มท.1 เผยระบบเตือนภัยของไทยดีขึ้น

แสดงความคิดเห็น

มท.1ร่วม ปภ.เปิดงานระดมความคิดจัดทำแผนป้องกันภัยฯ ยันการแจ้งเตือนภัยจะมีความรวดเร็วมากขึ้น

วันที่ 7มี.ค. เวลา 12.00 น.ที่ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงงานระดมความคิดเห็นการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการวิพากษ์แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2553 – 2557 ว่า หลักสากลเรื่องภัยพิบัติ ได้กำหนดว่าทุกประเทศต้องมีแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ และจะต้องมีการปรับปรุงทุก 5 ปี ยกเว้นหากมีเหตุภัยพิบัติเกิดขึ้นจะสามารถปรับก่อนเวลาได้ ดังเช่นกรณีของประเทศไทยที่ประสบภัยพิบัติในปี 2554 ทำให้ต้องเร่งปรับแผนฯจากทุก 5 ปี เป็น 3 ปีครึ่ง

"งานนี้เป็นการประชุมสัมมนาเพื่อเป็นเวทีให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ โดยยึดตามแนวพระราชดำริ หลัก 2P 2R การมีส่วนร่วม และยุทธวิธีสร้างสายสัมพันธ์ และเป็นแนวคิดหลักในการจัดทำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2558 – 2562 ให้ครอบคลุมทุกประเภทภัย และทุกมิติของการจัดการภัยพิบัติ ซึ่งจะเชื่อมโยงการบูรณาการและนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อทำแผนในระดับชาติเสร็จแล้ว ระดับจังหวัดก็จะต้องทำแผนฯให้สอดคล้องกับทุกหน่วยราชการ รวมเป็น Single command"นายจารุพงศ์ กล่าว

นอกจากนี้นายจารุพงศ์ กล่าวอีกว่า จะให้ความสำคัญในการทำให้ประชาชนตระหนักและทำความเข้าใจว่าเมื่อทางภาครัฐมีการส่งสัญญาณถึงสถานการณ์ภัยพิบัติว่ามีความรุนแรงระดับไหนแล้ว รวมทั้งต้องมีการให้ความรู้กับเด็ก และเยาวชนตั้งแต่แรกเริ่ม ในการที่จะช่วยตัวเองเป็นสำคัญ

ดังนั้น ต้องมีศูนย์บัญชาการที่เป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อให้การสั่งการเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เรื่องการเตรียมความพร้อมในการซ้อมแผนนั้น จะมีการจำลองเหมือนสถานการณ์จริง เพราะถ้าหากสามารถป้องกันภัยพิบัติได้ ความสูญเสียจะลดลงถึง 8เท่าตัวจากความสูญเสียจริง

"ภัยที่เราเจอประจำคือ หน้าร้อนก็ภัยแล้ง หนัาฝนก็น้ำท่วม และหน้าหนาวก็หนาว เป็น 3 ภัยที่ต้องเจอทุกปีต้องแก้ทุกปี ซึ่งเป็นภัยจากธรรมชาติ ส่วนภัยอื่นๆ ยังมีอีก 18 ประเภท พร้อมยืนยันว่า จากนี้การแจ้งเตือนภัยจะมีความรวดเร็วมากขึ้น และประชาชนสามารถมั่นใจได้ ทั้งยังจะต้องมีการทำความเข้าใจกับสื่อมวลชนและต้องให้การสนับสนุนด้วยว่าชาติมีแผนป้องกันภัยอย่างไร เพราะสื่อเป็นปัจจัยสำคัญในการที่จะทำให้พลังของประชาชนทั้งหมดเดินไปในทิศทางเดียวกัน" นายจารุพงศ์ กล่าว

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวถึงแนวโน้มของแผนฯ ปี 2558-2562 จะมีภัยที่ต้องระวัง ว่า วันนี้ประเทศไทยแบ่งสาธารณภัยออกเป็น 18 ประเภท โดย 4ประเภท เป็นภัยจากความั่นคง ส่วนอีก4 ประเภทเป็นสาธารณภัยที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ หรือภัยจากธรรมชาติ สำหรับภัยที่มีความถี่หรือมีความรุนแรงค่อนข้างมาก คือ อุทกภัย ภัยแล้ง ภัยหนาว ดินโคลนถล่ม หมอกคว้นพิษ วาตภัย เป็นภัยประจำถิ่นที่เกิดขึ้นเป็นประจำและทวีความรุนแรงขึ้น

ขอบคุณ http://www.posttoday.com/สังคม/สังคมทั่วไป/208895/มท-1-เผยระบบเตือนภัยของไทยดีขึ้น (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: โพสต์ทูเดย์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 7 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 10/03/2556 เวลา 03:43:16

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

มท.1ร่วม ปภ.เปิดงานระดมความคิดจัดทำแผนป้องกันภัยฯ ยันการแจ้งเตือนภัยจะมีความรวดเร็วมากขึ้น วันที่ 7มี.ค. เวลา 12.00 น.ที่ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงงานระดมความคิดเห็นการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการวิพากษ์แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2553 – 2557 ว่า หลักสากลเรื่องภัยพิบัติ ได้กำหนดว่าทุกประเทศต้องมีแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ และจะต้องมีการปรับปรุงทุก 5 ปี ยกเว้นหากมีเหตุภัยพิบัติเกิดขึ้นจะสามารถปรับก่อนเวลาได้ ดังเช่นกรณีของประเทศไทยที่ประสบภัยพิบัติในปี 2554 ทำให้ต้องเร่งปรับแผนฯจากทุก 5 ปี เป็น 3 ปีครึ่ง "งานนี้เป็นการประชุมสัมมนาเพื่อเป็นเวทีให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมวิเคราะห์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ โดยยึดตามแนวพระราชดำริ หลัก 2P 2R การมีส่วนร่วม และยุทธวิธีสร้างสายสัมพันธ์ และเป็นแนวคิดหลักในการจัดทำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2558 – 2562 ให้ครอบคลุมทุกประเภทภัย และทุกมิติของการจัดการภัยพิบัติ ซึ่งจะเชื่อมโยงการบูรณาการและนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อทำแผนในระดับชาติเสร็จแล้ว ระดับจังหวัดก็จะต้องทำแผนฯให้สอดคล้องกับทุกหน่วยราชการ รวมเป็น Single command"นายจารุพงศ์ กล่าว นอกจากนี้นายจารุพงศ์ กล่าวอีกว่า จะให้ความสำคัญในการทำให้ประชาชนตระหนักและทำความเข้าใจว่าเมื่อทางภาครัฐมีการส่งสัญญาณถึงสถานการณ์ภัยพิบัติว่ามีความรุนแรงระดับไหนแล้ว รวมทั้งต้องมีการให้ความรู้กับเด็ก และเยาวชนตั้งแต่แรกเริ่ม ในการที่จะช่วยตัวเองเป็นสำคัญ ดังนั้น ต้องมีศูนย์บัญชาการที่เป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อให้การสั่งการเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เรื่องการเตรียมความพร้อมในการซ้อมแผนนั้น จะมีการจำลองเหมือนสถานการณ์จริง เพราะถ้าหากสามารถป้องกันภัยพิบัติได้ ความสูญเสียจะลดลงถึง 8เท่าตัวจากความสูญเสียจริง "ภัยที่เราเจอประจำคือ หน้าร้อนก็ภัยแล้ง หนัาฝนก็น้ำท่วม และหน้าหนาวก็หนาว เป็น 3 ภัยที่ต้องเจอทุกปีต้องแก้ทุกปี ซึ่งเป็นภัยจากธรรมชาติ ส่วนภัยอื่นๆ ยังมีอีก 18 ประเภท พร้อมยืนยันว่า จากนี้การแจ้งเตือนภัยจะมีความรวดเร็วมากขึ้น และประชาชนสามารถมั่นใจได้ ทั้งยังจะต้องมีการทำความเข้าใจกับสื่อมวลชนและต้องให้การสนับสนุนด้วยว่าชาติมีแผนป้องกันภัยอย่างไร เพราะสื่อเป็นปัจจัยสำคัญในการที่จะทำให้พลังของประชาชนทั้งหมดเดินไปในทิศทางเดียวกัน" นายจารุพงศ์ กล่าว นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวถึงแนวโน้มของแผนฯ ปี 2558-2562 จะมีภัยที่ต้องระวัง ว่า วันนี้ประเทศไทยแบ่งสาธารณภัยออกเป็น 18 ประเภท โดย 4ประเภท เป็นภัยจากความั่นคง ส่วนอีก4 ประเภทเป็นสาธารณภัยที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ หรือภัยจากธรรมชาติ สำหรับภัยที่มีความถี่หรือมีความรุนแรงค่อนข้างมาก คือ อุทกภัย ภัยแล้ง ภัยหนาว ดินโคลนถล่ม หมอกคว้นพิษ วาตภัย เป็นภัยประจำถิ่นที่เกิดขึ้นเป็นประจำและทวีความรุนแรงขึ้น ขอบคุณ http://www.posttoday.com/สังคม/สังคมทั่วไป/208895/มท-1-เผยระบบเตือนภัยของไทยดีขึ้น

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...