ติวคนไทยรับมือภัยพิบัติ
สธ.บุก “แดนปลาดิบ” เรียนรู้แนวทางเอาตัวรอดในช่วงนาทีชีวิต
แผ่นดินไหว น้ำท่วมใหญ่ พายุพัดถล่ม
ส่วนหนึ่งของภัยพิบัติทางธรรมชาติจากทั่วโลกที่นับวันจะมีอัตราการเกิดที่ถี่ขึ้น
ประเทศ ไทยก็เช่นกัน หลังจากที่เมื่อปลายปี 2554 ต้องประสบกับมหาอุทกภัย ที่สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชนกันถ้วนหน้าถึง 65 จังหวัดทั่วประเทศ
ถึง วันนี้ คล้อยหลังเพียงแค่ 2 ปี ภาพเหตุการณ์เมื่อปลายปี 2554 ดูเหมือนจะเป็นฝันร้ายที่กลายเป็นจริงฟื้นชีพกลับมาหลอกหลอนคนไทยอีกครั้ง แล้ว
แม้สถานการณ์อาจจะดูว่ายังไม่รุนแรงเท่าเมื่อปลายปี 2554 แต่ ณ ปัจจุบัน มวลน้ำขนาด ใหญ่ก็ได้ทำความเสียหายไปแล้วถึง 24 จังหวัด
ย้อน อดีตกลับไปครั้งมหาอุทกภัยปี 2554 อีกครั้ง จากโศกนาฏกรรมที่หลายร้อยชีวิตต้องเซ่นสังเวยกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ในจำนวนนั้นมีมากถึง 102 ราย ที่มีสาเหตุการเสียชีวิตจากการโดนไฟฟ้าดูด ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่รองลงมาจากการจมน้ำ
แน่นอน หากเจาะลึกลงไปถึงปัญหาที่นำมาซึ่งความสูญเสียอย่างมากมาย คงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า หนึ่งในเหตุผลสำคัญ คือ เพราะขาดการเข้าไปให้ความรู้ต่อประชาชนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้รับมือกับสถานการณ์ช่วงวิกฤติและสามารถมีชีวิตอยู่รอดได้
กระทรวง สาธารณสุข (สธ.) หนึ่งในหน่วยงาน หลักซึ่งต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติ ตระหนักถึงปัญหานี้ จึงเป็นที่มาของการเดินทางไปศึกษาถึงแนวทางในการให้ความรู้ประชาชนในการรับ มือภัยพิบัติ รวมถึงระบบการแพทย์ในช่วงของการเกิดภัยพิบัติที่ประเทศ
ญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 26-29 ก.ย. ที่ผ่านมา นำโดย นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขและ ทีมข่าวสาธารณสุข ได้มีโอกาสร่วมติดตามคณะในครั้งนี้ด้วย
เป้าหมาย คือ ศึกษาระบบการจัดการของ โรงพยาบาลกาชาดสากล เมืองอิชิโนมะกิ ที่รองรับผู้ป่วยจากเหตุการณ์สึนามิถล่มเมื่อช่วงต้นปี 2554 และที่ ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ภัยพิบัติ สถานีฝึกการเตรียมความพร้อมด้านภัยพิบัติ สำหรับประชาชนกรุงโตเกียว
“หากเกิดภัยพิบัติจะต้องหาทางเอาตัวรอดให้ได้ภายใน 72 ชั่วโมง” คือ หลักการที่ประเทศญี่ปุ่นปลูกฝังไปยังประชาชนของประเทศ
นาย ยามาซากิ จูนิจิ ผู้จัดการศูนย์บัญชาการ เหตุการณ์ภัยพิบัติ สถานีฝึกการเตรียมความพร้อมด้านภัยพิบัติ สำหรับประชาชนกรุงโตเกียว อธิบายด้วยว่า เนื่องจากโดยเฉลี่ยแล้วหน่วยงานราชการต่างๆ ใช้เวลาประมาณ 72 ชั่วโมงในการดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ช่วงเวลาดังกล่าวจึงถือว่าสำคัญมาก เพราะหากประชาชนไม่รู้จักวิธีการเอาตัวรอดใน 72 ชั่วโมง จะทำให้โอกาสรอดชีวิตลดลงร้อยละ 30 และศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ภัยพิบัติฯนี้ จะเปิดให้ประชาชนทุกวัยเข้ามาเรียนรู้วิธีการเอาตัวรอดเวลาเกิดภัยพิบัติ โดยจะจำลองเหตุการณ์ตอนที่เกิดแผ่นดินไหว จากนั้นจะให้ผู้ที่เข้าอบรมตอบคำถามผ่านเครื่องเล่นเกมแบบพกพา เช่น เบอร์โทรศัพท์ที่จำเป็นในเวลาฉุกเฉิน ขั้นตอนการดับเพลิง วิธีการหาอาหาร และรวมไปถึงการเก็บตุนอาหาร หากตอบผิดก็จะเฉลยวิธีที่ถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อต้องการให้ประชาชนได้เรียนรู้วิธีในการมีชีวิตให้อยู่รอดให้ได้ ใน 72 ชั่วโมง โดยญี่ปุ่นจะมีการตั้งศูนย์ในลักษณะนี้อีก 2 ที่คือ ไอจิและโอซากา
ขณะที่ในส่วนของความพร้อมทางการแพทย์ฉุกเฉินที่เรา เห็นได้ชัด คือ ในโรงพยาบาลของประเทศญี่ปุ่นประมาณ 500 แห่ง จะมีทีม Disaster Management Assistant Team หรือ DMAT ซึ่งจะประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล และผู้ช่วย เพื่อคอยให้ความช่วยเหลือ ประชาชนเมื่อเกิดภัยพิบัติ ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลจะมีการฝึกอบรมเพื่อ เตรียมความพร้อม ทีม DMAT ทุกสัปดาห์
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ ฐานะหัวหน้าคณะฯ ยอมรับว่า สิ่งที่มีความจำเป็นที่สุดในช่วงที่เกิดภัยพิบัติก็คือการให้ความรู้ประชาชน เพื่อให้สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้จนกว่าความช่วยเหลือจะเข้าไปถึง ซึ่งเรื่องนี้ทางญี่ปุ่นให้ความสำคัญมาก จะมีการส่งเสริมให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าวตั้งแต่เด็ก โดยเฉพาะการเรียนรู้ในเรื่องการเอาชีวิตรอดใน 72 ชั่วโมง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะต้องรู้ในช่วงเวลา 72 ชั่วโมงจะต้องทำอะไร อย่างไร เพื่อให้มีชีวิตรอด และยอมรับว่าประเทศไทยยังไม่มีการดำเนินการในลักษณะนี้ จึงเป็นเหตุให้เมื่อเกิดภัยพิบัติมีประชาชนต้องเสียชีวิตไปมากกว่าที่ควรจะ เป็น
สอดคล้องกับสิ่งที่ ทีมข่าวสาธารณสุข ได้สัมผัสกับการตื่นตัวเตรียมพร้อมรับสถานการณ์และการดูแลของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่เผชิญภัยพิบัติสารพัดชนิด โดยทุกหมู่บ้านจะมีการกำหนดจุดรวมพลซึ่งเป็นสถานที่ปลอดภัยให้ประชาชนมารวม ตัวกัน
เมื่อเกิดภัยพิบัติ ขณะเดียวกันในแต่ละพื้นที่จะมีการจัดตู้หนีภัย ซึ่งจะมีลักษณะเป็นโกดังขนาดเล็กบรรจุสิ่งของเครื่องใช้ที่มีความจำเป็นยาม เกิดภัยพิบัติไว้ให้ประชาชน
ที่สำคัญเรามองว่าถึงเวลาแล้วที่รัฐบาล ไทย จะหันมาให้ความสนใจเพื่อเตรียมรับมือภัยพิบัติอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการให้ความรู้ไปยังประชาชนเกี่ยวกับการเอาตัวรอดในยามที่ประเทศเกิด ภัยพิบัติ
ไม่ใช่ปล่อยให้ประชาชนอยู่กันแบบ “ตามมีตามเกิด” พอถึงเวลาเกิดภัยพิบัติแต่ละครั้งก็ระดมเอาแค่ถุงยังชีพไปแจกให้ด้วยความ เมตตาสงสารเท่านั้น
เพราะในวันนี้ภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ส่งสัญญาณ เตือนไปยังทุกประเทศทั่วโลกหลายครั้งแล้ว และดูท่ามันจะไม่รีรอที่จะเอาคืนในสิ่งที่มนุษย์ได้ทำร้ายธรรมชาติลงไป
คงไม่มีใครอยากให้เกิดความสูญเสียซ้ำซาก เลิกทำตัวแบบที่สำนวนจีนว่า “ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา” เสียทีเถอะ...
ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/edu/374477 (ขนาดไฟล์: 167)
( ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ต.ค.56 )
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ สธ.บุก “แดนปลาดิบ” เรียนรู้แนวทางเอาตัวรอดในช่วงนาทีชีวิต แผ่นดินไหว น้ำท่วมใหญ่ พายุพัดถล่ม ส่วนหนึ่งของภัยพิบัติทางธรรมชาติจากทั่วโลกที่นับวันจะมีอัตราการเกิดที่ถี่ขึ้น ประเทศ ไทยก็เช่นกัน หลังจากที่เมื่อปลายปี 2554 ต้องประสบกับมหาอุทกภัย ที่สร้างความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชนกันถ้วนหน้าถึง 65 จังหวัดทั่วประเทศ ถึง วันนี้ คล้อยหลังเพียงแค่ 2 ปี ภาพเหตุการณ์เมื่อปลายปี 2554 ดูเหมือนจะเป็นฝันร้ายที่กลายเป็นจริงฟื้นชีพกลับมาหลอกหลอนคนไทยอีกครั้ง แล้ว แม้สถานการณ์อาจจะดูว่ายังไม่รุนแรงเท่าเมื่อปลายปี 2554 แต่ ณ ปัจจุบัน มวลน้ำขนาด ใหญ่ก็ได้ทำความเสียหายไปแล้วถึง 24 จังหวัด ย้อน อดีตกลับไปครั้งมหาอุทกภัยปี 2554 อีกครั้ง จากโศกนาฏกรรมที่หลายร้อยชีวิตต้องเซ่นสังเวยกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ในจำนวนนั้นมีมากถึง 102 ราย ที่มีสาเหตุการเสียชีวิตจากการโดนไฟฟ้าดูด ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่รองลงมาจากการจมน้ำ แน่นอน หากเจาะลึกลงไปถึงปัญหาที่นำมาซึ่งความสูญเสียอย่างมากมาย คงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า หนึ่งในเหตุผลสำคัญ คือ เพราะขาดการเข้าไปให้ความรู้ต่อประชาชนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้รับมือกับสถานการณ์ช่วงวิกฤติและสามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ ติวคนไทยรับมือภัยพิบัติกระทรวง สาธารณสุข (สธ.) หนึ่งในหน่วยงาน หลักซึ่งต้องเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติ ตระหนักถึงปัญหานี้ จึงเป็นที่มาของการเดินทางไปศึกษาถึงแนวทางในการให้ความรู้ประชาชนในการรับ มือภัยพิบัติ รวมถึงระบบการแพทย์ในช่วงของการเกิดภัยพิบัติที่ประเทศ ญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 26-29 ก.ย. ที่ผ่านมา นำโดย นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขและ ทีมข่าวสาธารณสุข ได้มีโอกาสร่วมติดตามคณะในครั้งนี้ด้วย เป้าหมาย คือ ศึกษาระบบการจัดการของ โรงพยาบาลกาชาดสากล เมืองอิชิโนมะกิ ที่รองรับผู้ป่วยจากเหตุการณ์สึนามิถล่มเมื่อช่วงต้นปี 2554 และที่ ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ภัยพิบัติ สถานีฝึกการเตรียมความพร้อมด้านภัยพิบัติ สำหรับประชาชนกรุงโตเกียว “หากเกิดภัยพิบัติจะต้องหาทางเอาตัวรอดให้ได้ภายใน 72 ชั่วโมง” คือ หลักการที่ประเทศญี่ปุ่นปลูกฝังไปยังประชาชนของประเทศ นาย ยามาซากิ จูนิจิ ผู้จัดการศูนย์บัญชาการ เหตุการณ์ภัยพิบัติ สถานีฝึกการเตรียมความพร้อมด้านภัยพิบัติ สำหรับประชาชนกรุงโตเกียว อธิบายด้วยว่า เนื่องจากโดยเฉลี่ยแล้วหน่วยงานราชการต่างๆ ใช้เวลาประมาณ 72 ชั่วโมงในการดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ช่วงเวลาดังกล่าวจึงถือว่าสำคัญมาก เพราะหากประชาชนไม่รู้จักวิธีการเอาตัวรอดใน 72 ชั่วโมง จะทำให้โอกาสรอดชีวิตลดลงร้อยละ 30 และศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ภัยพิบัติฯนี้ จะเปิดให้ประชาชนทุกวัยเข้ามาเรียนรู้วิธีการเอาตัวรอดเวลาเกิดภัยพิบัติ โดยจะจำลองเหตุการณ์ตอนที่เกิดแผ่นดินไหว จากนั้นจะให้ผู้ที่เข้าอบรมตอบคำถามผ่านเครื่องเล่นเกมแบบพกพา เช่น เบอร์โทรศัพท์ที่จำเป็นในเวลาฉุกเฉิน ขั้นตอนการดับเพลิง วิธีการหาอาหาร และรวมไปถึงการเก็บตุนอาหาร หากตอบผิดก็จะเฉลยวิธีที่ถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อต้องการให้ประชาชนได้เรียนรู้วิธีในการมีชีวิตให้อยู่รอดให้ได้ ใน 72 ชั่วโมง โดยญี่ปุ่นจะมีการตั้งศูนย์ในลักษณะนี้อีก 2 ที่คือ ไอจิและโอซากา ขณะที่ในส่วนของความพร้อมทางการแพทย์ฉุกเฉินที่เรา เห็นได้ชัด คือ ในโรงพยาบาลของประเทศญี่ปุ่นประมาณ 500 แห่ง จะมีทีม Disaster Management Assistant Team หรือ DMAT ซึ่งจะประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล และผู้ช่วย เพื่อคอยให้ความช่วยเหลือ ประชาชนเมื่อเกิดภัยพิบัติ ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลจะมีการฝึกอบรมเพื่อ เตรียมความพร้อม ทีม DMAT ทุกสัปดาห์ นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ ฐานะหัวหน้าคณะฯ ยอมรับว่า สิ่งที่มีความจำเป็นที่สุดในช่วงที่เกิดภัยพิบัติก็คือการให้ความรู้ประชาชน เพื่อให้สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้จนกว่าความช่วยเหลือจะเข้าไปถึง ซึ่งเรื่องนี้ทางญี่ปุ่นให้ความสำคัญมาก จะมีการส่งเสริมให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าวตั้งแต่เด็ก โดยเฉพาะการเรียนรู้ในเรื่องการเอาชีวิตรอดใน 72 ชั่วโมง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะต้องรู้ในช่วงเวลา 72 ชั่วโมงจะต้องทำอะไร อย่างไร เพื่อให้มีชีวิตรอด และยอมรับว่าประเทศไทยยังไม่มีการดำเนินการในลักษณะนี้ จึงเป็นเหตุให้เมื่อเกิดภัยพิบัติมีประชาชนต้องเสียชีวิตไปมากกว่าที่ควรจะ เป็น สอดคล้องกับสิ่งที่ ทีมข่าวสาธารณสุข ได้สัมผัสกับการตื่นตัวเตรียมพร้อมรับสถานการณ์และการดูแลของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่เผชิญภัยพิบัติสารพัดชนิด โดยทุกหมู่บ้านจะมีการกำหนดจุดรวมพลซึ่งเป็นสถานที่ปลอดภัยให้ประชาชนมารวม ตัวกัน เมื่อเกิดภัยพิบัติ ขณะเดียวกันในแต่ละพื้นที่จะมีการจัดตู้หนีภัย ซึ่งจะมีลักษณะเป็นโกดังขนาดเล็กบรรจุสิ่งของเครื่องใช้ที่มีความจำเป็นยาม เกิดภัยพิบัติไว้ให้ประชาชน ที่สำคัญเรามองว่าถึงเวลาแล้วที่รัฐบาล ไทย จะหันมาให้ความสนใจเพื่อเตรียมรับมือภัยพิบัติอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการให้ความรู้ไปยังประชาชนเกี่ยวกับการเอาตัวรอดในยามที่ประเทศเกิด ภัยพิบัติ ไม่ใช่ปล่อยให้ประชาชนอยู่กันแบบ “ตามมีตามเกิด” พอถึงเวลาเกิดภัยพิบัติแต่ละครั้งก็ระดมเอาแค่ถุงยังชีพไปแจกให้ด้วยความ เมตตาสงสารเท่านั้น เพราะในวันนี้ภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ส่งสัญญาณ เตือนไปยังทุกประเทศทั่วโลกหลายครั้งแล้ว และดูท่ามันจะไม่รีรอที่จะเอาคืนในสิ่งที่มนุษย์ได้ทำร้ายธรรมชาติลงไป คงไม่มีใครอยากให้เกิดความสูญเสียซ้ำซาก เลิกทำตัวแบบที่สำนวนจีนว่า “ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา” เสียทีเถอะ... ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/edu/374477 ( ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 8 ต.ค.56 )
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)