ประเทศไทยกับภาวะโลกร้อน
ขอบคุณ… http://newsrama2.com/article/topic-13855.html
การเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nation Framework Convention on Climate Change : UNFCCC) คือ การเปลี่ยนแปลงใดๆ ของอากาศซึ่งเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม อันทำให้ส่วนประกอบของบรรยากาศโลกเปลี่ยนแปลงไป นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงโดยธรรมชาติในช่วงเวลาเดียวกัน
สาเหตุ
ปรากฏการณ์ เรือนกระจก นับเป็นสาเหตุพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก โดยที่โลกมีระบบควบคุมอุณหภูมิของสภาพบรรยากาศอยู่แล้ว โดยรังสีจากดวงอาทิตย์จะแผ่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศและให้ความร้อนแก่โลก พลังงานบางส่วนทำให้โลกอบอุ่น ก่อนจะถูกแผ่กลับออกห้วงอวกาศในรูปรังสีอินฟราเรด โดยในภาวะปกติรังสีอินฟราเรดที่ถูกแผ่ออกไปบางส่วนจะถูกชั้นบรรยากาศของโลก กักเก็บไว้ตามธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยให้อุณหภูมิของโลกอยู่ในระดับพอเหมาะ
ปัญหา
โลก กำลังเผชิญกับปัญหาที่ชั้นบรรยากาศของโลกกลับ หนาขึ้น เนื่องจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ที่มนุษย์เป็นผู้ก่อ เมื่อชั้นบรรยากาศหนาขึ้น จะกักเก็บรังสีอินฟราเรดซึ่งควรจะหลุดลอดไปสู่ห้วงอวกาศ ผลที่ตามมา คืออุณหภูมิของบรรยากาศโลก และมหาสมุทร กลับอุ่นขึ้นจนอยู่ในระดับอันตราย
สถานการณ์ภาวะโลกร้อน (Climate Change 2007 : Synthesis Report IPCC4th Assessment ) ภาวะ โลกร้อนส่งผลให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยในช่วงสิบปีที่ผ่านมา พ.ศ. 2538 – 2549 เป็นปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยบันทึกได้ตั้งแต่ พ.ศ. 2539 และเกิดเหตุการณ์น้ำแข็งขั้วโลกละลายระดับน้ำทะเลสูงขึ้น รวมทั้งเกิดภัยธรรมชาติรุนแรงจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปทั่ว โลก เช่น เฮอริเคน ไต้ฝุ่น โคลนถล่ม ภัยแล้ง และน้ำท่วม ในทั่วภูมิภาคเอเชียและอเมริกากลาง ในขณะที่ทวีปยุโรปต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนรุนแรงขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอ่อนไหวของกลไกธรรมชาติของโลกที่นับวันจะมีความ รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ
จากสถานการณ์โลกร้อน จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของมนุษย์ในหลายด้าน (IPCC, 2002) คือ
1. ผลกระทบต่อความมั่นคงของแหล่งอาหารและน้ำจืด ผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพทางการเกษตร ปศุสัตว์และการประมงลดลง
2. ผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และความหลากหลายทางชีวภาพ พืชและสัตว์บางชนิดสูญพันธ์ มีผลต่อสมดุลระบบนิเวศน์
3. ผล กระทบต่อการอพยพถิ่นฐานของประชากรโลกเนื่องจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ความแห้งแล้ง และความขัดแย้งจากการขาดแคลนอาหารเพื่อแย่งหาแหล่งน้ำและพื้นที่ทำกิน
4. ผล กระทบต่อสุขภาพอนามัย การแพร่ระบาดของโรคต่าง ๆ เจ็บป่วยจากอุณหภูมิสูง และเครียดจากการปรับตัวทางเศรษฐกิจและสังคม และภัยธรรมชาติที่เกิดบ่อย
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกต่อภาวะโลกร้อน
ปัจจุบัน การ รับรู้และทัศนคติของสาธารณชนในความห่วงใยต่อสาเหตุและความสำคัญของ ปรากฏการณ์โลกร้อนมีมากขึ้น และการค้นพบทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับปรากฏการณ์โลกร้อนที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ ชาติต่าง ๆ รวมทั้งชุมชนและองค์การในภูมิภาคต่าง ๆ เริ่มปฏิบัติการเพื่อหยุดการร้อนขึ้นของโลก
ข้อตกลงอันกับต้นของโลก ว่าด้วยการต่อสู้เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกคือ พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocal) ซึ่งเป็นกฏหมายระหว่างประเทศเพื่อให้เกิดพันธกรณีที่จะทำให้การลดก๊าซ เรือนกระจกเป็นจริงในทางปฏิบัติมากขึ้นจากอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) โดยได้เจรจาต่อรองและตกลงกันเมื่อปี พ.ศ. 2540 ปัจจุบันพิธีสารดังกล่าวครอบคลุมประเทศ ต่าง ๆ ทั่วโลกมากกว่า 160 ประเทศและรวมปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 65 % ของทั้งโลก
หลัก การสำคัญของพิธีสารฯ ใช้หลักการรับผิดชอบโดยแบ่งกลุ่มประเทศตามระดับแตกต่างกันทั้งจากปัจจัย เกี่ยวกับฐานะทางเศรษฐกิจ และสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกล่าวคือ
ประเทศ อุตสาหกรรมต้องเป็นผู้นำในการต่อสู้กับปัญหา และประเทศกำลังพัฒนาดำเนินการตามกำลังและความสามารถ นโยบายและข้อตกลงในการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก คือให้ประเทศที่พัฒนาแล้ว (43 ประเทศ) มีพันธกรณีที่ต้องลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามอนุสัญญาฯ ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ (เช่น ASEAN จีน อินเดีย) ไม่มีพันธกรณีในการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้สหรัฐฯ ใช้อ้างเป็นเหตุผลที่ยังไม่ยอมให้สัตยาบันในพิธีสารดังกล่าว ทั้งที่สหรัฐฯ เป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลก (IPCC.2002)
สหรัฐฯ ให้เหตุผลว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรงเพราะยังมีการยกเว้นให้ ประเทศอื่น ๆ ในโลกมากกว่าร้อยละ 80 ของประเทศที่ลงนามทั้งหมด รวมทั้งประเทศที่เป็นศูนย์รวมประชากรที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ จีน และอินเดีย อย่างไรก็ดี ยังมีรัฐและรัฐบาลท้องถิ่นจำนวนมากในสหรัฐฯ ที่ริเริ่มโครงการรณรงค์วางแนวปฏิบัติของตนเองให้เป็นไปตามพิธีสารเกียวโต ตัวอย่างเช่น การริเริ่มก๊าซเรือนกระจกภูมิภาค ซึ่งเป็นโปรแกรมการหยุดและซื้อเครดิตการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับรัฐ
นอก จากนี้ ประเด็นปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนำไปสู่การอภิปรายเกี่ยวกับกลุ่มประเทศ เศรษฐกิจพัฒนาใหม่ (nowly developed economies) อย่างประเทศจีนและอินเดีย ว่าควรบังคับระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่าใด โดยมีการคาดกันว่าการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์รวมของประเทศจีนจะสูงกว่าอัตรา การปล่อยของสหรัฐฯ ภายในไม่กี่ปีข้างหน้านี้
การเคลื่อนไหวของไทยต่อภาวะโลกร้อน
สถานการณ์ ภาวะ โลกร้อน ทำให้เกิดความแปรปรวนของภูมิอากาศ ฤดูกาล และปริมาณน้ำฝน ล้วนมีผลกระทบต่อประเทศไทยไม่ต่างจากประเทศอื่น ๆ ในโลก โดยสังเกตุได้จากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยมี ทั้งภัยแล้ง พายุ และน้ำท่วม ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เห็นได้ชัดเจนในระยะสั้นแก่ประเทศไทยได้ก่อให้เกิด ความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตรจำนวนมาก โดยผลกระทบดังกล่าว อาจส่งผลต่อสถานะของไทยในการเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรอันดับต้นของโลก รวมถึงการส่งเสริมยุทธศาสตร์การค้าครัวไทยสู่ครัวโลก
โดยเฉพาะพืช เศรษฐกิจสำคัญของไทย ได้แก่ ข้าว เนื่องจากมีรายงานการวิจัยจากสถาบันข้าวนานาชาติในประเทศจีนพบว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นในนาข้าวมีผลต่อละอองเรณูซึ่งอ่อนไหวต่ออุณหภูมิอย่างมาก ทำให้ผสมไม่ติดข้าว โดยในรวงข้าวไม่มีเมล็ด จากผลรายงานดังกล่าวย่อมมีผลต่อภาคการผลิตและการส่งออกข้าวของไทยในอนาคต หากปัญหาโลกร้อนทวีความรุนแรงมากขึ้น
ประเทศไทยได้ร่วมลงนามและให้ สัตยาบันต่อพิธีสารเกียวโตเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ปี พ.ศ. 2542 และเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2545 ตามลำดับ พิธีสารดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ แม้จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาตามบัญชีประเทศของอนุสัญญาฯ ที่ไม่มีพันธกรณีในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่มีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism : CDM) ตามพิธีสาร ฯ ได้ ทั้งนี้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เริ่มวางแผนการดำเนินงานตามพิธีสาร ฯ ในการทำ CDM เพื่อให้ประเทศไทยได้ประโยชน์จากโครงการนี้ในหลายด้าน เช่น ก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับประเทศ มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่สะอาด และถ่ายทอดเทคโนโลยี และความรู้ด้านการจัดการ เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกให้แพร่หลายในประเทศ เป็นต้น
ข้อเสนอแนะ
จาก การศึกษาสถานการณ์ภาวะโลกร้อนข้างต้น แม้จะเป็นภัยคุกคามต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ แต่ในขณะเดียวกันประเทศไทยอาจสร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนในด้านต่าง ๆ จากภาวะโลกร้อนได้ โดยจะเชื่อมโยงโอกาสดังกล่าวตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของกระทรวงพาณิชย์ ดังนี้
การผลิตสินค้าตามความต้องการของตลาด
• สร้างมูลค่า เพิ่มและสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าไทยในตลาดต่างประเทศ โดยพัฒนาสินค้า/เทคโนโลยีที่สามารถลดก๊าซเรือนกระจก หรือสินค้าที่กระบวนการผลิตมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณน้อยลง โดยครอบคลุมสินค้าตั้งแต่ของใช้สอยประจำวัน จนถึงภาคอุตสาหกรรมและภาคอสังหาริมทรัพย์รวมทั้งภาคบริการที่เน้นกิจกรรม ช่วยลดภาวะโลกร้อน เป็นต้น
• เตรียม ความพร้อมผู้ประกอบการไทยต่อการค้าระหว่างประเทศในอนาคตที่อาจมี การพัฒนาเงื่อนไขของการกีดกันการค้าที่เข้มงวดมากขึ้นในด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะมาตรการป้องกันภาวะโลกร้อน โดยอาจระบุสินค้าที่จะนำเข้าประเทศนั้น ในกระบวนการผลิตต้องไม่มีส่วนในการทำลายชั้นบรรยากาศ หากผู้ประกอบการในประเทศไทยไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับมาตรฐานเหล่านี้ อาจสูญเสียโอกาสทางการตลาดของโลกได้
มุ่งพัฒนาตลาดสินค้าเกษตร
• สร้างเกราะ ป้องกันแก่สินค้าเกษตรไทยจากภาวะโลกร้อน โดยประสานหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ให้ตระหนักต่อผลกระทบของโลกร้อนต่อผลผลิตทางการเกษตรเพื่อกระตุ้นให้มีการ วิจัยด้านการพัฒนาพันธุ์พืชเศรษฐกิจของไทยมากขึ้น โดยเฉพาะพันธุ์ข้าว ให้มีความทนต่ออุณหภูมิสูง แต่ยังให้ผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ เพื่อประเทศไทยจะมีผลผลิตทางการเกษตรสนองตอบต่อความต้องการของตลาดในประเทศ และสามารถรักษาตลาดส่งออกสินค้าเกษตร แม้จะมีการแปรปรวนทางสภาพอากาศมากขึ้นในอนาคต
• ปัจจัย ด้านสภาพภูมิอากาศมีอิทธิพลต่อผลผลิตทางการเกษตร การติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของประเทศคู่แข่งทางด้านสินค้า เกษตร ควบคู่ตัวเลขชี้นำทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ช่วยให้สามารถประเมินสถานการณ์อุปสงค์อุปทานของสินค้าเกษตรในตลาดโลก และกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงมากขึ้น
เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจากโครงการ กลไกการพัฒนาที่สะอาด
การ ใช้ประโยชน์จากโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) ตามพิธีสารเกียวโต ซึ่งเป็นกลไกตามข้อตกลงเกียวโตที่ให้ประเทศพัฒนาแล้วสามารถดำเนินการลด ปริมาณก๊าซเรือนกระจกในประเทศกำลังพัฒนา และนำปริมาณก๊าซฯ ที่ลดได้ไปคำนวณเป็นเครดิตของประเทศตนเองเพื่อบรรลุเป้าหมายตามพันธกรณี ซึ่งประเทศไทยในฐานะประเทศกำลังพัฒนาจะได้รับประโยชน์ด้านการลงทุน เช่น เทคโนโลยีพลังงานที่สะอาด การถ่ายทอดเทคโนโลยี การจ้างงาน และสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น
สาเหตุการเกิดมลภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) เกิดจาก การเพิ่มขึ้นของก๊าซที่ปกคลุมชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้อุณภูมิภายในโลกสูงขึ้น เป็นเหตุให้ฤดูกาลทั่วโลกเปลี่ยนไป และก๊าซที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เกิดจากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิล
ภาวะ โลกร้อน หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกในปัจจุบัน สังเกตุได้จากอุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้น มีสาเหตุหลักของมาจากก๊าซเรือนกระจก
ปรากฏการณ์เรือนกระจก มีความสำคัญกับโลก เพราะก๊าซจำพวก คาร์บอนไดออกไซด์ หรือมีเทน จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในในโลก ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด มิฉะนั้น โลกจะกลายเป็นแบบดวงจันทร์ ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด ตอนกลางวันร้อนจัด เพราะไม่มีบรรยากาศกรองพลังงานจากดวงอาทิตย์ ลักษณะเช่นนี้คล้ายกับหลักการของเรือนกระจก จึงมักเรียกว่า ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse Effect) การเพิ่มขึ้นของ ก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้ชั้นบรรยากาศมีความสามารถในการกักเก็บรังสีความร้อนได้มากขึ้น
ก๊าซ เรือนกระจก (Greenhouse Gas) เป็นก๊าซที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อน หรือรังสีอินฟาเรดได้ดี ก๊าซเหล่านี้มีความจำเป็นต่อการรักษาอุณหภูมิในบรรยากาศของโลกให้คงที่ ซึ่งหากบรรยากาศโลกไม่มีก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ดังเช่นดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ในระบบสุริยะแล้ว จะทำให้อุณหภูมิในตอนกลางวันนั้นร้อนจัด และในตอนกลางคืนนั้นหนาวจัด เนื่องจากก๊าซเหล่านี้ดูดคลื่นรังสีความร้อนไว้ในเวลากลางวัน แล้วค่อยๆ แผ่รังสีความร้อนออกมาในเวลากลางคืน ทำให้อุณหภูมิในบรรยากาศโลกไม่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน มีก๊าซจำนวนมากที่มีคุณสมบัติในการดูดซับคลื่นรังสีความร้อน และถูกจัดอยู่ในกลุ่มก๊าซเรือนกระจก ซึ่งมีทั้งก๊าซที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญคือ ไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โอโซน มีเทนและไนตรัสออกไซด์ สารซีเอฟซี เป็นต้น แต่ ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกควบคุมโดยพิธีสารเกียวโต มีเพียง 6 ชนิด โดยจะต้องเป็นก๊าซที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ (anthropogenic greenhouse gas emission) เท่านั้น ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N20) ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC) ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFC) และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) ทั้งนี้ ยังมีก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง คือ สารซีเอฟซี (CFC หรือ Chlorofluorocarbon) ซึ่งใช้เป็นสารทำความเย็นและใช้ในการผลิตโฟม แต่ไม่ถูกกำหนดในพิธีสารเกียวโตเนื่องจากเป็นสารที่ถูกจำกัดการใช้ในพิธี สารมอนทรีออลแล้ว
แหล่งกำเนิดของก๊าซเรือนกระจก
• การย่อยสลายของซากพืชซากสัตว์
• จากโรงงานอุตสาหกรรม
• เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ใช้เป็นสารหล่อเย็นในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ
• ของใช้ประจำวัน เช่น ใช้เป็นสารขับดันในเครื่องกระป๋องที่เป็นสเปรย์
• จากกทำนาข้าวหรือพืชที่ขังน้ำและปศุสัตว์
• การเผาไหม้ของซากพืชหรือสัตว์
• การใช้งานโดยมีการเผาไหม้ของถ่านหิน/น้ำมัน/ก๊าซธรรมชาติ
• การเผาไหม้ในหลายรูปแบบ เช่น การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม ในรถยนต์
• การเผาป่า เพื่อใช้พื้นที่อยู่อาศัย หรือทำการเกษตร หรือเผาหญ้าเผาฟางหลังการเก็บเกี่ยว
• การทำปศุสัตว์ การเลี้ยงสัตว์ การทำฟาร์ม
10 ข้อ ใกล้ตัวลดโลกร้อน
การ ลดภาวะโลกร้อนเป็นสิ่งที่ทุกคนจะต้อง ช่วยกันทำ เราทุกคนก็ต่างมีส่วนที่ทำให้เกิดปัญหานี้ขึ้น เพราะเพียงแค่เราหายใจอยู่เฉยๆก็ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาแล้ว ยังไม่รวมถึงกิจกรรมต่างๆมากมายที่เราทำอยู่ทุกๆวัน ถึงเวลาที่เราต้องเลิกคิดว่าภาวะโลกร้อนไม่ใช่ธุระของเรา แล้วหันมาร่วมมือกัน มาเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาโลกร้อนกันเถอะถ้าท่านคิดว่าการลดภาวะโลกร้อน นั้นมันทำได้ยาก หรือคิดว่าท่านคนเดียวช่วยโลกไม่ได้ หรือว่าจะทำตอนนี้มันก็ไม่มีอะไรดีขึ้นแล้ว ท่านกำลังคิดผิด ทุกอย่างที่เราทำจะส่งผลดีต่อโลก ยังมีเวลาอยู่ถ้าไม่เริ่มที่ตัวเราก่อนก็ไม่รู้จะให้ไปเริ่มจากตรงไหน แค่เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างของเราทำอยู่ในวันๆหนึ่ง ก็สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้
1. ปรับ Desktop Wallpaper ของท่านให้เป็นสำเข้ม ยิ่งเป็นสีดำเลยยิ่งดี เพราะว่ามันจะประหยัดไฟมากกว่า รวมไปถึง Screen Saver ก็ให้ตั้ง Blank ไว้ มันจะเป็นหน้าจอดำสนิท ปิดคอมพิวเตอร์เมื่อไม่ได้ใช้งาน เช่น ตอนพักเที่ยง และตอนกลับบ้าน
2. พกผ้าเช็ดหน้า แทนที่จะใช้กระดาษทิชชู สมัยนี้มีกระดาษทิชชูห่อสวยๆพกง่ายๆออกมา หลายคนใช้มันแทนผ้าเช็ดหน้า เพราะว่ามันสะดวกและห่อมันก็น่ารักด้วย แต่กระดาษทิชชูผลิตมาจากต้นไม้ ยิ่งใช้มากก็ยิ่งต้องตัดมาก ถ้าไม่จำเป็นก็ให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าดีกว่าครับ เก็บต้นไม้ไว้เป็นปอดให้กับโลกเรา
3. การชาร์ตแบตมือถือ การชาร์ตแบตมือถือของคนทั่วๆไปเสียพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์ถึง 95% เพราะว่ามักจะเสียบสายค้างไว้ทั้งๆที่แบตเต็มแล้ว ท่านรู้ไหมว่าถึงแบตจะเต็มแล้วแต่ว่าถ้าไม่ถอดออกมันก็จะยังกินไฟอยู่ ฉะนั้นเวลาแบตเต็มแล้วก็ให้ถอดสายออก แต่ถ้ายังเสียบหม้อแปลงกับเต้าเสียบค้างไว้มันก็ยังกินไฟอยู่ดี เพราะฉะนั้นก็ให้ถอดออกให้หมด
4. ประหยัดน้ำ อย่าใช้น้ำแบบสิ้นเปลือง ถ้ามีโอกาสได้เปลี่ยนก๊อกที่บ้าน ก็ให้ใช้ก๊อกน้ำแบบเพิ่มฟองอากาศ น้ำที่ไหลออกมาจะมีฟองอากาศออกมาด้วยทำให้ดูเหมือนมีน้ำเยอะ แต่จะประหยัดกว่าก๊อกธรรมดาถึงครึ่งหนึ่ง ถ้านึกไม่ออกให้ดูห้องน้ำตามห้าง น้ำที่ไหลออกมาจะเป็นแบบนั้น และเวลาใช้น้ำที่อื่นที่ไม่ใช่บ้านเราก็ควรจะประหยัดด้วย ไม่ใช่คิดว่าของฟรี หรือเวลาไปพักตามโรงแรมก็อย่าคิดว่าใช้ให้คุ้ม เพราะว่าทำแบบนี้แหละโลกถึงร้อน
5. ประหยัดไฟ ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ใช้และถอดปลั๊กด้วย รวมไปถึงหลอดไฟด้วย ถ้ามีโอกาสก็เปลี่ยนหลอดไส้เป็นหลอดประหยัดไฟ CFL ซะ ที่มันเป็นเกลียวๆ ถึงหลอดพวกนี้จะแพงกว่า แต่ก็ประหยัดไฟกว่ามาก แถมอายุการใช้งานก็ยาวกว่าเยอะ ซึ่งในระยะยาวก็จะคุ้มกว่าแน่นอน
6. ลดใช้ถุงพลาสติก ถุงพลาสติกทำให้เราสะดวกขึ้นก็จริง แต่มันเป็นภัยต่อโลกอย่างมากมาย กว่าถุงที่เราใช้จะย่อยสลายไป ตัวเรานั้นย่อยสลายก่อนมันไปนานแล้ว เพราะฉะนั้นเวลาที่ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องใช้ แต่ถ้าต้องใช้จริงๆก็ให้เก็บไว้เพื่อนำไปใช้ครั้งต่อไปได้อีก เวลาจ่ายตลาดก็ให้ใช้ถุงผ้าแทน ถุงผ้าสวยๆก็มีออกมาขายกันเยอะแยะ
7. ลดอาหารแช่แข็ง อาหารแช่แข็งตอนนี้กำลังมีมากขึ้นเรื่อยๆ และก็เห็นมีคนนิยมบริโภคมากขึ้นเหมือนกัน แต่ท่านรู้ไหมว่าขั้นตอนการผลิตนั้นทำให้สิ้นเปลืองพลังงานอย่างมาก เพราะว่ากล่องที่ใส่ก็เป็นพลาสติก ขั้นตอนในการขนส่งก็ต้องเก็บไว้ในที่เย็นตลอดเวลา รวมไปถึงตอนที่อยู่ในร้านด้วย แม้กระทั่งตอนจะกินยังต้องใช้พลังงานในการอุ่นอีก เพราะฉะนั้นถ้าไม่จำเป็นก็อย่ากินเลยครับ มันสิ้นเปลืองพลังงาน กินของสดอร่อยกว่าอีก
8. ใช้จักรยาน เวลาที่ท่านไปทำธุระใกล้ๆบ้าน อาจจะไปซื้อของ จ่ายตลาด นอกจากจะประหยัดน้ำมันในยุคที่น้ำมันแพงแล้ว ยังช่วยให้ท่านได้ออกกำลังกาย มีสุขภาพที่ดีอีกด้วย ไม่ต้องไปเสียเงินเข้าฟิตเนสแพงๆ
9. ลดการ Shopping หลายคนนั้นการ Shopping เป็นอะไรที่มีความสุขเหลือเกิน แต่ก็ขอให้ลดการซื้อแบบสิ้นเปลืองลงบ้าง บางทีก็ซื้อๆไปอย่างนั้นแหละ แต่ก็ได้ใส่แค่ครั้งสองครั้ง บางชิ้นอาจไม่ได้ใส่ด้วยซ้ำ แต่อยากซื้อ..อะไรที่คิดว่าไม่จำเป็นก็ไม่ต้องซื้อหรอกครับ เอาแค่อันที่เราจะใส่จริงๆ เพราะว่ามันต้องใช้พลังงานมากมายในอุตสาหกรรมพวกนี้
10. ปลูกต้นไม้ มนุษย์ทุกคนชอบธรรมชาติ เวลาที่เราได้เห็นสถานที่ที่มีธรรมชาติงดงาม ไม่ว่าจะเป็นป่าไม่ที่เขียวชอุ่ม น้ำใสๆ ชายหาดที่ขาวสะอาด เราจะรู้สึกสบายใจและชอบมัน แต่ว่าพวกเราก็ไม่ได้ช่วยกันรักษามัน เพราะฉะนั้นถ้ามีเวลาก็ให้ช่วยกันปลูกต้นไม้ อาจจะเป็นที่สวนหน้าบ้านได้ หรือมีเนื้อที่ตรงไหนก็ปลูกตรงนั้น ใส่กระถางไว้ก็ได้ นอกจากจะทำให้บ้านดูสวยขึ้นแล้ว ยังจะช่วยลดก๊าซพิษในอากาศได้อีกด้วย
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ขอบคุณ… http://newsrama2.com/article/topic-13855.html การเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nation Framework Convention on Climate Change : UNFCCC) คือ การเปลี่ยนแปลงใดๆ ของอากาศซึ่งเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม อันทำให้ส่วนประกอบของบรรยากาศโลกเปลี่ยนแปลงไป นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงโดยธรรมชาติในช่วงเวลาเดียวกัน สาเหตุ ปรากฏการณ์ เรือนกระจก นับเป็นสาเหตุพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก โดยที่โลกมีระบบควบคุมอุณหภูมิของสภาพบรรยากาศอยู่แล้ว โดยรังสีจากดวงอาทิตย์จะแผ่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศและให้ความร้อนแก่โลก พลังงานบางส่วนทำให้โลกอบอุ่น ก่อนจะถูกแผ่กลับออกห้วงอวกาศในรูปรังสีอินฟราเรด โดยในภาวะปกติรังสีอินฟราเรดที่ถูกแผ่ออกไปบางส่วนจะถูกชั้นบรรยากาศของโลก กักเก็บไว้ตามธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยให้อุณหภูมิของโลกอยู่ในระดับพอเหมาะ ปัญหา โลก กำลังเผชิญกับปัญหาที่ชั้นบรรยากาศของโลกกลับ หนาขึ้น เนื่องจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ที่มนุษย์เป็นผู้ก่อ เมื่อชั้นบรรยากาศหนาขึ้น จะกักเก็บรังสีอินฟราเรดซึ่งควรจะหลุดลอดไปสู่ห้วงอวกาศ ผลที่ตามมา คืออุณหภูมิของบรรยากาศโลก และมหาสมุทร กลับอุ่นขึ้นจนอยู่ในระดับอันตราย สถานการณ์ภาวะโลกร้อน (Climate Change 2007 : Synthesis Report IPCC4th Assessment ) ภาวะ โลกร้อนส่งผลให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยในช่วงสิบปีที่ผ่านมา พ.ศ. 2538 – 2549 เป็นปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยบันทึกได้ตั้งแต่ พ.ศ. 2539 และเกิดเหตุการณ์น้ำแข็งขั้วโลกละลายระดับน้ำทะเลสูงขึ้น รวมทั้งเกิดภัยธรรมชาติรุนแรงจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปทั่ว โลก เช่น เฮอริเคน ไต้ฝุ่น โคลนถล่ม ภัยแล้ง และน้ำท่วม ในทั่วภูมิภาคเอเชียและอเมริกากลาง ในขณะที่ทวีปยุโรปต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนรุนแรงขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอ่อนไหวของกลไกธรรมชาติของโลกที่นับวันจะมีความ รุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จากสถานการณ์โลกร้อน จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของมนุษย์ในหลายด้าน (IPCC, 2002) คือ 1. ผลกระทบต่อความมั่นคงของแหล่งอาหารและน้ำจืด ผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพทางการเกษตร ปศุสัตว์และการประมงลดลง 2. ผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และความหลากหลายทางชีวภาพ พืชและสัตว์บางชนิดสูญพันธ์ มีผลต่อสมดุลระบบนิเวศน์ 3. ผล กระทบต่อการอพยพถิ่นฐานของประชากรโลกเนื่องจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ความแห้งแล้ง และความขัดแย้งจากการขาดแคลนอาหารเพื่อแย่งหาแหล่งน้ำและพื้นที่ทำกิน 4. ผล กระทบต่อสุขภาพอนามัย การแพร่ระบาดของโรคต่าง ๆ เจ็บป่วยจากอุณหภูมิสูง และเครียดจากการปรับตัวทางเศรษฐกิจและสังคม และภัยธรรมชาติที่เกิดบ่อย แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกต่อภาวะโลกร้อน ปัจจุบัน การ รับรู้และทัศนคติของสาธารณชนในความห่วงใยต่อสาเหตุและความสำคัญของ ปรากฏการณ์โลกร้อนมีมากขึ้น และการค้นพบทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับปรากฏการณ์โลกร้อนที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ ชาติต่าง ๆ รวมทั้งชุมชนและองค์การในภูมิภาคต่าง ๆ เริ่มปฏิบัติการเพื่อหยุดการร้อนขึ้นของโลก ข้อตกลงอันกับต้นของโลก ว่าด้วยการต่อสู้เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกคือ พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocal) ซึ่งเป็นกฏหมายระหว่างประเทศเพื่อให้เกิดพันธกรณีที่จะทำให้การลดก๊าซ เรือนกระจกเป็นจริงในทางปฏิบัติมากขึ้นจากอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) โดยได้เจรจาต่อรองและตกลงกันเมื่อปี พ.ศ. 2540 ปัจจุบันพิธีสารดังกล่าวครอบคลุมประเทศ ต่าง ๆ ทั่วโลกมากกว่า 160 ประเทศและรวมปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า 65 % ของทั้งโลก หลัก การสำคัญของพิธีสารฯ ใช้หลักการรับผิดชอบโดยแบ่งกลุ่มประเทศตามระดับแตกต่างกันทั้งจากปัจจัย เกี่ยวกับฐานะทางเศรษฐกิจ และสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกล่าวคือ ประเทศ อุตสาหกรรมต้องเป็นผู้นำในการต่อสู้กับปัญหา และประเทศกำลังพัฒนาดำเนินการตามกำลังและความสามารถ นโยบายและข้อตกลงในการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก คือให้ประเทศที่พัฒนาแล้ว (43 ประเทศ) มีพันธกรณีที่ต้องลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามอนุสัญญาฯ ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ (เช่น ASEAN จีน อินเดีย) ไม่มีพันธกรณีในการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้สหรัฐฯ ใช้อ้างเป็นเหตุผลที่ยังไม่ยอมให้สัตยาบันในพิธีสารดังกล่าว ทั้งที่สหรัฐฯ เป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลก (IPCC.2002) สหรัฐฯ ให้เหตุผลว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรงเพราะยังมีการยกเว้นให้ ประเทศอื่น ๆ ในโลกมากกว่าร้อยละ 80 ของประเทศที่ลงนามทั้งหมด รวมทั้งประเทศที่เป็นศูนย์รวมประชากรที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ จีน และอินเดีย อย่างไรก็ดี ยังมีรัฐและรัฐบาลท้องถิ่นจำนวนมากในสหรัฐฯ ที่ริเริ่มโครงการรณรงค์วางแนวปฏิบัติของตนเองให้เป็นไปตามพิธีสารเกียวโต ตัวอย่างเช่น การริเริ่มก๊าซเรือนกระจกภูมิภาค ซึ่งเป็นโปรแกรมการหยุดและซื้อเครดิตการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับรัฐ นอก จากนี้ ประเด็นปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนำไปสู่การอภิปรายเกี่ยวกับกลุ่มประเทศ เศรษฐกิจพัฒนาใหม่ (nowly developed economies) อย่างประเทศจีนและอินเดีย ว่าควรบังคับระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่าใด โดยมีการคาดกันว่าการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์รวมของประเทศจีนจะสูงกว่าอัตรา การปล่อยของสหรัฐฯ ภายในไม่กี่ปีข้างหน้านี้ การเคลื่อนไหวของไทยต่อภาวะโลกร้อน สถานการณ์ ภาวะ โลกร้อน ทำให้เกิดความแปรปรวนของภูมิอากาศ ฤดูกาล และปริมาณน้ำฝน ล้วนมีผลกระทบต่อประเทศไทยไม่ต่างจากประเทศอื่น ๆ ในโลก โดยสังเกตุได้จากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยมี ทั้งภัยแล้ง พายุ และน้ำท่วม ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เห็นได้ชัดเจนในระยะสั้นแก่ประเทศไทยได้ก่อให้เกิด ความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตรจำนวนมาก โดยผลกระทบดังกล่าว อาจส่งผลต่อสถานะของไทยในการเป็นผู้ผลิตสินค้าเกษตรอันดับต้นของโลก รวมถึงการส่งเสริมยุทธศาสตร์การค้าครัวไทยสู่ครัวโลก โดยเฉพาะพืช เศรษฐกิจสำคัญของไทย ได้แก่ ข้าว เนื่องจากมีรายงานการวิจัยจากสถาบันข้าวนานาชาติในประเทศจีนพบว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นในนาข้าวมีผลต่อละอองเรณูซึ่งอ่อนไหวต่ออุณหภูมิอย่างมาก ทำให้ผสมไม่ติดข้าว โดยในรวงข้าวไม่มีเมล็ด จากผลรายงานดังกล่าวย่อมมีผลต่อภาคการผลิตและการส่งออกข้าวของไทยในอนาคต หากปัญหาโลกร้อนทวีความรุนแรงมากขึ้น ประเทศไทยได้ร่วมลงนามและให้ สัตยาบันต่อพิธีสารเกียวโตเมื่อเดือน กุมภาพันธ์ปี พ.ศ. 2542 และเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2545 ตามลำดับ พิธีสารดังกล่าวมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ แม้จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาตามบัญชีประเทศของอนุสัญญาฯ ที่ไม่มีพันธกรณีในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่มีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism : CDM) ตามพิธีสาร ฯ ได้ ทั้งนี้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เริ่มวางแผนการดำเนินงานตามพิธีสาร ฯ ในการทำ CDM เพื่อให้ประเทศไทยได้ประโยชน์จากโครงการนี้ในหลายด้าน เช่น ก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับประเทศ มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่สะอาด และถ่ายทอดเทคโนโลยี และความรู้ด้านการจัดการ เพื่อลดก๊าซเรือนกระจกให้แพร่หลายในประเทศ เป็นต้น ข้อเสนอแนะ จาก การศึกษาสถานการณ์ภาวะโลกร้อนข้างต้น แม้จะเป็นภัยคุกคามต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ แต่ในขณะเดียวกันประเทศไทยอาจสร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุนในด้านต่าง ๆ จากภาวะโลกร้อนได้ โดยจะเชื่อมโยงโอกาสดังกล่าวตามการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของกระทรวงพาณิชย์ ดังนี้ การผลิตสินค้าตามความต้องการของตลาด • สร้างมูลค่า เพิ่มและสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าไทยในตลาดต่างประเทศ โดยพัฒนาสินค้า/เทคโนโลยีที่สามารถลดก๊าซเรือนกระจก หรือสินค้าที่กระบวนการผลิตมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณน้อยลง โดยครอบคลุมสินค้าตั้งแต่ของใช้สอยประจำวัน จนถึงภาคอุตสาหกรรมและภาคอสังหาริมทรัพย์รวมทั้งภาคบริการที่เน้นกิจกรรม ช่วยลดภาวะโลกร้อน เป็นต้น • เตรียม ความพร้อมผู้ประกอบการไทยต่อการค้าระหว่างประเทศในอนาคตที่อาจมี การพัฒนาเงื่อนไขของการกีดกันการค้าที่เข้มงวดมากขึ้นในด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะมาตรการป้องกันภาวะโลกร้อน โดยอาจระบุสินค้าที่จะนำเข้าประเทศนั้น ในกระบวนการผลิตต้องไม่มีส่วนในการทำลายชั้นบรรยากาศ หากผู้ประกอบการในประเทศไทยไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับมาตรฐานเหล่านี้
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)