ชี้สร้างเขื่อนกั้นแก้น้ำปลายเหตุ ถมคลองตัดถนนเพิ่มปัญหาหนัก
เมื่อวันที่ 12 มี.ค. ที่โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค ถนนรัชดาภิเษก นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นประธานการสัมมนา การจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาตามผังเมือง เพื่อบรรเทาภัยพิบัติ โดยมีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่การเคหะแห่งชาติ เจ้าหน้าที่กรมโยธาธิการและผังเมือง เข้าร่วมงานกว่า 200 คน
นายมณฑล กล่าวว่า กรมฯ มีนโยบายใช้การจัดรูปที่ดินส่งเสริมตัดถนนเป็นการพัฒนาพื้นที่ตามผังเมือง โดยให้โยธาฯแต่ละจังหวัดไปทำให้สำเร็จจังหวัดละ 1 สายทาง โดยให้ทำนำร่องก่อน 10 จังหวัดให้แล้วเสร็จภายในปี 2557 และให้ครบทุกจังหวัดในปี 2558 เพื่อให้ประชาชนเห็นประโยชน์จากการจัดรูปที่ดินและยอมให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมาการตัดถนนตามผังเมืองทำได้ยากมาก เพราะต้องเวนคืนทำให้ถูกต่อต้าน แต่การจัดรูปที่ดินจะสามารถลดปัญหาตรงนี้ได้ ส่วนในพื้นที่กรุงเทพฯ ไม่ได้รวมอยู่ในโครงการนี้ด้วย เนื่องจากเป็นเขตการปกครองพิเศษที่มีความเข้มแข็งและสามารถดำเนินการเองได้ โดยโครงการที่ กทม.ใช้การจัดรูปที่ดินส่วนใหญ่เป็นการแก้ปัญหาที่ตาบอด ซึ่งเห็นเป็นรูปธรรมแถวพื้นที่สวนหลวง ร.9 นอกจากนี้การแก้ปัญหาน้ำท่วมก็สามารถใช้วิธีการจัดรูปแก้ปัญหาคูคลองที่มีลักษณะคดเคี้ยว ทำให้น้ำระบายช้า เช่นที่จังหวัดสมุทรสาครเป็นที่พื้นที่ท้ายน้ำ พบว่ามีคลองบางสายด้วนอยู่ไม่ไหลลงทะเล ก็สามารถใช้วิธีการนี้ไปขุดคลองต่อจากคลองนั้น ๆ ให้น้ำไหลลงทะเลได้ โดยให้โยธาฯ จังหวัดไปเริ่มสำรวจแล้ว และสามารถใช้การจัดรูปทำฟลัดเวย์ได้ด้วย
นายวีระพันธุ์ ชินวัตร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บรรยายพิเศษเรื่อง แนวทางการบริหารจัดการผังเมืองอยู่กับน้ำ กล่าวว่า พื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำผ่าน ซึ่งภูมิปัญญาสมัยโบราณมีวิถีการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับน้ำมาตลอด จะเห็นจากการมีคูคลองหลายเส้น โดยในกรุงเทพฯ เห็นได้ชัดที่ฝั่งธนบุรี แต่ปัจจุบันสังคมเปลี่ยนเป็นสังคมคนบกถมคลองเพื่อตัดถนน เป็นการทำลายเอก ลักษณ์ของเมือง การวางผังเมืองก็ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องนี้ ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมที่อยู่อาศัย เพราะผังเมืองรวมมีช่องโหว่ควบคุมการใช้พื้นที่ไม่ได้จริง และไม่สอดคล้องกันระหว่างผังเมืองของกรุงเทพฯและปริมณฑล อีกทั้งไม่มีการออกผังเมืองเฉพาะ การแก้ปัญหาน้ำท่วม ไปเน้นการทำเขื่อนกั้นจึงเป็นแค่ปลายเหตุ ทำให้น้ำมีแรงดันสูงขึ้น และยังทำลายทัศนียภาพ ซึ่งขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการวางผังเมืองได้พิจารณาส่วนนี้ด้วย.
ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/bkk/190232 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เมื่อวันที่ 12 มี.ค. ที่โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค ถนนรัชดาภิเษก นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นประธานการสัมมนา การจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาตามผังเมือง เพื่อบรรเทาภัยพิบัติ โดยมีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าหน้าที่การเคหะแห่งชาติ เจ้าหน้าที่กรมโยธาธิการและผังเมือง เข้าร่วมงานกว่า 200 คน นายมณฑล กล่าวว่า กรมฯ มีนโยบายใช้การจัดรูปที่ดินส่งเสริมตัดถนนเป็นการพัฒนาพื้นที่ตามผังเมือง โดยให้โยธาฯแต่ละจังหวัดไปทำให้สำเร็จจังหวัดละ 1 สายทาง โดยให้ทำนำร่องก่อน 10 จังหวัดให้แล้วเสร็จภายในปี 2557 และให้ครบทุกจังหวัดในปี 2558 เพื่อให้ประชาชนเห็นประโยชน์จากการจัดรูปที่ดินและยอมให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมาการตัดถนนตามผังเมืองทำได้ยากมาก เพราะต้องเวนคืนทำให้ถูกต่อต้าน แต่การจัดรูปที่ดินจะสามารถลดปัญหาตรงนี้ได้ ส่วนในพื้นที่กรุงเทพฯ ไม่ได้รวมอยู่ในโครงการนี้ด้วย เนื่องจากเป็นเขตการปกครองพิเศษที่มีความเข้มแข็งและสามารถดำเนินการเองได้ โดยโครงการที่ กทม.ใช้การจัดรูปที่ดินส่วนใหญ่เป็นการแก้ปัญหาที่ตาบอด ซึ่งเห็นเป็นรูปธรรมแถวพื้นที่สวนหลวง ร.9 นอกจากนี้การแก้ปัญหาน้ำท่วมก็สามารถใช้วิธีการจัดรูปแก้ปัญหาคูคลองที่มีลักษณะคดเคี้ยว ทำให้น้ำระบายช้า เช่นที่จังหวัดสมุทรสาครเป็นที่พื้นที่ท้ายน้ำ พบว่ามีคลองบางสายด้วนอยู่ไม่ไหลลงทะเล ก็สามารถใช้วิธีการนี้ไปขุดคลองต่อจากคลองนั้น ๆ ให้น้ำไหลลงทะเลได้ โดยให้โยธาฯ จังหวัดไปเริ่มสำรวจแล้ว และสามารถใช้การจัดรูปทำฟลัดเวย์ได้ด้วย นายวีระพันธุ์ ชินวัตร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี บรรยายพิเศษเรื่อง แนวทางการบริหารจัดการผังเมืองอยู่กับน้ำ กล่าวว่า พื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำผ่าน ซึ่งภูมิปัญญาสมัยโบราณมีวิถีการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับน้ำมาตลอด จะเห็นจากการมีคูคลองหลายเส้น โดยในกรุงเทพฯ เห็นได้ชัดที่ฝั่งธนบุรี แต่ปัจจุบันสังคมเปลี่ยนเป็นสังคมคนบกถมคลองเพื่อตัดถนน เป็นการทำลายเอก ลักษณ์ของเมือง การวางผังเมืองก็ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องนี้ ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมที่อยู่อาศัย เพราะผังเมืองรวมมีช่องโหว่ควบคุมการใช้พื้นที่ไม่ได้จริง และไม่สอดคล้องกันระหว่างผังเมืองของกรุงเทพฯและปริมณฑล อีกทั้งไม่มีการออกผังเมืองเฉพาะ การแก้ปัญหาน้ำท่วม ไปเน้นการทำเขื่อนกั้นจึงเป็นแค่ปลายเหตุ ทำให้น้ำมีแรงดันสูงขึ้น และยังทำลายทัศนียภาพ ซึ่งขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการวางผังเมืองได้พิจารณาส่วนนี้ด้วย. ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/bkk/190232
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)