'เตือนภัยธรรมชาติ' แอพพลิเคชั่น vs ภูมิปัญญาชาวบ้าน

แสดงความคิดเห็น

แอพพลิเคชั่น vs ภูมิปัญญาชาวบ้าน

ในโลกยุคดิจิตอล ทำให้การใช้ชีวิตของใครหลายคนง่ายขึ้น เพียงแค่สัมผัส!!! กับเจ้าสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ก็ท่องโลกอินเทอร์เน็ต หาคำตอบได้ทุกเรื่อง ทุกเวลา และในช่วงหน้ามรสุมแบบนี้ อุปกรณ์คู่กายอย่างสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ช่วยอะไรเราได้บ้าง ไทยรัฐออนไลน์ ขอขยายความ สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ก็จะมีแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ให้ทั้งความสนุก เพลิดเพลิน และรับรู้ข่าวสาร ข้อมูลแบบรวดเร็ว ให้ทุกคนสามารถเตรียมพร้อมกับทุกวินาทีที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง...

Thai Flood Reporter ส่วนแอพพลิเคชั่นที่จะทำให้ช่วยเตือนภัยฟ้าฝนให้เราได้ในยามนี้คือ

1. Thai Flood Reporter

Thai Flood Reporter จะเน้นรายงานข่าว สถานการณ์น้ำท่วมในบริเวณที่ต่างๆ ผ่านทาง social network อย่าง twitter หรือผ่านทาง SMS ของภาครัฐ (กระทรวงไอซีที) จึงเหมาะกับผู้ที่ลงพื้นที่ ทั้งอาสาสมัคร, นักข่าว, หรือผู้ประสบภัยในพื้นที่ ทุกคนที่ใช้แอพพลิเคชั่นนี้ สามารถส่งตำแหน่ง ที่อยู่ และเวลา ขณะรายงาน ที่สำคัญยังแนบภาพถ่ายได้ด้วย หากจะส่งข้อความผ่าน twitter เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาข้อมูลในภายหลัง แนะนำให้ทุกคนติดแท็ก #ThaiFlood ส่วนการส่ง SMS แจ้งภาครัฐ ส่งไปที่ 4567892

NDWC 2. NDWC

NDWC เป็นแอพพลิเคชั่นน้องใหม่เอาใจสาวกสมาร์ทโฟน ความน่าสนใจของแอพฯ นี้ อยู่ตรงที่การรายงานข้อมูลเตือนภัยพิบัติทุกรูปแบบอย่างรวดเร็ว ฉับไว ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ดินโคลนถล่ม และแผ่นดินไหว ทั้งในและต่างประเทศ โดยเป็นแอพพลิเคชั่นที่จัดทำขึ้นโดยศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ

NDWC ยังพร้อมเป็นช่องทางในการรายงานสถานการณ์สดในทุกพื้นที่ แต่ผู้ที่จะส่งภาพสดเข้าสู่แอพพลิเคชั่นเตือนภัยพิบัติ จะต้องลงทะเบียน และผ่านการตรวจสอบจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะไม่ส่งข้อมูลคลาดเคลื่อน

ศูนย์เตือนภัย พิบัติแห่งชาติ ใช้เวลากว่า 1 ปี ในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นนี้ เพื่อเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานต่างๆ กลั่นกรอง วิเคราะห์ และคาดการณ์ สถานการณ์ เพื่อให้นายกรัฐมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัด สามารถสั่งการบนพื้นฐานข้อมูลตามช่วงเวลา และสถานการณ์จริง ผ่านโปรแกรมประยุกต์

ก่อนจะส่งข้อมูลแจ้งเตือน และการเตือนภัยไปยังหอกระจายข่าว, ทีวีพูล, เว็บไซต์, เครือข่ายภาคประชาชน และสมาร์ทโฟน ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งพัฒนาการของการเตือนภัยพิบัติที่รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์

Tsunami Early Warning App 3. Tsunami Early Warning App

แอ พพลิเคชั่นนี้ จะแจ้งเตือนก่อนใคร ถ้าอยู่ในเขตที่จะเกิดสึนามิ โดย Tsunami Early Warning App จะคำนวนการเคลื่อนที่ของคลื่นสึนามิแล้วส่ง sms เตือนภัยถ้าคุณอยู่ในเขตอันตราย โดย App จะบอกข้อมูลทั้งเวลาที่จะเกิดคลื่น โดยให้ sever ของ App รู้ที่อยู่ของคุณในขณะนั้นในแต่ละหาด เพื่อได้รับข้อมูล แอพพลิเคชั่นนี้เหมาะสำหรับคนที่เดินทางในประเทศที่มีหมู่เกาะต่างๆ เช่น ไทย อะแลสกา ฮาวาย มัลดีฟส์ เม็กซิโก อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น

iEarthquake 4. iEarthquake

iEarthquake คือ ผลงานจากค่าย bananacoding สามารถใช้ในการแจ้งเตือนภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น อย่างแผ่นดินไหว และสึนามิได้ การแสดงผลจะบอกความรุนแรงไว้ให้พร้อม เช่น แสดงระดับการเกิดแผ่นดินไหวกี่ริกเตอร์ และถ้าเป็นกรณีรุนแรงก็จะขึ้นสีแดงให้เห็น แสดงจุดเกิดเหตุในลักษณะของแผนที่ หรือจะใช้วิธีการค้นหาด้วย keyword ก็ยังได้ ในส่วนของข้อมูลเป็นการดึงมาจากฐานข้อมูลหลัก 2 แห่ง ได้แก่ U.S.Geological Survey (USGS) และ European Mediterranean Seismological Centre (EMSC)

แต่นอกจาก application ดีๆ ที่เรานำมาเสนอแล้ว ภูมิปัญญาชาวบ้านของเหล่าบรรพบุรุษของเราก็สามารถที่จะทำให้เราคาดการณ์ สถานการณ์ต่างๆ ได้เช่นเดียวกัน อย่างแรกที่น่าสนใจก็คือ

หญ้าครุน (torpedo grass) 1.หญ้าครุน (torpedo grass)

หญ้า ครุน หรือชื่อสามัญว่า หญ้าชันกาด (ภาคกลาง) หญ้าอ้อน้อย แขมมัน (เชียงใหม่) หญ้าครุน (ภาคใต้) ที่พบได้ตามท้องไร่ท้องนาทั่วไป หญ้าชนิดนี้เตือนภัยเราได้อย่างไร ให้สังเกตที่รอยกิ่วของหญ้า ชาวบ้านบอกว่าถ้ามีรอยกิ่วแค่ 1 หยัก แปลว่าปีนี้น้ำน้อย จะมีฝนตกหนักและอาจเกิดน้ำหลากแค่ 1 ครั้ง ผิดกับที่ผ่านมาที่ใบหญ้าครุนมีรอยกิ่วมากถึง 3 หยัก ซึ่งน้ำจะมากจนเกิดน้ำท่วมใหญ่ หรือสรุปง่ายๆ คือ ถ้าหญ้าครุนแตกยอดกี่แฉกแสดงว่าน้ำท่วมบริเวณนั้นกี่ครั้ง นอกจากนี้ ยังมีคำบอกที่ว่า ถ้าดอกชุมเห็ดยังไม่โรย เชื่อได้เลยว่ายังจะมีฝนตกอีก

ดอกขี้ไก่ (หญ้าสาบเสือ หรือหญ้าบ้านร้าง)

2. ดอกขี้ไก่ (หญ้าสาบเสือ หรือหญ้าบ้านร้าง)

ดอกไม้ ชนิดนี้จะบาน และออกดอก ช่วงที่ฝนหยุด เพราะดอกไม้ชนิดนี้แพร่พันธุ์ โดยการแตกกระจายออกเป็นกลุ่มดอก ถ้าดอกถูกฝนอุ้มน้ำไม่สามารถลอยปลิวไปได้ หรือถ้าแมงมุมชักใยเฉียงๆ แสดงว่าจะยังมีฝนตกอีกเช่นกัน

มด

3. มด

หลาย คนคงแปลกใจว่ามด จะเป็นสัญญาณให้เรารู้ว่าฝนจะตก น้ำจะท่วมได้อย่างไร สังเกตตรงนี้ เมื่อไรที่ฝูงมดขนไข่อพยพ หรือขึ้นที่ดอน แสดงว่าฝนจะตกแน่นอน

หอยเชอร์รี่

4. หอยเชอร์รี่

คราว นี้มาดูว่าหลังจากฝนตกแล้วน้ำจะท่วมสูงเท่าไร ให้สังเกตการวางไข่ของหอยโข่ง หรือหอยเชอร์รี่ โดยถ้าหอยวางไข่สูงเท่าไร ให้วัดลงมาประมาณ 1 ฝ่ามือ ตรงนั้นคือระดับน้ำที่จะท่วมถึง การสังเกตไข่หอยชนิดนี้ให้ดูหลายตัว แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน

แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไป การเตือนภัยมีการพัฒนาให้เกิดความรวดเร็ว แต่ความช่างสังเกต สิ่งรอบตัวของบรรพบุรุษ ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า สามารถช่วยเตือนภัยธรรมชาติได้อย่างแม่นยำ

สะท้อนได้ดีว่าทุกชีวิต เลือกที่จะเรียนรู้เพื่ออยู่กับภัยธรรมชาติที่หนีไม่พ้น...

ขอบคุณ http://www.thairath.co.th/content/life/373774

ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ต.ค.56

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ต.ค.56
วันที่โพสต์: 4/10/2556 เวลา 03:21:54 ดูภาพสไลด์โชว์ 'เตือนภัยธรรมชาติ' แอพพลิเคชั่น vs ภูมิปัญญาชาวบ้าน

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

แอพพลิเคชั่น vs ภูมิปัญญาชาวบ้าน ในโลกยุคดิจิตอล ทำให้การใช้ชีวิตของใครหลายคนง่ายขึ้น เพียงแค่สัมผัส!!! กับเจ้าสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ก็ท่องโลกอินเทอร์เน็ต หาคำตอบได้ทุกเรื่อง ทุกเวลา และในช่วงหน้ามรสุมแบบนี้ อุปกรณ์คู่กายอย่างสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ช่วยอะไรเราได้บ้าง ไทยรัฐออนไลน์ ขอขยายความ สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ก็จะมีแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ให้ทั้งความสนุก เพลิดเพลิน และรับรู้ข่าวสาร ข้อมูลแบบรวดเร็ว ให้ทุกคนสามารถเตรียมพร้อมกับทุกวินาทีที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง... Thai Flood Reporter ส่วนแอพพลิเคชั่นที่จะทำให้ช่วยเตือนภัยฟ้าฝนให้เราได้ในยามนี้คือ 1. Thai Flood Reporter Thai Flood Reporter จะเน้นรายงานข่าว สถานการณ์น้ำท่วมในบริเวณที่ต่างๆ ผ่านทาง social network อย่าง twitter หรือผ่านทาง SMS ของภาครัฐ (กระทรวงไอซีที) จึงเหมาะกับผู้ที่ลงพื้นที่ ทั้งอาสาสมัคร, นักข่าว, หรือผู้ประสบภัยในพื้นที่ ทุกคนที่ใช้แอพพลิเคชั่นนี้ สามารถส่งตำแหน่ง ที่อยู่ และเวลา ขณะรายงาน ที่สำคัญยังแนบภาพถ่ายได้ด้วย หากจะส่งข้อความผ่าน twitter เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาข้อมูลในภายหลัง แนะนำให้ทุกคนติดแท็ก #ThaiFlood ส่วนการส่ง SMS แจ้งภาครัฐ ส่งไปที่ 4567892 NDWC 2. NDWC NDWC เป็นแอพพลิเคชั่นน้องใหม่เอาใจสาวกสมาร์ทโฟน ความน่าสนใจของแอพฯ นี้ อยู่ตรงที่การรายงานข้อมูลเตือนภัยพิบัติทุกรูปแบบอย่างรวดเร็ว ฉับไว ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ดินโคลนถล่ม และแผ่นดินไหว ทั้งในและต่างประเทศ โดยเป็นแอพพลิเคชั่นที่จัดทำขึ้นโดยศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ NDWC ยังพร้อมเป็นช่องทางในการรายงานสถานการณ์สดในทุกพื้นที่ แต่ผู้ที่จะส่งภาพสดเข้าสู่แอพพลิเคชั่นเตือนภัยพิบัติ จะต้องลงทะเบียน และผ่านการตรวจสอบจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะไม่ส่งข้อมูลคลาดเคลื่อน ศูนย์เตือนภัย พิบัติแห่งชาติ ใช้เวลากว่า 1 ปี ในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นนี้ เพื่อเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานต่างๆ กลั่นกรอง วิเคราะห์ และคาดการณ์ สถานการณ์ เพื่อให้นายกรัฐมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัด สามารถสั่งการบนพื้นฐานข้อมูลตามช่วงเวลา และสถานการณ์จริง ผ่านโปรแกรมประยุกต์ ก่อนจะส่งข้อมูลแจ้งเตือน และการเตือนภัยไปยังหอกระจายข่าว, ทีวีพูล, เว็บไซต์, เครือข่ายภาคประชาชน และสมาร์ทโฟน ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งพัฒนาการของการเตือนภัยพิบัติที่รวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์ Tsunami Early Warning App 3. Tsunami Early Warning App แอ พพลิเคชั่นนี้ จะแจ้งเตือนก่อนใคร ถ้าอยู่ในเขตที่จะเกิดสึนามิ โดย Tsunami Early Warning App จะคำนวนการเคลื่อนที่ของคลื่นสึนามิแล้วส่ง sms เตือนภัยถ้าคุณอยู่ในเขตอันตราย โดย App จะบอกข้อมูลทั้งเวลาที่จะเกิดคลื่น โดยให้ sever ของ App รู้ที่อยู่ของคุณในขณะนั้นในแต่ละหาด เพื่อได้รับข้อมูล แอพพลิเคชั่นนี้เหมาะสำหรับคนที่เดินทางในประเทศที่มีหมู่เกาะต่างๆ เช่น ไทย อะแลสกา ฮาวาย มัลดีฟส์ เม็กซิโก อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น iEarthquake 4. iEarthquake iEarthquake คือ ผลงานจากค่าย bananacoding สามารถใช้ในการแจ้งเตือนภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น อย่างแผ่นดินไหว และสึนามิได้ การแสดงผลจะบอกความรุนแรงไว้ให้พร้อม เช่น แสดงระดับการเกิดแผ่นดินไหวกี่ริกเตอร์ และถ้าเป็นกรณีรุนแรงก็จะขึ้นสีแดงให้เห็น แสดงจุดเกิดเหตุในลักษณะของแผนที่ หรือจะใช้วิธีการค้นหาด้วย keyword ก็ยังได้ ในส่วนของข้อมูลเป็นการดึงมาจากฐานข้อมูลหลัก 2 แห่ง ได้แก่ U.S.Geological Survey (USGS) และ European Mediterranean Seismological Centre (EMSC) แต่นอกจาก application ดีๆ ที่เรานำมาเสนอแล้ว ภูมิปัญญาชาวบ้านของเหล่าบรรพบุรุษของเราก็สามารถที่จะทำให้เราคาดการณ์ สถานการณ์ต่างๆ ได้เช่นเดียวกัน อย่างแรกที่น่าสนใจก็คือ หญ้าครุน (torpedo grass) 1.หญ้าครุน (torpedo grass) หญ้า ครุน หรือชื่อสามัญว่า หญ้าชันกาด (ภาคกลาง) หญ้าอ้อน้อย แขมมัน (เชียงใหม่) หญ้าครุน (ภาคใต้) ที่พบได้ตามท้องไร่ท้องนาทั่วไป หญ้าชนิดนี้เตือนภัยเราได้อย่างไร ให้สังเกตที่รอยกิ่วของหญ้า ชาวบ้านบอกว่าถ้ามีรอยกิ่วแค่ 1 หยัก แปลว่าปีนี้น้ำน้อย จะมีฝนตกหนักและอาจเกิดน้ำหลากแค่ 1 ครั้ง ผิดกับที่ผ่านมาที่ใบหญ้าครุนมีรอยกิ่วมากถึง 3 หยัก ซึ่งน้ำจะมากจนเกิดน้ำท่วมใหญ่ หรือสรุปง่ายๆ คือ ถ้าหญ้าครุนแตกยอดกี่แฉกแสดงว่าน้ำท่วมบริเวณนั้นกี่ครั้ง นอกจากนี้ ยังมีคำบอกที่ว่า ถ้าดอกชุมเห็ดยังไม่โรย เชื่อได้เลยว่ายังจะมีฝนตกอีก ดอกขี้ไก่ (หญ้าสาบเสือ หรือหญ้าบ้านร้าง) 2. ดอกขี้ไก่ (หญ้าสาบเสือ หรือหญ้าบ้านร้าง) ดอกไม้ ชนิดนี้จะบาน และออกดอก ช่วงที่ฝนหยุด เพราะดอกไม้ชนิดนี้แพร่พันธุ์ โดยการแตกกระจายออกเป็นกลุ่มดอก ถ้าดอกถูกฝนอุ้มน้ำไม่สามารถลอยปลิวไปได้ หรือถ้าแมงมุมชักใยเฉียงๆ แสดงว่าจะยังมีฝนตกอีกเช่นกัน มด 3. มด หลาย คนคงแปลกใจว่ามด จะเป็นสัญญาณให้เรารู้ว่าฝนจะตก น้ำจะท่วมได้อย่างไร สังเกตตรงนี้ เมื่อไรที่ฝูงมดขนไข่อพยพ หรือขึ้นที่ดอน แสดงว่าฝนจะตกแน่นอน หอยเชอร์รี่ 4. หอยเชอร์รี่ คราว นี้มาดูว่าหลังจากฝนตกแล้วน้ำจะท่วมสูงเท่าไร ให้สังเกตการวางไข่ของหอยโข่ง หรือหอยเชอร์รี่ โดยถ้าหอยวางไข่สูงเท่าไร ให้วัดลงมาประมาณ 1 ฝ่ามือ ตรงนั้นคือระดับน้ำที่จะท่วมถึง การสังเกตไข่หอยชนิดนี้ให้ดูหลายตัว แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไป การเตือนภัยมีการพัฒนาให้เกิดความรวดเร็ว แต่ความช่างสังเกต สิ่งรอบตัวของบรรพบุรุษ ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า สามารถช่วยเตือนภัยธรรมชาติได้อย่างแม่นยำ สะท้อนได้ดีว่าทุกชีวิต เลือกที่จะเรียนรู้เพื่ออยู่กับภัยธรรมชาติที่หนีไม่พ้น... ขอบคุณ… http://www.thairath.co.th/content/life/373774 ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 ต.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...