รู้เท่าทันพร้อมรับมือภัยธรรมชาติเน้น 25 ลุ่มน้ำหลัก...ลดสูญเสีย

แสดงความคิดเห็น

น้ำท่วม ถ่ายจากมุมสูง

ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด พายุฝน และในช่วงนี้หลายคนก็คงกำลังวิตกกังวลในเรื่องของภัย “น้ำท่วม” เพราะมีฝนตกหนักแทบทุกวัน แถมสภาพอากาศยังแปรปรวน โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้ 25 ลุ่มน้ำหลัก อาจเสี่ยงเผชิญกับพิบัติภัยน้ำท่วม แต่หากเรามีความรู้และเข้าใจธรรมชาติก็จะสามารถเตรียมพร้อมรับมือกับ สถานการณ์นั้นได้

นาวาอากาศเอกสมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และ พล.ร.อ.เกาะหลัก เจริญรุกข์ รองประธานกรรมการบริหารระบบเตือนภัยแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษฯ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ อธิบายว่า ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่มีความชัดเจนมาก ฝนจึงตกในพื้นที่นี้เป็นประจำทุก ๆ ปี แต่ขณะนี้ภูมิอากาศของโลกกำลังแปรปรวนและส่งผลกระทบไปทั่วภูมิภาค สังเกตได้จากเหตุการณ์ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ฝนมาเร็วบ้าง ทิ้งช่วงเป็นเวลานานมาก ตกหนักเฉพาะบางพื้นที่ และตกต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวันบ้าง ปริมาณฝนอาจจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติมากนัก แต่ปริมาณน้ำฝนจะไปรวมตัวกันอยู่ ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่งมากพอที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและสร้างความเสียหาย แก่ทรัพย์สินได้ นั่นคือ “อุทกภัย” หรือ “น้ำท่วม” ที่เป็นปัญหาสร้างความไม่สบายใจให้แก่ประชาชนทั่วไป

ในอดีตกาลคนไทยตั้งแต่บรรพ บุรุษมีการทำการเกษตรต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มและใกล้แม่น้ำ เพื่อใช้ในการดำรงชีวิต แต่พอวิถีชีวิตของเราเปลี่ยนไป มนุษย์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นได้เคลื่อนย้ายถิ่นฐานตัวเองเข้าไปในพื้นที่ป่า ก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นที่อยู่อาศัยขวางทางลำน้ำ ทำให้เส้นทางไหลของน้ำเปลี่ยนแปลงไปจากธรรมชาติ เป็นปัจจัยหลักที่เราอยากให้ความสำคัญกับประชาชนที่อาศัยอยู่ใน 25 ลุ่มน้ำหลัก โดยการเข้าไปสร้างความรู้และความเข้าใจร่วมกับประชาชนหรือใช้ภูมิปัญญาท้อง ถิ่นของพี่น้องประชาชนมาร่วมกันกำหนดแนวทางในการช่วยเหลือ ตั้งแต่การเตรียมความพร้อมว่าพื้นที่ใด

เป็นพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่ใดเป็นพื้นที่เสี่ยงภัย และมองว่าถ้าพื้นที่ใน 25 ลุ่มน้ำสามารถดูแลตัวเองได้ มีการทำให้พื้นที่ต่าง ๆ มีความปลอดภัยได้ในพื้นที่ต่อไป ๆ ก็จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เมื่อแหล่งต้นน้ำบริหารจัดการได้ดีและมีความเข้าใจกัน รู้จักสาเหตุของการเกิดของน้ำว่าน้ำไหลไปทางใดจะทำให้พื้นที่กลางน้ำและปลาย น้ำสามารถบริหารจัดการภัยของตนเองได้ด้วย เพราะรู้ข้อมูลจากที่เกิดเหตุจริง ๆ ว่าเส้นทางไหลของน้ำมาจากทางไหน หากเราไม่รู้ความสูง ต่ำ และไม่รู้เส้นทางไหลของน้ำก็จะไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากมีการสร้างสิ่งปลูกสร้างขวางทางน้ำ ทำให้น้ำเปลี่ยนเส้นทาง ซึ่งน้ำต้องการที่อยู่และต้องการที่ไป จึงคิดว่าทำอย่างไรให้น้ำมีที่อยู่ในภาวะที่เหมาะสม และไปในทิศทางที่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังสามารถเก็บสำรองน้ำไว้เพื่อใช้ในยามฉุกเฉินหรือยามภัยแล้งได้ และส่วนหนึ่งที่เกินจากความจำเป็นก็ให้ไหลสู่คูคลองต่าง ๆ ลงสู่ทะเลในภาวะอันเหมาะสมที่ไม่ให้เกิดผลกระทบกับพื้นที่เศรษฐกิจหรือ พื้นที่ที่เป็นชุมชน ปัญหาอุทกภัยก็จะเบาบางลง

ภัยพิบัติธรรมชาติในช่วงนี้ส่วนใหญ่ไม่พ้นในเรื่องของน้ำท่วมฉับพลัน น้ำล้นตลิ่ง และองค์ประกอบหนึ่งคือคนที่อยู่ใกล้ที่ราบเชิงเขาจะมีเรื่องของน้ำป่าไหล หลากเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งหัวใจหลักคือ ให้ประชาชนเป็นเครือข่ายภาคประชาชนที่คอยแจ้งข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ มายังหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งเตือนพี่น้องประชาชนให้รับทราบต่อไป โดยเราจะให้แนวทางในการแจ้งเตือนตั้งแต่ระดับท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพ ที่เริ่มทำกันมาอย่างต่อเนื่อง เพราะหลังจากเกิดมหาอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปี 54 แล้วเราได้รับงบประมาณส่วนหนึ่งมาพัฒนาระบบให้สามารถรวบรวมข้อมูลผ่านระบบ ทำให้ข้อมูลไหลลื่นเข้ามาตลอดเวลา สามารถวิเคราะห์และประเมินสู่ประชาชนได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งเป็นข้อมูล 2 ทาง เมื่อเราได้รับแล้วกระจายไปสู่ท้องถิ่น ทางท้องถิ่นจะรายงานกลับมาว่าในพื้นที่ได้ดำเนินการอะไรไปได้บ้าง หรือเกิดเหตุอะไรในท้องถิ่น ทำให้เราสามารถได้รับรู้เหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ที่จะบริหารจัดการภัยพิบัติธรรมชาติในลำดับขั้นตอนต่อไปได้

สำหรับประชาชนที่เป็นเครือข่ายภาคประชาชนที่รายงานเหตุการณ์ในพื้นที่เข้ามา นั้นต้องเป็นผู้ที่ได้รับการอบรม และได้รับการทำความเข้าใจจากหน่วยงานราชการของเราแล้ว รวมทั้งเป็นบุคคลในพื้นที่ที่มีความเชี่ยวชาญและเข้าใจในระบบพื้นที่ของตัว เอง รายงานสถานการณ์ต่าง ๆ เข้ามาเป็นองค์ประกอบหลัก เพราะเป็นพื้นที่ที่อยู่เฉพาะหน้าและเห็นเหตุการณ์ เราจึงเน้นเครือข่ายภาคประชาชน เพราะประชาชนจะสามารถเป็นคนแจ้งข่าวมาและเป็นคนกระจายข้อมูลข่าวสารในท้อง ถิ่นและเป็นกระบวนการที่สามารถดูแลบริหารจัดการภัยในท้องถิ่นได้ในระดับหนึ่ง

ถ้าเรารู้จักภัยธรรมชาติแล้วต้องเข้าใจธรรมชาติของภัยรวมทั้งไม่กลัว นอก จากนี้ยังต้องรู้จักธรรมชาติของน้ำด้วย คือเมื่อฝนตกก็ต้องมีน้ำ และรู้จักพื้นที่บ้านของเราว่าเป็นเขา ป่า ห้วย ที่ลุ่ม ที่ดอน เพราะเมื่อฝนตกลงมาถ้าเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำก็จะลงมารวมกันอยู่ที่บ้านเรา ถ้าบ้านเป็นที่ดอนน้ำก็จะไหลไปที่อื่น แต่ถ้าฝนตกแรง ๆ น้ำก็หลาก ซึ่งแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน เมื่อรู้จักภูมิประเทศและประวัติศาสตร์แล้วจึงเรียนรู้จากภูมิปัญญาว่า พื้นที่ตรงนี้เคยมีน้ำท่วม ฝนตกอย่างไรจึงท่วม เช่น ฝนตก 3 วัน 3 คืนติด และน้ำไหลมาจากทางไหน ซึ่งครั้งต่อไปถ้าฝนตกต้องระวังทางไหลของน้ำ โดยพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ภูเขาจะมีน้ำหลาก ดินถล่ม เช่น ที่คลองยัน สุราษฎร์ธานี เคยมีน้ำหลากลงมาจากภูเขาและไล่ไปตามลำน้ำคลองยัน ไหลท่วมไปตามลำดับ รวมทั้งพัดพาบ้านและต้นไม้เสียหายมาก เพราะน้ำไหลลงมาจากที่สูงลงมาอย่างรวดเร็ว ถือเป็นพื้นที่ต้นน้ำที่ต้องระวัง ส่วนพื้นที่ที่เป็นที่ลุ่มจะมีน้ำท่วมขัง น้ำเอ่อล้น หรือน้ำล้นตลิ่งเพราะระบายไม่ทัน

อย่างไรก็ตามปัจจุบันได้มีการนำระบบบูรณาการข้อมูลข่าวสารภาครัฐ ซึ่งเป็นกระบวนการที่รวบรวมข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานทุกหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง ทั้งภายในประเทศ ต่างประเทศ ภาคประชาชน ภาคประชาสังคมที่เป็นเครือข่ายมารวบรวมเป็นข้อมูลข่าวสารแบบง่าย ๆ เป็นภาษาชาวบ้านว่าเกิดอะไรขึ้น เมื่อไหร่ ที่ไหน อย่างไร และสามารถเตรียมความพร้อมก่อนเกิดภัยได้อย่างไร มีหน่วยงานระดับแผนเผชิญเหตุหรือแผนปฏิบัติการรองรับเหตุฉุกเฉินจำนวน 17 แผน มีหน่วยงานที่รับผิดชอบที่บูรณาการกันเป็นข้อมูลข่าวสารที่ชัดเจนกว่า 18 หน่วยงาน เฉพาะในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานของต่างประเทศอีกหลากหลาย ซึ่งข้อมูลข่าวสารแทบจะครบถ้วนทุกเครือข่าย

สิ่งหนึ่งที่สำคัญขณะนี้เรามีแอพพลิเคชั่นที่ให้พี่น้องประชาชนดาวน์โหลดได้ สำหรับคนที่ใช้มือถือทุกเครือข่ายจากแอพสโตร์ เช่น คำว่า water4thai หรือที่เว็บไซต์ www.waterforthai.go.th จะสามารถรับข้อมูลข่าวสารทุกเรื่องที่ประชาชนอยากทราบไม่ว่าจะเป็นเส้นทาง ไหลของน้ำ ภาพซีซีทีวี เห็นแบบเรียลไทม์ ทุกพื้นที่ที่อยากดู ไม่ว่าจะเป็นเขื่อน ประตูน้ำหรือแหล่งน้ำที่อยู่เหนือบ้านประชาชน มีข้อมูลข่าวสารที่รายงานสถานการณ์ตลอดทุก 1 ชั่วโมงในภาวะปกติ มีพื้นที่ใดบ้างที่มีความเสี่ยง สามารถค้นหาข้อมูลข่าวทุกเรื่องที่เกี่ยวกับภัยพิบัติธรรมชาติจากทุกหน่วย งานที่ทำงานร่วมกันและข้อมูลทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นน้ำบนฟ้า น้ำในป่า น้ำบนดิน น้ำทะเลหนุน หรือองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประชาชน

ปี 2556 นี้ เชื่อว่าฝนจะมากกว่าเกณฑ์ปกติ จะต้องมีพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบ ซึ่งเป็นธรรมดาว่าพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่มต่ำที่ เคยเกิดขึ้นเป็นประจำ ทางรัฐบาลพยายามทำการบริหารจัดการให้ดีขึ้น ซึ่งอยู่ในขั้นตอนที่ต้องดำเนินการ ส่วนในพื้นที่ชุมชนและพื้นที่เศรษฐกิจทางราชการจะพยายามไม่ให้เกิดผลกระทบ ในส่วนของประชาชนเองต้องรู้จักปรับตัวให้เร็วเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับ สถานการณ์ภัยพิบัติและสามารถอยู่ร่วมกับภัยธรรมชาติได้อย่างปกติสุข.

..............................................................................................................

25 ลุ่มน้ำหลักของไทย

1.ลุ่มน้ำสาละวิน มีลุ่มน้ำสาขา 17 สาขา 2.ลุ่มน้ำโขง มีลุ่มน้ำสาขา 37 สาขา3.ลุ่มน้ำกก มีลุ่มน้ำสาขา 4 สาขา 4.ลุ่มน้ำชี มีลุ่มน้ำสาขา 20 สาขา 5.ลุ่มน้ำมูล มีลุ่มน้ำสาขา 31 สาขา 6.ลุ่มน้ำปิง มีลุ่มน้ำสาขา 20 สาขา 7.ลุ่มน้ำวัง มีลุ่มน้ำสาขา7 สาขา 8.ลุ่มน้ำยม มีลุ่มน้ำสาขา 11 สาขา 9.ลุ่มน้ำน่าน มีลุ่มน้ำสาขา 16 สาขา10.ลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีลุ่มน้ำสาขา 2 สาขา 11.ลุ่มน้ำสะแกกรัง มีลุ่มน้ำสาขา 4 สาขา12.ลุ่มน้ำป่าสัก มีลุ่มน้ำสาขา 8 สาขา 13.ลุ่มน้ำท่าจีน มีลุ่มน้ำสาขา 2 สาขา 14.ลุ่มน้ำแม่กลอง มีลุ่มน้ำสาขา 11 สาขา 15.ลุ่มน้ำปราจีนบุรี มีลุ่มน้ำสาขา 4 สาขา16.ลุ่มน้ำบางปะกงมีลุ่มน้ำ สาขา 4 สาขา 17.ลุ่มน้ำโตนเลสาบ มีลุ่มแม่น้ำ สาขา 3 สาขา18.ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก มีลุ่มน้ำสาขา 8 สาขา 19.ลุ่มน้ำเพชรบุรี มีลุ่มน้ำสาขา 3 สาขา 20.ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลประจวบคีรีขันธ์ มีลุ่มน้ำสาขา 5 สาขา 21.ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีลุ่มน้ำสาขา13 สาขา 22.ลุ่มน้ำตาปี มีลุ่มน้ำสาขา 8 สาขา23.ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีลุ่มน้ำสาขา 3 สาขา 24.ลุ่มน้ำปัตตานี มีลุ่มน้ำสาขา2 สาขา และ 25.ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีลุ่มน้ำสาขา 13 สาขา รวมลุ่มน้ำสาขาทั้งหมด 254 สาขา:ทีมวาไรตี้

ขอบคุณ... http://m.dailynews.co.th/article/224/216067

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 3 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 5/07/2556 เวลา 04:01:53 ดูภาพสไลด์โชว์ รู้เท่าทันพร้อมรับมือภัยธรรมชาติเน้น 25 ลุ่มน้ำหลัก...ลดสูญเสีย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

น้ำท่วม ถ่ายจากมุมสูง ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติมีหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด พายุฝน และในช่วงนี้หลายคนก็คงกำลังวิตกกังวลในเรื่องของภัย “น้ำท่วม” เพราะมีฝนตกหนักแทบทุกวัน แถมสภาพอากาศยังแปรปรวน โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้ 25 ลุ่มน้ำหลัก อาจเสี่ยงเผชิญกับพิบัติภัยน้ำท่วม แต่หากเรามีความรู้และเข้าใจธรรมชาติก็จะสามารถเตรียมพร้อมรับมือกับ สถานการณ์นั้นได้ นาวาอากาศเอกสมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และ พล.ร.อ.เกาะหลัก เจริญรุกข์ รองประธานกรรมการบริหารระบบเตือนภัยแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษฯ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ อธิบายว่า ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่มีความชัดเจนมาก ฝนจึงตกในพื้นที่นี้เป็นประจำทุก ๆ ปี แต่ขณะนี้ภูมิอากาศของโลกกำลังแปรปรวนและส่งผลกระทบไปทั่วภูมิภาค สังเกตได้จากเหตุการณ์ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ฝนมาเร็วบ้าง ทิ้งช่วงเป็นเวลานานมาก ตกหนักเฉพาะบางพื้นที่ และตกต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวันบ้าง ปริมาณฝนอาจจะไม่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติมากนัก แต่ปริมาณน้ำฝนจะไปรวมตัวกันอยู่ ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่งมากพอที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและสร้างความเสียหาย แก่ทรัพย์สินได้ นั่นคือ “อุทกภัย” หรือ “น้ำท่วม” ที่เป็นปัญหาสร้างความไม่สบายใจให้แก่ประชาชนทั่วไป ในอดีตกาลคนไทยตั้งแต่บรรพ บุรุษมีการทำการเกษตรต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มและใกล้แม่น้ำ เพื่อใช้ในการดำรงชีวิต แต่พอวิถีชีวิตของเราเปลี่ยนไป มนุษย์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นได้เคลื่อนย้ายถิ่นฐานตัวเองเข้าไปในพื้นที่ป่า ก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นที่อยู่อาศัยขวางทางลำน้ำ ทำให้เส้นทางไหลของน้ำเปลี่ยนแปลงไปจากธรรมชาติ เป็นปัจจัยหลักที่เราอยากให้ความสำคัญกับประชาชนที่อาศัยอยู่ใน 25 ลุ่มน้ำหลัก โดยการเข้าไปสร้างความรู้และความเข้าใจร่วมกับประชาชนหรือใช้ภูมิปัญญาท้อง ถิ่นของพี่น้องประชาชนมาร่วมกันกำหนดแนวทางในการช่วยเหลือ ตั้งแต่การเตรียมความพร้อมว่าพื้นที่ใด เป็นพื้นที่ปลอดภัย พื้นที่ใดเป็นพื้นที่เสี่ยงภัย และมองว่าถ้าพื้นที่ใน 25 ลุ่มน้ำสามารถดูแลตัวเองได้ มีการทำให้พื้นที่ต่าง ๆ มีความปลอดภัยได้ในพื้นที่ต่อไป ๆ ก็จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เมื่อแหล่งต้นน้ำบริหารจัดการได้ดีและมีความเข้าใจกัน รู้จักสาเหตุของการเกิดของน้ำว่าน้ำไหลไปทางใดจะทำให้พื้นที่กลางน้ำและปลาย น้ำสามารถบริหารจัดการภัยของตนเองได้ด้วย เพราะรู้ข้อมูลจากที่เกิดเหตุจริง ๆ ว่าเส้นทางไหลของน้ำมาจากทางไหน หากเราไม่รู้ความสูง ต่ำ และไม่รู้เส้นทางไหลของน้ำก็จะไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากมีการสร้างสิ่งปลูกสร้างขวางทางน้ำ ทำให้น้ำเปลี่ยนเส้นทาง ซึ่งน้ำต้องการที่อยู่และต้องการที่ไป จึงคิดว่าทำอย่างไรให้น้ำมีที่อยู่ในภาวะที่เหมาะสม และไปในทิศทางที่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังสามารถเก็บสำรองน้ำไว้เพื่อใช้ในยามฉุกเฉินหรือยามภัยแล้งได้ และส่วนหนึ่งที่เกินจากความจำเป็นก็ให้ไหลสู่คูคลองต่าง ๆ ลงสู่ทะเลในภาวะอันเหมาะสมที่ไม่ให้เกิดผลกระทบกับพื้นที่เศรษฐกิจหรือ พื้นที่ที่เป็นชุมชน ปัญหาอุทกภัยก็จะเบาบางลง ภัยพิบัติธรรมชาติในช่วงนี้ส่วนใหญ่ไม่พ้นในเรื่องของน้ำท่วมฉับพลัน น้ำล้นตลิ่ง และองค์ประกอบหนึ่งคือคนที่อยู่ใกล้ที่ราบเชิงเขาจะมีเรื่องของน้ำป่าไหล หลากเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งหัวใจหลักคือ ให้ประชาชนเป็นเครือข่ายภาคประชาชนที่คอยแจ้งข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ มายังหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งเตือนพี่น้องประชาชนให้รับทราบต่อไป โดยเราจะให้แนวทางในการแจ้งเตือนตั้งแต่ระดับท้องถิ่นที่มีประสิทธิภาพ ที่เริ่มทำกันมาอย่างต่อเนื่อง เพราะหลังจากเกิดมหาอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปี 54 แล้วเราได้รับงบประมาณส่วนหนึ่งมาพัฒนาระบบให้สามารถรวบรวมข้อมูลผ่านระบบ ทำให้ข้อมูลไหลลื่นเข้ามาตลอดเวลา สามารถวิเคราะห์และประเมินสู่ประชาชนได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งเป็นข้อมูล 2 ทาง เมื่อเราได้รับแล้วกระจายไปสู่ท้องถิ่น ทางท้องถิ่นจะรายงานกลับมาว่าในพื้นที่ได้ดำเนินการอะไรไปได้บ้าง หรือเกิดเหตุอะไรในท้องถิ่น ทำให้เราสามารถได้รับรู้เหตุการณ์อย่างต่อเนื่อง ที่จะบริหารจัดการภัยพิบัติธรรมชาติในลำดับขั้นตอนต่อไปได้ สำหรับประชาชนที่เป็นเครือข่ายภาคประชาชนที่รายงานเหตุการณ์ในพื้นที่เข้ามา นั้นต้องเป็นผู้ที่ได้รับการอบรม และได้รับการทำความเข้าใจจากหน่วยงานราชการของเราแล้ว รวมทั้งเป็นบุคคลในพื้นที่ที่มีความเชี่ยวชาญและเข้าใจในระบบพื้นที่ของตัว เอง รายงานสถานการณ์ต่าง ๆ เข้ามาเป็นองค์ประกอบหลัก เพราะเป็นพื้นที่ที่อยู่เฉพาะหน้าและเห็นเหตุการณ์ เราจึงเน้นเครือข่ายภาคประชาชน เพราะประชาชนจะสามารถเป็นคนแจ้งข่าวมาและเป็นคนกระจายข้อมูลข่าวสารในท้อง ถิ่นและเป็นกระบวนการที่สามารถดูแลบริหารจัดการภัยในท้องถิ่นได้ในระดับหนึ่ง ถ้าเรารู้จักภัยธรรมชาติแล้วต้องเข้าใจธรรมชาติของภัยรวมทั้งไม่กลัว นอก จากนี้ยังต้องรู้จักธรรมชาติของน้ำด้วย คือเมื่อฝนตกก็ต้องมีน้ำ และรู้จักพื้นที่บ้านของเราว่าเป็นเขา ป่า ห้วย ที่ลุ่ม ที่ดอน เพราะเมื่อฝนตกลงมาถ้าเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำก็จะลงมารวมกันอยู่ที่บ้านเรา ถ้าบ้านเป็นที่ดอนน้ำก็จะไหลไปที่อื่น แต่ถ้าฝนตกแรง ๆ น้ำก็หลาก ซึ่งแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน เมื่อรู้จักภูมิประเทศและประวัติศาสตร์แล้วจึงเรียนรู้จากภูมิปัญญาว่า พื้นที่ตรงนี้เคยมีน้ำท่วม ฝนตกอย่างไรจึงท่วม เช่น ฝนตก 3 วัน 3 คืนติด และน้ำไหลมาจากทางไหน ซึ่งครั้งต่อไปถ้าฝนตกต้องระวังทางไหลของน้ำ โดยพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ภูเขาจะมีน้ำหลาก ดินถล่ม เช่น ที่คลองยัน สุราษฎร์ธานี เคยมีน้ำหลากลงมาจากภูเขาและไล่ไปตามลำน้ำคลองยัน ไหลท่วมไปตามลำดับ รวมทั้งพัดพาบ้านและต้นไม้เสียหายมาก เพราะน้ำไหลลงมาจากที่สูงลงมาอย่างรวดเร็ว ถือเป็นพื้นที่ต้นน้ำที่ต้องระวัง ส่วนพื้นที่ที่เป็นที่ลุ่มจะมีน้ำท่วมขัง น้ำเอ่อล้น หรือน้ำล้นตลิ่งเพราะระบายไม่ทัน อย่างไรก็ตามปัจจุบันได้มีการนำระบบบูรณาการข้อมูลข่าวสารภาครัฐ ซึ่งเป็นกระบวนการที่รวบรวมข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานทุกหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง ทั้งภายในประเทศ ต่างประเทศ ภาคประชาชน ภาคประชาสังคมที่เป็นเครือข่ายมารวบรวมเป็นข้อมูลข่าวสารแบบง่าย ๆ เป็นภาษาชาวบ้านว่าเกิดอะไรขึ้น เมื่อไหร่ ที่ไหน อย่างไร และสามารถเตรียมความพร้อมก่อนเกิดภัยได้อย่างไร มีหน่วยงานระดับแผนเผชิญเหตุหรือแผนปฏิบัติการรองรับเหตุฉุกเฉินจำนวน 17 แผน มีหน่วยงานที่รับผิดชอบที่บูรณาการกันเป็นข้อมูลข่าวสารที่ชัดเจนกว่า 18 หน่วยงาน เฉพาะในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานของต่างประเทศอีกหลากหลาย ซึ่งข้อมูลข่าวสารแทบจะครบถ้วนทุกเครือข่าย สิ่งหนึ่งที่สำคัญขณะนี้เรามีแอพพลิเคชั่นที่ให้พี่น้องประชาชนดาวน์โหลดได้ สำหรับคนที่ใช้มือถือทุกเครือข่ายจากแอพสโตร์ เช่น คำว่า water4thai หรือที่เว็บไซต์ www.waterforthai.go.th จะสามารถรับข้อมูลข่าวสารทุกเรื่องที่ประชาชนอยากทราบไม่ว่าจะเป็นเส้นทาง ไหลของน้ำ ภาพซีซีทีวี เห็นแบบเรียลไทม์ ทุกพื้นที่ที่อยากดู ไม่ว่าจะเป็นเขื่อน ประตูน้ำหรือแหล่งน้ำที่อยู่เหนือบ้านประชาชน มีข้อมูลข่าวสารที่รายงานสถานการณ์ตลอดทุก 1 ชั่วโมงในภาวะปกติ มีพื้นที่ใดบ้างที่มีความเสี่ยง สามารถค้นหาข้อมูลข่าวทุกเรื่องที่เกี่ยวกับภัยพิบัติธรรมชาติจากทุกหน่วย งานที่ทำงานร่วมกันและข้อมูลทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นน้ำบนฟ้า น้ำในป่า น้ำบนดิน น้ำทะเลหนุน หรือองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประชาชน ปี 2556 นี้ เชื่อว่าฝนจะมากกว่าเกณฑ์ปกติ จะต้องมีพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบ ซึ่งเป็นธรรมดาว่าพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่มต่ำที่ เคยเกิดขึ้นเป็นประจำ ทางรัฐบาลพยายามทำการบริหารจัดการให้ดีขึ้น ซึ่งอยู่ในขั้นตอนที่ต้องดำเนินการ ส่วนในพื้นที่ชุมชนและพื้นที่เศรษฐกิจทางราชการจะพยายามไม่ให้เกิดผลกระทบ ในส่วนของประชาชนเองต้องรู้จักปรับตัวให้เร็วเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับ สถานการณ์ภัยพิบัติและสามารถอยู่ร่วมกับภัยธรรมชาติได้อย่างปกติสุข. .............................................................................................................. 25 ลุ่มน้ำหลักของไทย 1.ลุ่มน้ำสาละวิน มีลุ่มน้ำสาขา 17 สาขา 2.ลุ่มน้ำโขง มีลุ่มน้ำสาขา 37 สาขา3.ลุ่มน้ำกก มีลุ่มน้ำสาขา 4 สาขา 4.ลุ่มน้ำชี มีลุ่มน้ำสาขา 20 สาขา 5.ลุ่มน้ำมูล มีลุ่มน้ำสาขา 31 สาขา 6.ลุ่มน้ำปิง

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...