ความเสี่ยงจากภัยพิบัติ

แสดงความคิดเห็น

เหตุเพลิงไหม้ศูนย์ผู้อพยพบ้านแม่สุรินทร์ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ที่ทำให้ผู้ลี้ภัยเสียชีวิตจำนวนมาก ไม่ต่ำกว่า 35 ราย ในเบื้องต้นคาดว่ามีสาเหตุจากการก่อไฟหุงหาอาหารหรือเกิดไฟป่าบนดอยสูง ลุกลามเข้าภายในพื้นที่ โหมเข้าเพิงพักที่เป็นวัสดุติดไฟง่าย ผู้ประสบภัยหลบหนีไม่ทัน เหตุครั้งนี้ควรเป็นประเด็นที่ต้องใส่ใจให้ความสำคัญ เพราะไม่ว่าภัยจะเกิดที่ไหน แต่ผู้ประสบก็คือเพื่อนมนุษย์ที่ควรได้รับความคุ้มครอง และเป็นอุทาหรณ์ให้พิจารณาระบบป้องกันภัยพิบัติโดยรวมของเรามีประสิทธิภาพ เพียงพอหรือไม่

เหตุที่เกิด ซึ่งทำความสูญเสียอย่างมาก ย่อมเป็นที่สงสัยในระบบป้องกันภัยและการช่วยเหลือเผชิญภัย ทั้งนี้ นอกจากที่ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ยังมีศูนย์อพยพอีก 2 แห่ง ที่ จ.ตาก และ จ.ราชบุรี กาญจนบุรี ยอดรวมทุกแห่งราว 1 แสน การเกิดที่หนึ่งที่ใดได้ ก็ย่อมเกิดที่อื่นได้ ในเวลาเดียวกัน จะพบว่า ชุมชนในชนบท ภายใต้สภาพแวดล้อมป่าเขา ก็มีความเสี่ยงภัยพิบัติ และความสูญเสียเป็นประจำทุกปี

ประเทศไทยมีแผนปฏิบัติการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งชาติในเชิงยุทธศาสตร์ พ.ศ.2553 – 2562 ซึ่งเป็นไปตามกรอบการดำเนินการที่ประเทศต่าง ๆในเอเชียจะกำหนดแผนมีการสร้างสมรรถนะระดับชาติและระดับชุมชนเพื่อจัดการรับ มือภัยพิบัติต่าง ๆ โดยในประเทศไทยมีปัญหาภัยพิบัติหลายชนิด เช่น แผ่นดินถล่ม ภัยแล้ง ไฟป่า ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เช่น อุทกภัยในปี 2544 เกิดขึ้น 14 ครั้ง มีจังหวัดได้รับผลกระทบ 60 จังหวัด ผู้เสียชีวิต 244 ราย ค่าความเสียหาย 3,666 ล้านบาท ปี 2548 เกิดอุทกภัย 6 ครั้งในพื้นที่ 48 จังหวัด ผู้เสียชีวิต 27 ราย มูลค่าความเสียหาย 4,700 ล้านบาท ส่วนความเสียหายจากไฟป่า ในปี 2543 เกิดขึ้น 5,728 ครั้ง พื้นที่เสียหาย 65,000 ไร่ ปี 2546 เกิดขึ้น 7,900 ครั้ง พื้นที่เสียหาย 98,500 ไร่ ส่วนเหตุอัคคีภัยในชุมชน ที่เกิดขึ้นทั่วประเทศก็มีถึงปีละกว่า 1,500 ครั้ง

ประเทศไทยกำหนดวิสัยทัศน์ให้มีระดับความปลอดภัยเทียบเท่าสากลภายในปี 2562 ทั้งจะเป็นผู้นำด้านการลดความเสี่ยงภัยในระดับภูมิภาค ขณะเดียวกัน ก็มีเป้าหมายการหลุดพ้นจากประเทศที่มีรายได้น้อยเป็นประเทศที่มีรายได้ ปานกลาง ซึ่งจะทำให้เกิดการขยายตัวทางอุตสาหกรรมอย่างมาก หากไม่มีการวางระบบเพื่อรับมือกับภัยจากอุตสาหกรรมให้ดี คนไทยจะมีความเสี่ยงภัยมากขึ้น ดังนั้น รัฐควรใส่ใจกับการพัฒนาการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติให้ได้มากที่ สุด เหตุเพลิงไหม้คนตายทีละหลายสิบไม่ควรให้มีขึ้น.

ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/article/439/192793

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 25 มี.ค.2556
วันที่โพสต์: 26/03/2556 เวลา 03:15:52

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เหตุเพลิงไหม้ศูนย์ผู้อพยพบ้านแม่สุรินทร์ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ที่ทำให้ผู้ลี้ภัยเสียชีวิตจำนวนมาก ไม่ต่ำกว่า 35 ราย ในเบื้องต้นคาดว่ามีสาเหตุจากการก่อไฟหุงหาอาหารหรือเกิดไฟป่าบนดอยสูง ลุกลามเข้าภายในพื้นที่ โหมเข้าเพิงพักที่เป็นวัสดุติดไฟง่าย ผู้ประสบภัยหลบหนีไม่ทัน เหตุครั้งนี้ควรเป็นประเด็นที่ต้องใส่ใจให้ความสำคัญ เพราะไม่ว่าภัยจะเกิดที่ไหน แต่ผู้ประสบก็คือเพื่อนมนุษย์ที่ควรได้รับความคุ้มครอง และเป็นอุทาหรณ์ให้พิจารณาระบบป้องกันภัยพิบัติโดยรวมของเรามีประสิทธิภาพ เพียงพอหรือไม่ เหตุที่เกิด ซึ่งทำความสูญเสียอย่างมาก ย่อมเป็นที่สงสัยในระบบป้องกันภัยและการช่วยเหลือเผชิญภัย ทั้งนี้ นอกจากที่ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ยังมีศูนย์อพยพอีก 2 แห่ง ที่ จ.ตาก และ จ.ราชบุรี กาญจนบุรี ยอดรวมทุกแห่งราว 1 แสน การเกิดที่หนึ่งที่ใดได้ ก็ย่อมเกิดที่อื่นได้ ในเวลาเดียวกัน จะพบว่า ชุมชนในชนบท ภายใต้สภาพแวดล้อมป่าเขา ก็มีความเสี่ยงภัยพิบัติ และความสูญเสียเป็นประจำทุกปี ประเทศไทยมีแผนปฏิบัติการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งชาติในเชิงยุทธศาสตร์ พ.ศ.2553 – 2562 ซึ่งเป็นไปตามกรอบการดำเนินการที่ประเทศต่าง ๆในเอเชียจะกำหนดแผนมีการสร้างสมรรถนะระดับชาติและระดับชุมชนเพื่อจัดการรับ มือภัยพิบัติต่าง ๆ โดยในประเทศไทยมีปัญหาภัยพิบัติหลายชนิด เช่น แผ่นดินถล่ม ภัยแล้ง ไฟป่า ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เช่น อุทกภัยในปี 2544 เกิดขึ้น 14 ครั้ง มีจังหวัดได้รับผลกระทบ 60 จังหวัด ผู้เสียชีวิต 244 ราย ค่าความเสียหาย 3,666 ล้านบาท ปี 2548 เกิดอุทกภัย 6 ครั้งในพื้นที่ 48 จังหวัด ผู้เสียชีวิต 27 ราย มูลค่าความเสียหาย 4,700 ล้านบาท ส่วนความเสียหายจากไฟป่า ในปี 2543 เกิดขึ้น 5,728 ครั้ง พื้นที่เสียหาย 65,000 ไร่ ปี 2546 เกิดขึ้น 7,900 ครั้ง พื้นที่เสียหาย 98,500 ไร่ ส่วนเหตุอัคคีภัยในชุมชน ที่เกิดขึ้นทั่วประเทศก็มีถึงปีละกว่า 1,500 ครั้ง ประเทศไทยกำหนดวิสัยทัศน์ให้มีระดับความปลอดภัยเทียบเท่าสากลภายในปี 2562 ทั้งจะเป็นผู้นำด้านการลดความเสี่ยงภัยในระดับภูมิภาค ขณะเดียวกัน ก็มีเป้าหมายการหลุดพ้นจากประเทศที่มีรายได้น้อยเป็นประเทศที่มีรายได้ ปานกลาง ซึ่งจะทำให้เกิดการขยายตัวทางอุตสาหกรรมอย่างมาก หากไม่มีการวางระบบเพื่อรับมือกับภัยจากอุตสาหกรรมให้ดี คนไทยจะมีความเสี่ยงภัยมากขึ้น ดังนั้น รัฐควรใส่ใจกับการพัฒนาการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติให้ได้มากที่ สุด เหตุเพลิงไหม้คนตายทีละหลายสิบไม่ควรให้มีขึ้น. ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/article/439/192793

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...