โฟกัส 'สัญญาณบ่งชี้' 'ภาวะไทยร้อน' 'แล้งยาว' รอดยาก!

แสดงความคิดเห็น

เรื่อง “ภาวะโลกร้อน” มีการ “พูด” ในเชิงรณรงค์เพื่อ “ลดปัญหา-แก้ปัญหา” มานานแล้ว ทั้งในต่างประเทศ และในประเทศไทย ซึ่งในประเทศไทยนั้นที่ผ่านมาก็มีการ “ทำ” อะไรต่อมิอะไรในทางที่จะเป็นการช่วยลดปัญหา-แก้ปัญหาอยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่ได้เป็นไปอย่างพร้อมเพรียงทั่วหน้า แม้แต่กับหน่วยงานภาครัฐเอง

ถึงตอนนี้ช่วงนี้ ’ร้อน-แล้ง“ แผลงฤทธิ์ร้ายสุด ๆ

วันนี้น่าจะต้องโฟกัส ’ภาวะไทยร้อน“ กันแล้ว!!

ในไทย ในระยะนี้ นอกจากจะมีสภาพอากาศที่หลาย ๆ คนออกปากว่า “ร้อนสุด ๆ” นอกจากจะมีสภาพการณ์ที่หลาย ๆ พื้นที่ “แล้งสุด ๆ” แล้ว ดูคล้ายกับว่าร้อนแล้งปีนี้ในไทยยังมี ’พายุฤดูร้อนเกิดบ่อย-รุนแรงขึ้น“ ด้วย ซึ่งก็มีคนไทยเสียชีวิตเพราะอากาศร้อนจัดไปแล้วหลายราย มีพื้นที่เกษตรเสียหายเพราะภัยแล้งรุนแรงไปแล้วมากมาย มีบ้านเรือนทรัพย์สินชีวิตคนไทยเสียหายเพราะพายุฤดูร้อนที่รุนแรงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกว่าจะสิ้นสุดช่วงร้อนแล้งในปีนี้ก็ยังไม่รู้ว่าจะเสียหายกันอีกเท่าไหร่?? และช่วงร้อนแล้งปีต่อ ๆ ไปจะอย่างไร??

“ภายในอีก 40 ปีข้างหน้า โลกจะเผชิญกับภาวะโลกร้อนอย่างเต็มรูปแบบ อุณหภูมิอาจจะร้อนกว่าในปัจจุบันนี้อีก 4-6 องศาเซลเซียส”...นี่เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ในต่างประเทศระบุ และหากใครหรือหน่วยงานใดมองว่านี่เป็นเรื่องไกลตัว มิได้เฉพาะเจาะจงไทย ก็ต้องบอกว่าผิด เพราะทางนักวิทยาศาสตร์ต่างประเทศกลุ่มนี้มีการ ทำวิจัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโดยโฟกัสใน “ลุ่มน้ำโขงตอนล่าง” ซึ่งประเทศไทยก็อยู่ในพื้นที่นี้ และก็มีการคาดการณ์เรื่องอุณหภูมิที่จะสูงขึ้นเช่นเดียวกับที่ว่ามาข้างต้น รวมถึงยังคาดว่า ผู้คนจะต้องเผชิญสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น ฤดูแล้งที่ยาวนานขึ้น แม้ว่าช่วงฤดูฝนจะมีฝนตกมากขึ้น ซึ่งก็จะมีผลกระทบทางลบโดยตรง ทั้งต่อการดำรงชีวิต ต่อพืชผลทางการเกษตร และต่อเศรษฐกิจของประเทศ

ดูจากสภาวะในช่วงนี้ งานวิจัยดังกล่าวนี้ก็น่าคิด

ทั้งนี้ กับสภาพอากาศร้อนแรงร้อนแล้งในไทยในปีนี้ในตอนนี้ ทาง “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ลองสอบถามไปยัง ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งทางผู้สันทัดกรณีด้านภัยพิบัติและด้านสภาพอากาศ ก็ระบุว่า...ช่วงนี้ที่หลาย ๆ คนรู้สึกว่าอากาศร้อนขึ้นมาก ก็ ยืนยันได้ว่าอากาศร้อนขึ้นมากจริง ๆ เพราะอุณหภูมิสูงมาก สูงเกิน 40 องศาเซลเซียสในหลาย ๆ จังหวัด

และสูงมากมาตั้งแต่ช่วงปลายเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา

ดร.สมิทธ ระบุต่อไปว่า...สภาพอากาศระยะนี้ อธิบายได้ว่า ช่วงนี้เป็นช่วงฤดูร้อน เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันตกเฉียงใต้ หอบเอาไอร้อนจากน้ำทะเลขึ้นมาปะทะกัน เมื่อบวกกับอุณหภูมิในประเทศที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจากการใช้เครื่องปรับอากาศ ใช้น้ำมัน ตึกรามบ้านช่องที่หนาแน่นขึ้นเรื่อย ๆ ฯลฯ ก็ยิ่งส่งผลให้อุณหภูมิสูงมากขึ้นไปอีก สูงจนทุกคนรู้สึกว่า ร้อน ร้อนมาก หรือร้อนมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา

สำหรับเรื่องพายุฤดูร้อน ดร.สมิทธ บอกว่า... ปกติพายุฤดูร้อนจะเกิดขึ้นในช่วงกลางเดือน เม.ย. แต่ปีนี้เกิดตั้งแต่กลางเดือน มี.ค. และ พายุฤดูร้อนเกิดถี่มาก เกิดแรงมาก ซึ่งเป็นเรื่องแปลก?!?!? เป็นเรื่องที่นักพยากรณ์หลายคนก็ยังไม่เข้าใจว่าทำไมถึงเกิดเร็วหรือเกิดถี่-เกิดแรงขนาดนี้?? ซึ่งสาเหตุการเกิดพายุฤดูร้อนนั้นมาจากความกดอากาศสูงจากขั้วโลกเหนือที่ดันลงมาปะทะกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้เกิดพายุฝน ลูกเห็บ ซึ่งปีนี้ความกดอากาศสูงดันลงมาเร็วมาก พื้นที่หลายแห่งในโลก มีลูกเห็บ มีหิมะ อากาศในหลายประเทศมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งก็ยังไม่มีใครเข้าใจ แต่ต้องยอมรับว่า พายุฤดูร้อนปีนี้แรงจริง ๆ

แต่ประเด็นไม่ใช่แค่ร้อนมากและพายุแรงเท่านั้น

’อากาศแบบนี้ เกรงว่าอาจจะส่งผลให้แล้งยาวนานขึ้น หากฤดูร้อนยาวไปถึงกลางเดือน พ.ค. จะไปชนกับช่วงที่ฝนทิ้งช่วงในเดือนนั้น นั่นหมายความว่า ฤดูร้อนอาจจะนานไปถึงเดือน มิ.ย. หากเป็นอย่างนั้นจริง จะยิ่งเกิดปัญหาเรื่องขาดน้ำแน่นอน“ ...ดร.สมิทธ ระบุ พร้อมทั้งยังบอกถึงปัญหาในอีกด้านหนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้นมาซ้ำเติมด้วยว่า...น้ำในแม่น้ำ ที่ปัจจุบันไหลย้อนขึ้นตอนที่น้ำทะเลขึ้น เมื่อประกอบกับช่วงข้างขึ้น-ข้างแรม ที่น้ำทะเลจะยิ่งดันสูงขึ้น น้ำเค็มจะรุกเข้าในพื้นที่น้ำจืด ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำกร่อย ทำการเกษตรไม่ได้ บริโภคก็ลำบาก ซึ่ง ถ้าน้ำในเขื่อนมีไม่มากพอที่จะไล่น้ำทะเลลงไป เกิดปัญหาแน่นอน

ทั้งนี้ ทิ้งท้ายนั้น ทางประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ บอกว่า...การจะป้องกันปัญหาเหล่านี้ ทุกคนต้องดูแลสิ่งแวดล้อม รักษาธรรมชาติ ไม่เผาไม้ทำลายป่า ไม่บุกรุกพื้นที่ป่า ไม่เผาน้ำมันมาก ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามาก ฯลฯ ซึ่งนี่เป็นต้นทางการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างแท้จริง

’ภาวะไทยร้อน“ ตอนนี้ ’ไทยเจอผลร้ายเต็ม ๆ“

และในเวลาอันใกล้ผลร้ายจะยิ่งหนักขึ้นกว่านี้

ต่อไป ใหญ่แค่ไหน รวยแค่ไหน ก็รอดยาก!!!.

ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/article/223/195179 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 5 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 10/04/2556 เวลา 03:21:49

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เรื่อง “ภาวะโลกร้อน” มีการ “พูด” ในเชิงรณรงค์เพื่อ “ลดปัญหา-แก้ปัญหา” มานานแล้ว ทั้งในต่างประเทศ และในประเทศไทย ซึ่งในประเทศไทยนั้นที่ผ่านมาก็มีการ “ทำ” อะไรต่อมิอะไรในทางที่จะเป็นการช่วยลดปัญหา-แก้ปัญหาอยู่บ้าง แต่ก็ยังไม่ได้เป็นไปอย่างพร้อมเพรียงทั่วหน้า แม้แต่กับหน่วยงานภาครัฐเอง ถึงตอนนี้ช่วงนี้ ’ร้อน-แล้ง“ แผลงฤทธิ์ร้ายสุด ๆ วันนี้น่าจะต้องโฟกัส ’ภาวะไทยร้อน“ กันแล้ว!! ในไทย ในระยะนี้ นอกจากจะมีสภาพอากาศที่หลาย ๆ คนออกปากว่า “ร้อนสุด ๆ” นอกจากจะมีสภาพการณ์ที่หลาย ๆ พื้นที่ “แล้งสุด ๆ” แล้ว ดูคล้ายกับว่าร้อนแล้งปีนี้ในไทยยังมี ’พายุฤดูร้อนเกิดบ่อย-รุนแรงขึ้น“ ด้วย ซึ่งก็มีคนไทยเสียชีวิตเพราะอากาศร้อนจัดไปแล้วหลายราย มีพื้นที่เกษตรเสียหายเพราะภัยแล้งรุนแรงไปแล้วมากมาย มีบ้านเรือนทรัพย์สินชีวิตคนไทยเสียหายเพราะพายุฤดูร้อนที่รุนแรงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกว่าจะสิ้นสุดช่วงร้อนแล้งในปีนี้ก็ยังไม่รู้ว่าจะเสียหายกันอีกเท่าไหร่?? และช่วงร้อนแล้งปีต่อ ๆ ไปจะอย่างไร?? “ภายในอีก 40 ปีข้างหน้า โลกจะเผชิญกับภาวะโลกร้อนอย่างเต็มรูปแบบ อุณหภูมิอาจจะร้อนกว่าในปัจจุบันนี้อีก 4-6 องศาเซลเซียส”...นี่เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ในต่างประเทศระบุ และหากใครหรือหน่วยงานใดมองว่านี่เป็นเรื่องไกลตัว มิได้เฉพาะเจาะจงไทย ก็ต้องบอกว่าผิด เพราะทางนักวิทยาศาสตร์ต่างประเทศกลุ่มนี้มีการ ทำวิจัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศโดยโฟกัสใน “ลุ่มน้ำโขงตอนล่าง” ซึ่งประเทศไทยก็อยู่ในพื้นที่นี้ และก็มีการคาดการณ์เรื่องอุณหภูมิที่จะสูงขึ้นเช่นเดียวกับที่ว่ามาข้างต้น รวมถึงยังคาดว่า ผู้คนจะต้องเผชิญสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น ฤดูแล้งที่ยาวนานขึ้น แม้ว่าช่วงฤดูฝนจะมีฝนตกมากขึ้น ซึ่งก็จะมีผลกระทบทางลบโดยตรง ทั้งต่อการดำรงชีวิต ต่อพืชผลทางการเกษตร และต่อเศรษฐกิจของประเทศ ดูจากสภาวะในช่วงนี้ งานวิจัยดังกล่าวนี้ก็น่าคิด ทั้งนี้ กับสภาพอากาศร้อนแรงร้อนแล้งในไทยในปีนี้ในตอนนี้ ทาง “สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์” ลองสอบถามไปยัง ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ อดีตอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งทางผู้สันทัดกรณีด้านภัยพิบัติและด้านสภาพอากาศ ก็ระบุว่า...ช่วงนี้ที่หลาย ๆ คนรู้สึกว่าอากาศร้อนขึ้นมาก ก็ ยืนยันได้ว่าอากาศร้อนขึ้นมากจริง ๆ เพราะอุณหภูมิสูงมาก สูงเกิน 40 องศาเซลเซียสในหลาย ๆ จังหวัด และสูงมากมาตั้งแต่ช่วงปลายเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ดร.สมิทธ ระบุต่อไปว่า...สภาพอากาศระยะนี้ อธิบายได้ว่า ช่วงนี้เป็นช่วงฤดูร้อน เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันตกเฉียงใต้ หอบเอาไอร้อนจากน้ำทะเลขึ้นมาปะทะกัน เมื่อบวกกับอุณหภูมิในประเทศที่สูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจากการใช้เครื่องปรับอากาศ ใช้น้ำมัน ตึกรามบ้านช่องที่หนาแน่นขึ้นเรื่อย ๆ ฯลฯ ก็ยิ่งส่งผลให้อุณหภูมิสูงมากขึ้นไปอีก สูงจนทุกคนรู้สึกว่า ร้อน ร้อนมาก หรือร้อนมากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา สำหรับเรื่องพายุฤดูร้อน ดร.สมิทธ บอกว่า... ปกติพายุฤดูร้อนจะเกิดขึ้นในช่วงกลางเดือน เม.ย. แต่ปีนี้เกิดตั้งแต่กลางเดือน มี.ค. และ พายุฤดูร้อนเกิดถี่มาก เกิดแรงมาก ซึ่งเป็นเรื่องแปลก?!?!? เป็นเรื่องที่นักพยากรณ์หลายคนก็ยังไม่เข้าใจว่าทำไมถึงเกิดเร็วหรือเกิดถี่-เกิดแรงขนาดนี้?? ซึ่งสาเหตุการเกิดพายุฤดูร้อนนั้นมาจากความกดอากาศสูงจากขั้วโลกเหนือที่ดันลงมาปะทะกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้เกิดพายุฝน ลูกเห็บ ซึ่งปีนี้ความกดอากาศสูงดันลงมาเร็วมาก พื้นที่หลายแห่งในโลก มีลูกเห็บ มีหิมะ อากาศในหลายประเทศมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งก็ยังไม่มีใครเข้าใจ แต่ต้องยอมรับว่า พายุฤดูร้อนปีนี้แรงจริง ๆ แต่ประเด็นไม่ใช่แค่ร้อนมากและพายุแรงเท่านั้น ’อากาศแบบนี้ เกรงว่าอาจจะส่งผลให้แล้งยาวนานขึ้น หากฤดูร้อนยาวไปถึงกลางเดือน พ.ค. จะไปชนกับช่วงที่ฝนทิ้งช่วงในเดือนนั้น นั่นหมายความว่า ฤดูร้อนอาจจะนานไปถึงเดือน มิ.ย. หากเป็นอย่างนั้นจริง จะยิ่งเกิดปัญหาเรื่องขาดน้ำแน่นอน“ ...ดร.สมิทธ ระบุ พร้อมทั้งยังบอกถึงปัญหาในอีกด้านหนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้นมาซ้ำเติมด้วยว่า...น้ำในแม่น้ำ ที่ปัจจุบันไหลย้อนขึ้นตอนที่น้ำทะเลขึ้น เมื่อประกอบกับช่วงข้างขึ้น-ข้างแรม ที่น้ำทะเลจะยิ่งดันสูงขึ้น น้ำเค็มจะรุกเข้าในพื้นที่น้ำจืด ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำกร่อย ทำการเกษตรไม่ได้ บริโภคก็ลำบาก ซึ่ง ถ้าน้ำในเขื่อนมีไม่มากพอที่จะไล่น้ำทะเลลงไป เกิดปัญหาแน่นอน ทั้งนี้ ทิ้งท้ายนั้น ทางประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ บอกว่า...การจะป้องกันปัญหาเหล่านี้ ทุกคนต้องดูแลสิ่งแวดล้อม รักษาธรรมชาติ ไม่เผาไม้ทำลายป่า ไม่บุกรุกพื้นที่ป่า ไม่เผาน้ำมันมาก ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมามาก ฯลฯ ซึ่งนี่เป็นต้นทางการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างแท้จริง ’ภาวะไทยร้อน“ ตอนนี้ ’ไทยเจอผลร้ายเต็ม ๆ“ และในเวลาอันใกล้ผลร้ายจะยิ่งหนักขึ้นกว่านี้ ต่อไป ใหญ่แค่ไหน รวยแค่ไหน ก็รอดยาก!!!. ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/article/223/195179

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...