เตรียมพร้อมรับมือ “ภัยพิบัติ” ฉบับครอบครัว
เตรียมพร้อมรับมือ “ภัยพิบัติ” ฉบับครอบครัว
http://www.motherandcare.in.th/index.php?mode=content&id_run=5&mian=24&id=906
ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้ง โลกร้อน ภัยหนาว ภัยแล้ง ภัยน้ำ แผ่นดินไหว รวมทั้งความแปรปรวนของสภาพอากาศที่เกิดขึ้นทั่วโลกนั้น เป็นสัญญาณที่บอกให้เรารู้ว่าโลกกำลังเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติและมีผลกระทบอย่างรุนแรงและใกล้ตัวขึ้นทุกขณะ จากเหตุการณ์อุทกภัยปีที่แล้ว และเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ภูเก็ต เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทำให้คนไทยตื่นตัว ฉะนั้นเราจึงควรเรียนรู้ และพร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้อย่างมีสติ
ฉบับนี้ทีมงานได้รับรับเกียรติจาก ดร. เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต มาให้ความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มของการเกิดภัยพิบัติที่ใกล้ตัวในบ้านเรา พร้อมกันนี้ นพ. สุทธิ ศฤงคไพบูลย์ จิตแพทย์ รพ.กรุงเทพ ยังมาให้คำแนะนำถึงวิธีการเตรียมความพร้อมทั้งสุขภาพกาย-ใจ และวิธีรับมือกับภัยพิบัติดังนี้ค่ะ
ดร.เสรี ศุภราทิตย์
แนวโน้มการเกิดภัยพิบัติในประเทศไทย
ภัยพิบัติที่จะเกิดในประเทศไทยมีอยู่ 2 ประเภท ประเภทแรก เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ทำให้เกิดภัยพิบัติประเภท น้ำท่วม, น้ำแล้ง, พายุ การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นที่ทำให้น้ำท่วมชายฝั่ง ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน ทำให้ฤดูกาลแปรปรวน ในฤดูแล้งก็จะแล้งจัดเกิดการขาดแคลนน้ำ ในฤดูฝนน้ำก็จะท่วม เกิดน้ำป่าไหลหลาก และจะเกิดขึ้นในระยะยาว นี่คือสิ่งที่คาดการณ์ได้
เรื่องของพายุบ้านเรา อาจจะต้องเจอกับปรากฏการณ์ที่เรียกว่าเอลนินโญ่ , ลานินญ่า จำนวนพายุจะเปลี่ยนแปลงไป ขึ้นอยู่กับปรากฏการณ์พวกนี้ ในระยะยาวแล้วถ้าปรากฏการณ์พวกนี้ยังมีอยู่ พายุก็สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อปีที่แล้วพายุเช้ามาประมาณ 40 ลูก ซึ่งเกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนปีนี้เราคาดว่าพายุน่าจะมีประมาณ 37-38 ลูก นี่คือภัยของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่เราจะต้องเผชิญกันในอนาคต
ภัยพิบัติประเภทที่ 2 คือ ภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับเปลือกโลก คือ เวลาที่เปลือกโลกขยับจะทำให้เกิดแผ่นดินไหว ถ้าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นในทะเลก็จะทำให้เกิดสึนามิดังเช่นที่ผ่านมา การเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ๆ ในประเทศไทยอาจจะไม่ได้เกิดขึ้น แต่ถ้าเกิดขึ้นบริเวณประเทศเพื่อนบ้านเราก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ซึ่งเป็นภัยพิบัติที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้
สถานการณ์อุทกภัยในอนาคต
ผมต้องบอกว่าในอนาคตนั้นท่วมอยู่แล้ว เราหนีไม่พ้นครับ และแนวโน้มจะถี่ขึ้นด้วยเพราะสถานการณ์โลกร้อนขึ้นทุกวัน จากเมื่อก่อนเราเคยคิดว่า 20-30 ปีจะเกิดขึ้นสักครั้ง แต่พอหลังปี พ.ศ. 2538 มา เราเจอเหตุการณ์น้ำท่วม อีกในปี พ.ศ 2545, พ.ศ 2547, พ.ศ 2549, พ.ศ 2553, พ.ศ 2554 นี่เป็นหลักฐานว่าช่วงถี่นั้นแคบเข้ามาทุกที หมายความว่าในอนาคตเราต้องเจออยู่แล้วแน่นอน อีกเหตุผลหนึ่งที่เกิดน้ำท่วมนั้น มาจากการที่มนุษย์เราทำอะไรกันไว้เยอะแยะ แล้วไม่เคยประเมิน เช่น การสร้างคันกั้นน้ำ โดยไม่มีการวางแผนร่วมกัน ต่างคนต่างสร้าง ต่างคนต่างไม่เอาน้ำ
เมื่อน้ำมาปรากฎว่าไม่มีทางให้น้ำไหลไปได้ เพราะเราขาดการวางแผนและการประเมินผลร่วมกัน แนวทางแก้ไขก็คือ การก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วม หรือการก่อสร้างคันกั้นน้ำ รวมถึงการก่อสร้างประตูน้ำตามคู คลองต่างๆ ต้องดำเนินการโดยมีการวางแผนร่วมกัน มีการศึกษาถึงทิศทางน้ำ ส่วนหน่วยเล็กๆ แบบครอบครัวหรือชุมชน ก็ต้องเฝ้าระวังและเรียนรู้หาข้อมูลว่าในพื้นที่ที่เราอยู่มีความเสี่ยงจะเจอภัยพิบัติอะไรบ้าง สร้างบ้านให้แข็งแรงและพร้อมที่จะอยู่ร่วมกับสิ่งเหล่านี้ให้ได้
เตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ
เราต้องเข้าใจและเรียนรู้ว่าเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นมา เราจะช่วยเหลือตัวเองในเบื้องต้นอย่างถูกวิธีอย่างไร ควรปฎิบัติตัวอย่างไร ถ้าเกิดแผ่นดินไหวหากอยู่ในบ้านควรเข้าไปหลบใต้โต๊ะ หรือข้างๆ โซฟา หรือนอนชิดขอบเตียง แล้วใช้หมอนหรือผ้าหนาๆ คลุมศีรษะเพื่อป้องกันสิ่งของตกใส่ ถ้าอยู่บนอาคารสูงก็ควรทำแบบเดียวกัน อย่ารีบร้อนหาทางออกเอง ให้ทำตามที่เจ้าหน้าที่อาคารบอก ไม่ควรใช้ลิฟท์ หรือรีบร้อนวิ่งลงมา เพราะอาคารถูกออกแบบรับแรงแผ่นดินไหวแล้ว ถ้าอยู่ภายนอกอาคาร ควรอยู่ให้ห่างจากรั้วบ้าน เสาไฟฟ้า และอาคารบ้านเรือนระมัดระวังเศษกระจก หรือกระเบื้องหลังคาที่จะตกลงมา และควรหนีไปอยู่บริเวณที่โล่งกว้าง
หากอาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่งแล้วเกิดสึนามิ ให้รีบหนีขึ้นอยู่บบนที่สูงให้เร็วที่สุด แต่อย่าอยู่บริเวณภูเขาหรือหน้าผาเด็ดขาด เพราะอาจเกิดการทรุดตัวได้ ส่วนเรื่องของอุทกภัย เป็นเรื่องของการเตรียมความพร้อมของบ้านที่พักอาศัยและเตรียมตัว เช่น เตรียมเสบียงอาหาร ยารักษาโรค ยาประจําตัว ยาทําแผล เครื่องมือปฐมพยาบาล เงิน และเอกสารสําคัญ เช่น สําเนาบัตรประจําตัว สูติบัตร ทะเบียนบ้าน รูปถ่ายครอบครัวที่มีชื่อที่อยู่ทุกคนด้านหลัง โดยเก็บไว้ในถุงพลาสติกที่ปิดมิดชิดเพื่อป้องกันน้ำ ไฟฉาย ไม้ขีด เทียน แบตเตอรี ควรมีการเตรียมกระเป๋าครอบครัว ซึ่งสามารถหยิบได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดภัย กระเป๋าครอบครัวต้องมีอุปกรณ์ เพียงพอสําหรับ 3 วัน น้ำปริมาณ 3 ลิตรต่อวัน ต่อคน
นอกจากนี้ควรติดตามข่าวสาร จากข่าวท้องถิ่น จังหวัดที่เราอยู่ว่าสถานการณ์และระดับน้ำที่จะท่วมมีการประมาณการไว้แค่ไหนอย่างไรด้วย
เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลความรู้และสามารถติดตามข่าวสารของภัยพิบัติ
www.ndwc.go.th ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติเป็นศูนย์ข้อมูลกลางด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่มีระบบการสื่อสารที่มี คุณภาพในทุกสถานการณ์และมีขีดความสามารถ เพื่อควบคุมและสั่งการณ์ในภาวะวิกฤตและแจ้ง เตือนภัยในระดับมาตรฐานสากล
www.paipibat.com (ขนาดไฟล์: 162) ศูนย์แจ้งเตือน กู้ภัย ให้ความรู้ สู้ข่าวลือ ติดต่อได้อีกช่องทาง คือ ทวิตเตอร์ @Paipibat และ @MrVop
www.seismology.tmd.go.th (ขนาดไฟล์: 1443) สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานเหตุการณ์แผ่นดินไหวทั่วโลก โทรสอบถามได้ที่ 02-366-9410 , 02-399-0969 , 02-399-4547
www.thaiflood.com ศูนย์ข้อมูลเพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ค้นห้าสายด่วนและเบอร์ติดต่อฉุกเฉิน แผนที่ แสดงจุดเกิดอุทกภัยบนทางหลวงทั่วประเทศ จุดรับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยรวมทั้งยอดบริจาค และการกระจายของในพื้นที่ประสบภัย
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เตรียมพร้อมรับมือ “ภัยพิบัติ” ฉบับครอบครัว http://www.motherandcare.in.th/index.php?mode=content&id_run=5&mian=24&id=906 ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้ง โลกร้อน ภัยหนาว ภัยแล้ง ภัยน้ำ แผ่นดินไหว รวมทั้งความแปรปรวนของสภาพอากาศที่เกิดขึ้นทั่วโลกนั้น เป็นสัญญาณที่บอกให้เรารู้ว่าโลกกำลังเผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติและมีผลกระทบอย่างรุนแรงและใกล้ตัวขึ้นทุกขณะ จากเหตุการณ์อุทกภัยปีที่แล้ว และเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ภูเก็ต เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ทำให้คนไทยตื่นตัว ฉะนั้นเราจึงควรเรียนรู้ และพร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้อย่างมีสติ ฉบับนี้ทีมงานได้รับรับเกียรติจาก ดร. เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต มาให้ความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มของการเกิดภัยพิบัติที่ใกล้ตัวในบ้านเรา พร้อมกันนี้ นพ. สุทธิ ศฤงคไพบูลย์ จิตแพทย์ รพ.กรุงเทพ ยังมาให้คำแนะนำถึงวิธีการเตรียมความพร้อมทั้งสุขภาพกาย-ใจ และวิธีรับมือกับภัยพิบัติดังนี้ค่ะ ดร.เสรี ศุภราทิตย์ แนวโน้มการเกิดภัยพิบัติในประเทศไทย ภัยพิบัติที่จะเกิดในประเทศไทยมีอยู่ 2 ประเภท ประเภทแรก เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ทำให้เกิดภัยพิบัติประเภท น้ำท่วม, น้ำแล้ง, พายุ การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นที่ทำให้น้ำท่วมชายฝั่ง ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน ทำให้ฤดูกาลแปรปรวน ในฤดูแล้งก็จะแล้งจัดเกิดการขาดแคลนน้ำ ในฤดูฝนน้ำก็จะท่วม เกิดน้ำป่าไหลหลาก และจะเกิดขึ้นในระยะยาว นี่คือสิ่งที่คาดการณ์ได้ เรื่องของพายุบ้านเรา อาจจะต้องเจอกับปรากฏการณ์ที่เรียกว่าเอลนินโญ่ , ลานินญ่า จำนวนพายุจะเปลี่ยนแปลงไป ขึ้นอยู่กับปรากฏการณ์พวกนี้ ในระยะยาวแล้วถ้าปรากฏการณ์พวกนี้ยังมีอยู่ พายุก็สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อปีที่แล้วพายุเช้ามาประมาณ 40 ลูก ซึ่งเกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนปีนี้เราคาดว่าพายุน่าจะมีประมาณ 37-38 ลูก นี่คือภัยของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่เราจะต้องเผชิญกันในอนาคต ภัยพิบัติประเภทที่ 2 คือ ภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับเปลือกโลก คือ เวลาที่เปลือกโลกขยับจะทำให้เกิดแผ่นดินไหว ถ้าแผ่นดินไหวเกิดขึ้นในทะเลก็จะทำให้เกิดสึนามิดังเช่นที่ผ่านมา การเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ๆ ในประเทศไทยอาจจะไม่ได้เกิดขึ้น แต่ถ้าเกิดขึ้นบริเวณประเทศเพื่อนบ้านเราก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ซึ่งเป็นภัยพิบัติที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ สถานการณ์อุทกภัยในอนาคต ผมต้องบอกว่าในอนาคตนั้นท่วมอยู่แล้ว เราหนีไม่พ้นครับ และแนวโน้มจะถี่ขึ้นด้วยเพราะสถานการณ์โลกร้อนขึ้นทุกวัน จากเมื่อก่อนเราเคยคิดว่า 20-30 ปีจะเกิดขึ้นสักครั้ง แต่พอหลังปี พ.ศ. 2538 มา เราเจอเหตุการณ์น้ำท่วม อีกในปี พ.ศ 2545, พ.ศ 2547, พ.ศ 2549, พ.ศ 2553, พ.ศ 2554 นี่เป็นหลักฐานว่าช่วงถี่นั้นแคบเข้ามาทุกที หมายความว่าในอนาคตเราต้องเจออยู่แล้วแน่นอน อีกเหตุผลหนึ่งที่เกิดน้ำท่วมนั้น มาจากการที่มนุษย์เราทำอะไรกันไว้เยอะแยะ แล้วไม่เคยประเมิน เช่น การสร้างคันกั้นน้ำ โดยไม่มีการวางแผนร่วมกัน ต่างคนต่างสร้าง ต่างคนต่างไม่เอาน้ำ เมื่อน้ำมาปรากฎว่าไม่มีทางให้น้ำไหลไปได้ เพราะเราขาดการวางแผนและการประเมินผลร่วมกัน แนวทางแก้ไขก็คือ การก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วม หรือการก่อสร้างคันกั้นน้ำ รวมถึงการก่อสร้างประตูน้ำตามคู คลองต่างๆ ต้องดำเนินการโดยมีการวางแผนร่วมกัน มีการศึกษาถึงทิศทางน้ำ ส่วนหน่วยเล็กๆ แบบครอบครัวหรือชุมชน ก็ต้องเฝ้าระวังและเรียนรู้หาข้อมูลว่าในพื้นที่ที่เราอยู่มีความเสี่ยงจะเจอภัยพิบัติอะไรบ้าง สร้างบ้านให้แข็งแรงและพร้อมที่จะอยู่ร่วมกับสิ่งเหล่านี้ให้ได้ เตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ เราต้องเข้าใจและเรียนรู้ว่าเมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นมา เราจะช่วยเหลือตัวเองในเบื้องต้นอย่างถูกวิธีอย่างไร ควรปฎิบัติตัวอย่างไร ถ้าเกิดแผ่นดินไหวหากอยู่ในบ้านควรเข้าไปหลบใต้โต๊ะ หรือข้างๆ โซฟา หรือนอนชิดขอบเตียง แล้วใช้หมอนหรือผ้าหนาๆ คลุมศีรษะเพื่อป้องกันสิ่งของตกใส่ ถ้าอยู่บนอาคารสูงก็ควรทำแบบเดียวกัน อย่ารีบร้อนหาทางออกเอง ให้ทำตามที่เจ้าหน้าที่อาคารบอก ไม่ควรใช้ลิฟท์ หรือรีบร้อนวิ่งลงมา เพราะอาคารถูกออกแบบรับแรงแผ่นดินไหวแล้ว ถ้าอยู่ภายนอกอาคาร ควรอยู่ให้ห่างจากรั้วบ้าน เสาไฟฟ้า และอาคารบ้านเรือนระมัดระวังเศษกระจก หรือกระเบื้องหลังคาที่จะตกลงมา และควรหนีไปอยู่บริเวณที่โล่งกว้าง หากอาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่งแล้วเกิดสึนามิ ให้รีบหนีขึ้นอยู่บบนที่สูงให้เร็วที่สุด แต่อย่าอยู่บริเวณภูเขาหรือหน้าผาเด็ดขาด เพราะอาจเกิดการทรุดตัวได้ ส่วนเรื่องของอุทกภัย เป็นเรื่องของการเตรียมความพร้อมของบ้านที่พักอาศัยและเตรียมตัว เช่น เตรียมเสบียงอาหาร ยารักษาโรค ยาประจําตัว ยาทําแผล เครื่องมือปฐมพยาบาล เงิน และเอกสารสําคัญ เช่น สําเนาบัตรประจําตัว สูติบัตร ทะเบียนบ้าน รูปถ่ายครอบครัวที่มีชื่อที่อยู่ทุกคนด้านหลัง โดยเก็บไว้ในถุงพลาสติกที่ปิดมิดชิดเพื่อป้องกันน้ำ ไฟฉาย ไม้ขีด เทียน แบตเตอรี ควรมีการเตรียมกระเป๋าครอบครัว ซึ่งสามารถหยิบได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดภัย กระเป๋าครอบครัวต้องมีอุปกรณ์ เพียงพอสําหรับ 3 วัน น้ำปริมาณ 3 ลิตรต่อวัน ต่อคน นอกจากนี้ควรติดตามข่าวสาร จากข่าวท้องถิ่น จังหวัดที่เราอยู่ว่าสถานการณ์และระดับน้ำที่จะท่วมมีการประมาณการไว้แค่ไหนอย่างไรด้วย เว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลความรู้และสามารถติดตามข่าวสารของภัยพิบัติ www.ndwc.go.th ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติเป็นศูนย์ข้อมูลกลางด้านภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่มีระบบการสื่อสารที่มี คุณภาพในทุกสถานการณ์และมีขีดความสามารถ เพื่อควบคุมและสั่งการณ์ในภาวะวิกฤตและแจ้ง เตือนภัยในระดับมาตรฐานสากล www.paipibat.com ศูนย์แจ้งเตือน กู้ภัย ให้ความรู้ สู้ข่าวลือ ติดต่อได้อีกช่องทาง คือ ทวิตเตอร์ @Paipibat และ @MrVop www.seismology.tmd.go.th สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานเหตุการณ์แผ่นดินไหวทั่วโลก โทรสอบถามได้ที่ 02-366-9410 , 02-399-0969 , 02-399-4547 www.thaiflood.com ศูนย์ข้อมูลเพื่อการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ค้นห้าสายด่วนและเบอร์ติดต่อฉุกเฉิน แผนที่ แสดงจุดเกิดอุทกภัยบนทางหลวงทั่วประเทศ จุดรับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยรวมทั้งยอดบริจาค และการกระจายของในพื้นที่ประสบภัย
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)