เปิดสถิติหลังภัยพิบัติ “คนแก่” สุขภาพแย่กว่ากลุ่มอื่น สธ.เตรียมดูงานญี่ปุ่นหวังปรับใช้

แสดงความคิดเห็น

สธ.บินดูงานระบบช่วยเหลือ ประชาชนในภาวะภัยพิบัติที่ญี่ปุ่น หวังนำมาปรับใช้รับมือกับภาวะภัยพิบัติในประเทศ เชื่อช่วยลดความรุนแรงและผลกระทบได้ เน้นการจัดระบบดูแลผู้สูงอายุ หลังประเทศไทยเตรียมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบญี่ปุ่น ชี้หลังเกิดภัยพิบัติเป็นกลุ่มที่สุขภาพแย่ลงง่ายกว่ากลุ่มอื่น

นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีระบบการจัดการภัยพิบัติที่มีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ สธ.จึงนำคณะผู้บริหาร ผอ.สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ผอ.รพ.ศูนย์อุดรธานี ผอ.รพ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น นักวิชาการ และสื่อมวลชน ศึกษาดูงานการสื่อสารความเสี่ยงและรับการจัดบริการการแพทย์และสาธารณสุข โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เนื่องจากขณะนี้ญี่ปุ่นเป็นสังคมผู้สูงอายุ โดยมีผู้สูงอายุมากถึงร้อยละ 32 ของประชากรทั้งหมด ทั้งนี้ ได้กำหนดดูงาน 2 แห่ง คือที่ รพ.สภากาชาด เมืองอิชิโนมากิ เมืองเซนได ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิ เมื่อปี 2554 และที่ศูนย์เตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติที่กรุงโตเกียว เพื่อเรียนรู้รูปแบบและนำประสบการณ์ความสำเร็จของญี่ปุ่น มาประยุกต์ใช้ในการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือประชาชนไทยกรณีเกิดภัยพิบัติ ซึ่งขณะนี้มีแนวโน้มเกิดขึ้นถี่และทวีรุนแรงยิ่งขึ้นเรื่อยๆ เพื่อลดผลกระทบและช่วยให้สังคมกลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด

นพ.วชิระ กล่าวอีกว่า รพ.สภากาชาด เป็นโรงพยาบาลขนาด 402 เตียง ตั้งอยู่ในเขตภัยพิบัติสึนามิ ทำหน้าที่ด้านรักษาพยาบาล หน่วยกู้ชีพกู้ภัย และเป็นศูนย์พักพิงประชาชนในเขตนี้ เป็นโรงพยาบาลตัวอย่างของการประสานงาน การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ดูแลรักษาผู้ป่วยในภาคสนาม เจ้าหน้าที่พร้อมปฏิบัติงานภายใน 4 นาที และสอนให้ผู้ประสบภัยช่วยเหลือตนเองให้ได้ร้อยละ 90 ส่วนศูนย์เตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติและศูนย์การเรียนรู้การป้องกันตัวเอง จากแผ่นดินไหวกรุงโตเกียว เป็นศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินและศูนย์พักพิงของประชาชนในเขตโตเกียว รองรับประชาชนได้ 4,000 คน เป็นเวลา 7 วัน ศูนย์นี้ทำหน้าที่ให้ความรู้การป้องกันอันตรายจากแผ่นดินไหว โดยใช้สื่อผสม และการจำลองสถานการณ์ เน้นให้ประชาชนช่วยเหลือตัวเองได้ใน 72 ชั่วโมงก่อนความช่วยเหลือจากทางการมาถึง

ด้าน นพ.นันทศักดิ์ ธรรมานวัตร์ ผอ.สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้ไทยเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุเช่นเดียวกับญี่ปุ่น โดยมีผู้สูงอายุ 9.4 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 14.5 ของประชากร เพิ่มปีละประมาณ 5 แสนคน คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัว ทำให้ไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ในปี 2568 เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติฉุกเฉิน ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่เจ้าหน้าที่ควรให้ความสำคัญในอันดับต้นๆ แต่การช่วยเหลือมีวิธีปฏิบัติแตกต่างจากกลุ่มวัยอื่น เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีโรคประจำตัว ร่างกายมีการเสื่อมสภาพ ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย เสี่ยงบาดเจ็บ พิการ อาจเสียชีวิตได้ง่ายกว่าวัยอื่น

“การช่วยเหลือในภาวะภัยพิบัติควรเป็น วิธีการที่ถูกต้อง ผลสำรวจปัญหาของผู้สูงอายุจากภัยพิบัติ 3 เหตุการณ์ในไทย ได้แก่ เหตุน้ำท่วม ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ในปี 2554 พบว่า ขณะน้ำท่วมผู้สูงอายุมีภาวะสุขภาพไม่ดี ร้อยละ 26 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 49 หลังน้ำท่วม ส่วนภาวะหมอกควันในปี 2555 ที่เชียงราย พบผู้สูงอายุมีสุขภาพแย่ลงร้อยละ 56 พบมากที่สุดคือ ตาอักเสบร้อยละ 86 และเหตุดินโคลนถล่มที่ จ.นครศรีธรรมราช ปี 2555 หลังเกิดปัญหา ผู้สูงอายุร้อยละ 27 รู้สึกสุขภาพตัวเองแย่ลง” นพ.นันทศักดิ์ กล่าว

ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000121994 (ขนาดไฟล์: 185)

ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ก.ย.56

ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 28/09/2556 เวลา 02:36:20

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

สธ.บินดูงานระบบช่วยเหลือ ประชาชนในภาวะภัยพิบัติที่ญี่ปุ่น หวังนำมาปรับใช้รับมือกับภาวะภัยพิบัติในประเทศ เชื่อช่วยลดความรุนแรงและผลกระทบได้ เน้นการจัดระบบดูแลผู้สูงอายุ หลังประเทศไทยเตรียมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบญี่ปุ่น ชี้หลังเกิดภัยพิบัติเป็นกลุ่มที่สุขภาพแย่ลงง่ายกว่ากลุ่มอื่น นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีระบบการจัดการภัยพิบัติที่มีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ สธ.จึงนำคณะผู้บริหาร ผอ.สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ผอ.รพ.ศูนย์อุดรธานี ผอ.รพ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น นักวิชาการ และสื่อมวลชน ศึกษาดูงานการสื่อสารความเสี่ยงและรับการจัดบริการการแพทย์และสาธารณสุข โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เนื่องจากขณะนี้ญี่ปุ่นเป็นสังคมผู้สูงอายุ โดยมีผู้สูงอายุมากถึงร้อยละ 32 ของประชากรทั้งหมด ทั้งนี้ ได้กำหนดดูงาน 2 แห่ง คือที่ รพ.สภากาชาด เมืองอิชิโนมากิ เมืองเซนได ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติแผ่นดินไหวและสึนามิ เมื่อปี 2554 และที่ศูนย์เตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติที่กรุงโตเกียว เพื่อเรียนรู้รูปแบบและนำประสบการณ์ความสำเร็จของญี่ปุ่น มาประยุกต์ใช้ในการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือประชาชนไทยกรณีเกิดภัยพิบัติ ซึ่งขณะนี้มีแนวโน้มเกิดขึ้นถี่และทวีรุนแรงยิ่งขึ้นเรื่อยๆ เพื่อลดผลกระทบและช่วยให้สังคมกลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด นพ.วชิระ กล่าวอีกว่า รพ.สภากาชาด เป็นโรงพยาบาลขนาด 402 เตียง ตั้งอยู่ในเขตภัยพิบัติสึนามิ ทำหน้าที่ด้านรักษาพยาบาล หน่วยกู้ชีพกู้ภัย และเป็นศูนย์พักพิงประชาชนในเขตนี้ เป็นโรงพยาบาลตัวอย่างของการประสานงาน การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน ดูแลรักษาผู้ป่วยในภาคสนาม เจ้าหน้าที่พร้อมปฏิบัติงานภายใน 4 นาที และสอนให้ผู้ประสบภัยช่วยเหลือตนเองให้ได้ร้อยละ 90 ส่วนศูนย์เตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติและศูนย์การเรียนรู้การป้องกันตัวเอง จากแผ่นดินไหวกรุงโตเกียว เป็นศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินและศูนย์พักพิงของประชาชนในเขตโตเกียว รองรับประชาชนได้ 4,000 คน เป็นเวลา 7 วัน ศูนย์นี้ทำหน้าที่ให้ความรู้การป้องกันอันตรายจากแผ่นดินไหว โดยใช้สื่อผสม และการจำลองสถานการณ์ เน้นให้ประชาชนช่วยเหลือตัวเองได้ใน 72 ชั่วโมงก่อนความช่วยเหลือจากทางการมาถึง ด้าน นพ.นันทศักดิ์ ธรรมานวัตร์ ผอ.สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้ไทยเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุเช่นเดียวกับญี่ปุ่น โดยมีผู้สูงอายุ 9.4 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 14.5 ของประชากร เพิ่มปีละประมาณ 5 แสนคน คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าตัว ทำให้ไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ในปี 2568 เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติฉุกเฉิน ผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่เจ้าหน้าที่ควรให้ความสำคัญในอันดับต้นๆ แต่การช่วยเหลือมีวิธีปฏิบัติแตกต่างจากกลุ่มวัยอื่น เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีโรคประจำตัว ร่างกายมีการเสื่อมสภาพ ช่วยเหลือตัวเองได้น้อย เสี่ยงบาดเจ็บ พิการ อาจเสียชีวิตได้ง่ายกว่าวัยอื่น “การช่วยเหลือในภาวะภัยพิบัติควรเป็น วิธีการที่ถูกต้อง ผลสำรวจปัญหาของผู้สูงอายุจากภัยพิบัติ 3 เหตุการณ์ในไทย ได้แก่ เหตุน้ำท่วม ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ในปี 2554 พบว่า ขณะน้ำท่วมผู้สูงอายุมีภาวะสุขภาพไม่ดี ร้อยละ 26 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 49 หลังน้ำท่วม ส่วนภาวะหมอกควันในปี 2555 ที่เชียงราย พบผู้สูงอายุมีสุขภาพแย่ลงร้อยละ 56 พบมากที่สุดคือ ตาอักเสบร้อยละ 86 และเหตุดินโคลนถล่มที่ จ.นครศรีธรรมราช ปี 2555 หลังเกิดปัญหา ผู้สูงอายุร้อยละ 27 รู้สึกสุขภาพตัวเองแย่ลง” นพ.นันทศักดิ์ กล่าว ขอบคุณ... http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000121994 ASTVผู้จัดการออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ก.ย.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...