นายกฯปูออกมาตรการ90วันอันตรายรับมือภัยแล้ง
นายกฯปูออกมาตรการ90วันอันตรายรับมือภัยแล้ง
เดลินิวส์ออนไลน์ วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 21:42 น.
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/politics/184932 (ขนาดไฟล์: 167)
รัฐบาลออกมาตรการ90วันอันตรายรับมือภัยแล้ว พร้อมเตรียมแผนระยะสั้น-ยาวรับมือ แจกภาชนะเก็บน้ำ-จ้างชาวบ้านขุดลอกคลอง แผนยาวจัดโซนนิ่งพื้นที่เกษตรระดมหน่วยงานทำปฎิทินเพาะปลูกใหม่ “ปลอดประสพ” โวมีแผนรับมือน้ำ 90 ปี
วันนี้ (15 ก.พ. ) ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบนโยบายแนวทางการบริหารจัดการน้ำเพื่อ รับมือภัยแล้งประจำปี 2556 มีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) กระทรวงมหาดไทย เป็นแม่งาน โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม อาทิ คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) นำโดย นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกบอ. สำนักงานนโบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่ง ชาติ (สบอช.) กระทรวงมหาดไทย กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงผวจ. 29 จังหวัดที่ประกาศพื้นที่ภัยแล้ง และจังหวัดที่มีความเสี่ยง เข้าร่วมประชุมพร้อมเพรียง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์ภัยแล้งทวีความรุนแรงและขยายตัวมากขึ้น เพราะสภาพอากาศแปรปรวนซึ่งส่งผลให้ฝนทิ้งช่วงในปลายฤดูฝน และมีฝนเฉลี่ยน้อยกว่าปีที่ผ่านมา รวมถึงน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำน้อยกว่าปีที่แล้วด้วย สร้างความเดือดร้อนต่อประชาชน 22,223 หมู่บ้านใน 29 จังหวัด การประชุมได้พิจารณามาตรการที่รัฐบาลจะดำเนินการในช่วง 90 วันระวังอันตรายต้านภัยแล้ง ระหว่างวันที่ 15 ก.พ.-15 พ.ค.2556 ได้แก่ 1.การจัดการภาชนะบรรจุน้ำกลางประจำหมู่บ้าน ขนาด 2,000-3,000 ลิตร 2.การจัดเตรียมคลังเครื่องมือ ประกอบด้วย รถบรรทุกน้ำ รถสูบน้ำแรงดันสูง ระยะ 3-5 กิโลเมตร และรถผลิตน้ำดื่ม
3.การจัดเตรียมหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง 9 หน่วย คือ จ.นครราชสีมา ขอนแก่น ร้อยเอ็ด อุดรธานี อุบลราชธานี บุรีรัมย์ เชียงใหม่ พิษณุโลก และนครสวรรค์ 4.การขยายเขตประปาส่วนภูมิภาค 74 โครงการ งบประมาณ 36,968,000 บาท 5.การจัดส่งน้ำดิบเข้าสู่ระบบประปา และ6.การพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล ประกอบด้วย การเจาะบ่อบาดาล 2,311 โครงการ งบประมาณ 571,138,500 บาท และการเป่าล้างบ่อบาดาล เป็นต้น
นายปลอดประสพ ให้สัมภาษณ์หลังการประชุม ว่า จากนี้ไปอีก 90 วัน รัฐบาลเกรงว่าอาจจะเกิดการขาดแคลนน้ำขึ้นได้ นายกรัฐมนตรีเป็นห่วงในเรื่องนี้ เพราะน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคนี้เป็นความอยู่รอดของประชาชน นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ดูแลโดยแบ่งเป็น 2 ช่วงคือระยะสั้นและยาว ระยะสั้นแบ่งเป็น 4 ข้อ คือ 1.หาภาชนะกักเก็บน้ำให้ประชาชน เท่าที่มีอยู่ในขณะนี้นำมาใช้ทันที รวมทั้งต้องจัดซื้อเพิ่มเติมเพื่อให้ใช้การได้ทันที ดังนั้นในทุกหมู่บ้าน 2 หมื่นกว่าแห่ง ที่มีปัญหาขาดแคลนน้ำจะต้องมีภาชนะใส่น้ำ ส่วนมากทำจากไฟเบอร์กลาสเทียบเท่ากับตุ่มสมัยก่อน
2. จะจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชนขึ้น ทั้งระดับจังหวัด อำเภอหรือหมู่บ้านแล้วแต่พื้นที่ เครื่องมือเครื่องใช้ของทางราชการทั้งหมด เช่น รถส่งน้ำจะมารวมกันและให้อำนาจฝ่ายปกครองในการใช้ โดยรถขนน้ำจะมีในส่วนของราชการและหากไม่พอจะเช่าจากเอกชน พร้อมทั้งคนขับและผู้ช่วย ให้ไปเติมน้ำมันฟรีที่ปั๊ม ปตท.โดยรัฐบาลจะออกค่าใช้จ่ายให้ อย่างไรก็ตามรัฐบาลยินดีรับการสนับสนุนจากองค์กรเอกชนทั้งหลายด้วย
3.จะขุดบ่อบาดาล และบ่อน้ำตื้น 1 หมื่นบ่อ และ 4.พื้นที่เกษตรเดิมที่มีเกษตรกรทำมาหากินอยู่ แต่ในช่วงนี้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้เพราะภัยแล้ง รัฐบาลจะจ้างประชาชนมาทำอะไรสักอย่าง เพื่อให้ประชาชนมีรายได้ เช่น ขุดลอกคูคลอง ตนจะรวบรวมตัวเลขงบประมาณที่ต้องใช้ในการดำเนินการจากทุกจังหวัด และนำเสนอ ครม.ในวันที่ 19 ก.พ.นี้
นายปลอดประสพ กล่าวว่า ส่วนการแก้ปัญหาระยะยาว มี 3 ข้อ คือ 1. นายกรัฐมนตรีได้สั่งการในเชิงยุทธศาสตร์ ว่าต่อแต่นี้ให้ กบอ.ทำทั้งในเรื่องน้ำท่วม น้ำแล้ง และภัยพิบัติทั้งหลาย โดยให้ กบอ.ทำงานควบคู่กับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทยทุกเรื่อง 2.ให้วางแผนเรื่องน้ำใหม่ โดยเอาน้ำเป็นที่ตั้ง ว่าน้ำมาจากไหน มีจเท่าไร ใครจะใช้อย่างไร เรื่องนี้ กบอ.ก็ทำอยู่ และ 3.นายกรัฐมนตรี ได้ใช้คำว่าอย่าฝืนธรรมชาติ แนวคิดนี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือการปฏิรูปฤดูกาลหรือพื้นที่ในการทำการเกษตรใหม่ของประเทศไทย โดยเพาะปลูกให้เหมาะสมกับพื้นที่ และเวลาในการเพาะปลูกว่าเหมาะกับพืชชนิดไหน ตนจะรับผิดชอบ โดยจะเชิญกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพลังงาน เป็นต้น มาจัดปฏิทินและพื้นที่ในการปลูกพืชใหม่ของประเทศไทย
อย่างไรก็ตามการโซนนิ่งนายกรัฐมนตรีระบุว่าไม่ได้หมายถึงการห้าม แต่เป็นการที่รัฐบาลประกาศว่าพื้นที่ใดเป็นพื้นที่ส่งเสริมให้เพาะปลูก จะได้รับการเกื้อหนุนจากรัฐบาลอย่างเต็มที่ หากท่านไม่สะดวกก็ไม่ได้ว่าอะไร แต่เป็นการให้ทางเลือกใหม่กับประชาชน
นายปลอดประสพ กล่าวอีกว่า ในส่วนของน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคจะไม่ให้ขาดแคลนแน่นอน หัวเด็ดตีนขาดอย่างไรก็ขาดไม่ได้ โดยพื้นที่ใดประสบภัยจะให้นำน้ำไปส่งโดยทางรถไฟ จากที่เคยขนส่งน้ำมัน ก็เปลี่ยนมาขนส่งน้ำแทน ส่วนที่ไหนสะดวกทางรถยนต์ก็ใช้รถยนต์ขนส่ง
เมื่อถามว่าจะน้ำในเขื่อนต่างๆ จะมีพอใช้ในช่วง 3 เดือนจากนี้หรือไม่ นายปลอดประสพ กล่าวว่า จากการพยากรณ์ฝนจะเริ่มเข้ามาในเดือน เม.ย. และฝนใหญ่จะมาในช่วงเดือน พ.ค. และจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ประเทศไทยในอีก 90 ปี ตนเตรียมแผนไว้แล้ว ต่อจากนี้ ในทุกรอบ 30 ปี น้ำจะมากขึ้น แสดงว่าประเทศไทยจะมีน้ำมากต้องระวังและการแล้งจะลดลง เป็นที่แน่นอน ใครไม่เชื่อก็อยู่ดูแล้วกันว่าจะแม่นหรือไม่แม่น.
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นายกฯปูออกมาตรการ90วันอันตรายรับมือภัยแล้ง เดลินิวส์ออนไลน์ วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 21:42 น. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/politics/184932 รัฐบาลออกมาตรการ90วันอันตรายรับมือภัยแล้ว พร้อมเตรียมแผนระยะสั้น-ยาวรับมือ แจกภาชนะเก็บน้ำ-จ้างชาวบ้านขุดลอกคลอง แผนยาวจัดโซนนิ่งพื้นที่เกษตรระดมหน่วยงานทำปฎิทินเพาะปลูกใหม่ “ปลอดประสพ” โวมีแผนรับมือน้ำ 90 ปี วันนี้ (15 ก.พ. ) ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบนโยบายแนวทางการบริหารจัดการน้ำเพื่อ รับมือภัยแล้งประจำปี 2556 มีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) กระทรวงมหาดไทย เป็นแม่งาน โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม อาทิ คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) นำโดย นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกบอ. สำนักงานนโบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่ง ชาติ (สบอช.) กระทรวงมหาดไทย กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงผวจ. 29 จังหวัดที่ประกาศพื้นที่ภัยแล้ง และจังหวัดที่มีความเสี่ยง เข้าร่วมประชุมพร้อมเพรียง ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์ภัยแล้งทวีความรุนแรงและขยายตัวมากขึ้น เพราะสภาพอากาศแปรปรวนซึ่งส่งผลให้ฝนทิ้งช่วงในปลายฤดูฝน และมีฝนเฉลี่ยน้อยกว่าปีที่ผ่านมา รวมถึงน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำน้อยกว่าปีที่แล้วด้วย สร้างความเดือดร้อนต่อประชาชน 22,223 หมู่บ้านใน 29 จังหวัด การประชุมได้พิจารณามาตรการที่รัฐบาลจะดำเนินการในช่วง 90 วันระวังอันตรายต้านภัยแล้ง ระหว่างวันที่ 15 ก.พ.-15 พ.ค.2556 ได้แก่ 1.การจัดการภาชนะบรรจุน้ำกลางประจำหมู่บ้าน ขนาด 2,000-3,000 ลิตร 2.การจัดเตรียมคลังเครื่องมือ ประกอบด้วย รถบรรทุกน้ำ รถสูบน้ำแรงดันสูง ระยะ 3-5 กิโลเมตร และรถผลิตน้ำดื่ม 3.การจัดเตรียมหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง 9 หน่วย คือ จ.นครราชสีมา ขอนแก่น ร้อยเอ็ด อุดรธานี อุบลราชธานี บุรีรัมย์ เชียงใหม่ พิษณุโลก และนครสวรรค์ 4.การขยายเขตประปาส่วนภูมิภาค 74 โครงการ งบประมาณ 36,968,000 บาท 5.การจัดส่งน้ำดิบเข้าสู่ระบบประปา และ6.การพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล ประกอบด้วย การเจาะบ่อบาดาล 2,311 โครงการ งบประมาณ 571,138,500 บาท และการเป่าล้างบ่อบาดาล เป็นต้น นายปลอดประสพ ให้สัมภาษณ์หลังการประชุม ว่า จากนี้ไปอีก 90 วัน รัฐบาลเกรงว่าอาจจะเกิดการขาดแคลนน้ำขึ้นได้ นายกรัฐมนตรีเป็นห่วงในเรื่องนี้ เพราะน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคนี้เป็นความอยู่รอดของประชาชน นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ดูแลโดยแบ่งเป็น 2 ช่วงคือระยะสั้นและยาว ระยะสั้นแบ่งเป็น 4 ข้อ คือ 1.หาภาชนะกักเก็บน้ำให้ประชาชน เท่าที่มีอยู่ในขณะนี้นำมาใช้ทันที รวมทั้งต้องจัดซื้อเพิ่มเติมเพื่อให้ใช้การได้ทันที ดังนั้นในทุกหมู่บ้าน 2 หมื่นกว่าแห่ง ที่มีปัญหาขาดแคลนน้ำจะต้องมีภาชนะใส่น้ำ ส่วนมากทำจากไฟเบอร์กลาสเทียบเท่ากับตุ่มสมัยก่อน 2. จะจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชนขึ้น ทั้งระดับจังหวัด อำเภอหรือหมู่บ้านแล้วแต่พื้นที่ เครื่องมือเครื่องใช้ของทางราชการทั้งหมด เช่น รถส่งน้ำจะมารวมกันและให้อำนาจฝ่ายปกครองในการใช้ โดยรถขนน้ำจะมีในส่วนของราชการและหากไม่พอจะเช่าจากเอกชน พร้อมทั้งคนขับและผู้ช่วย ให้ไปเติมน้ำมันฟรีที่ปั๊ม ปตท.โดยรัฐบาลจะออกค่าใช้จ่ายให้ อย่างไรก็ตามรัฐบาลยินดีรับการสนับสนุนจากองค์กรเอกชนทั้งหลายด้วย 3.จะขุดบ่อบาดาล และบ่อน้ำตื้น 1 หมื่นบ่อ และ 4.พื้นที่เกษตรเดิมที่มีเกษตรกรทำมาหากินอยู่ แต่ในช่วงนี้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้เพราะภัยแล้ง รัฐบาลจะจ้างประชาชนมาทำอะไรสักอย่าง เพื่อให้ประชาชนมีรายได้ เช่น ขุดลอกคูคลอง ตนจะรวบรวมตัวเลขงบประมาณที่ต้องใช้ในการดำเนินการจากทุกจังหวัด และนำเสนอ ครม.ในวันที่ 19 ก.พ.นี้ นายปลอดประสพ กล่าวว่า ส่วนการแก้ปัญหาระยะยาว มี 3 ข้อ คือ 1. นายกรัฐมนตรีได้สั่งการในเชิงยุทธศาสตร์ ว่าต่อแต่นี้ให้ กบอ.ทำทั้งในเรื่องน้ำท่วม น้ำแล้ง และภัยพิบัติทั้งหลาย โดยให้ กบอ.ทำงานควบคู่กับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทยทุกเรื่อง 2.ให้วางแผนเรื่องน้ำใหม่ โดยเอาน้ำเป็นที่ตั้ง ว่าน้ำมาจากไหน มีจเท่าไร ใครจะใช้อย่างไร เรื่องนี้ กบอ.ก็ทำอยู่ และ 3.นายกรัฐมนตรี ได้ใช้คำว่าอย่าฝืนธรรมชาติ แนวคิดนี้จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือการปฏิรูปฤดูกาลหรือพื้นที่ในการทำการเกษตรใหม่ของประเทศไทย โดยเพาะปลูกให้เหมาะสมกับพื้นที่ และเวลาในการเพาะปลูกว่าเหมาะกับพืชชนิดไหน ตนจะรับผิดชอบ โดยจะเชิญกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพลังงาน เป็นต้น มาจัดปฏิทินและพื้นที่ในการปลูกพืชใหม่ของประเทศไทย อย่างไรก็ตามการโซนนิ่งนายกรัฐมนตรีระบุว่าไม่ได้หมายถึงการห้าม แต่เป็นการที่รัฐบาลประกาศว่าพื้นที่ใดเป็นพื้นที่ส่งเสริมให้เพาะปลูก จะได้รับการเกื้อหนุนจากรัฐบาลอย่างเต็มที่ หากท่านไม่สะดวกก็ไม่ได้ว่าอะไร แต่เป็นการให้ทางเลือกใหม่กับประชาชน นายปลอดประสพ กล่าวอีกว่า ในส่วนของน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคจะไม่ให้ขาดแคลนแน่นอน หัวเด็ดตีนขาดอย่างไรก็ขาดไม่ได้ โดยพื้นที่ใดประสบภัยจะให้นำน้ำไปส่งโดยทางรถไฟ จากที่เคยขนส่งน้ำมัน ก็เปลี่ยนมาขนส่งน้ำแทน ส่วนที่ไหนสะดวกทางรถยนต์ก็ใช้รถยนต์ขนส่ง เมื่อถามว่าจะน้ำในเขื่อนต่างๆ จะมีพอใช้ในช่วง 3 เดือนจากนี้หรือไม่ นายปลอดประสพ กล่าวว่า จากการพยากรณ์ฝนจะเริ่มเข้ามาในเดือน เม.ย. และฝนใหญ่จะมาในช่วงเดือน พ.ค. และจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ประเทศไทยในอีก 90 ปี ตนเตรียมแผนไว้แล้ว ต่อจากนี้ ในทุกรอบ 30 ปี น้ำจะมากขึ้น แสดงว่าประเทศไทยจะมีน้ำมากต้องระวังและการแล้งจะลดลง เป็นที่แน่นอน ใครไม่เชื่อก็อยู่ดูแล้วกันว่าจะแม่นหรือไม่แม่น.
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)