แนะผู้ปลูกไม้ผล...รับมือภัยธรรมชาติ - บอกกล่าวเล่าขาน
เดือนเมษายน-มิถุนายน มีโอกาสที่จะเกิด “พายุฤดูร้อน” ขึ้นในหลายพื้นที่ อาจสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรได้ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะ สวนไม้ผล ซึ่งเป็นพืชที่ปลูกครั้งเดียวอยู่ได้นานหลายปี ดังนั้น เกษตรกรจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้น ได้ทั้งน้ำท่วม ลมพายุ และภัยแล้ง...ซึ่งควรกันไว้ดีกว่าแก้
นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำว่า เกษตรกรชาวสวนไม้ผลควรเร่งเตรียมความพร้อมรองรับปัญหาภัยธรรมชาติที่อาจจะ เกิดขึ้นในอนาคต เพื่อป้องกันสวนไม้ผลให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด โดยเฉพาะจาก ปัญหาวาตภัย หรือลมพายุที่มาพร้อมกับพายุฤดูร้อน เบื้องต้นเกษตรกรควร ปลูกต้นไม้บังลม (Wind Break) เพื่อลดความรุนแรงของลมก่อนที่จะเข้าถึงสวนผลไม้ ซึ่งวิธีนี้สามารถช่วยลดความสูญเสียจากพายุลมแรงให้แก่สวนไม้ผลได้ดีมาก
นอกจากนั้นเกษตรกรควร ตัดแต่งกิ่งที่แน่นทึบหรือกิ่งที่ไม่ให้ผลผลิตออก เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง ไม่ต้านลม สำหรับต้นไม้ผลที่อายุมากและมีลำต้นสูง อาจตัดทอนส่วนยอดให้ต่ำลง เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นไม้โค่นล้มง่ายเมื่อถูกลมพายุพัดแรง ขณะเดียวกันควร ใช้เชือกโยงกิ่งและโยงต้น เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก รวมทั้งช่วยพยุงและรับน้ำหนักผลบนกิ่งไม่ให้ร่วงหล่นหรือฉีกขาดง่าย
อีกทั้งยังควร ใช้ไม้ค้ำกิ่งและค้ำต้น เพื่อช่วยพยุงต้นไม้ไม่ให้โค่นได้ง่าย ที่สำคัญควร ทยอยเก็บผลผลิต ที่แก่ออกไปบ่มหรือจำหน่ายก่อน เพื่อลดความเสียหายที่อาจได้รับผลกระทบจากลมพายุ กรณีผลไม้บางชนิดที่อ่อน ไม่สมบูรณ์ รูปทรงไม่ปกติหรือมีขนาดเล็ก เช่น มะม่วง อาจเก็บไปจำหน่ายก่อนได้เพื่อลดน้ำหนักบนกิ่งและต้นลง และควร ติดตามข่าวพยากรณ์อากาศ อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอด้วย เพื่อจะได้วางแผนป้องกันปัญหาได้ทันท่วงที
ทางด้าน นางสาวเพ็ญระพี ทองอินทร์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ส่วนส่งเสริมการผลิตไม้ผล ไม้ยืนต้นและยางพารา สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สวนไม้ผลที่ประสบปัญหาวาตภัยสามารถที่จะฟื้นฟูได้ โดยทำการตัดแต่งกิ่งที่ฉีกหักหรือต้นไม้ที่โค่นล้มออกทันทีที่พื้นดินใน บริเวณสวนแห้งและสามารถเข้าไปปฏิบัติงานได้ ไม่ควร นำเครื่องจักรกลเข้าไปในสวนขณะที่ดินยังเปียกชื้นอยู่ เพราะจะทำให้โครงสร้างดินถูกทำลายและอัดแน่นได้ง่าย กรณีที่มี ดินโคลนทับถมเข้ามาในสวนไม้ผล เมื่อดินแห้งให้ขุดหรือปาดเอาดินโคลนที่ทับถมออกจากบริเวณทรงพุ่ม และควรให้ลึกถึงระดับดินเดิมเพื่อให้การถ่ายเทอากาศดีขึ้น
หาก ต้นไม้ผลเอนลง เนื่องจากถูกลมพัดแรง ให้ใช้เชือกหรือลวดดึงลำต้นให้ตั้งตรง โดยยึดไว้กับหลักหรือไม้ผลต้นอื่นที่มั่นคงแข็งแรง พร้อม ตัดแต่งกิ่ง ออกประมาณ 1 ใน 3 ของที่มีอยู่ ซึ่งจะช่วยให้ต้นไม้ผลฟื้นตัวเร็วขึ้น จากนั้นควร ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ ให้แก่ไม้ผล และ เมื่อดินแห้งเป็นปกติ ควรพรวนดินเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่รากพืช ซึ่งจะทำให้รากแตกใหม่ได้ดีขึ้น และควรใส่ปุ๋ยบำรุงต้นด้วย เป็นแนวทางฟื้นฟูสวนไม้ผลหลังประสบวาตภัยและช่วยให้เกษตรกรฟื้นตัวเร็วขึ้น ด้วย
เนื่องจากสภาพอากาศค่อนข้างแปรปรวน นอกจากปัญหาลมพายุและพายุฤดูร้อนแล้ว สวนไม้ผลยังมีความเสี่ยงกับปัญหาภัยแล้งจากฝนทิ้งช่วง ซึ่งมักเกิดประมาณกลางเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม อาจทำให้ผลไม้ด้อยคุณภาพจนถึงต้นแห้งตายได้ ดังนั้น ชาวสวนไม้ผลต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาดังกล่าวด้วย หาก สังเกตเห็นต้นไม้ผลใบเหี่ยวเฉา ควรให้น้ำอย่างน้อย 7-10 วันต่อครั้ง หรือให้น้ำปริมาณเพียงพอกับความต้องการของพืช เพื่อช่วยให้ไม้ผลผ่านช่วงแล้งไปได้ ซึ่งผลผลิตจะไม่ร่วงและผลสามารถพัฒนาคุณภาพได้อย่างสมบูรณ์ด้วย
อย่างไรก็ตาม หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ “การเตรียมความพร้อมสวนไม้ผลเพื่อลดความสูญเสียจากภัยธรรมชาติ” สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนส่งเสริมการผลิตไม้ผล ไม้ยืนต้นและยางพารา สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร โทร. 0-2940-6101.
ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/agriculture/200545 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
สภาพสวนผลไม้หลังถูกลมพายุเข้าถล่ม เดือนเมษายน-มิถุนายน มีโอกาสที่จะเกิด “พายุฤดูร้อน” ขึ้นในหลายพื้นที่ อาจสร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรได้ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะ สวนไม้ผล ซึ่งเป็นพืชที่ปลูกครั้งเดียวอยู่ได้นานหลายปี ดังนั้น เกษตรกรจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้น ได้ทั้งน้ำท่วม ลมพายุ และภัยแล้ง...ซึ่งควรกันไว้ดีกว่าแก้ นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำว่า เกษตรกรชาวสวนไม้ผลควรเร่งเตรียมความพร้อมรองรับปัญหาภัยธรรมชาติที่อาจจะ เกิดขึ้นในอนาคต เพื่อป้องกันสวนไม้ผลให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด โดยเฉพาะจาก ปัญหาวาตภัย หรือลมพายุที่มาพร้อมกับพายุฤดูร้อน เบื้องต้นเกษตรกรควร ปลูกต้นไม้บังลม (Wind Break) เพื่อลดความรุนแรงของลมก่อนที่จะเข้าถึงสวนผลไม้ ซึ่งวิธีนี้สามารถช่วยลดความสูญเสียจากพายุลมแรงให้แก่สวนไม้ผลได้ดีมาก นอกจากนั้นเกษตรกรควร ตัดแต่งกิ่งที่แน่นทึบหรือกิ่งที่ไม่ให้ผลผลิตออก เพื่อให้ทรงพุ่มโปร่ง ไม่ต้านลม สำหรับต้นไม้ผลที่อายุมากและมีลำต้นสูง อาจตัดทอนส่วนยอดให้ต่ำลง เพื่อป้องกันไม่ให้ต้นไม้โค่นล้มง่ายเมื่อถูกลมพายุพัดแรง ขณะเดียวกันควร ใช้เชือกโยงกิ่งและโยงต้น เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหัก รวมทั้งช่วยพยุงและรับน้ำหนักผลบนกิ่งไม่ให้ร่วงหล่นหรือฉีกขาดง่าย อีกทั้งยังควร ใช้ไม้ค้ำกิ่งและค้ำต้น เพื่อช่วยพยุงต้นไม้ไม่ให้โค่นได้ง่าย ที่สำคัญควร ทยอยเก็บผลผลิต ที่แก่ออกไปบ่มหรือจำหน่ายก่อน เพื่อลดความเสียหายที่อาจได้รับผลกระทบจากลมพายุ กรณีผลไม้บางชนิดที่อ่อน ไม่สมบูรณ์ รูปทรงไม่ปกติหรือมีขนาดเล็ก เช่น มะม่วง อาจเก็บไปจำหน่ายก่อนได้เพื่อลดน้ำหนักบนกิ่งและต้นลง และควร ติดตามข่าวพยากรณ์อากาศ อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอด้วย เพื่อจะได้วางแผนป้องกันปัญหาได้ทันท่วงที ทางด้าน นางสาวเพ็ญระพี ทองอินทร์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ส่วนส่งเสริมการผลิตไม้ผล ไม้ยืนต้นและยางพารา สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สวนไม้ผลที่ประสบปัญหาวาตภัยสามารถที่จะฟื้นฟูได้ โดยทำการตัดแต่งกิ่งที่ฉีกหักหรือต้นไม้ที่โค่นล้มออกทันทีที่พื้นดินใน บริเวณสวนแห้งและสามารถเข้าไปปฏิบัติงานได้ ไม่ควร นำเครื่องจักรกลเข้าไปในสวนขณะที่ดินยังเปียกชื้นอยู่ เพราะจะทำให้โครงสร้างดินถูกทำลายและอัดแน่นได้ง่าย กรณีที่มี ดินโคลนทับถมเข้ามาในสวนไม้ผล เมื่อดินแห้งให้ขุดหรือปาดเอาดินโคลนที่ทับถมออกจากบริเวณทรงพุ่ม และควรให้ลึกถึงระดับดินเดิมเพื่อให้การถ่ายเทอากาศดีขึ้น หาก ต้นไม้ผลเอนลง เนื่องจากถูกลมพัดแรง ให้ใช้เชือกหรือลวดดึงลำต้นให้ตั้งตรง โดยยึดไว้กับหลักหรือไม้ผลต้นอื่นที่มั่นคงแข็งแรง พร้อม ตัดแต่งกิ่ง ออกประมาณ 1 ใน 3 ของที่มีอยู่ ซึ่งจะช่วยให้ต้นไม้ผลฟื้นตัวเร็วขึ้น จากนั้นควร ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบ ให้แก่ไม้ผล และ เมื่อดินแห้งเป็นปกติ ควรพรวนดินเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่รากพืช ซึ่งจะทำให้รากแตกใหม่ได้ดีขึ้น และควรใส่ปุ๋ยบำรุงต้นด้วย เป็นแนวทางฟื้นฟูสวนไม้ผลหลังประสบวาตภัยและช่วยให้เกษตรกรฟื้นตัวเร็วขึ้น ด้วย เนื่องจากสภาพอากาศค่อนข้างแปรปรวน นอกจากปัญหาลมพายุและพายุฤดูร้อนแล้ว สวนไม้ผลยังมีความเสี่ยงกับปัญหาภัยแล้งจากฝนทิ้งช่วง ซึ่งมักเกิดประมาณกลางเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม อาจทำให้ผลไม้ด้อยคุณภาพจนถึงต้นแห้งตายได้ ดังนั้น ชาวสวนไม้ผลต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับปัญหาดังกล่าวด้วย หาก สังเกตเห็นต้นไม้ผลใบเหี่ยวเฉา ควรให้น้ำอย่างน้อย 7-10 วันต่อครั้ง หรือให้น้ำปริมาณเพียงพอกับความต้องการของพืช เพื่อช่วยให้ไม้ผลผ่านช่วงแล้งไปได้ ซึ่งผลผลิตจะไม่ร่วงและผลสามารถพัฒนาคุณภาพได้อย่างสมบูรณ์ด้วย อย่างไรก็ตาม หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ “การเตรียมความพร้อมสวนไม้ผลเพื่อลดความสูญเสียจากภัยธรรมชาติ” สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนส่งเสริมการผลิตไม้ผล ไม้ยืนต้นและยางพารา สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร โทร. 0-2940-6101. ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/agriculture/200545
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)