กล้อง 'ซีซีทีวี' ทั่วกรุง ถูกรวมเป็นหนึ่งเดียว ปรับโฉมเป็น 'ศูนย์ภัยพิบัติแห่งชาติ'
- จอรวมภาพจากกล้อง 'ซีซีทีวี'
- ห้องปฏิบัติงานรวมภาพจากกล้อง 'ซีซีทีวี'
- เจ้าหน้าที่ควบคุมดูภาพจากกล้อง 'ซีซีทีวี'
- ห้องศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร(บก.02)
หลังจากที่ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมกองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) และศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) ถนนวิภาวดีรังสิต เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา และมีแนวคิดที่ให้ บก.02 เป็นศูนย์การสั่งการแก้ปัญหาการจราจรทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่เฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจเท่านั้น เพื่อให้สามารถเกิดการบูรณาการและแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องรอบด้านและรวดเร็ว จากทุกภาคส่วน
นอกจากจะให้เป็นศูนย์ควบคุมและสั่งการการแก้ปัญหาการจราจรในพื้นที่กรุงเทพฯ แล้ว ยังจะขยายศูนย์ดังกล่าวให้เป็นศูนย์ภัยพิบัติแห่งชาติ เป็นศูนย์กลางการสั่งการการแก้ปัญหาภัยพิบัติต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งการสั่งการการแก้ปัญหาภัยพิบัติทั่วประเทศจะอยู่ที่นี่ โดยให้เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านต่าง ๆ มาประจำการ ให้ข้อมูล เพื่อช่วยกันแก้ปัญหา และสั่งการด้านต่าง ๆ ในภาวะวิกฤติหรือช่วงที่เกิดภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วมในพื้นที่ต่าง ๆ น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม ส่วนในภาวะปกติ ก็จะเป็นศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร ตามเดิม
โดยหลักการจะเป็นการเชื่อมต่อ ระบบซีซีทีวี ของหน่วยราชการไว้ทั้งหมด ซึ่งขณะนี้ บก.จร. อยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดการจัดตั้งศูนย์ภัยพิบัติแห่งชาติ ภายในงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรมา 700 ล้านบาท เป็นงบการก่อสร้าง ตกแต่งอาคารสถานที่ของ บก.จร.เดิม ให้มีความเหมาะสมเป็นศูนย์สั่งการระดับประเทศ ส่วนอีก 400 ล้านบาท เป็นค่าติดตั้งระบบกล้องซีซีทีวี และระบบเชื่อมต่อต่าง ๆ โดยจะมีการย้ายศูนย์ซีซีทีวีของ 191 มารวมกับ บก.02 ซีซีทีวีของ กทม. ทั้งหมด ซึ่งจะสามารถเรียกภาพจากทุกจุดทั่วประเทศมาดูที่นี่ได้ โดยมีกระทรวงไอซีทีช่วยให้การสนับสนุน โดยที่ศูนย์จะมีจอมอนิเตอร์เพิ่มจาก 150 จอ ใน 48 ถนน จะเพิ่มเป็น 800 กว่าจอ และดูภาพได้ทั่วประเทศ
พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย ผบก.จร. เปิดเผยว่า เมื่อการติดตั้งระบบทั้ง 2 ส่วนแล้วเสร็จ ตามแผนคาดว่าจะเปิดใช้ศูนย์ภัยพิบัติแห่งชาติได้ในเดือน ต.ค. 2556 ที่ศูนย์นี้จะสามารถควบคุมและสั่งการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ทั่วประเทศ เช่น หากมีน้ำท่วมพื้นที่ภาคใต้ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะส่งเจ้าหน้าที่ที่สามารถตัดสินใจได้ มานั่งประจำการที่ศูนย์นี้ และคอยให้ข้อมูลจากกล้องที่เชื่อมต่อมาจากหน่วยงานของตนเอง เพื่อบูรณาการข้อมูลในการแก้ไขปัญหา แล้วสั่งการไปยังเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่นั้น ๆ แต่เมื่ออยู่ในสภาวะปกติ ศูนย์นี้จะใช้เป็นที่ควบคุมและสั่งการจราจร ตามปกติ แต่ถึงจะมีสภาวะฉุกเฉิน ก็จะไม่มีผลกระทบต่อการสั่งการจราจรในพื้นที่กรุงเทพฯ เพราะยังสามารถมอนิเตอร์สภาพพื้นที่ต่าง ๆ ได้ตามปกติ ซึ่งจะเป็นการบูรณาการรวมงานจราจร งานป้องกัน และงานปราบปรามเข้าด้วยกัน
พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวต่อว่า ในการปรับปรุงศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร เดิมและเพิ่มหน้าที่เป็นศูนย์สั่งการภัยพิบัติแห่งชาติ มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดพื้นที่ตึก บก.จร.ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามานั่งทำงาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเจ้าหน้าที่ บก.จร. อาจต้องขยับขยายตำแหน่งการทำงานกันใหม่ หากไม่เพียงพอก็ต้องต่อเติม ซึ่งไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไร เป็นเรื่องที่สามารถแก้ไขได้
ทั้งนี้หากมองอย่างผิวเผิน เหมือนจะเพิ่มความรุงรังขึ้นภายในศูนย์ซีซีทีวี แต่ในความเป็นจริงจะเป็นการต่อเชื่อมการทำงานของทุกหน่วยงานเข้าด้วยกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานมากกว่า.
ประพิม เก่งกรีฑาพล / รายงาน
ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/bkk/191210 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
(จอรวมภาพจากกล้อง 'ซีซีทีวี') (ห้องปฏิบัติงานรวมภาพจากกล้อง 'ซีซีทีวี') (เจ้าหน้าที่ควบคุมดูภาพจากกล้อง 'ซีซีทีวี') (ห้องศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร(บก.02)) หลังจากที่ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมกองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร.) และศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) ถนนวิภาวดีรังสิต เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา และมีแนวคิดที่ให้ บก.02 เป็นศูนย์การสั่งการแก้ปัญหาการจราจรทั่วพื้นที่กรุงเทพฯ ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่เฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจเท่านั้น เพื่อให้สามารถเกิดการบูรณาการและแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องรอบด้านและรวดเร็ว จากทุกภาคส่วน นอกจากจะให้เป็นศูนย์ควบคุมและสั่งการการแก้ปัญหาการจราจรในพื้นที่กรุงเทพฯ แล้ว ยังจะขยายศูนย์ดังกล่าวให้เป็นศูนย์ภัยพิบัติแห่งชาติ เป็นศูนย์กลางการสั่งการการแก้ปัญหาภัยพิบัติต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งการสั่งการการแก้ปัญหาภัยพิบัติทั่วประเทศจะอยู่ที่นี่ โดยให้เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านต่าง ๆ มาประจำการ ให้ข้อมูล เพื่อช่วยกันแก้ปัญหา และสั่งการด้านต่าง ๆ ในภาวะวิกฤติหรือช่วงที่เกิดภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วมในพื้นที่ต่าง ๆ น้ำป่าไหลหลาก ดินถล่ม ส่วนในภาวะปกติ ก็จะเป็นศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร ตามเดิม โดยหลักการจะเป็นการเชื่อมต่อ ระบบซีซีทีวี ของหน่วยราชการไว้ทั้งหมด ซึ่งขณะนี้ บก.จร. อยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียดการจัดตั้งศูนย์ภัยพิบัติแห่งชาติ ภายในงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรมา 700 ล้านบาท เป็นงบการก่อสร้าง ตกแต่งอาคารสถานที่ของ บก.จร.เดิม ให้มีความเหมาะสมเป็นศูนย์สั่งการระดับประเทศ ส่วนอีก 400 ล้านบาท เป็นค่าติดตั้งระบบกล้องซีซีทีวี และระบบเชื่อมต่อต่าง ๆ โดยจะมีการย้ายศูนย์ซีซีทีวีของ 191 มารวมกับ บก.02 ซีซีทีวีของ กทม. ทั้งหมด ซึ่งจะสามารถเรียกภาพจากทุกจุดทั่วประเทศมาดูที่นี่ได้ โดยมีกระทรวงไอซีทีช่วยให้การสนับสนุน โดยที่ศูนย์จะมีจอมอนิเตอร์เพิ่มจาก 150 จอ ใน 48 ถนน จะเพิ่มเป็น 800 กว่าจอ และดูภาพได้ทั่วประเทศ พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย ผบก.จร. เปิดเผยว่า เมื่อการติดตั้งระบบทั้ง 2 ส่วนแล้วเสร็จ ตามแผนคาดว่าจะเปิดใช้ศูนย์ภัยพิบัติแห่งชาติได้ในเดือน ต.ค. 2556 ที่ศูนย์นี้จะสามารถควบคุมและสั่งการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ทั่วประเทศ เช่น หากมีน้ำท่วมพื้นที่ภาคใต้ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะส่งเจ้าหน้าที่ที่สามารถตัดสินใจได้ มานั่งประจำการที่ศูนย์นี้ และคอยให้ข้อมูลจากกล้องที่เชื่อมต่อมาจากหน่วยงานของตนเอง เพื่อบูรณาการข้อมูลในการแก้ไขปัญหา แล้วสั่งการไปยังเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่นั้น ๆ แต่เมื่ออยู่ในสภาวะปกติ ศูนย์นี้จะใช้เป็นที่ควบคุมและสั่งการจราจร ตามปกติ แต่ถึงจะมีสภาวะฉุกเฉิน ก็จะไม่มีผลกระทบต่อการสั่งการจราจรในพื้นที่กรุงเทพฯ เพราะยังสามารถมอนิเตอร์สภาพพื้นที่ต่าง ๆ ได้ตามปกติ ซึ่งจะเป็นการบูรณาการรวมงานจราจร งานป้องกัน และงานปราบปรามเข้าด้วยกัน พล.ต.ต.ปิยะ กล่าวต่อว่า ในการปรับปรุงศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร เดิมและเพิ่มหน้าที่เป็นศูนย์สั่งการภัยพิบัติแห่งชาติ มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดพื้นที่ตึก บก.จร.ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้ามานั่งทำงาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเจ้าหน้าที่ บก.จร. อาจต้องขยับขยายตำแหน่งการทำงานกันใหม่ หากไม่เพียงพอก็ต้องต่อเติม ซึ่งไม่ใช่ปัญหาใหญ่อะไร เป็นเรื่องที่สามารถแก้ไขได้ ทั้งนี้หากมองอย่างผิวเผิน เหมือนจะเพิ่มความรุงรังขึ้นภายในศูนย์ซีซีทีวี แต่ในความเป็นจริงจะเป็นการต่อเชื่อมการทำงานของทุกหน่วยงานเข้าด้วยกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานมากกว่า. ประพิม เก่งกรีฑาพล / รายงาน ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/bkk/191210
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)