอบครัวรู้รอด" ที่ประกอบด้วยตัวละครแทนคนในสังคมทุกช่วงวัย โดยจะมีตัวละคร 8 ตัว ตั้งแต่ผู้ใหญ่ เด็กเล็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และสัตว์เลี้ยง รวมถึงตัวละครในจินตนาการ ชื่อ "พลังแห่งความดีงาม" ซึ่งลงมาจากบนฟ้าเพื่อช่วยเหลือผู้คน
เนื้อเรื่องจะดำเนินโดยใช้ตัวละครที่มีและแทรกสอดด้วยตัวละครพลังแห่งความดีในทุกๆ เหตุการณ์ ซึ่งตัวละครเหล่านี้จะทำเป็นมาสคอต และออกเดินทางไปพร้อมกับนิทรรศการเคลื่อนที่บนรถบัส ที่ตกแต่งเพื่อสร้างความสนใจกับเด็กๆ
"ชุดความรู้ที่สร้างขึ้นนี้ เพื่อให้สื่อสารได้ง่ายๆ กับเด็ก โดยเกมแต่ละเกมจะแทรกเนื้อหาสาระการเรียนรู้ไว้ เพราะเรื่องของความปลอดภัย ปลูกฝังเรื่องของจิตสำนึกที่ดีไปพร้อมๆ กัน เพราะนอกจากช่วยเหลือตัวเองได้ ก็จะช่วยเหลือผู้อื่นได้อีกด้วย" คุณวิภาวีอธิบาย
โครงการในครั้งนี้เป็นโครงการนำร่องซึ่งชุดความรู้ที่นำไปเผยแพร่ในแต่ละภูมิภาค จะเน้นในเรื่องที่สอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น ภาคใต้มีความเสี่ยงเรื่องสึนามิ พายุ น้ำป่า เป็นต้น แต่ทุกภูมิภาคจะได้รับความรู้ในการดูแลความปลอดภัยขั้นพื้นฐานไปด้วย เช่น การใช้รถใช้ถนน เป็นต้น
นายแสงไทย มีสุนทร ผอ.สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน สพฐ. เพิ่มเติมว่า ชุดความรู้ดังกล่าวจะถูกนำไปพัฒนาต่อ ยอดขยายผล โดยจะมีการสรุปโครงการและปรับปรุงแก้ไข ก่อนนำไปพัฒนาและขยายพื้นที่ให้ครอบคลุมต่อไป และอาจจะนำไปบรรจุในหลักสูตรการศึกษาเพื่อให้เกิดเป็นความรู้พื้นฐานของเด็กในอนาคตต่อไป
ความรู้เหล่านี้ถือเป็นข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นและจะสร้างให้เด็กสามารถช่วยเหลือตัวเอง ลดการพึ่งพาคนอื่น ซึ่งการช่วยเหลือตัวเองถือเป็นสิ่งสำคัญมากในยามวิกฤตเพราะจะช่วยลดความสูญเสียลงได้ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่จึงจำเป็นต้องมีไว้เป็นอาวุธป้องกันตัวเอง
ขอบคุณ… http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1386237656
(ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ธ.ค.56)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
โครงการส่งมอบชุดความรู้เตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ \"รู้แล้วรอด\" "รู้แล้วรอด อยากให้เธอได้รู้แล้วรอด รู้แล้วรอด...อยากให้เธอได้รู้" ท่อนฮุกของเพลง "รู้แล้วรอด" เน้นย้ำถึงความหมายของเพลง ที่แต่งขึ้นเพื่อนำมาประกอบการสื่อสารสาระให้ความรู้กลุ่ม เป้าหมาย อย่างเด็กและเยาวชนได้ตื่นตัวและหันมาสนใจเรื่องภัยพิบัติที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ทำให้ภัยพิบัติแต่ละครั้ง มีความรุนแรงมากขึ้นทุกที การเตรียมความพร้อมด้วยการสร้างความรู้ให้กับเด็กๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ โครงการส่งมอบชุดความรู้เตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ "รู้แล้วรอด" ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การอนามัยโลก ซึ่งสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานแห่งชาติ (สพฐ.) และองค์การอนามัยโลก ร่วมกันจัดทำโครงการเผยแพร่ความรู้และปลูก จิตสำนึกที่ดีต่อส่วนรวมแก่เยาวชนไทยในด้านการรับมือกับภัยพิบัติโดยง่าย จัดทำเป็นชุดความรู้ประกอบด้วย แผ่นพับคู่มือจิตอาสา แผ่นพับคู่มือกระเป๋ายังชีพ หนังสือคู่มือรับภัยพิบัติ (ฉบับพกพา) เกมกระดาน เกมการ์ด และเกมตัวต่อ เพื่อออกเดินทางไปจัดนิทรรศการเคลื่อนที่ในช่วงเดือนพ.ย.-ธ.ค. ในโรงเรียนนำร่องทั่วประเทศ ตั้งแต่เกิดสึนามิ เมื่อปี 2547 คนไทยได้เรียนรู้ว่าภัยธรรมชาติเป็นเรื่องยิ่งใหญ่และทำให้อยู่อย่างปลอดภัยเหมือนเดิมไม่ได้ เพราะสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปแล้ว นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการ สพฉ. ชี้ให้เห็นว่า จากความเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศ ทำให้แต่ละพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดภัยธรรมชาติรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจากเหตุการณ์สึนามิ และอีกหลายๆ เหตุการณ์เห็นได้ชัดว่า คนไทยยังไม่พร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ แม้หน่วยงานรัฐจะเตรียมความพร้อม เช่น สายด่วน 1669 หรือศูนย์บรรเทาสาธารณภัย แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ฉะนั้นจึงต้องฝังความรู้เหล่านี้ลงไปในระดับชุมชน เป้าหมายคือทำให้เด็กไทยมี ความรู้ว่าภัยอะไรบ้างที่สามารถเกิดขึ้นได้ในประเทศไทยและจะรับมืออย่างไร โครงการส่งมอบชุดความรู้เตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ \"รู้แล้วรอด\""หากยกตัวอย่างจากประเทศญี่ปุ่นซึ่งถือเป็นประเทศที่เตรียมความพร้อมให้กับประชากรได้รับมือกับภัยพิบัติได้ดี ก็ใช้วิธีแทรกความรู้เข้าไปในบทเรียน ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุเด็กๆ จะรู้ว่าต้องทำตัวอย่างไรและไม่ตื่นตกใจ เช่น แผ่นดินไหว ทุกคนก็หมอบต่ำกับพื้น หรืออยู่ใต้โต๊ะทันที ซึ่งถือว่าดูแลตัวเองได้ และเมื่อโต เด็กเหล่านี้ก็จะมีหัวใจจิตอาสาที่ออกทำงานช่วยเหลือคนอื่นได้" นพ.อนุชากล่าว ชุดความรู้ "รู้แล้วรอด" มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและเยาวชน เนื้อหาจึงผ่านกระบวนการคิดให้เกิดการสื่อสารด้วยความสร้างสรรค์ เป็นเรื่องสนุกที่แฝงด้วยสาระความรู้ วิภาวี คุณาวิชยานนท์ ผู้จัดการโครงการส่งมอบชุดความรู้เตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ "รู้แล้วรอด" อธิบายถึงการจัดทำชุดความรู้นี้ว่า ทีม D4D หรือ Design for Disaster คือ การรวมตัวของคนอาสาเพื่อนำสิ่งที่ถนัด คือ งานออกแบบมาใช้เพื่อรับมือกับภัยพิบัติ โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากช่วงน้ำท่วมใหญ่ ก่อนที่จะทำงานมาเรื่อยๆ โดยมีหน่วยงานภาครัฐสนับสนุน เพื่อออกแบบคู่มือรับมือภัยพิบัติที่สอดแทรกความบันเทิงลงไป เพื่อสร้างความตระหนักและการเผยแพร่ความรู้เตรียมรับมือกับภัยพิบัติในรูปแบบต่างๆ โครงการส่งมอบชุดความรู้เตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ \"รู้แล้วรอด\"รูปแบบของชุดความรู้ จะเป็นการเตรียมความพร้อม เน้นทั้งช่วงก่อน ระหว่าง และหลังเกิดภัยพิบัติ โดย ยึดหลักการศึกษาผสมผสานควบคู่ไปกับความบันเทิง (EDUTAINMENT = Education + Entertainment) สอดแทรกเข้าไปในชีวิตประจำวัน ผ่านสื่อสร้างสรรค์หลากหลายรูปแบบ เช่น ในงานออกแบบชุดความรู้ "รู้แล้วรอด" ออกแบบ "ครอบครัวรู้รอด" ที่ประกอบด้วยตัวละครแทนคนในสังคมทุกช่วงวัย โดยจะมีตัวละคร 8 ตัว ตั้งแต่ผู้ใหญ่ เด็กเล็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และสัตว์เลี้ยง รวมถึงตัวละครในจินตนาการ ชื่อ "พลังแห่งความดีงาม" ซึ่งลงมาจากบนฟ้าเพื่อช่วยเหลือผู้คน เนื้อเรื่องจะดำเนินโดยใช้ตัวละครที่มีและแทรกสอดด้วยตัวละครพลังแห่งความดีในทุกๆ เหตุการณ์ ซึ่งตัวละครเหล่านี้จะทำเป็นมาสคอต และออกเดินทางไปพร้อมกับนิทรรศการเคลื่อนที่บนรถบัส ที่ตกแต่งเพื่อสร้างความสนใจกับเด็กๆ "ชุดความรู้ที่สร้างขึ้นนี้ เพื่อให้สื่อสารได้ง่ายๆ กับเด็ก โดยเกมแต่ละเกมจะแทรกเนื้อหาสาระการเรียนรู้ไว้ เพราะเรื่องของความปลอดภัย ปลูกฝังเรื่องของจิตสำนึกที่ดีไปพร้อมๆ กัน เพราะนอกจากช่วยเหลือตัวเองได้ ก็จะช่วยเหลือผู้อื่นได้อีกด้วย" คุณวิภาวีอธิบาย โครงการในครั้งนี้เป็นโครงการนำร่องซึ่งชุดความรู้ที่นำไปเผยแพร่ในแต่ละภูมิภาค จะเน้นในเรื่องที่สอดคล้องกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น ภาคใต้มีความเสี่ยงเรื่องสึนามิ พายุ น้ำป่า เป็นต้น แต่ทุกภูมิภาคจะได้รับความรู้ในการดูแลความปลอดภัยขั้นพื้นฐานไปด้วย เช่น การใช้รถใช้ถนน เป็นต้น นายแสงไทย มีสุนทร ผอ.สำนักพัฒนากิจกรรมนักเรียน สพฐ. เพิ่มเติมว่า ชุดความรู้ดังกล่าวจะถูกนำไปพัฒนาต่อ ยอดขยายผล โดยจะมีการสรุปโครงการและปรับปรุงแก้ไข ก่อนนำไปพัฒนาและขยายพื้นที่ให้ครอบคลุมต่อไป และอาจจะนำไปบรรจุในหลักสูตรการศึกษาเพื่อให้เกิดเป็นความรู้พื้นฐานของเด็กในอนาคตต่อไป ความรู้เหล่านี้ถือเป็นข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นและจะสร้างให้เด็กสามารถช่วยเหลือตัวเอง ลดการพึ่งพาคนอื่น ซึ่งการช่วยเหลือตัวเองถือเป็นสิ่งสำคัญมากในยามวิกฤตเพราะจะช่วยลดความสูญเสียลงได้ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่จึงจำเป็นต้องมีไว้เป็นอาวุธป้องกันตัวเอง ขอบคุณ… http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1386237656 (ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 ธ.ค.56)
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)