น้ำท่วมหลายจว.ปูแนะเกษตรกรทำอาชีพประมง

แสดงความคิดเห็น

ไทยโพสต์ *ดีเปรสชันถล่มไทย ในหลาย จังหวัดน้ำท่วมสูง ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยว ข้องแจ้งเตือนชาวบ้านคอยฟังข่าวสารจากทางการ และต้องเฝ้าระวัง 24 ชั่วโมง ขณะที่เจ้าพระยาเริ่มล้นตลิ่ง พระนครศรีอยุธยาหนักสุด 4 อำเภออ่วม พบเกษตรกรที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตเดือดร้อนแล้วกว่า 7 พันราย แต่รัฐบาลแก้ปัญหาแบบฉาบฉวย แนะชาวบ้านหันไปประกอบอาชีพประมงแทน

ผลกระทบจากพายุดีเปรสชันในทะเล จีนใต้ที่เคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 18 กันยายนที่ผ่านมา ล่าสุดเมื่อวันพุธ พบว่ามีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง มีน้ำล้นตลิ่ง และก่อให้เกิดน้ำท่วมแล้วในพื้นที่หลายจังหวัด ที่จังหวัดอ่างทอง นางกุลฟาร์ลี เทพรักษ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโผงเผง เผยว่า หลังจากน้ำขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในหลายพื้นที่เกิดน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนบางพื้นที่น้ำก็ เริ่มซึมมาใต้พื้นดิน ล่าสุดเกิดภาวะน้ำท่วมแล้ว 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 6 จำนวน 16 ครัวเรือน, หมู่ที่ 7 จำนวน 16 ครัวเรือน และหมู่ที่ 9 จำนวน 3 ครัวเรือน มีชาวบ้านเดือดร้อนกว่า 128 ราย อย่างไรก็ตามก็ยังถือว่าเหตุการณ์ยังปกติ เพราะพื้นที่ใน ต.โผงเผง ถือว่าเป็นที่ลุ่ม จะได้รับผลกระทบอย่างนี้ทุกปี

สำหรับการช่วยเหลือตอนนี้ ทาง อบต.ได้เตรียมเรือไว้แล้ว 50 ลำ เพื่อแจกให้กับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนั้นทางกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 11 รักษาพระองค์ จ.ลพบุรี ได้เตรียมจัดกำลังทหารในเบื้องต้นจะลงมาช่วยก่อน 20 นาย

ขณะที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้เรียกประชุมด่วนชลประทาน ปภ.จว. หัวหน้าส่วน ผู้บริหารท้องถิ่น เตรียมรับมือน้ำท่วมซึ่งน้ำเริ่มล้นตลิ่งใน 4 อำเภอแล้ว ทั้งนี้ พบว่าในอำเภอเสนา มีบ้านเรือนชาวบ้านน้ำท่วมบริเวณใต้ถุนบ้านแล้วกว่า 1,800 หลังคาเรือน และมีบ้านเรือนที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมหนักจำนวน 1 หลัง ซึ่งได้ส่งเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ พร้อมแจ้งเตือนประชาชนให้เก็บของขึ้นที่สูงแล้ว ส่วนที่อำเภอบางบาล ผักไห่ และบางซ้าย น้ำก็เริ่มล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนเช่นกัน

นายวิทยาเผยว่า ช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีพายุพัดผ่านทำให้ฝนตกหนักต่อเนื่อง ซึ่งเป็นฝนที่ตกบริเวณใต้เขื่อนและไหลเข้าพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวนมาก ทำให้ระบายน้ำไม่ทัน ส่วนการให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น ได้มอบหมายให้สาธารณสุขเข้าไปแจกจ่ายยาปฏิชีวนะและยารักษาโรคให้กับ ประชาชน เพื่อป้องกันโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้น ทั้งโรคตาแดง โรคฉี่หนู และโรคอื่นๆ ที่มาจากทางน้ำ

"ขณะนี้มีเกษตรกรที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิต กว่า 7,000 ราย ซึ่งต้องเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ทันสิ้นเดือนกันยายนนี้ โดยให้เกษตรกรประสานกับอำเภอและหน่วยงานส่วนท้องถิ่น นำเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือ หากในพื้นที่ใดไม่สามารถระบายน้ำออกได้ ให้เร่งทำคันดินเพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่นา รวมถึงให้สำนักงานชลประทานติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด" นายวิทยากล่าว

นายวิทยากล่าวด้วยว่า ล่าสุดน้ำท่วมประมาณ 50 เซนติเมตรในชุมชนริมน้ำ และจะเพิ่มขึ้นไปอีกวันละไม่ต่ำกว่า 20 เซนติเมตร แต่ช่วงนี้ยังเป็นการท่วมตรงเสาของบ้านริมน้ำที่ยกพื้นใต้ถุนสูง และชาวบ้านเริ่มใช้เรือพายเข้า-ออกชุมชน ขณะนี้ได้ออกประกาศ แจ้งไปยังผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่อำเภอติดแม่น้ำเจ้าพระยาแม่น้ำน้อย ได้แก่ อำเภอผักไห่, เสนา, บางบาล, พระนครศรีอยุธยา, บางปะอิน และบางไทร ให้สามารถนำเงินสำรองราชการมาดำเนินการแก้ไขและช่วยเหลือประชาชนที่ถูกน้ำ ท่วมได้ อย่างไรก็ตาม หากท่วมสูงกว่านี้อาจต้องประกาศเป็นเขตภัยพิบัติ เพื่อให้แต่ละอำเภอสามารถนำเงินงบประมาณอำเภอละ 1 ล้านบาทไปช่วยเหลือชาวบ้านเพิ่ม

ที่จังหวัดตราด นายพยัคฆพันธุ์ โพธิ์ แก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัด ได้แจ้งเตือนประ ชาชนในพื้นที่ ซึ่งอาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยใกล้เชิงเขา หรือที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ ลำคลองสังเกตสีของน้ำที่ไหล หากมีสภาวะขุ่นข้น มีตะกอนดินไหลปะปนมากับน้ำ ขอให้รีบอพยพไปยังที่ปลอดภัย ส่วนบ้านเรือนที่มีต้นไม้ใหญ่อยู่ใกล้ที่อยู่อาศัย ให้ตัดกิ่งทิ้ง เนื่องจากอาจก่อให้เกิดความเสียหายกับที่อยู่อาศัยเมื่อเกิดลมกระโชกแรง

พร้อมกันนี้ ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย ติดตามประกาศเตือนจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ส่วนชาวประมงควรระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ ส่วนในแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลขอให้ผู้ประกอบการที่พักเตือนนักท่องเที่ยวให้ ทราบถึงอันตรายจากกระแสน้ำดูดออก หรือ Rip Current โดยขอให้นักท่องเที่ยวงดเล่นน้ำทะเลขณะที่คลื่นลมแรง

เช่นเดียวกับจังหวัดจันทบุรี นายสุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง 10 อำเภอ ได้มีการเฝ้าระวังสถานการณ์ฝนและน้ำตามคลองธรรมชาติ และจุดวัดน้ำ 4 จุดหลักอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยง คือ อำเภอมะขาม, อำเภอเขาคิชฌกูฏ, อำเภอขลุง ที่จังหวัดต้องเฝ้าระวังในเรื่องของดินโคลนถล่ม น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน ทั้งนี้ ได้มีการจัดเตรียมเรือท้องแบน เครื่องมืออุปกรณ์ และเจ้าหน้าที่ชุดเคลื่อนที่เร็วไว้พร้อมตลอด 24 ชั่วโมง หากได้รับการร้องขอทางจังหวัดก็พร้อมที่จะออกให้ความช่วยเหลือได้ทันทีต่อไป

จังหวัดปราจีนบุรี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์น้ำยังน่าเป็นห่วง หลังจากมีฝนตกติดต่อกันหลายวันทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากและไหลลงมาทางแควใส น้อยและใสใหญ่ ผ่านอำเภอนาดีและแควหนุมาน ประกอบกับน้ำจากแควพระปรง จังหวัดสระแก้ว ก่อนไหลรวมกันที่บริเวณต้นแม่น้ำบางปะกง เขตเทศบาลตำบลกบินทร์ ทำให้น้ำในแม่น้ำปราจีนบุรีมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ ที่ชุมชนตลาดเก่า กว่า 80 หลังคาเรือน เขตเทศบาลตำบลกบินทร์ ที่อยู่ติดริมตลิ่งของแม่น้ำเริ่มได้รับผลกระทบจากระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น และได้ล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนแล้วเป็บางส่วน เจ้าหน้าที่ของเทศบาลต้องช่วยชาวบ้านขนย้ายสิ่งของไปไว้ชั้นบนของบ้านเพื่อ ป้องกันความเสียหาย

นายวีระวัฒน์ ชื่นวาริน ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เผยว่า ในพื้นที่ จ.อำนาจ เจริญ ฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะวันนี้ (18 ก.ย.56) ตกหนักตลอดทั้งคืนทั้งวัน ที่น่าเป็นห่วงประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำโขง ทางด้าน อ.ชานุมาน ซึ่งระดับน้ำโขงสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากน้ำเหนือจาก จ.นครพนม และมุกดาหาร ไหลมาเพิ่มเติมตลอดเวลา ประกอบกับน้ำป่าจากประเทศลาวไหลมาสมทบด้วย โดยระดับน้ำโขงที่หน้าที่ว่าการอำเภอชานุมาน อยู่ที่ 9.10 เมตร หากระดับน้ำอยู่ที่ 11-12 เมตร น้ำโขงจะไหลเอ่อท่วมบ้านเรือนราษฎรในเขตเทศบาลตำบลชานุมานทันทีรวมถึงพืชผล ทางการเกษตรก็จะได้รับความเสียหายด้วย

ทางด้าน นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า จากการประสานข้อมูลสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่าพายุดีเปรสชันในทะเลจีนใต้จะเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศเวียดนามตอนกลาง และประเทศไทยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือในระยะต่อไป ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและด้านตะวันออกมีฝนตกหนักถึงหนักมาก บางแห่ง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ในช่วงวันที่ 18-20 กันยายน 2556 จึงขอเตือนประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลุ่มริมแม่น้ำและที่ ลาดเชิงเขา 15 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และยโสธร ติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยอย่างใกล้ชิด รวมถึงหมั่นสังเกตสัญ ญาณความผิดปกติทางธรรมชาติ จะได้อพยพ หนีภัยได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ ได้ประสาน 15 จังหวัด และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณ ภัย เขต 5 นครราชสีมา เขต 6 ขอนแก่น เขต 7 สกลนคร และเขต 13 อุบลราชธานี จัดเจ้าหน้าที่และมิสเตอร์เตือนภัยติดตาม จัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ประจำจุดเสี่ยง และช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันทีที่เกิดสถานการณ์ พร้อมเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยตลอด 24 ชั่ว โมง

สำหรับแนวทางแก้ปัญหาราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย โดยเฉพาะเกษตรกรที่ปลูกข้าวของรัฐบาลนั้น ร.ท.หญิงสุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงที่ทำเนียบฯ ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม มีแนวคิดที่จะนำเสนอโมเดลตัวอย่างให้ชาวนาภาคกลางปลูกข้าวนาปรังปีละครั้ง ส่วนเวลานอกฤดูเพาะปลูกให้ปลูกพืชชนิดอื่นแทน

"รวมทั้งช่วงที่เกิดน้ำท่วม ให้หันไปทำประมง โดยได้มอบหมายให้นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทย กำหนดจุดพื้นที่ในภาคกลางเพื่อเป็นโครงการนำร่องโมเดลดังกล่าว โดยจะยึดหลักความสมัครใจของประชาชนที่จะเข้าร่วมการเป็นหลัก" ร.ท.หญิงสุณิสาระบุ.

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/tpd/1738265

ryt9.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ก.ย.56

ที่มา: ryt9.comออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 19 ก.ย.56
วันที่โพสต์: 19/09/2556 เวลา 04:22:37

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ไทยโพสต์ *ดีเปรสชันถล่มไทย ในหลาย จังหวัดน้ำท่วมสูง ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยว ข้องแจ้งเตือนชาวบ้านคอยฟังข่าวสารจากทางการ และต้องเฝ้าระวัง 24 ชั่วโมง ขณะที่เจ้าพระยาเริ่มล้นตลิ่ง พระนครศรีอยุธยาหนักสุด 4 อำเภออ่วม พบเกษตรกรที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิตเดือดร้อนแล้วกว่า 7 พันราย แต่รัฐบาลแก้ปัญหาแบบฉาบฉวย แนะชาวบ้านหันไปประกอบอาชีพประมงแทน ผลกระทบจากพายุดีเปรสชันในทะเล จีนใต้ที่เคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 18 กันยายนที่ผ่านมา ล่าสุดเมื่อวันพุธ พบว่ามีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง มีน้ำล้นตลิ่ง และก่อให้เกิดน้ำท่วมแล้วในพื้นที่หลายจังหวัด ที่จังหวัดอ่างทอง นางกุลฟาร์ลี เทพรักษ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโผงเผง เผยว่า หลังจากน้ำขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในหลายพื้นที่เกิดน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนบางพื้นที่น้ำก็ เริ่มซึมมาใต้พื้นดิน ล่าสุดเกิดภาวะน้ำท่วมแล้ว 3 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 6 จำนวน 16 ครัวเรือน, หมู่ที่ 7 จำนวน 16 ครัวเรือน และหมู่ที่ 9 จำนวน 3 ครัวเรือน มีชาวบ้านเดือดร้อนกว่า 128 ราย อย่างไรก็ตามก็ยังถือว่าเหตุการณ์ยังปกติ เพราะพื้นที่ใน ต.โผงเผง ถือว่าเป็นที่ลุ่ม จะได้รับผลกระทบอย่างนี้ทุกปี สำหรับการช่วยเหลือตอนนี้ ทาง อบต.ได้เตรียมเรือไว้แล้ว 50 ลำ เพื่อแจกให้กับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนั้นทางกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 11 รักษาพระองค์ จ.ลพบุรี ได้เตรียมจัดกำลังทหารในเบื้องต้นจะลงมาช่วยก่อน 20 นาย ขณะที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้เรียกประชุมด่วนชลประทาน ปภ.จว. หัวหน้าส่วน ผู้บริหารท้องถิ่น เตรียมรับมือน้ำท่วมซึ่งน้ำเริ่มล้นตลิ่งใน 4 อำเภอแล้ว ทั้งนี้ พบว่าในอำเภอเสนา มีบ้านเรือนชาวบ้านน้ำท่วมบริเวณใต้ถุนบ้านแล้วกว่า 1,800 หลังคาเรือน และมีบ้านเรือนที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมหนักจำนวน 1 หลัง ซึ่งได้ส่งเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ พร้อมแจ้งเตือนประชาชนให้เก็บของขึ้นที่สูงแล้ว ส่วนที่อำเภอบางบาล ผักไห่ และบางซ้าย น้ำก็เริ่มล้นตลิ่งเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนเช่นกัน นายวิทยาเผยว่า ช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีพายุพัดผ่านทำให้ฝนตกหนักต่อเนื่อง ซึ่งเป็นฝนที่ตกบริเวณใต้เขื่อนและไหลเข้าพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวนมาก ทำให้ระบายน้ำไม่ทัน ส่วนการให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น ได้มอบหมายให้สาธารณสุขเข้าไปแจกจ่ายยาปฏิชีวนะและยารักษาโรคให้กับ ประชาชน เพื่อป้องกันโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้น ทั้งโรคตาแดง โรคฉี่หนู และโรคอื่นๆ ที่มาจากทางน้ำ "ขณะนี้มีเกษตรกรที่ยังไม่ได้เก็บเกี่ยวผลผลิต กว่า 7,000 ราย ซึ่งต้องเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ทันสิ้นเดือนกันยายนนี้ โดยให้เกษตรกรประสานกับอำเภอและหน่วยงานส่วนท้องถิ่น นำเครื่องสูบน้ำเข้าช่วยเหลือ หากในพื้นที่ใดไม่สามารถระบายน้ำออกได้ ให้เร่งทำคันดินเพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่นา รวมถึงให้สำนักงานชลประทานติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด" นายวิทยากล่าว นายวิทยากล่าวด้วยว่า ล่าสุดน้ำท่วมประมาณ 50 เซนติเมตรในชุมชนริมน้ำ และจะเพิ่มขึ้นไปอีกวันละไม่ต่ำกว่า 20 เซนติเมตร แต่ช่วงนี้ยังเป็นการท่วมตรงเสาของบ้านริมน้ำที่ยกพื้นใต้ถุนสูง และชาวบ้านเริ่มใช้เรือพายเข้า-ออกชุมชน ขณะนี้ได้ออกประกาศ แจ้งไปยังผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่อำเภอติดแม่น้ำเจ้าพระยาแม่น้ำน้อย ได้แก่ อำเภอผักไห่, เสนา, บางบาล, พระนครศรีอยุธยา, บางปะอิน และบางไทร ให้สามารถนำเงินสำรองราชการมาดำเนินการแก้ไขและช่วยเหลือประชาชนที่ถูกน้ำ ท่วมได้ อย่างไรก็ตาม หากท่วมสูงกว่านี้อาจต้องประกาศเป็นเขตภัยพิบัติ เพื่อให้แต่ละอำเภอสามารถนำเงินงบประมาณอำเภอละ 1 ล้านบาทไปช่วยเหลือชาวบ้านเพิ่ม ที่จังหวัดตราด นายพยัคฆพันธุ์ โพธิ์ แก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัด ได้แจ้งเตือนประ ชาชนในพื้นที่ ซึ่งอาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยใกล้เชิงเขา หรือที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ ลำคลองสังเกตสีของน้ำที่ไหล หากมีสภาวะขุ่นข้น มีตะกอนดินไหลปะปนมากับน้ำ ขอให้รีบอพยพไปยังที่ปลอดภัย ส่วนบ้านเรือนที่มีต้นไม้ใหญ่อยู่ใกล้ที่อยู่อาศัย ให้ตัดกิ่งทิ้ง เนื่องจากอาจก่อให้เกิดความเสียหายกับที่อยู่อาศัยเมื่อเกิดลมกระโชกแรง พร้อมกันนี้ ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย ติดตามประกาศเตือนจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ส่วนชาวประมงควรระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ ส่วนในแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลขอให้ผู้ประกอบการที่พักเตือนนักท่องเที่ยวให้ ทราบถึงอันตรายจากกระแสน้ำดูดออก หรือ Rip Current โดยขอให้นักท่องเที่ยวงดเล่นน้ำทะเลขณะที่คลื่นลมแรง เช่นเดียวกับจังหวัดจันทบุรี นายสุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัด ได้กำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง 10 อำเภอ ได้มีการเฝ้าระวังสถานการณ์ฝนและน้ำตามคลองธรรมชาติ และจุดวัดน้ำ 4 จุดหลักอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยง คือ อำเภอมะขาม, อำเภอเขาคิชฌกูฏ, อำเภอขลุง ที่จังหวัดต้องเฝ้าระวังในเรื่องของดินโคลนถล่ม น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน ทั้งนี้ ได้มีการจัดเตรียมเรือท้องแบน เครื่องมืออุปกรณ์ และเจ้าหน้าที่ชุดเคลื่อนที่เร็วไว้พร้อมตลอด 24 ชั่วโมง หากได้รับการร้องขอทางจังหวัดก็พร้อมที่จะออกให้ความช่วยเหลือได้ทันทีต่อไป จังหวัดปราจีนบุรี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์น้ำยังน่าเป็นห่วง หลังจากมีฝนตกติดต่อกันหลายวันทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากและไหลลงมาทางแควใส น้อยและใสใหญ่ ผ่านอำเภอนาดีและแควหนุมาน ประกอบกับน้ำจากแควพระปรง จังหวัดสระแก้ว ก่อนไหลรวมกันที่บริเวณต้นแม่น้ำบางปะกง เขตเทศบาลตำบลกบินทร์ ทำให้น้ำในแม่น้ำปราจีนบุรีมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ที่ชุมชนตลาดเก่า กว่า 80 หลังคาเรือน เขตเทศบาลตำบลกบินทร์ ที่อยู่ติดริมตลิ่งของแม่น้ำเริ่มได้รับผลกระทบจากระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้น และได้ล้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนแล้วเป็บางส่วน เจ้าหน้าที่ของเทศบาลต้องช่วยชาวบ้านขนย้ายสิ่งของไปไว้ชั้นบนของบ้านเพื่อ ป้องกันความเสียหาย นายวีระวัฒน์ ชื่นวาริน ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เผยว่า ในพื้นที่ จ.อำนาจ เจริญ ฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะวันนี้ (18 ก.ย.56) ตกหนักตลอดทั้งคืนทั้งวัน ที่น่าเป็นห่วงประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำโขง ทางด้าน อ.ชานุมาน ซึ่งระดับน้ำโขงสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากน้ำเหนือจาก จ.นครพนม และมุกดาหาร ไหลมาเพิ่มเติมตลอดเวลา ประกอบกับน้ำป่าจากประเทศลาวไหลมาสมทบด้วย โดยระดับน้ำโขงที่หน้าที่ว่าการอำเภอชานุมาน อยู่ที่ 9.10 เมตร หากระดับน้ำอยู่ที่ 11-12 เมตร น้ำโขงจะไหลเอ่อท่วมบ้านเรือนราษฎรในเขตเทศบาลตำบลชานุมานทันทีรวมถึงพืชผล ทางการเกษตรก็จะได้รับความเสียหายด้วย ทางด้าน นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า จากการประสานข้อมูลสภาพอากาศกับกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่าพายุดีเปรสชันในทะเลจีนใต้จะเคลื่อนเข้าปกคลุมประเทศเวียดนามตอนกลาง และประเทศไทยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือในระยะต่อไป ส่งผลให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและด้านตะวันออกมีฝนตกหนักถึงหนักมาก บางแห่ง อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง ในช่วงวันที่ 18-20 กันยายน 2556 จึงขอเตือนประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณที่ลุ่มริมแม่น้ำและที่ ลาดเชิงเขา 15 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และยโสธร ติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยอย่างใกล้ชิด รวมถึงหมั่นสังเกตสัญ ญาณความผิดปกติทางธรรมชาติ จะได้อพยพ หนีภัยได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ ได้ประสาน 15 จังหวัด และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณ ภัย เขต 5 นครราชสีมา เขต 6 ขอนแก่น เขต 7 สกลนคร และเขต 13 อุบลราชธานี จัดเจ้าหน้าที่และมิสเตอร์เตือนภัยติดตาม จัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ประจำจุดเสี่ยง และช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันทีที่เกิดสถานการณ์ พร้อมเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยตลอด 24 ชั่ว โมง สำหรับแนวทางแก้ปัญหาราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย โดยเฉพาะเกษตรกรที่ปลูกข้าวของรัฐบาลนั้น ร.ท.หญิงสุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงที่ทำเนียบฯ ว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม มีแนวคิดที่จะนำเสนอโมเดลตัวอย่างให้ชาวนาภาคกลางปลูกข้าวนาปรังปีละครั้ง ส่วนเวลานอกฤดูเพาะปลูกให้ปลูกพืชชนิดอื่นแทน "รวมทั้งช่วงที่เกิดน้ำท่วม ให้หันไปทำประมง

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...