ม.อ.ปัตตานี กระตุ้นทุกภาคส่วนตื่นตัวรับมือภัยพิบัติ ยกเหตุไฟดับ 14 จังหวัดภาคใต้บทเรียน
นักวิชาการ ม.อ. ปัตตานี ชี้เหตุการณ์ไฟดับ 14 จังหวัดภาคใต้ ถือเป็นบทเรียนการเฝ้าระวังให้รับมือภัยพิบัติ แนะประชาชนต้องเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับความเสี่ยงด้านสาธารณูปโภค พื้นฐานทั้งไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์ เชื่อมีโอกาสเกิดซ้ำ
ดร.สมพร ช่วยอารีย์ ประธานโครงการเฝ้าระวังภัยพิบัติลุ่มน้ำปัตตานีและนักวิชาการคณะวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี (Mr.Somporn Chuai-Aree Faculty of Science and Technology, Prince of Songkla University, Pattani Campus / Chairman of Pattani Bay Watch Project) หรือ PB Watch เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ไฟฟ้าดับพร้อมกันใน 14 จังหวัดภาคใต้ ถือเป็นบทเรียนแก่ชุมชนในยุคปัจจุบันที่การดำรงชีวิตต้องพึ่งพาปัจจัย พื้นฐาน 3 อย่าง ได้แก่ ไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์มือถือ ที่ประชาชนต้องเรียนรู้และเตรียมตัวที่จะใช้ชีวิตให้ได้ หากเกิดภัยพิบัติที่ส่งผลกระทบจนทำให้ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำประปาและการสื่อสารถูกตัดขาด
โดยหลังจากนี้ ประชาชนทุกภาคส่วนจะต้องเตรียมตัว ป้องกัน รับมือและฟื้นฟู โดยก่อนเกิดภัย ต้องมีการเตรียมพร้อมสำหรับการเผชิญเหตุการณ์และเตรียมป้องกันล่วง หน้า เช่น เตรียมพร้อมตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ว่ายังใช้งานได้หรือไม่ หรือในขณะเกิดเหตุต้องมีแผนรับมือทั้งการดูแลตัวเองและผู้อื่น รวมถึงหลังเกิดเหตุต้องมีการเยียวยาฟื้นฟูรักษาผลกระทบที่เกิดขึ้น
“น้ำประปา ไฟฟ้า และการติดต่อสื่อสาร มักมีปัญหาหากเกิดภัยพิบัติ ดังนั้น ประชาชนจึงต้องเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ภัยพิบัติอยู่ตลอดเวลา ภูมิปัญญาที่เคยใช้เมื่อหลายสิบปีก่อนถูกหลงลืมกันไป จากที่เคยเตรียมเทียนไข ตะเกียง น้ำมันก๊าด มาสู่การใช้ไฟฉาย ซึ่งเมื่อถึงเวลาจริงๆ ต้องเสียเวลาค้นหาไฟฉายในความมืด หรืออุปกรณ์บางอย่างถูกเก็บไว้นานโดยไม่ได้รับการตรวจสอบ จึงไม่สามารถนำมาใช้ได้หากเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติขึ้น ดังนั้น ประชาชนจึงต้องหมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้และลดความเดือดร้อนจากการดำ เนินชีวิตให้สามารถอยู่ได้ในภาวะใกล้เคียงกับภาวะปกติมากที่สุด” ดร.สมพร กล่าว
ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/prg/1660353
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นักวิชาการ ม.อ. ปัตตานี ชี้เหตุการณ์ไฟดับ 14 จังหวัดภาคใต้ ถือเป็นบทเรียนการเฝ้าระวังให้รับมือภัยพิบัติ แนะประชาชนต้องเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมรับความเสี่ยงด้านสาธารณูปโภค พื้นฐานทั้งไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์ เชื่อมีโอกาสเกิดซ้ำ ดร.สมพร ช่วยอารีย์ ประธานโครงการเฝ้าระวังภัยพิบัติลุ่มน้ำปัตตานีและนักวิชาการคณะวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี (Mr.Somporn Chuai-Aree Faculty of Science and Technology, Prince of Songkla University, Pattani Campus / Chairman of Pattani Bay Watch Project) หรือ PB Watch เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ไฟฟ้าดับพร้อมกันใน 14 จังหวัดภาคใต้ ถือเป็นบทเรียนแก่ชุมชนในยุคปัจจุบันที่การดำรงชีวิตต้องพึ่งพาปัจจัย พื้นฐาน 3 อย่าง ได้แก่ ไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์มือถือ ที่ประชาชนต้องเรียนรู้และเตรียมตัวที่จะใช้ชีวิตให้ได้ หากเกิดภัยพิบัติที่ส่งผลกระทบจนทำให้ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำประปาและการสื่อสารถูกตัดขาด โดยหลังจากนี้ ประชาชนทุกภาคส่วนจะต้องเตรียมตัว ป้องกัน รับมือและฟื้นฟู โดยก่อนเกิดภัย ต้องมีการเตรียมพร้อมสำหรับการเผชิญเหตุการณ์และเตรียมป้องกันล่วง หน้า เช่น เตรียมพร้อมตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ว่ายังใช้งานได้หรือไม่ หรือในขณะเกิดเหตุต้องมีแผนรับมือทั้งการดูแลตัวเองและผู้อื่น รวมถึงหลังเกิดเหตุต้องมีการเยียวยาฟื้นฟูรักษาผลกระทบที่เกิดขึ้น “น้ำประปา ไฟฟ้า และการติดต่อสื่อสาร มักมีปัญหาหากเกิดภัยพิบัติ ดังนั้น ประชาชนจึงต้องเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ภัยพิบัติอยู่ตลอดเวลา ภูมิปัญญาที่เคยใช้เมื่อหลายสิบปีก่อนถูกหลงลืมกันไป จากที่เคยเตรียมเทียนไข ตะเกียง น้ำมันก๊าด มาสู่การใช้ไฟฉาย ซึ่งเมื่อถึงเวลาจริงๆ ต้องเสียเวลาค้นหาไฟฉายในความมืด หรืออุปกรณ์บางอย่างถูกเก็บไว้นานโดยไม่ได้รับการตรวจสอบ จึงไม่สามารถนำมาใช้ได้หากเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติขึ้น ดังนั้น ประชาชนจึงต้องหมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้และลดความเดือดร้อนจากการดำ เนินชีวิตให้สามารถอยู่ได้ในภาวะใกล้เคียงกับภาวะปกติมากที่สุด” ดร.สมพร กล่าว ขอบคุณ... http://www.ryt9.com/s/prg/1660353
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)