"กสทช."เชิญ"สื่อฯ"นั่งถกแนวทางเตือนภัยพิบัติ

แสดงความคิดเห็น

วันที่ 28 มี.ค. 56ที่ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 3 โรงแรมเซนจูรี่ปาร์ค สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “แนวทางปฏิบัติของสื่อมวลชนเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร กรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์” เพื่อเป็นไปตามประกาศพระราชบัญญัติจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ระบุให้กสทช.มีอำนาจดูแลให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และรวดเร็ว ดังนั้นกสทช.จึงดำเนินการให้สื่อมวลชนได้บูรณาการความรู้ ความเข้าใจในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหากเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินขึ้นใน ประเทศไทย

นายประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการสำนักงานกสทช. เปิดเผยถึงการประชุมหาแนวทางปฎิบัติว่า เพื่อให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ เคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม และวิทยุชุมชนที่นำเสนอ ข่าวสาร สู่พื้นที่ทั่วประเทศ ได้ปฏิบัติแจ้งเตือนภัยให้ประชาชนทราบในช่องทางต่างๆ ขณะเดียวกันกสทช.ได้ขอความร่วมมือสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย นำเสนอแผนเตรียมความพร้อม ป้องกัน แก้ไข และการบรรเทาเหตุการณ์ มายังกสทช.เพื่อสามารถติดตามการกำกับดูแลกันเองของสื่อมวลชนได้

อย่างไรก็ตามศูนย์เตือนภัยพิบัติได้ดำเนินการแจ้งเตือนภัยพิบัติสู่ประชาชน หลากหลายช่องทาง ได้แก่ ผ่านข้อความเอสเอ็มเอสผ่านทางโทรศัพท์มือถือจำนวน 20 ล้านเครื่อง ส่งแฟกส์อัตโนมัติ โทรศัพท์สายตรง ส่งทางอีเมล์ ออกรายการถ่ายทอดสด อาทิ โทรทัศน์ร่วมการเฉพาะกิจ หรือ ป้ายประชาสัมพันธ์ โดยขั้นตอนการเตือนภัยจะส่งผ่านสัญญาณดาวเทียมไปยังหอเตือนภัยทั่วประเทศรวม กว่า 328 แห่ง และศาลากลางจังหวัด , หอกระจายข่าว จำนวน 654 แห่ง การแจ้งเครื่องวิทยุสื่อสารเตือนภัยของผู้ใหญ่บ้านจำนวน 1,590 เครื่องครอบคลุมทั่วประเทศ ทั้งนี้หอการะจายเสียงสามารถส่งสัญญาณได้ในรัศมี 4 กิโลเมตรและมีภาษาที่ใช้แจ้งเตือนภัย ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน ภาษาจีน และภาษาญี่ปุ่น ซึ่งจะครอบคลุมได้ทั้งประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย

ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/technology/193742 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 มี.ค.56
วันที่โพสต์: 31/03/2556 เวลา 03:05:48

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

วันที่ 28 มี.ค. 56ที่ห้องแกรนด์บอลรูม ชั้น 3 โรงแรมเซนจูรี่ปาร์ค สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “แนวทางปฏิบัติของสื่อมวลชนเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร กรณีเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์” เพื่อเป็นไปตามประกาศพระราชบัญญัติจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ระบุให้กสทช.มีอำนาจดูแลให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และรวดเร็ว ดังนั้นกสทช.จึงดำเนินการให้สื่อมวลชนได้บูรณาการความรู้ ความเข้าใจในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารหากเกิดภัยพิบัติหรือเหตุฉุกเฉินขึ้นใน ประเทศไทย นายประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการสำนักงานกสทช. เปิดเผยถึงการประชุมหาแนวทางปฎิบัติว่า เพื่อให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ได้แก่ สถานีโทรทัศน์ เคเบิลทีวี ทีวีดาวเทียม และวิทยุชุมชนที่นำเสนอ ข่าวสาร สู่พื้นที่ทั่วประเทศ ได้ปฏิบัติแจ้งเตือนภัยให้ประชาชนทราบในช่องทางต่างๆ ขณะเดียวกันกสทช.ได้ขอความร่วมมือสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย นำเสนอแผนเตรียมความพร้อม ป้องกัน แก้ไข และการบรรเทาเหตุการณ์ มายังกสทช.เพื่อสามารถติดตามการกำกับดูแลกันเองของสื่อมวลชนได้ อย่างไรก็ตามศูนย์เตือนภัยพิบัติได้ดำเนินการแจ้งเตือนภัยพิบัติสู่ประชาชน หลากหลายช่องทาง ได้แก่ ผ่านข้อความเอสเอ็มเอสผ่านทางโทรศัพท์มือถือจำนวน 20 ล้านเครื่อง ส่งแฟกส์อัตโนมัติ โทรศัพท์สายตรง ส่งทางอีเมล์ ออกรายการถ่ายทอดสด อาทิ โทรทัศน์ร่วมการเฉพาะกิจ หรือ ป้ายประชาสัมพันธ์ โดยขั้นตอนการเตือนภัยจะส่งผ่านสัญญาณดาวเทียมไปยังหอเตือนภัยทั่วประเทศรวม กว่า 328 แห่ง และศาลากลางจังหวัด , หอกระจายข่าว จำนวน 654 แห่ง การแจ้งเครื่องวิทยุสื่อสารเตือนภัยของผู้ใหญ่บ้านจำนวน 1,590 เครื่องครอบคลุมทั่วประเทศ ทั้งนี้หอการะจายเสียงสามารถส่งสัญญาณได้ในรัศมี 4 กิโลเมตรและมีภาษาที่ใช้แจ้งเตือนภัย ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาเยอรมัน ภาษาจีน และภาษาญี่ปุ่น ซึ่งจะครอบคลุมได้ทั้งประชาชนและนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/technology/193742

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...