มท.จับมือ ทส.บูรณาการมาตรการแก้ไขปัญหาภัยแล้งตามนโยบายนายกฯ

แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/prg/1595819

ThaiPR.net -- ศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556 16:20:35 น.

มท. บูรณาการ ทส. จัดประชุมกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ เพื่อเชื่อมโยงแก้ไขปัญหาภัยแล้งในมิติเชิงพื้นที่ (Area Approach) ตามแนวทางบริหารจัดการภัยพิบัติ 2P 2R ภายใต้การสั่งการระบบ Single Command ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่เน้นย้ำให้บริหารจัดการน้ำที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยเฉพาะน้ำอุปโภคบริโภค ซึ่งประชาชนต้องมีน้ำใช้อย่างเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้ง ? นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ประธานการประชุมกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ เปิดเผยว่า จากที่นายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายให้ทุกหน่วยงานบูรณาการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดยบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะน้ำอุปโภคบริโภค

ซึ่งประชาชนต้องมีน้ำใช้อย่างเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้ง เพื่อเป็นการติดตามการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี จึงได้จัดประชุมเพื่อกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ ผ่านระบบ Video Conference ร่วมกับ 34 จังหวัดที่ประกาศเป็นเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง)และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ถือเป็นเวทีสำคัญในการเชื่อมโยงแก้ไขปัญหาภัยแล้งในมิติเชิงพื้นที่ (Area Approach) ตามแนวทางบริหารจัดการภัยพิบัติ 2P 2R ภายใต้การสั่งการระบบ Single Command ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับ สภาพความเสี่ยงและความต้องการของประชาชน ในส่วนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ซึ่งรับผิดชอบดูแลจัดหาแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับอุปโภคบริโภค ทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน ได้เร่งดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ โดยจัดลำดับความสำคัญเน้นดำเนินการในพื้นที่ที่ไม่มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ขาดแคลนน้ำอย่างหนัก อยู่ห่างไกล รวมถึงการบรรทุกน้ำเข้าไปแจกจ่ายเป็นไปด้วยความยากลำบากเป็นพิเศษเพื่อให้มีน้ำต้นทุนเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภคของประชาชน

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้วางแผนแก้ไขปัญหาภัยแล้งตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี ซึ่งให้ความสำคัญกับน้ำอุปโภคบริโภค โดยประสานจังหวัดที่ประสบภัยแล้งเร่งดำเนินการจัดหาแหล่งน้ำต้นทุนเพิ่มเติม ทั้งการขุดบ่อน้ำบาดาลการขุดลอกแหล่งน้ำการขนส่งน้ำ รวมถึงสำรวจความต้องการใช้น้ำของประชาชนในพื้นที่ พร้อมตรวจสอบทรัพยากร โดยเฉพาะภาชนะกักเก็บน้ำ ถังน้ำกลาง และรถบรรทุกน้ำ ซึ่งจะได้รวบรวมข้อมูลจัดตั้งเป็นศูนย์คลังเครื่องมือช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งระดับจังหวัด อำเภอ และหมู่บ้าน รวมทั้งสำรวจความต้องการที่จะขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมเพื่อกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจะได้รวบรวมและนำเสนอคณะรัฐมนตรีสนับสนุนการดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาภัยแล้งระยะเร่งด่วนในห้วงเวลา 90 วัน ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ — 15 พฤษภาคม 2556 ทั้งนี้ ปภ.จะได้ประสานความร่วมมือแก้ไขปัญหาภัยแล้งกับทุกจังหวัดอย่างเต็มที่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนซึ่งจะทำให้ประชาชนมีน้ำอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ และผู้ประสบภัยแล้งได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง

ที่มา: ThaiPR.net
วันที่โพสต์: 23/02/2556 เวลา 03:20:19

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/prg/1595819 ThaiPR.net -- ศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556 16:20:35 น. มท. บูรณาการ ทส. จัดประชุมกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ เพื่อเชื่อมโยงแก้ไขปัญหาภัยแล้งในมิติเชิงพื้นที่ (Area Approach) ตามแนวทางบริหารจัดการภัยพิบัติ 2P 2R ภายใต้การสั่งการระบบ Single Command ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่เน้นย้ำให้บริหารจัดการน้ำที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยเฉพาะน้ำอุปโภคบริโภค ซึ่งประชาชนต้องมีน้ำใช้อย่างเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้ง ? นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ประธานการประชุมกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ เปิดเผยว่า จากที่นายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายให้ทุกหน่วยงานบูรณาการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดยบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะน้ำอุปโภคบริโภค ซึ่งประชาชนต้องมีน้ำใช้อย่างเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้ง เพื่อเป็นการติดตามการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับพื้นที่ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี จึงได้จัดประชุมเพื่อกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ประสบภัยพิบัติ ผ่านระบบ Video Conference ร่วมกับ 34 จังหวัดที่ประกาศเป็นเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง)และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ถือเป็นเวทีสำคัญในการเชื่อมโยงแก้ไขปัญหาภัยแล้งในมิติเชิงพื้นที่ (Area Approach) ตามแนวทางบริหารจัดการภัยพิบัติ 2P 2R ภายใต้การสั่งการระบบ Single Command ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับ สภาพความเสี่ยงและความต้องการของประชาชน ในส่วนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งรับผิดชอบดูแลจัดหาแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับอุปโภคบริโภค ทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน ได้เร่งดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ โดยจัดลำดับความสำคัญเน้นดำเนินการในพื้นที่ที่ไม่มีแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ขาดแคลนน้ำอย่างหนัก อยู่ห่างไกล รวมถึงการบรรทุกน้ำเข้าไปแจกจ่ายเป็นไปด้วยความยากลำบากเป็นพิเศษเพื่อให้มีน้ำต้นทุนเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภคของประชาชน นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้วางแผนแก้ไขปัญหาภัยแล้งตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี ซึ่งให้ความสำคัญกับน้ำอุปโภคบริโภค โดยประสานจังหวัดที่ประสบภัยแล้งเร่งดำเนินการจัดหาแหล่งน้ำต้นทุนเพิ่มเติม ทั้งการขุดบ่อน้ำบาดาลการขุดลอกแหล่งน้ำการขนส่งน้ำ รวมถึงสำรวจความต้องการใช้น้ำของประชาชนในพื้นที่ พร้อมตรวจสอบทรัพยากร โดยเฉพาะภาชนะกักเก็บน้ำ ถังน้ำกลาง และรถบรรทุกน้ำ ซึ่งจะได้รวบรวมข้อมูลจัดตั้งเป็นศูนย์คลังเครื่องมือช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งระดับจังหวัด อำเภอ และหมู่บ้าน รวมทั้งสำรวจความต้องการที่จะขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมเพื่อกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจะได้รวบรวมและนำเสนอคณะรัฐมนตรีสนับสนุนการดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาภัยแล้งระยะเร่งด่วนในห้วงเวลา 90 วัน ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ — 15 พฤษภาคม 2556 ทั้งนี้ ปภ.จะได้ประสานความร่วมมือแก้ไขปัญหาภัยแล้งกับทุกจังหวัดอย่างเต็มที่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนซึ่งจะทำให้ประชาชนมีน้ำอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ และผู้ประสบภัยแล้งได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...