อยากรู้ไหม ? พื้นที่กลางกรุงเทพ ตรงไหน เสี่ยงสุด ! ดร.พิจิตต มีคำตอบ....

แสดงความคิดเห็น

"ดร.พิจิตต รัตตกุล" อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มหาวิทยาลัยแห่งกรุงเทพมหานคร

หลายคนเกรงกลัวกับคำว่า "โลกแตก" หรือวันสิ้นโลก จนกลายเป็น "ทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์" ไปเมื่อปลายปีที่แล้ว

แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะฟันธงแล้วว่าโลกไม่แตกแน่นอน แต่เหตุการณ์ภัยธรรมชาติรุนแรงมากมาย ไม่ว่าจะเป็น "พายุเฮอริเคนแซนดี้" ที่ถล่มสหรัฐอเมริกา พายุไต้ฝุ่น "โบพา" ที่ฟิลิปปินส์ หรือการเกิดแผ่นดินไหวทั่วโลกอย่างต่อเนื่องในช่วงปีที่ผ่านมา ชักให้ผู้คนหวั่นไหว

แล้วธรรมชาติในโลกปัจจุบันเป็นเช่นไร?

"ดร.พิจิตต รัตตกุล" อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มหาวิทยาลัยแห่งกรุงเทพมหานคร ในฐานะที่ปรึกษามูลนิธิศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Preparedness Center: ADPC) จะเป็นผู้ไขปริศนา

ภาวะธรรมชาติในโลกเป็นเช่นไร

ดร.พิจิตต คาดการณ์ภัยธรรมชาติในโลก นับตั้งแต่ปี ค.ศ.2013 หรือปี พ.ศ.2556 ว่าสิ่งที่โลกต้องประสบแน่ๆ ในวันข้างหน้า ซึ่งอาจจะไม่ใช่แค่ในปี 2556 คือ จะเกิดภัยพิบัติถี่ขึ้น เข้มข้นขึ้น และแปลกใหม่มากขึ้น

"ถี่ขึ้น" คือ สิ่งที่เคยเกิดเป็นวัฏจักร ต่อไปนี้จะไม่สามารถคาดการณ์ได้อีก

เมื่อก่อนน้ำท่วมกรุงเทพฯ เคยถูกคาดการณ์เป็นวัฏจักรที่จะเกิดขึ้นในรอบ 12 ปี หรือ 10 ปี แต่ขณะนี้ไม่ใช่ น้ำท่วมเกิดขึ้นปีต่อปี ไม่มีวัฏจักรทิ้งช่วงอีกต่อไป แผ่นดินไหวก็เช่นกัน เมื่อปี ค.ศ.2004 เกิดสึนามิจากเหตุแผ่นดินไหวที่เกาะสุมาตรา ต่อมาในปี ค.ศ.2011 เกิดเหตุขึ้นที่เดิมอีก แต่ทิ้งระยะห่างเพียง 6-7 ปี เท่านั้น ทั้งๆ ที่ตามหลักวิชาการระบุว่า การขยับตัวของแผ่นดินจะคลายและนำเอาพลังงานใต้พื้นดินออกไป ซึ่งกว่าจะสะสมพลังงานขึ้นมาใหม่ต้องใช้เวลาหลาย 10 ปี ถึง 100 ปี

นอกจากนี้ จะเกิดดินถล่มถี่ขึ้น เป็นผลจากปริมาณน้ำฝนที่มากขึ้นและสะสมบนภูเขา ส่วนน้ำแข็งในขั้วโลกจะละลายมากขึ้นในอัตราที่เร็วและรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ตามไหล่ทวีปต่างๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงตามชั้นธรณีวิทยา เพราะน้ำทะเลจะล้นฝั่งกัดเซาะชายฝั่ง ส่งผลให้ไหล่ทวีปเกิดการทรุดตัวอย่างมหาศาล โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ที่มีพื้นที่ต่ำมาก อยู่เหนือระดับน้ำทะเลเพียงฟุตกว่าๆ ทั่วโลกพื้นที่ที่เคยเกิดฝนตกหนัก จะเจอฝนที่หนักขึ้น พื้นที่ใดแห้งแล้งก็จะยิ่งแล้งกว่าเดิม

ส่วนกระแสน้ำอุ่นอย่าง "เอลนีโญ" และ "ลานีญา" ที่เป็นตัวชี้วัดปริมาณน้ำฝน จะไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าปีหน้าจะน้ำมากหรือน้ำน้อย

"เข้มข้นขึ้น" จะเริ่มเห็นได้จากการเกิดพายุ ในอดีตศูนย์กลางของพายุที่เกิดในประเทศไทย โดยทั่วไปมีศูนย์กลางความเร็วประมาณ 50 กิโลเมตร (กม.) ต่อชั่วโมง แต่จากนี้ไปจะเพิ่มขึ้นเป็น 60-80 กม.ต่อชั่วโมง หรืออย่างพายุเฮอริเคนแคทรีน่าและแซนดี้ ที่มีศูนย์กลางความเร็ว 150-160 กม.ต่อชั่วโมง ต่อไปอาจขึ้นไปถึง 200 กม.ต่อชั่วโมง

หรือปริมาณน้ำ เมื่อครั้งที่เกิดอุทกภัยในปี พ.ศ.2554 ที่มีมากเป็นประวัติศาสตร์ถึง 16,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งก่อนหน้านี้ที่เกิดอุทกภัยหนักในปี พ.ศ.2526 และปี พ.ศ.2539 ก็ไม่ได้มีน้ำมากขนาดนี้

"แปลกใหม่ขึ้น" เช่น ประเทศไทยไม่เคยคิดว่าจะเกิดสึนามิ แต่ก็เกิด หรือพม่าไม่เคยคิดว่าจะเกิดพายุไซโคลน แต่ก็ได้เจอ หรือขณะนี้ฤดูฝนได้เริ่มตั้งแต่ปลายฤดูร้อน และขยายเวลาเข้ามาถึงฤดูหนาว ทั้งๆ ที่เมื่อก่อนเชื่อว่าวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปี คือวันสิ้นสุดฤดูฝน แต่ปี พ.ศ.2555 เข้าเดือนธันวาคมแล้ว ฝนก็ยังตกอย่างต่อเนื่อง

ทั้งหมดนี้คือภาพที่จะเห็นในวันข้างหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการละลายของ "น้ำแข็งขั้วโลก" ที่รุนแรง ที่สำคัญเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกมักตั้งอยู่ตามชายฝั่ง เช่น ซานฟรานซิสโก นิวยอร์ก กรุงเทพมหานคร โฮจิมินห์ ย่างกุ้ง ลอนดอน เป็นต้น

ฉะนั้น จึงมีความเสี่ยงมาก แต่ในเมื่อย้ายเมืองไม่ได้ ทุกเมืองก็ต้อง "ปรับตัว"

หากลงลึกในระดับภูมิภาคเอเชียและประเทศไทยจะประสบอะไรบ้าง?

สิ่งที่จะเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ "ภูมิอากาศที่แปรปรวน"

พื้นที่เสี่ยงภัยเกิดดินถล่มจะมีมากขึ้น ทั้งในลาว ไทย และพม่า เพราะมีพื้นที่เป็นภูเขา ส่วนอินเดียจะมีปัญหาหนักที่สุด เพราะความแห้งแล้งและการขาดแคลนน้ำที่เป็นปัญหาอยู่ก่อนแล้ว อีกทั้งประชากรมีอยู่อย่างมหาศาล ซึ่งแตกต่างจากจีนที่มีประชากรพันกว่าล้านคน แต่จีนมีการปรับตัวล่วงหน้า จากการพัฒนาสายน้ำต่างๆ ให้เป็นแหล่งน้ำเพื่ออุปโภคและบริโภค

สำหรับแผ่นดินไหวในเอเชียใต้จะประสบหนักขึ้น เช่น แคชเมียร์ ปากีสถาน บังกลาเทศ เนปาล ฯลฯ เพราะเป็นแนวราบของเทือกเขาหิมาลัยซึ่งน้ำแข็งบนเทือกเขาจะละลายมากขึ้น ขณะที่ตอนล่างของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ จะเกิดแผ่นดินไหวมากขึ้น ภูมิภาคเอเชียตะวันออก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี มองโกเลียนอก มองโกเลียใน ไล่ลงมาถึงตอนล่างของจีน

ยังมีภัยน่ากลัว คือ แผ่นดินไหว โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่เกิดสึนามิ เมื่อปี ค.ศ.2011 ส่วนจีนจะประสบพายุ ที่สำคัญชายฝั่งของเอเชียตะวันออกทั้งหมด ซึ่งรับพายุอยู่บ่อยครั้ง ก็จะประสบพายุถี่ขึ้น เข้มข้นขึ้น และแปลกขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน

สำหรับประเทศไทย ให้เฝ้าระวังการเกิดพายุที่ จ.ชุมพร จ.สุราษฎร์ธานี จ.นครศรีธรรมราช ที่มีลักษณะแปรปรวน เพราะจากนี้พายุจะเปลี่ยนเส้นทาง และเหนือการคาดการณ์ และกรุงเทพฯที่อยู่บริเวณอ่าวไทย มีพายุวิ่งผ่านหลายครั้ง ก็มีสิทธิที่พายุจะเลี้ยวขวาในมุม 90 องศา เข้าอ่าวไทย รูป ก.ไก่ ขึ้นมาเกิดเป็น "สตอร์มเซิร์จ" (Storm Surg) คือ เกิดพายุที่พัดเข้าหาชายฝั่งอย่างที่ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช เคยคาดการณ์ไว้ว่า แม้กรุงเทพฯมีโอกาสเกิดน้อยมากเพราะบริเวณดังกล่าวน้ำตื้น อุณหภูมิของน้ำไม่สูง ทำให้พายุเก็บพลังงานได้น้อย แต่ไม่แน่ว่าอาจจะเกิดขึ้นก็ได้ เพราะลมใหม่ๆ ในปัจจุบันก็มักคาดการณ์ไม่ได้

นอกจากนี้ พื้นที่กรุงเทพฯและพื้นที่ลุ่มปากแม่น้ำ หากเกิดน้ำท่วมจะเกิดปัญหาน้ำท่วมยาวนาน ระบายน้ำไม่ออก เพราะระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และแผ่นดินทรุดตัว

ที่น่ากลัวไปกว่านั้น คือ ภูมิภาคเอเชียจะขาดอาหาร ขาดน้ำ คนจะตาย การกัดเซาะชายฝั่งจะมากขึ้น อาชีพประมงน้ำตื้นหรืออาชีพประมงชายฝั่งจะลำบาก คนที่อยู่บนภูเขาและตีนภูเขามีปัญหา น้ำจะท่วมในพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น

ทั่วโลกรับมือกับภัยเหล่านี้อย่างไร?

ปัจจุบันทั่วโลกได้ตระหนักถึงปัญหา"โลกร้อน" กันอย่างต่อเนื่อง มีการรณรงค์ให้ช่วยกันประหยัดพลังงาน ทั้งดับเครื่องรถยนต์ ดับไฟฟ้าเมื่อไม่จำเป็น เป็นต้น ซึ่งช่วยได้แค่ร้อยละ 0.6 เท่านั้น

วันนี้...ปัญหาจากโลกร้อนมาเคาะประตูบ้านทุกคนแล้ว ดังนั้น ต้องเตรียมพร้อมรับมือ แต่ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีมาตรการน้อยมาก มีแต่ "รับมือ" ภายหลังที่เกิดเหตุแล้วด้วยการเยียวยา มอบถุงยังชีพ ส่วนประเทศที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดอย่างจีนและสหรัฐอเมริกา ก็ยังไม่มีมาตรการลดการปล่อยก๊าซที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนแต่อย่างใด

เราควรเตรียมตัวตั้งแต่ยังไม่เกิดเหตุ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและเศรษฐกิจมากกว่านี้ ที่ผ่านมา การเกิดภัยพิบัติในโลกฝั่งตะวันตกและตะวันออกมีสัดส่วนเท่ากัน แต่ฝั่งตะวันออกเกิดความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินมากกว่าตะวันตก ในอัตราส่วน 70 ต่อ 30 เพราะฝั่งตะวันตกมีการ "ปรับตัว" รับมือที่ดีกว่า เพราะเขาเตรียมตัวตั้งแต่ยังไม่เกิดเหตุ

ตัวอย่าง ประเทศเพื่อนบ้านเราที่ปรับตัวได้ดี คือ "เวียดนาม" ที่ปลูกป่าโกงกางมากที่สุดในโลก เพื่อป้องกันสตอร์มเซิร์จ กำลังก้าวเป็นประเทศส่งออกข้าวมากเป็นอันดับ 1 ของโลก เพราะมีการจัดการระบบชลประทานใหม่ทั้งหมด เพื่อให้สามารถระบายน้ำออกแม่น้ำโขงได้ ทำพื้นที่ปิดล้อมไว้สำหรับเพาะปลูก ป้องกันไม่ให้น้ำจากแม่น้ำและทะเลทะลักเข้าพื้นที่เพาะปลูก มีการทำฟลัดเวย์ไว้ตั้งแต่เมื่อ 6 ปีที่แล้ว มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวลอยน้ำ วันนี้...ผลผลิตข้าวของเวียดนามเพิ่มสูงขึ้นกำลังจะแซงหน้าไทย

แล้วไทยต้องเตรียมตัวก่อนเกิดภัยพิบัติอย่างไร?

ประเทศไทยไม่ใช่แค่รัฐบาลที่ต้องมีมาตรการก่อนเกิดเหตุแต่ทุกภาคส่วนของสังคมก็ต้องเตรียมตัวเช่นกัน เราต้องปรับตัวกับสภาวะโลกร้อนขณะนี้ให้ได้ เช่น ผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมง ที่ต้องรับมือกับฝนที่ทิ้งช่วงยาวกว่าเดิม หรือการก่อสร้างอาคาร ก็ต้องคิดแล้วว่าในพื้นที่เสี่ยงภัยต้องมีการปรับปรุงอาคารอย่างไร

พื้นที่ชายฝั่งและเมืองท่องเที่ยว เช่น หัวหิน ภูเก็ต พัทยา และพื้นที่เชิงเขา 6,000 กว่าแห่ง ก็ต้องมีมาตรการรับมือ โดยเฉพาะการเตรียมระบบเตือนภัย ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เคยทำไว้ หรือการสร้างองค์ความรู้ด้านการเตือนภัยที่ชาวบ้านทำเองได้ เรียนรู้เองได้ โดยไม่ต้องรอศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ หรือกรมอุตุนิยมวิทยา

ส่วนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพยากรณ์อากาศต้องพัฒนาข้อมูลให้ลงลึกถึงระดับท้องถิ่น ซึ่งประเทศไทยเริ่มทำขึ้นบ้างแล้ว แต่ต้องลงทุนให้ครอบคลุมถึงระดับอำเภอ ไม่ใช่แค่ภูมิภาค เพราะการให้ข้อมูลประชาชน จะทำให้ประชาชนเตรียมรับมือได้ด้วยตัวเอง รัฐบาลต้องคิดว่าจะทำอย่างไรให้ข้อมูลข่าวสารเรื่องอากาศถึงมือประชาชนได้ตลอดเวลา

ขณะนี้องค์กรเตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชียได้ร่วมกับธนาคารโลก และองค์การอาหารโลก ดำเนินภารกิจเชื่อมโยง 4 ลุ่มน้ำ ได้แก่ สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง สามเหลี่ยมลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา สามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี พม่า และสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา บังกลาเทศ เพื่อเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

ใน 4 ลุ่มนี้ พื้นที่ที่มีการปรับตัวรับมือได้ดีที่สุด คือ เวียดนาม ส่วนไทยยังคิดไม่ออกว่าตรงปากแม่น้ำเจ้าพระยาจะทำอย่างไร

ดังนั้น ในการศึกษาจะมีเวียดนามเป็นโมเดลในการป้องกันน้ำเค็ม การป้องกันน้ำท่วม การชลประทาน การทำฟลัดเวย์ และการพัฒนาพันธุ์พืช รวมถึงการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสำหรับการเพาะปลูก

อะไรที่ประเทศไทยต้องทำในทันที?

ไทยต้องทำแบริเออร์เป็นแนวป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่เสี่ยงต้องรณรงค์การปลูกป่า และปลูกป่าชายเลนให้มากขึ้น เพื่อหยุดการกัดเซาะของน้ำในพื้นที่ชายฝั่งทะเลกว่า 2,600 กิโลเมตร และรัฐบาลต้องมีแผนการใช้ที่ดิน โดยเฉพาะพื้นที่กรุงเทพฯที่มีสภาพทรุดตัวมากที่สุด ได้แก่ บางกะปิ, บางนา-ตราด, สวนหลวง, คลองเตย, คลองตัน และบางขุนเทียน เมื่อก่อนวัฏจักรน้ำท่วมกรุงเทพฯ 12 ปี แต่เดี่ยวนี้ไม่ใช่แล้ว ดังนั้นชาวบ้านจึงต้องมีแผนที่ความเสี่ยง

คนเมือง-คนต่างจังหวัดต้องปรับตัวอย่างไร?

คนเมืองที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงสูงที่ลุ่ม พื้นที่ที่เป็นทางน้ำไหล หรืออยู่ในจุดอ่อนของกรุงเทพฯ ต้องปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้เหมาะสม อย่างปีที่แล้ว มี 2 จุดอ่อนที่ทำให้น้ำท่วมกรุงเทพฯ คือ คลองสอง และที่คลองมหาสวัสดิ์ ฉะนั้น คนที่อยู่ตั้งแต่คลองสองไล่ลงมาจนถึงคลองลาดพร้าว คลองเปรมประชากร คลองประปา คลองบางเขน หรือย่านวัชรพล สายไหม ดอนเมือง ต้องปรับที่อยู่อาศัย อาจจะทุบชั้นล่าง แล้วทำเป็นใต้ถุนสูงเหมือนบ้านสมัยก่อน รถยนต์ก็ควรเปลี่ยนให้สูงกว่าเดิม

รัฐบาลต้องปรับ เช่น รางรถไฟที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงอาจต้องยกสูง ถนนกิ่งแก้วที่เป็นคันกั้นน้ำตามแนวพระราชดำริควรมีการปรับเพิ่มเติม

ในพื้นที่กรุงเทพฯ ต้องเพิ่มความสูงของถนนที่เสี่ยง อาคารสำนักงาน โรงพยาบาล ตลาดสด นิคมอุตสาหกรรม ควรแก้ไขเปลี่ยนแบบให้เดินทางเข้า-ออกตึกได้แม้น้ำท่วม

ในพื้นที่ต่างจังหวัด ประชาชนในแต่ละท้องถิ่นต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพพื้นที่ อย่ารอให้รัฐบาลสั่ง เพราะรัฐบาลทำได้แค่ให้ข้อมูลและสาธารณูปโภค สร้างถนน สร้างเขื่อนเท่านั้น

แต่ที่ถือว่าจำเป็นที่สุด คือ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่ต้องช่วยกัน

ขอบคุณ... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1357716142&grpid=03&catid=03 (ขนาดไฟล์: 167)

มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ม.ค.56

ที่มา: มติชนออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 9 ม.ค.56
วันที่โพสต์: 24/08/2556 เวลา 03:40:14 ดูภาพสไลด์โชว์ อยากรู้ไหม ? พื้นที่กลางกรุงเทพ ตรงไหน เสี่ยงสุด ! ดร.พิจิตต มีคำตอบ....

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

\"ดร.พิจิตต รัตตกุล\" อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มหาวิทยาลัยแห่งกรุงเทพมหานคร หลายคนเกรงกลัวกับคำว่า "โลกแตก" หรือวันสิ้นโลก จนกลายเป็น "ทอล์ก ออฟ เดอะ ทาวน์" ไปเมื่อปลายปีที่แล้ว แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะฟันธงแล้วว่าโลกไม่แตกแน่นอน แต่เหตุการณ์ภัยธรรมชาติรุนแรงมากมาย ไม่ว่าจะเป็น "พายุเฮอริเคนแซนดี้" ที่ถล่มสหรัฐอเมริกา พายุไต้ฝุ่น "โบพา" ที่ฟิลิปปินส์ หรือการเกิดแผ่นดินไหวทั่วโลกอย่างต่อเนื่องในช่วงปีที่ผ่านมา ชักให้ผู้คนหวั่นไหว แล้วธรรมชาติในโลกปัจจุบันเป็นเช่นไร? "ดร.พิจิตต รัตตกุล" อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มหาวิทยาลัยแห่งกรุงเทพมหานคร ในฐานะที่ปรึกษามูลนิธิศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Preparedness Center: ADPC) จะเป็นผู้ไขปริศนา ภาวะธรรมชาติในโลกเป็นเช่นไร ดร.พิจิตต คาดการณ์ภัยธรรมชาติในโลก นับตั้งแต่ปี ค.ศ.2013 หรือปี พ.ศ.2556 ว่าสิ่งที่โลกต้องประสบแน่ๆ ในวันข้างหน้า ซึ่งอาจจะไม่ใช่แค่ในปี 2556 คือ จะเกิดภัยพิบัติถี่ขึ้น เข้มข้นขึ้น และแปลกใหม่มากขึ้น "ถี่ขึ้น" คือ สิ่งที่เคยเกิดเป็นวัฏจักร ต่อไปนี้จะไม่สามารถคาดการณ์ได้อีก เมื่อก่อนน้ำท่วมกรุงเทพฯ เคยถูกคาดการณ์เป็นวัฏจักรที่จะเกิดขึ้นในรอบ 12 ปี หรือ 10 ปี แต่ขณะนี้ไม่ใช่ น้ำท่วมเกิดขึ้นปีต่อปี ไม่มีวัฏจักรทิ้งช่วงอีกต่อไป แผ่นดินไหวก็เช่นกัน เมื่อปี ค.ศ.2004 เกิดสึนามิจากเหตุแผ่นดินไหวที่เกาะสุมาตรา ต่อมาในปี ค.ศ.2011 เกิดเหตุขึ้นที่เดิมอีก แต่ทิ้งระยะห่างเพียง 6-7 ปี เท่านั้น ทั้งๆ ที่ตามหลักวิชาการระบุว่า การขยับตัวของแผ่นดินจะคลายและนำเอาพลังงานใต้พื้นดินออกไป ซึ่งกว่าจะสะสมพลังงานขึ้นมาใหม่ต้องใช้เวลาหลาย 10 ปี ถึง 100 ปี นอกจากนี้ จะเกิดดินถล่มถี่ขึ้น เป็นผลจากปริมาณน้ำฝนที่มากขึ้นและสะสมบนภูเขา ส่วนน้ำแข็งในขั้วโลกจะละลายมากขึ้นในอัตราที่เร็วและรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ตามไหล่ทวีปต่างๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงตามชั้นธรณีวิทยา เพราะน้ำทะเลจะล้นฝั่งกัดเซาะชายฝั่ง ส่งผลให้ไหล่ทวีปเกิดการทรุดตัวอย่างมหาศาล โดยเฉพาะกรุงเทพมหานคร ที่มีพื้นที่ต่ำมาก อยู่เหนือระดับน้ำทะเลเพียงฟุตกว่าๆ ทั่วโลกพื้นที่ที่เคยเกิดฝนตกหนัก จะเจอฝนที่หนักขึ้น พื้นที่ใดแห้งแล้งก็จะยิ่งแล้งกว่าเดิม ส่วนกระแสน้ำอุ่นอย่าง "เอลนีโญ" และ "ลานีญา" ที่เป็นตัวชี้วัดปริมาณน้ำฝน จะไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าปีหน้าจะน้ำมากหรือน้ำน้อย "เข้มข้นขึ้น" จะเริ่มเห็นได้จากการเกิดพายุ ในอดีตศูนย์กลางของพายุที่เกิดในประเทศไทย โดยทั่วไปมีศูนย์กลางความเร็วประมาณ 50 กิโลเมตร (กม.) ต่อชั่วโมง แต่จากนี้ไปจะเพิ่มขึ้นเป็น 60-80 กม.ต่อชั่วโมง หรืออย่างพายุเฮอริเคนแคทรีน่าและแซนดี้ ที่มีศูนย์กลางความเร็ว 150-160 กม.ต่อชั่วโมง ต่อไปอาจขึ้นไปถึง 200 กม.ต่อชั่วโมง หรือปริมาณน้ำ เมื่อครั้งที่เกิดอุทกภัยในปี พ.ศ.2554 ที่มีมากเป็นประวัติศาสตร์ถึง 16,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งก่อนหน้านี้ที่เกิดอุทกภัยหนักในปี พ.ศ.2526 และปี พ.ศ.2539 ก็ไม่ได้มีน้ำมากขนาดนี้ "แปลกใหม่ขึ้น" เช่น ประเทศไทยไม่เคยคิดว่าจะเกิดสึนามิ แต่ก็เกิด หรือพม่าไม่เคยคิดว่าจะเกิดพายุไซโคลน แต่ก็ได้เจอ หรือขณะนี้ฤดูฝนได้เริ่มตั้งแต่ปลายฤดูร้อน และขยายเวลาเข้ามาถึงฤดูหนาว ทั้งๆ ที่เมื่อก่อนเชื่อว่าวันที่ 23 ตุลาคมของทุกปี คือวันสิ้นสุดฤดูฝน แต่ปี พ.ศ.2555 เข้าเดือนธันวาคมแล้ว ฝนก็ยังตกอย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดนี้คือภาพที่จะเห็นในวันข้างหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการละลายของ "น้ำแข็งขั้วโลก" ที่รุนแรง ที่สำคัญเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลกมักตั้งอยู่ตามชายฝั่ง เช่น ซานฟรานซิสโก นิวยอร์ก กรุงเทพมหานคร โฮจิมินห์ ย่างกุ้ง ลอนดอน เป็นต้น ฉะนั้น จึงมีความเสี่ยงมาก แต่ในเมื่อย้ายเมืองไม่ได้ ทุกเมืองก็ต้อง "ปรับตัว" หากลงลึกในระดับภูมิภาคเอเชียและประเทศไทยจะประสบอะไรบ้าง? สิ่งที่จะเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ "ภูมิอากาศที่แปรปรวน" พื้นที่เสี่ยงภัยเกิดดินถล่มจะมีมากขึ้น ทั้งในลาว ไทย และพม่า เพราะมีพื้นที่เป็นภูเขา ส่วนอินเดียจะมีปัญหาหนักที่สุด เพราะความแห้งแล้งและการขาดแคลนน้ำที่เป็นปัญหาอยู่ก่อนแล้ว อีกทั้งประชากรมีอยู่อย่างมหาศาล ซึ่งแตกต่างจากจีนที่มีประชากรพันกว่าล้านคน แต่จีนมีการปรับตัวล่วงหน้า จากการพัฒนาสายน้ำต่างๆ ให้เป็นแหล่งน้ำเพื่ออุปโภคและบริโภค สำหรับแผ่นดินไหวในเอเชียใต้จะประสบหนักขึ้น เช่น แคชเมียร์ ปากีสถาน บังกลาเทศ เนปาล ฯลฯ เพราะเป็นแนวราบของเทือกเขาหิมาลัยซึ่งน้ำแข็งบนเทือกเขาจะละลายมากขึ้น ขณะที่ตอนล่างของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ จะเกิดแผ่นดินไหวมากขึ้น ภูมิภาคเอเชียตะวันออก คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี มองโกเลียนอก มองโกเลียใน ไล่ลงมาถึงตอนล่างของจีน ยังมีภัยน่ากลัว คือ แผ่นดินไหว โดยเฉพาะญี่ปุ่นที่เกิดสึนามิ เมื่อปี ค.ศ.2011 ส่วนจีนจะประสบพายุ ที่สำคัญชายฝั่งของเอเชียตะวันออกทั้งหมด ซึ่งรับพายุอยู่บ่อยครั้ง ก็จะประสบพายุถี่ขึ้น เข้มข้นขึ้น และแปลกขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน สำหรับประเทศไทย ให้เฝ้าระวังการเกิดพายุที่ จ.ชุมพร จ.สุราษฎร์ธานี จ.นครศรีธรรมราช ที่มีลักษณะแปรปรวน เพราะจากนี้พายุจะเปลี่ยนเส้นทาง และเหนือการคาดการณ์ และกรุงเทพฯที่อยู่บริเวณอ่าวไทย มีพายุวิ่งผ่านหลายครั้ง ก็มีสิทธิที่พายุจะเลี้ยวขวาในมุม 90 องศา เข้าอ่าวไทย รูป ก.ไก่ ขึ้นมาเกิดเป็น "สตอร์มเซิร์จ" (Storm Surg) คือ เกิดพายุที่พัดเข้าหาชายฝั่งอย่างที่ ดร.สมิทธ ธรรมสโรช เคยคาดการณ์ไว้ว่า แม้กรุงเทพฯมีโอกาสเกิดน้อยมากเพราะบริเวณดังกล่าวน้ำตื้น อุณหภูมิของน้ำไม่สูง ทำให้พายุเก็บพลังงานได้น้อย แต่ไม่แน่ว่าอาจจะเกิดขึ้นก็ได้ เพราะลมใหม่ๆ ในปัจจุบันก็มักคาดการณ์ไม่ได้ นอกจากนี้ พื้นที่กรุงเทพฯและพื้นที่ลุ่มปากแม่น้ำ หากเกิดน้ำท่วมจะเกิดปัญหาน้ำท่วมยาวนาน ระบายน้ำไม่ออก เพราะระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และแผ่นดินทรุดตัว ที่น่ากลัวไปกว่านั้น คือ ภูมิภาคเอเชียจะขาดอาหาร ขาดน้ำ คนจะตาย การกัดเซาะชายฝั่งจะมากขึ้น อาชีพประมงน้ำตื้นหรืออาชีพประมงชายฝั่งจะลำบาก คนที่อยู่บนภูเขาและตีนภูเขามีปัญหา น้ำจะท่วมในพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น ทั่วโลกรับมือกับภัยเหล่านี้อย่างไร? ปัจจุบันทั่วโลกได้ตระหนักถึงปัญหา"โลกร้อน" กันอย่างต่อเนื่อง มีการรณรงค์ให้ช่วยกันประหยัดพลังงาน ทั้งดับเครื่องรถยนต์ ดับไฟฟ้าเมื่อไม่จำเป็น เป็นต้น ซึ่งช่วยได้แค่ร้อยละ 0.6 เท่านั้น วันนี้...ปัญหาจากโลกร้อนมาเคาะประตูบ้านทุกคนแล้ว ดังนั้น ต้องเตรียมพร้อมรับมือ แต่ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีมาตรการน้อยมาก มีแต่ "รับมือ" ภายหลังที่เกิดเหตุแล้วด้วยการเยียวยา มอบถุงยังชีพ ส่วนประเทศที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดอย่างจีนและสหรัฐอเมริกา ก็ยังไม่มีมาตรการลดการปล่อยก๊าซที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนแต่อย่างใด เราควรเตรียมตัวตั้งแต่ยังไม่เกิดเหตุ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและเศรษฐกิจมากกว่านี้ ที่ผ่านมา การเกิดภัยพิบัติในโลกฝั่งตะวันตกและตะวันออกมีสัดส่วนเท่ากัน แต่ฝั่งตะวันออกเกิดความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินมากกว่าตะวันตก ในอัตราส่วน 70 ต่อ 30 เพราะฝั่งตะวันตกมีการ "ปรับตัว" รับมือที่ดีกว่า เพราะเขาเตรียมตัวตั้งแต่ยังไม่เกิดเหตุ ตัวอย่าง ประเทศเพื่อนบ้านเราที่ปรับตัวได้ดี คือ "เวียดนาม" ที่ปลูกป่าโกงกางมากที่สุดในโลก เพื่อป้องกันสตอร์มเซิร์จ กำลังก้าวเป็นประเทศส่งออกข้าวมากเป็นอันดับ 1 ของโลก เพราะมีการจัดการระบบชลประทานใหม่ทั้งหมด เพื่อให้สามารถระบายน้ำออกแม่น้ำโขงได้ ทำพื้นที่ปิดล้อมไว้สำหรับเพาะปลูก ป้องกันไม่ให้น้ำจากแม่น้ำและทะเลทะลักเข้าพื้นที่เพาะปลูก มีการทำฟลัดเวย์ไว้ตั้งแต่เมื่อ 6 ปีที่แล้ว มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวลอยน้ำ วันนี้...ผลผลิตข้าวของเวียดนามเพิ่มสูงขึ้นกำลังจะแซงหน้าไทย แล้วไทยต้องเตรียมตัวก่อนเกิดภัยพิบัติอย่างไร? ประเทศไทยไม่ใช่แค่รัฐบาลที่ต้องมีมาตรการก่อนเกิดเหตุแต่ทุกภาคส่วนของสังคมก็ต้องเตรียมตัวเช่นกัน เราต้องปรับตัวกับสภาวะโลกร้อนขณะนี้ให้ได้ เช่น ผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมง ที่ต้องรับมือกับฝนที่ทิ้งช่วงยาวกว่าเดิม หรือการก่อสร้างอาคาร ก็ต้องคิดแล้วว่าในพื้นที่เสี่ยงภัยต้องมีการปรับปรุงอาคารอย่างไร พื้นที่ชายฝั่งและเมืองท่องเที่ยว เช่น หัวหิน ภูเก็ต พัทยา และพื้นที่เชิงเขา 6,000 กว่าแห่ง ก็ต้องมีมาตรการรับมือ โดยเฉพาะการเตรียมระบบเตือนภัย ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เคยทำไว้

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...