1 ทศวรรษ ปภ. จากป้องกันภัยเชิงรุก..สู่จัดการภัยพิบัติยั่งยืน
ในอดีตประเทศไทยไม่มีหน่วยงานหลักรับผิดชอบภารกิจด้านการบริหารจัดการสาธารณภัยโดยตรง การดำเนินการส่วนใหญ่เน้น “การบรรเทาและฟื้นฟู” ซึ่งเป็นขั้นตอนการปฏิบัติหลังเกิดภัย จากการปฎิรูประบบราชการตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้จัดตั้งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) เป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบภารกิจบูรณาการและประสานการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ ซึ่งได้ปรับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการสาธารณภัยให้ครอบคลุมวงจรภัยพิบัติ โดยให้ความสำคัญกับ “การลดผลกระทบและการเตรียมความพร้อม” ในช่วงก่อนเกิดภัย ควบคู่กับ “การจัดการภาวะฉุกเฉิน” ขณะเกิดภัย รวมถึง “การฟื้นฟูบูรณะ” ภายหลังเกิดภัย
ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานกว่า 1 ทศวรรษ ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางของรัฐดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 โดยบูรณาการทุกภาคส่วนบริหารจัดการสาธารณภัยตามหลัก 2P 2R ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของนายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) และเป็นหลักบริหารจัดการสาธารณภัยระดับสากล รวมถึงดำเนินการตามนโยบายเน้นหนักของ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และ พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันภัยเชิงรุกและจัดการภัยพิบัติยั่งยืน ก่อให้เกิดมิติใหม่ในการบริหารจัดการสาธารณภัย ดังนี้
P1 : Prevention (การป้องกัน) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ได้ดำเนินมาตรการที่ใช้โครงสร้าง ซึ่งให้ความสำคัญกับการก่อสร้างเพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระยะยาว ควบคู่กับมาตรการที่ไม่ใช้โครงสร้าง โดยเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการจัดการภัยพิบัติและปลูกฝังจิตสำนึกด้านความปลอดภัยแก่ประชาชนผ่านกลไกการสื่อสารและกระบวนการฝึกอบรม รวมถึงนำกฎหมายผังเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดิน และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการวางแผนป้องกันภัยพิบัติ พร้อมจัดทำแผนแม่บท แผนปฏิบัติการ และแผนเผชิญเหตุเฉพาะพื้นที่ครอบคลุมทุกประเภทภัย สำหรับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยึดเป็นกรอบแนวทางการปฏิบัติที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตลอดจนพัฒนาคลังข้อมูลสาธารณภัยแห่งชาติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสั่งการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ
P2 : Preparation (การเตรียมความพร้อม) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ได้มุ่งส่งเสริมเครือข่ายให้มีความพร้อมในการรับมือและจัดการภัยพิบัติเชิงรุก โดยเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้สามารถจัดการภัยพิบัติได้ในเบื้องต้น พร้อมสร้างเครือข่ายการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับพื้นที่ โดยพัฒนาผู้มีจิตอาสาเป็นกำลังสำคัญในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยของภาครัฐ ทั้งอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน(อปพร.) ทีมกู้ชีพกู้ภัยประจำตำบล(OTOS) มิสเตอร์เตือนภัย และจัดตั้งชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต(ERT) เป็นหน่วยเผชิญเหตุกรณีเกิดวิกฤตภัยขนาดใหญ่ รวมถึงดำเนินการฝึกซ้อมแผนในทุกระดับ เพื่อให้ทุกหน่วยงานได้ซักซ้อมขั้นตอนการตอบโต้สถานการณ์ภัย และประชาชนได้เรียนรู้วิธีปฏิบัติตนอย่างถูกต้องและปลอดภัย ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติระหว่างประเทศโดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน เพื่อเตรียมพร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียน
R1 : Response (การรับมือ) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ได้บริหารจัดการภาวะฉุกเฉินโดยจัดตั้งกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ และประสานจังหวัดจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ส่วนหน้า พร้อมนำระบบบัญชาการเหตุการณ์(Incident Command System : ICS) ภายใต้รูปแบบ Single Command มาใช้ในการสั่งการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ ส่งผลให้การตอบโต้เหตุฉุกเฉินและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยมีเอกภาพ สามารถลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
R2 : Recovery (การฟื้นฟู) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ได้เร่งให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภค อำนวยความสะดวกด้านสิ่งสาธารณูปโภค บริหารจัดการศูนย์พักพิงชั่วคราว ฟื้นฟูสิ่งสาธารณูปการและโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า และช่วยเหลือเยียวยาให้ผู้ประสบภัยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า ปภ. มุ่งมั่นวางรากฐานและพัฒนากลไกการบริหารจัดการสาธารณภัยของประเทศให้เป็นระบบ มีเอกภาพและครอบคลุมทุกมิติตามแนวทาง “ป้องกันภัยเชิงรุกและจัดการภัยพิบัติยั่งยืน” โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม วางระบบอาสาสมัครและขยายเครือข่ายป้องกันภัยให้ครอบคลุมทุกประเภทภัย รวมถึงเร่งสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในสังคมไทย ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือจัดการภัยพิบัติระดับอาเซียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสำคัญในการสร้างความปลอดภัยแก่คนไทย และส่งเสริมให้ประเทศไทยมีมาตรฐานการบริหารจัดการสาธารณภัยในระดับสากล
ในโอกาสครบรอบ 1 ทศวรรษ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงขอเชิญชวนประชาชนส่งบทความเข้าประกวดภายใต้แนวคิด “ป้องกันภัยเชิงรุกและจัดการภัยพิบัติยั่งยืน” ชิงรางวัลเงินสดพร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ รวมมูลค่ากว่า 50,000 บาท เปิดรับผลงานตั้งแต่บัดนี้ถึง 30 เม.ย. 56 ดูรายละเอียดได้ทาง http://www.disaster.go.th (ขนาดไฟล์: 169) สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2637 3466 และ 0 2637 3453
ขอบคุณ...คมชัดลึกรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.พ.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ในอดีตประเทศไทยไม่มีหน่วยงานหลักรับผิดชอบภารกิจด้านการบริหารจัดการสาธารณภัยโดยตรง การดำเนินการส่วนใหญ่เน้น “การบรรเทาและฟื้นฟู” ซึ่งเป็นขั้นตอนการปฏิบัติหลังเกิดภัย จากการปฎิรูประบบราชการตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้จัดตั้งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) เป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบภารกิจบูรณาการและประสานการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ ซึ่งได้ปรับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการสาธารณภัยให้ครอบคลุมวงจรภัยพิบัติ โดยให้ความสำคัญกับ “การลดผลกระทบและการเตรียมความพร้อม” ในช่วงก่อนเกิดภัย ควบคู่กับ “การจัดการภาวะฉุกเฉิน” ขณะเกิดภัย รวมถึง “การฟื้นฟูบูรณะ” ภายหลังเกิดภัย ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานกว่า 1 ทศวรรษ ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางของรัฐดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของประเทศ ภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 โดยบูรณาการทุกภาคส่วนบริหารจัดการสาธารณภัยตามหลัก 2P 2R ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของนายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) และเป็นหลักบริหารจัดการสาธารณภัยระดับสากล รวมถึงดำเนินการตามนโยบายเน้นหนักของ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และ พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันภัยเชิงรุกและจัดการภัยพิบัติยั่งยืน ก่อให้เกิดมิติใหม่ในการบริหารจัดการสาธารณภัย ดังนี้ P1 : Prevention (การป้องกัน) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ได้ดำเนินมาตรการที่ใช้โครงสร้าง ซึ่งให้ความสำคัญกับการก่อสร้างเพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระยะยาว ควบคู่กับมาตรการที่ไม่ใช้โครงสร้าง โดยเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านการจัดการภัยพิบัติและปลูกฝังจิตสำนึกด้านความปลอดภัยแก่ประชาชนผ่านกลไกการสื่อสารและกระบวนการฝึกอบรม รวมถึงนำกฎหมายผังเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดิน และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการวางแผนป้องกันภัยพิบัติ พร้อมจัดทำแผนแม่บท แผนปฏิบัติการ และแผนเผชิญเหตุเฉพาะพื้นที่ครอบคลุมทุกประเภทภัย สำหรับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยึดเป็นกรอบแนวทางการปฏิบัติที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตลอดจนพัฒนาคลังข้อมูลสาธารณภัยแห่งชาติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสั่งการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ P2 : Preparation (การเตรียมความพร้อม) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ได้มุ่งส่งเสริมเครือข่ายให้มีความพร้อมในการรับมือและจัดการภัยพิบัติเชิงรุก โดยเสริมสร้างศักยภาพชุมชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้สามารถจัดการภัยพิบัติได้ในเบื้องต้น พร้อมสร้างเครือข่ายการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับพื้นที่ โดยพัฒนาผู้มีจิตอาสาเป็นกำลังสำคัญในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยของภาครัฐ ทั้งอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน(อปพร.) ทีมกู้ชีพกู้ภัยประจำตำบล(OTOS) มิสเตอร์เตือนภัย และจัดตั้งชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต(ERT) เป็นหน่วยเผชิญเหตุกรณีเกิดวิกฤตภัยขนาดใหญ่ รวมถึงดำเนินการฝึกซ้อมแผนในทุกระดับ เพื่อให้ทุกหน่วยงานได้ซักซ้อมขั้นตอนการตอบโต้สถานการณ์ภัย และประชาชนได้เรียนรู้วิธีปฏิบัติตนอย่างถูกต้องและปลอดภัย ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติระหว่างประเทศโดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน เพื่อเตรียมพร้อมก้าวสู่ประชาคมอาเซียน R1 : Response (การรับมือ) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ได้บริหารจัดการภาวะฉุกเฉินโดยจัดตั้งกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ และประสานจังหวัดจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ส่วนหน้า พร้อมนำระบบบัญชาการเหตุการณ์(Incident Command System : ICS) ภายใต้รูปแบบ Single Command มาใช้ในการสั่งการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ ส่งผลให้การตอบโต้เหตุฉุกเฉินและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยมีเอกภาพ สามารถลดความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างมีประสิทธิภาพ R2 : Recovery (การฟื้นฟู) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) ได้เร่งให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยจัดหาเครื่องอุปโภคบริโภค อำนวยความสะดวกด้านสิ่งสาธารณูปโภค บริหารจัดการศูนย์พักพิงชั่วคราว ฟื้นฟูสิ่งสาธารณูปการและโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า และช่วยเหลือเยียวยาให้ผู้ประสบภัยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า ปภ. มุ่งมั่นวางรากฐานและพัฒนากลไกการบริหารจัดการสาธารณภัยของประเทศให้เป็นระบบ มีเอกภาพและครอบคลุมทุกมิติตามแนวทาง “ป้องกันภัยเชิงรุกและจัดการภัยพิบัติยั่งยืน” โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม วางระบบอาสาสมัครและขยายเครือข่ายป้องกันภัยให้ครอบคลุมทุกประเภทภัย รวมถึงเร่งสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในสังคมไทย ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือจัดการภัยพิบัติระดับอาเซียน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสำคัญในการสร้างความปลอดภัยแก่คนไทย และส่งเสริมให้ประเทศไทยมีมาตรฐานการบริหารจัดการสาธารณภัยในระดับสากล ในโอกาสครบรอบ 1 ทศวรรษ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงขอเชิญชวนประชาชนส่งบทความเข้าประกวดภายใต้แนวคิด “ป้องกันภัยเชิงรุกและจัดการภัยพิบัติยั่งยืน” ชิงรางวัลเงินสดพร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณ รวมมูลค่ากว่า 50,000 บาท เปิดรับผลงานตั้งแต่บัดนี้ถึง 30 เม.ย. 56 ดูรายละเอียดได้ทาง http://www.disaster.go.th สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2637 3466 และ 0 2637 3453 ขอบคุณ...คมชัดลึกรายวัน/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 21 ก.พ.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)