สธ.สั่ง ๔ รพ.ใน ๖ จังหวัดเสี่ยงน้ำท่วมจากพายุเกมี ซ้อมแผนความพร้อม

แสดงความคิดเห็น

นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขสั่ง ๔ โรงพยาบาลใน ๖ จังหวัดเสี่ยงน้ำท่วมสูงจากพายุเกมี ซักซ้อมแผนความพร้อมล่าสุดยอดผู้ป่วยน้ำท่วมพุ่งกว่า ๔ หมื่นราย...

เมื่อวันที่ ๔ ต.ค. ที่กระทรวงสาธารณสุข นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป ๓๐ จังหวัดที่เป็นพื้นที่เสี่ยงได้รับผลกระทบจาก พายุเกมี (GAEMI) เช่น นครราชสีมา ชัยภูมิ ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ติดตามความพร้อมของพื้นที่ในการรับมือผลกระทบจากพายุเกมีในช่วงวันที่๕-๘ตุลาคม๒๕๕๕นี้

นายวิทยา กล่าวว่า ในการรับมือครั้งนี้ ได้แบ่งกลุ่ม ๓๐ จังหวัดออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ ๑. กลุ่มเสี่ยงสูง มี ๖ จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา จันทบุรี และตราด มีโรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงสูงจะถูกน้ำท่วมสูง ๔ แห่ง ได้แก่ ๑. รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี ๒. รพ.มหาราชนครราชสีมา ๓. รพ.ปักธงชัย และ ๔. รพ.สต.ลาดยาว จ.นครราชสีมา ที่อาจได้รับผลกระทบจากเขื่อนลำพระเพลิง ซึ่งขณะนี้ ทุกแห่งได้เตรียมการป้องกันสถานพยาบาลไว้แล้ว

๒. กลุ่มเฝ้าระวัง มีทั้งหมด ๒๔ จังหวัด ได้เน้นย้ำให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยขณะนี้ วอร์รูมน้ำท่วมที่กระทรวงสาธารณสุข ได้ติดตามประเมินสถานการณ์ เพื่อสั่งการเบื้องต้นและเป็นจุดประสานงานให้การสนับสนุนจังหวัดต่างๆ โดยได้ส่งยาชุดน้ำท่วมและยาตำราหลวงแก่จังหวัดที่ถูกน้ำท่วมไปแล้ว ๒๑๘,๕๐๐ ชุด และเตรียมสำรองยาเวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรค อาทิ ยาชุดน้ำท่วม ยาสามัญประจำบ้าน ยารักษาโรคน้ำกัดเท้า เซรุ่มแก้พิษงู คลอรีน ทรายกำจัดลูกน้ำ รองเท้าบู๊ต ถุงดำ ไว้อย่างเพียงพอพร้อมให้การสนับสนุนตามที่จังหวัดร้องขอ

ด้าน นพ.ณรงค์ กล่าวว่า มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของกระทรวงสาธารณสุขที่เน้นย้ำให้สำนัก งานสาธารณสุขทุกจังหวัดมี ๖ ข้อ ได้แก่ ๑. จัดตั้งวอร์รูมจังหวัดเป็นศูนย์สั่งการ ประสานงาน ติดตามกำกับการดำเนินงานช่วยเหลือผู้ประสบภัย และแก้ไขปัญหาต่างๆ ในพื้นที่ ๒. ให้ติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังผลกระทบด้านสุขภาพทั้งกายและจิต ๓. เตรียมยา เวชภัณฑ์ พาหนะ และเครือข่ายสื่อสาร ทีมแพทย์กู้ชีพ ทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ชุดปฏิบัติการแพทย์สนามฉุกเฉินในภาวะภัยพิบัติหรือทีมเมิร์ท (Medical Emergency Response Team: MERT) พร้อมปฏิบัติการตลอด ๒๔ ชั่วโมง จัดบริการกลุ่มที่ต้องดูแลเป็นพิเศษเช่นผู้สูงอายุผู้พิการผู้ป่วยเรื้อรังผู้ป่วยจิตเวชหญิงตั้งครรภ์

๔. ให้ความรู้ประชาชนในการดูแลสุขภาพ และการควบคุมป้องกันโรค ๕. ให้ป้องกันน้ำท่วมสถานบริการ สำรวจจุดเสี่ยงต่างๆ และสำรองยาเวชภัณฑ์ ให้มีใช้เพียงพอ ปรับแผนบริการประชาชนทุกรูปแบบและแผนการส่งต่อผู้ป่วย โดยให้เจ้าหน้าที่เตรียมป้องกันบ้านเรือนตนเอง อพยพครอบครัวไปอยู่ในที่ปลอดภัย เพื่อลดความห่วงพะวงในการทำงานช่วยเหลือประชาชน และ ๖.เตรียมการฟื้นฟูหลังน้ำลด สร้างความปลอดภัยความมั่นใจแก่ประชาชน

ทั้งนี้ ผลจากน้ำท่วมที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ มีสถานพยาบาลในสังกัดปิดบริการ ๑ แห่ง คือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี น้ำเข้าตัวอาคารสูง ๖๐ เซนติเมตร ได้ย้ายจุดไปให้บริการในจุดที่ประชาชนมารับบริการสะดวก หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการทุกวัน สรุปมีผู้ป่วยทั้งหมด ๔๑,๖๔๙ ราย ส่วนใหญ่ปวดศีรษะ น้ำกัดเท้า และไข้หวัด ด้านสุขภาพจิตพบผู้มีความเครียดสูง ๑๓๙ ราย ซึมเศร้า ๖๔ ราย ทั้งหมดนี้อยู่ในความดูแลของจิตแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวมทั้ง อสม.ในพื้นที่

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย ๕ ต.ค.๕๕
วันที่โพสต์: 6/10/2555 เวลา 01:05:45 ดูภาพสไลด์โชว์ สธ.สั่ง ๔ รพ.ใน ๖ จังหวัดเสี่ยงน้ำท่วมจากพายุเกมี ซ้อมแผนความพร้อม

ชอบเรื่องนี้ไหม? ชอบ ไม่ชอบ ไม่มีความเห็น

ยังไม่มีเรตติ้ง

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุขสั่ง ๔ โรงพยาบาลใน ๖ จังหวัดเสี่ยงน้ำท่วมสูงจากพายุเกมี ซักซ้อมแผนความพร้อมล่าสุดยอดผู้ป่วยน้ำท่วมพุ่งกว่า ๔ หมื่นราย... เมื่อวันที่ ๔ ต.ค. ที่กระทรวงสาธารณสุข นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลทั่วไป ๓๐ จังหวัดที่เป็นพื้นที่เสี่ยงได้รับผลกระทบจาก พายุเกมี (GAEMI) เช่น นครราชสีมา ชัยภูมิ ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ติดตามความพร้อมของพื้นที่ในการรับมือผลกระทบจากพายุเกมีในช่วงวันที่๕-๘ตุลาคม๒๕๕๕นี้ นายวิทยา กล่าวว่า ในการรับมือครั้งนี้ ได้แบ่งกลุ่ม ๓๐ จังหวัดออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ ๑. กลุ่มเสี่ยงสูง มี ๖ จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา จันทบุรี และตราด มีโรงพยาบาลที่มีความเสี่ยงสูงจะถูกน้ำท่วมสูง ๔ แห่ง ได้แก่ ๑. รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี ๒. รพ.มหาราชนครราชสีมา ๓. รพ.ปักธงชัย และ ๔. รพ.สต.ลาดยาว จ.นครราชสีมา ที่อาจได้รับผลกระทบจากเขื่อนลำพระเพลิง ซึ่งขณะนี้ ทุกแห่งได้เตรียมการป้องกันสถานพยาบาลไว้แล้ว ๒. กลุ่มเฝ้าระวัง มีทั้งหมด ๒๔ จังหวัด ได้เน้นย้ำให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยขณะนี้ วอร์รูมน้ำท่วมที่กระทรวงสาธารณสุข ได้ติดตามประเมินสถานการณ์ เพื่อสั่งการเบื้องต้นและเป็นจุดประสานงานให้การสนับสนุนจังหวัดต่างๆ โดยได้ส่งยาชุดน้ำท่วมและยาตำราหลวงแก่จังหวัดที่ถูกน้ำท่วมไปแล้ว ๒๑๘,๕๐๐ ชุด และเตรียมสำรองยาเวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรค อาทิ ยาชุดน้ำท่วม ยาสามัญประจำบ้าน ยารักษาโรคน้ำกัดเท้า เซรุ่มแก้พิษงู คลอรีน ทรายกำจัดลูกน้ำ รองเท้าบู๊ต ถุงดำ ไว้อย่างเพียงพอพร้อมให้การสนับสนุนตามที่จังหวัดร้องขอ ด้าน นพ.ณรงค์ กล่าวว่า มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของกระทรวงสาธารณสุขที่เน้นย้ำให้สำนัก งานสาธารณสุขทุกจังหวัดมี ๖ ข้อ ได้แก่ ๑. จัดตั้งวอร์รูมจังหวัดเป็นศูนย์สั่งการ ประสานงาน ติดตามกำกับการดำเนินงานช่วยเหลือผู้ประสบภัย และแก้ไขปัญหาต่างๆ ในพื้นที่ ๒. ให้ติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังผลกระทบด้านสุขภาพทั้งกายและจิต ๓. เตรียมยา เวชภัณฑ์ พาหนะ และเครือข่ายสื่อสาร ทีมแพทย์กู้ชีพ ทีมสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว ชุดปฏิบัติการแพทย์สนามฉุกเฉินในภาวะภัยพิบัติหรือทีมเมิร์ท (Medical Emergency Response Team: MERT) พร้อมปฏิบัติการตลอด ๒๔ ชั่วโมง จัดบริการกลุ่มที่ต้องดูแลเป็นพิเศษเช่นผู้สูงอายุผู้พิการผู้ป่วยเรื้อรังผู้ป่วยจิตเวชหญิงตั้งครรภ์ ๔. ให้ความรู้ประชาชนในการดูแลสุขภาพ และการควบคุมป้องกันโรค ๕. ให้ป้องกันน้ำท่วมสถานบริการ สำรวจจุดเสี่ยงต่างๆ และสำรองยาเวชภัณฑ์ ให้มีใช้เพียงพอ ปรับแผนบริการประชาชนทุกรูปแบบและแผนการส่งต่อผู้ป่วย โดยให้เจ้าหน้าที่เตรียมป้องกันบ้านเรือนตนเอง อพยพครอบครัวไปอยู่ในที่ปลอดภัย เพื่อลดความห่วงพะวงในการทำงานช่วยเหลือประชาชน และ ๖.เตรียมการฟื้นฟูหลังน้ำลด สร้างความปลอดภัยความมั่นใจแก่ประชาชน ทั้งนี้ ผลจากน้ำท่วมที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ มีสถานพยาบาลในสังกัดปิดบริการ ๑ แห่ง คือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี น้ำเข้าตัวอาคารสูง ๖๐ เซนติเมตร ได้ย้ายจุดไปให้บริการในจุดที่ประชาชนมารับบริการสะดวก หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้บริการทุกวัน สรุปมีผู้ป่วยทั้งหมด ๔๑,๖๔๙ ราย ส่วนใหญ่ปวดศีรษะ น้ำกัดเท้า และไข้หวัด ด้านสุขภาพจิตพบผู้มีความเครียดสูง ๑๓๙ ราย ซึมเศร้า ๖๔ ราย ทั้งหมดนี้อยู่ในความดูแลของจิตแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวมทั้ง

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...