ในหลวง'ทรงห่วง วิกฤติน้ำ ออกรพ.ได้จะไปช่วย

แสดงความคิดเห็น

พระตราสัญลักษณ์อักษรพระนามย่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

มีรับสั่งกับนายกฯ พร้อมแนะแนวทาง แก้ปัญหา-ภัยแล้ง ตลอดจน‘อุทกภัย’

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายกรัฐมนตรี นำคณะผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและเจ้าหน้าที่ที่ เกี่ยวข้อง เฝ้าฯ กราบบังคมทูลรายงานความก้าวหน้าเกี่ยวกับการวางระบบบริหารจัดการทรัพยากร น้ำ ขณะที่กระทรวงเกษตรฯ คาดการณ์น้ำต้นทุนในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำของประเทศมีเพียงพอใช้ตลอดช่วงฤดู แล้ง ชี้กรมอุตุฯ ยืนยันหน้าฝนปีนี้น้ำมาไว ฟันธงไทยรอดภัยแล้งชัวร์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ ห้องประชุมสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช เมื่อเวลา 17.06 น. วันที่ 3 เม.ย. พระราชทานพระบรมราชวโรกาส ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นำนายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรี และนายสมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งใหม่ เฝ้าฯถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ โอกาสนี้ นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรีและนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ร่วมเข้าเฝ้าฯด้วย

จากนั้นพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นางสาวยิ่ง ลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นำคณะผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและเจ้าหน้าที่ที่ เกี่ยวข้อง เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท กราบบังคมทูลรายงานความก้าวหน้า เกี่ยวกับการวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พร้อมกันนี้ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรายงานการบริหารจัดการน้ำและแก้ไขปัญหาอุทกภัยแห่ง ชาติ และกล้องถ่ายภาพ PENTAX รุ่น Q10 จำนวน 1 กล้อง เพื่อทรงใช้ตามพระราชอัธยาศัย

สำหรับความก้าวหน้าของการวางระบบ บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อป้องกันอุทกภัยและภัยแล้ง รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ขึ้นเป็นศูนย์กลางดูแลรับผิดชอบในเรื่องดังกล่าว การนี้ ได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ อย่างบูรณาการ ครอบคลุมพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ อาทิ การอนุรักษ์และเร่งรัดฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำ โดยระยะแรก จัดทำโครงการประชาอาสาปลูกป่า 100 ล้านกล้า 80 พรรษามหาราชินี เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

ส่วนในระยะ ยาวนั้น ดำเนินการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ จำนวน 8 ล้าน 5 แสนไร่ โดยเน้นปลูกไม้ที่หลากหลายอย่างสมดุล เพื่อซึมซับและชะลอการ ไหลบ่าของน้ำ การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กและขนาดกลางเพิ่มเติมบริเวณลุ่มน้ำยมและลุ่ม น้ำน่าน ตลอดจนพัฒนาพื้นที่แก้มลิงจากแหล่งน้ำธรรมชาติ แหล่งน้ำชุมชน และขุดลอกแม่น้ำลำคลองเพื่อเชื่อมต่อพื้นที่รับน้ำต่างๆเข้าด้วยกัน รวมถึงการขยายเส้นทางน้ำและขุดคลองลัดระบายน้ำออกสู่อ่าวไทย ทั้งด้านตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมทั้งติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ปิดล้อม มิให้เป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำในภาพรวม นอกจากนี้ ยังได้ก่อตั้งศูนย์คลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ ไว้เป็นแหล่งเชื่อมโยงข้อมูลน้ำระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาใช้วิเคราะห์และแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำล่วงหน้าด้วย กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้รัฐบาลเชื่อว่าจะสามารถบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภาวะขาดแคลนน้ำในช่วง ฤดูแล้งได้อย่างยั่งยืนและสมดุลต่อไป

จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวตรัส ถามคณะกรรมการน้ำ และทรงมีพระราชกระแสรับสั่งใจความสำคัญว่า แผนที่ที่นำมาเสนอนั้นมีมาตราส่วนเล็กเกินไป ควรจะทำให้ใหญ่กว่านี้ และมีระดับความสูง-ต่ำของพื้นที่ด้วย อีกทั้งควรอยู่ในแผ่นเดียวกันทั้งหมด ภาษาที่ปรากฏอยู่ในแผนที่นั้นมีภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น สื่อความหมายยาก เป็นแผนที่ที่ใช้งานยาก เป็นของเล่นที่ยาก อยู่โรงพยาบาลมา 3 ปี ไม่ได้ไปไหน แต่ถ้าได้ไปไหนบ้างก็จะช่วยได้บ้าง เวลาที่ไปภาคเหนือโดยเฮลิคอปเตอร์ไปภาคเหนือ จะมีแผนที่ติดตัวตลอด ซึ่งมีแผ่นเดียวสามารถพับทบ ไปมาได้ ไม่แยกชิ้นส่วนเช่นแผนที่นี้พับไม่ได้ ถ้าออกจากโรงพยาบาลได้เมื่อไหร่ก็คงจะช่วยได้มากกว่านี้

วันเดียว กัน นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการวางแผนและติดตามการป้องกันและ แก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร ว่า ตามที่กรมชลประทานได้กำหนดแผนการใช้น้ำทั้งประเทศ ในช่วงฤดูแล้งรวม 23,570 ล้าน ลบ.ม. ขณะนี้ได้จัดสรรน้ำไปแล้วรวม 17,368 ล้าน ลบ.ม.หรือคิดเป็น 74% ของแผนการจัดสรรน้ำ จากการประมาณการณ์ของกรมชลฯ และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยืนยันว่าในช่วงเวลาที่เหลือของฤดูแล้งอีกประมาณ 1-2 เดือนนี้ จะมีน้ำใช้เพียงพอจนถึงต้นฤดูฝนอย่างแน่นอน และกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า ช่วงเดือน พ.ค.ฝนจะมาเร็วกว่าปกติ เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว จะมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าสู่ประเทศไทย ทำให้เกิดฝนตกเติมน้ำในเขื่อนและแหล่งกักเก็บน้ำต่างๆของประเทศ

ทั้งนี้ จากการสำรวจน้ำต้นทุนในพื้นที่ต่างๆ พบว่ายังคงมีเพียงพอและเกษตรกรได้รับผลกระทบเล็กน้อย เนื่องจากได้มีการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรงดปลูกข้าวนาปรังในช่วงหน้าแล้ง ได้รับความร่วมมือด้วยดีจากเกษตรกร จึงทำให้พื้นที่ปลูกข้าวเสียหายเพียงเล็กน้อย โดยช่วงภัยแล้งตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงปัจจุบัน พบว่าด้านพืชได้รับผลกระทบเพียง 2 จังหวัด ได้แก่ เชียงรายและอุตรดิตถ์ พื้นที่เสียหายรวม 1,202 ไร่เท่านั้น ด้านประมงมีความเสียหายใน 1 จังหวัด คือ มหาสารคาม พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำคาดว่าจะเสียหาย 1,121 ไร่ ขณะนี้อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย ส่วนด้านปศุสัตว์ไม่มีรายงานผลกระทบ

สำหรับ สถานการณ์น้ำและภัยแล้งที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปีนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สาเหตุมาจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำลดลงอย่างผิดสังเกต เนื่องมาจากช่วงต้นปี 2555 รัฐบาลมีนโยบายให้กรมชลประทาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ดำเนินการพร่องน้ำออกจากเขื่อนให้เหลือเพียงร้อยละ 40-50 ของความจุอ่างฯ เพราะเกรงจะเกิดปัญหาน้ำท่วมเหมือนปี 2554 ทั้งที่ปกติการบริหารน้ำของกรมชลประทานจะเก็บน้ำต้นทุนไว้ในเขื่อนให้ได้ ร้อยละ 70 ของความจุอ่างฯ เพื่อจะได้มีน้ำใช้เพียงพอในฤดูแล้ง แต่เพราะคำสั่งพร่องน้ำดังกล่าว ทำให้ฤดู ฝนที่ผ่านมา อ่างฯไม่สามารถทำหน้าที่กักเก็บน้ำฝนได้ ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างลดระดับลงอย่างรวดเร็ว ไม่เพียงกระทบต่อภาคการเกษตร ยังส่งผลต่อแหล่งน้ำดิบมาทำน้ำประปาด้วย

ขณะที่ศูนย์ประมวล วิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 38,940 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 56 ของความจุอ่างฯขนาดใหญ่รวมกันทั้งหมด ปริมาณน้ำน้อยกว่าปี 2555 จำนวน 4,769 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำที่สามารถนำมาใช้การได้เหลืออยู่ประมาณ 15,441 ล้านลูกบาศก์เมตร

สำหรับน้ำในเขื่อนหลักที่ส่งไปสนับสนุนการ ใช้น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 5,779 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 43 ของความจุอ่างฯ แต่เหลือปริมาณน้ำใช้ การได้ 1,979 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) หรือร้อยละ 15 ส่วนเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 3,966 ลบ.ม. แต่มีปริมาณน้ำใช้การได้ 1,116 ลบ.ม. หรือร้อยละ 12 ของความจุเขื่อนเท่านั้น

ต่อมาเวลา 19.35 น. ที่รัฐสภา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อกราบบังคมทูล รายงานความก้าวหน้าเกี่ยวกับการวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และขอพระราชทานแนวพระราช ดำริในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ว่า พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงพระทัยการดูแลเรื่องของน้ำ อยากให้น้ำเกิดความสมดุล โดยเฉพาะการดูแลพี่น้องประชาชน ทั้งในส่วนของภาวะน้ำท่วมและน้ำแล้ง ซึ่งทางคณะของเราก็รับสนองแนวทางพระราชดำริ และนำโครงการต่างๆนี้มาปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และสิ่งที่เราทำอยู่แล้วคือ การดูแลราษฎร โดยเฉพาะช่วงของภัยแล้ง และเตรียมการสำหรับฤดูหน้าที่จะถึงคือฤดูฝน เราก็ต้องมีการเตรียมการ เมื่อถามว่า พระองค์ทรงห่วงพื้นที่ไหนเป็นพิเศษหรือไม่ นายกฯกล่าวว่า ไม่มี

ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/royal/336717 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 4 เม.ย.56
วันที่โพสต์: 4/04/2556 เวลา 03:31:55 ดูภาพสไลด์โชว์ ในหลวง'ทรงห่วง วิกฤติน้ำ ออกรพ.ได้จะไปช่วย

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

พระตราสัญลักษณ์อักษรพระนามย่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีรับสั่งกับนายกฯ พร้อมแนะแนวทาง แก้ปัญหา-ภัยแล้ง ตลอดจน‘อุทกภัย’ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายกรัฐมนตรี นำคณะผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและเจ้าหน้าที่ที่ เกี่ยวข้อง เฝ้าฯ กราบบังคมทูลรายงานความก้าวหน้าเกี่ยวกับการวางระบบบริหารจัดการทรัพยากร น้ำ ขณะที่กระทรวงเกษตรฯ คาดการณ์น้ำต้นทุนในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำของประเทศมีเพียงพอใช้ตลอดช่วงฤดู แล้ง ชี้กรมอุตุฯ ยืนยันหน้าฝนปีนี้น้ำมาไว ฟันธงไทยรอดภัยแล้งชัวร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก ณ ห้องประชุมสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ชั้น 14 อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช เมื่อเวลา 17.06 น. วันที่ 3 เม.ย. พระราชทานพระบรมราชวโรกาส ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นำนายยุคล ลิ้มแหลมทอง รองนายกรัฐมนตรี และนายสมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งใหม่ เฝ้าฯถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ โอกาสนี้ นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรีและนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ร่วมเข้าเฝ้าฯด้วย จากนั้นพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นางสาวยิ่ง ลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นำคณะผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและเจ้าหน้าที่ที่ เกี่ยวข้อง เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท กราบบังคมทูลรายงานความก้าวหน้า เกี่ยวกับการวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พร้อมกันนี้ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรายงานการบริหารจัดการน้ำและแก้ไขปัญหาอุทกภัยแห่ง ชาติ และกล้องถ่ายภาพ PENTAX รุ่น Q10 จำนวน 1 กล้อง เพื่อทรงใช้ตามพระราชอัธยาศัย สำหรับความก้าวหน้าของการวางระบบ บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อป้องกันอุทกภัยและภัยแล้ง รัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ขึ้นเป็นศูนย์กลางดูแลรับผิดชอบในเรื่องดังกล่าว การนี้ ได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ อย่างบูรณาการ ครอบคลุมพื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ อาทิ การอนุรักษ์และเร่งรัดฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำ โดยระยะแรก จัดทำโครงการประชาอาสาปลูกป่า 100 ล้านกล้า 80 พรรษามหาราชินี เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ส่วนในระยะ ยาวนั้น ดำเนินการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ จำนวน 8 ล้าน 5 แสนไร่ โดยเน้นปลูกไม้ที่หลากหลายอย่างสมดุล เพื่อซึมซับและชะลอการ ไหลบ่าของน้ำ การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กและขนาดกลางเพิ่มเติมบริเวณลุ่มน้ำยมและลุ่ม น้ำน่าน ตลอดจนพัฒนาพื้นที่แก้มลิงจากแหล่งน้ำธรรมชาติ แหล่งน้ำชุมชน และขุดลอกแม่น้ำลำคลองเพื่อเชื่อมต่อพื้นที่รับน้ำต่างๆเข้าด้วยกัน รวมถึงการขยายเส้นทางน้ำและขุดคลองลัดระบายน้ำออกสู่อ่าวไทย ทั้งด้านตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมทั้งติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ปิดล้อม มิให้เป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำในภาพรวม นอกจากนี้ ยังได้ก่อตั้งศูนย์คลังข้อมูลน้ำและภูมิอากาศแห่งชาติ ไว้เป็นแหล่งเชื่อมโยงข้อมูลน้ำระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาใช้วิเคราะห์และแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำล่วงหน้าด้วย กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้รัฐบาลเชื่อว่าจะสามารถบรรเทาปัญหาอุทกภัยและภาวะขาดแคลนน้ำในช่วง ฤดูแล้งได้อย่างยั่งยืนและสมดุลต่อไป จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวตรัส ถามคณะกรรมการน้ำ และทรงมีพระราชกระแสรับสั่งใจความสำคัญว่า แผนที่ที่นำมาเสนอนั้นมีมาตราส่วนเล็กเกินไป ควรจะทำให้ใหญ่กว่านี้ และมีระดับความสูง-ต่ำของพื้นที่ด้วย อีกทั้งควรอยู่ในแผ่นเดียวกันทั้งหมด ภาษาที่ปรากฏอยู่ในแผนที่นั้นมีภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น สื่อความหมายยาก เป็นแผนที่ที่ใช้งานยาก เป็นของเล่นที่ยาก อยู่โรงพยาบาลมา 3 ปี ไม่ได้ไปไหน แต่ถ้าได้ไปไหนบ้างก็จะช่วยได้บ้าง เวลาที่ไปภาคเหนือโดยเฮลิคอปเตอร์ไปภาคเหนือ จะมีแผนที่ติดตัวตลอด ซึ่งมีแผ่นเดียวสามารถพับทบ ไปมาได้ ไม่แยกชิ้นส่วนเช่นแผนที่นี้พับไม่ได้ ถ้าออกจากโรงพยาบาลได้เมื่อไหร่ก็คงจะช่วยได้มากกว่านี้ วันเดียว กัน นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการวางแผนและติดตามการป้องกันและ แก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร ว่า ตามที่กรมชลประทานได้กำหนดแผนการใช้น้ำทั้งประเทศ ในช่วงฤดูแล้งรวม 23,570 ล้าน ลบ.ม. ขณะนี้ได้จัดสรรน้ำไปแล้วรวม 17,368 ล้าน ลบ.ม.หรือคิดเป็น 74% ของแผนการจัดสรรน้ำ จากการประมาณการณ์ของกรมชลฯ และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยืนยันว่าในช่วงเวลาที่เหลือของฤดูแล้งอีกประมาณ 1-2 เดือนนี้ จะมีน้ำใช้เพียงพอจนถึงต้นฤดูฝนอย่างแน่นอน และกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า ช่วงเดือน พ.ค.ฝนจะมาเร็วกว่าปกติ เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว จะมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าสู่ประเทศไทย ทำให้เกิดฝนตกเติมน้ำในเขื่อนและแหล่งกักเก็บน้ำต่างๆของประเทศ ทั้งนี้ จากการสำรวจน้ำต้นทุนในพื้นที่ต่างๆ พบว่ายังคงมีเพียงพอและเกษตรกรได้รับผลกระทบเล็กน้อย เนื่องจากได้มีการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรงดปลูกข้าวนาปรังในช่วงหน้าแล้ง ได้รับความร่วมมือด้วยดีจากเกษตรกร จึงทำให้พื้นที่ปลูกข้าวเสียหายเพียงเล็กน้อย โดยช่วงภัยแล้งตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงปัจจุบัน พบว่าด้านพืชได้รับผลกระทบเพียง 2 จังหวัด ได้แก่ เชียงรายและอุตรดิตถ์ พื้นที่เสียหายรวม 1,202 ไร่เท่านั้น ด้านประมงมีความเสียหายใน 1 จังหวัด คือ มหาสารคาม พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำคาดว่าจะเสียหาย 1,121 ไร่ ขณะนี้อยู่ระหว่างสำรวจความเสียหาย ส่วนด้านปศุสัตว์ไม่มีรายงานผลกระทบ สำหรับ สถานการณ์น้ำและภัยแล้งที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในปีนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สาเหตุมาจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำลดลงอย่างผิดสังเกต เนื่องมาจากช่วงต้นปี 2555 รัฐบาลมีนโยบายให้กรมชลประทาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ดำเนินการพร่องน้ำออกจากเขื่อนให้เหลือเพียงร้อยละ 40-50 ของความจุอ่างฯ เพราะเกรงจะเกิดปัญหาน้ำท่วมเหมือนปี 2554 ทั้งที่ปกติการบริหารน้ำของกรมชลประทานจะเก็บน้ำต้นทุนไว้ในเขื่อนให้ได้ ร้อยละ 70 ของความจุอ่างฯ เพื่อจะได้มีน้ำใช้เพียงพอในฤดูแล้ง แต่เพราะคำสั่งพร่องน้ำดังกล่าว ทำให้ฤดู ฝนที่ผ่านมา อ่างฯไม่สามารถทำหน้าที่กักเก็บน้ำฝนได้ ส่งผลให้ปริมาณน้ำในอ่างลดระดับลงอย่างรวดเร็ว ไม่เพียงกระทบต่อภาคการเกษตร ยังส่งผลต่อแหล่งน้ำดิบมาทำน้ำประปาด้วย ขณะที่ศูนย์ประมวล วิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 38,940 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 56 ของความจุอ่างฯขนาดใหญ่รวมกันทั้งหมด ปริมาณน้ำน้อยกว่าปี 2555 จำนวน 4,769 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำที่สามารถนำมาใช้การได้เหลืออยู่ประมาณ 15,441 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับน้ำในเขื่อนหลักที่ส่งไปสนับสนุนการ ใช้น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 5,779 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 43 ของความจุอ่างฯ แต่เหลือปริมาณน้ำใช้ การได้ 1,979 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) หรือร้อยละ 15 ส่วนเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 3,966 ลบ.ม. แต่มีปริมาณน้ำใช้การได้ 1,116 ลบ.ม. หรือร้อยละ 12 ของความจุเขื่อนเท่านั้น ต่อมาเวลา 19.35 น. ที่รัฐสภา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อกราบบังคมทูล รายงานความก้าวหน้าเกี่ยวกับการวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และขอพระราชทานแนวพระราช ดำริในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ว่า พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงพระทัยการดูแลเรื่องของน้ำ อยากให้น้ำเกิดความสมดุล โดยเฉพาะการดูแลพี่น้องประชาชน ทั้งในส่วนของภาวะน้ำท่วมและน้ำแล้ง ซึ่งทางคณะของเราก็รับสนองแนวทางพระราชดำริ และนำโครงการต่างๆนี้มาปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และสิ่งที่เราทำอยู่แล้วคือ การดูแลราษฎร โดยเฉพาะช่วงของภัยแล้ง และเตรียมการสำหรับฤดูหน้าที่จะถึงคือฤดูฝน เราก็ต้องมีการเตรียมการ เมื่อถามว่า พระองค์ทรงห่วงพื้นที่ไหนเป็นพิเศษหรือไม่ นายกฯกล่าวว่า ไม่มี ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/royal/336717

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...