ถามรัฐทุ่ม3.5แสนล้าน ป้องน้ำท่วมไม่ได้ ใครจะรับผิดชอบ
นักวิชาการ อัดยับ โครงการน้ำ 3.5 แสนล้าน รัฐควรต้องจัดลำดับความสำคัญก่อน-หลังโครงการลงทุน วอนถอยมาหารือเพื่อความชัดเจนก่อน ด้าน"ปลอดประสพ"ล่องหน เบี้ยวร่วมงานสัมมนาทั้งที่มีชื่อเข้าร่วมฯ
วันที่ 27 พ.ค. ที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ร่วมกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นประเทศไทย โดยนายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นประเทศไทย เป็นประธานเปิดการสัมมนา โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน “เรื่องงบน้ำเพื่อชีวิต ขอร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ” โดยมีวิทยากรผู้เข้าร่วมสัมมนา อาทิ นายเจน นำชัยศิริ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายสุวัฒน์ เชาวปรีชา นายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต และนายศศินทร์ เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร
ขณะที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ซึ่งมีรายชื่อเป็นแขกรับเชิญ ไม่ได้เดินทางมาร่วมการสัมมนาที่จัดขึ้นในครั้งนี้
นายสุวัฒน์ กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นด้วยกับการแก้ปัญหาน้ำท่วมของประเทศไทยให้เป็นไปอย่างยั่งยืน แต่ไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้ ที่เป็นโครงการใหญ่ขนาดใช้เงินลงทุนถึง 3.5 แสนล้าน แต่รัฐบาลกลับเอาเรื่อง เวลาและจำนวนเงินที่ต้องกู้เป็นตัวตั้ง ยืนยันว่า ไม่เห็นด้วย ที่อ้างเรื่องกรอบเวลา และเงินกู้เป็นตัวตั้ง
แล้ว รัฐบาล ยังอ้างอีกว่า ถ้าสร้างไม่ทันแล้วเกิดน้ำท่วมประเทศกลับมาอีกเหมือนเมื่อปี 2554 ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ก็อย่างจะถามกลับบ้างว่า หากใช้เงินงบประมาณ 3.5 แสนล้านบาท แล้ว กลับแก้ปัญหาน้ำท่วมไม่ได้จริงแล้วใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ
แล้ว ที่บอกว่านี่คือ การบริหารจัดการแก้ปัญหาน้ำท่วมแบบใหม่ จริงหรือไม่ เหตุใดคุณปลอดประสพ ที่รับผิดชอบโครงการน้ำนี้ จึงไปให้ความไว้วางใจบริษัทรับเหมาก่อสร้างมากเกินไป หรือไม่ การทำงานต้องมีการศึกษาความคุ้มค่าของโครงการในด้านต่างๆ แล้วเหตุใด จึงไปมอบความไว้วางใจทั้งหมดให้บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ได้อย่างไร แล้วตอนนี้ก็ทราบมาว่าเหลือผู้รับเหมาโครงการ เพียงแค่ 2 รายเท่านั้นซึ่งเป็นผู้รับเหมารายใหญ่
ทั้งนี้ หากโครงการไม่เสร็จใครจะรับผิดชอบ นอกจากมีความสุ่มเสี่ยงโครงการไม่เสร็จแล้ว มันอาจจะเริ่มงานก่อสร้างไม่ได้ด้วย เพราะยังไม่ผ่านการฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ขณะนี้ยังไม่สามารถเข้าไปศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)
ส่วนตัวก็ ไม่ทราบว่าท่านปลอดประสพ มั่นใจได้อย่างไรว่า โครงการบริหารน้ำนี้ จะสามารถทำเสร็จในเวลา 5 ปี ทั้งที่ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำของประเทศทุกคน ยืนยันตรงกันว่า ไม่มีใครสามารถทำเสร็จได้ภายในเวลา 5 ปีแน่ ยิ่งไปมอบความไว้วางใจให้ผู้รับเหมาก่อสร้าง มันก็เหมือนโครงการก่อสร้างโรงพักตำรวจ 398 แห่ง ซึ่งไม่แล้วเสร็จอย่างที่เป็นข่าวที่ทราบกันอยู่
ขณะเดียวกัน กรณีที่เปิดให้บริษัทเอกชนผู้รับเหมา ยื่นซองประมูลโครงการ เมื่อวันที่ 3 พ.ค. ที่ผ่านมา ทราบว่าข้อมูลที่บริษัทรับเหมายื่นเข้ามามีปริมาณเป็นรถสิบล้อแล้ว
ขณะ ที่ นายสุวัฒน์ กล่าวถึงกรณีดีไซด์แอนด์บิวท์ (สร้างไปออกแบบไป)ว่า ผมไม่เห็นด้วยตั้งแต่ต้น เพราะเร่งร้อนรวบรัดเกินไป และเมื่อรัฐบาลอ้างถึงกรณีที่จะให้มีการเซ็นสัญญากับเอกชนก่อนแล้วค่อยออก แบบก่อสร้าง หรือ ที่เรียกว่ารัฐต้องการช็อปปิ้งไอเดียของบริษัทเอกชนแล้ว ถามว่า เวลารัฐบาลทำงานรัฐก็ต้องทำงานเพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชน แต่ถ้าเป็นบริษัทเอกชนผู้รับเหมาทำงาน ก็ต้องทำงานเพื่อผลประโยชน์ของบริษัท
แล้ว การทำงานต้องมีหลักเกณฑ์ ถ้าปรากฏว่า มีความจำเป็นต้องทำ ก็ต้องทำ แม้เงินจะเพิ่มเป็น 5 ล้านล้านบาท ถ้าจำเป็นก็ต้องทำ แต่ถ้าไม่ก็ไม่ควรเสีย
การ เชิญบริษัทเข้ามาดีไซด์แอนด์บิวท์แล้วอ้างว่า บริษัทเอกชนเหล่านั้น มีประสบการณ์สามารถทำงานได้แน่นั้น แน่นอนว่าเอกชนรับเหมาก่อสร้าง ก็ต้องคิดเพื่อผลประโยชน์เขาก่อน ไม่เหมือนองค์กรไจก้าของญี่ปุ่น ที่ไม่คิดอย่างนั้น ให้ข้อมูลที่แท้จริง โดยไม่มีผลประโยชน์แอบแฝงอยู่เบื้องหลัง
ด้านนายศศินทร์ กล่าวว่า อุทกภัยที่ผ่านมาของประเทศไทย ที่ผ่านมาไม่มีใครรับผิดชอบ รัฐบาลที่ผ่านมา ทั้งรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ หรือ รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็ไม่มีเวลาเข้ามาดูอย่างเป็นจริงเป็นจัง ก็ใช้เจ้าหน้าที่ระดับล่างมาดู ขณะที่ท่านปลอดประสพ ก็เดินมาถูกทางแล้ว เบื้องต้น น้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 ที่ผ่านมาเห็นชัด ต่างคนต่างทำ และถูกการเมืองก็แทรกแซง ใครๆ ก็ทราบ แล้วเรามีข้อมูลอย่างไจก้า อยู่แล้ว แล้วก็หาผู้เชี่ยวชาญมาดูแล ประสานก็น่าจะดี อาจเป็นคุณปลอดประสพก็ได้ พองบ 3.5 แสนล้าน มาผลกระทบก็เจอเลย คือ เรื่องเขื่อนแม่วงศ์ ซึ่ง อีไอเอ ยังระบุเลยว่า แก้ปัญหาน้ำท่วมได้เพียงนิดเดียว ข้อมูลเขื่อนแม่วงศ์ แม้แต่เรื่องเสือโคร่งก็ยังให้ไปศึกษา กลายเป็นว่า งานทุกอย่างการอนุมัติ หรือไปตรวจสอบสิ่งแวดล้อม ก็กลายเป็นคุณปลอดประสพ เป็นคนอนุมัติ นี่แค่โครงการเขื่อนแม่วงศ์ หรือแม้แต่เขื่อนเก่งเสือเต้นซึ่งเล็กกว่าโครงการน้ำ 3.5แสนล้านของรัฐบาล ความจริงส่วนตัวผมเอง ก็เห็นด้วยเรื่องทำฟลัดเวย์ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ วันจะเสร็จตามเวลาที่กำหนดหรือไม่
ขณะที่ อ.ศศินทร์ กล่าวต่อว่า แผนเร่งด่วน คือการรักษาพื้นที่หลักประเทศ ด้วยการผันน้ำ แล้วยืนยันได้ว่า ที่ผ่านมาอย่างพื้นที่ นครชัยศรี ลุ่มน้ำท่าจีน ที่มีการสร้างแนวกำแพงกั้นน้ำ ก็ไม่มีการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ หากสร้างแนวกำแพงเสร็จก็จะมีฝั่งหนึ่งน้ำท่วม และอีกฝั่งน้ำไม่ท่วม คุณปลอดประสพเมื่อ 10 ปีก่อน เป็นคนค้านสร้างเขื่อนแม่วงศ์ แล้วผ่านมา 10 ปี ท่านกลับมาเป็นคนบอกว่าต้องสร้างเขื่อนแม่วงศ์เพื่อป้องกันน้ำท่วมแล้ว นักการเมืองในพื้นที่ก็ยอมรับกันแล้วว่า กันน้ำท่วมไม่ได้ แต่มีประโยชน์เรื่องภัยแล้ง ก็คนละเรื่องครับ
ผมติดใจเรื่องเซ็น สัญญากับบริษัทรับเหมาไปก่อนแล้วมาออกแบบ ขนาดสร้างบ้านยังต้องขอดูแบบก่อนว่าทำอะไร อย่างไรบ้าง พอเลือกแบบแก้แบบแล้วชอบใจ จึงมาเรียกเซ็นสัญญา แต่พอบอกว่าเซ็นสัญญาก่อนมันก็เลยแปลก และเป็นห่วงตรงนี้ ถ้าบอกว่าเซ็นก่อนแล้วแก้สัญญาได้ ถ้าเช่นนั้นขอถามว่ามันจะไม่ส่งผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่และผู้รับเหมา หรือ โอกาสที่จะเกิดขึ้นสูง ส่วนวิธีแก้ไขทำอย่างไร รัฐบาลไม่ใช่ตอบคนเดียวต้องถามประชาชนด้วย ผมเป็นห่วงเรื่องรัฐบาลเซ็นสัญญา อย่าลืมว่ารัฐบาลหลายรัฐบาลเซ็นสัญญาอัปยศมาแล้ว ไม่ใช่รัฐบาลนี้ การเซ็นสัญญาผิดพลาด เซ็นสัญญาไปก่อนแล้วมันอันตราย ขอดูสัญญาก่อนได้ไหม
ผม ไม่อยากให้เกิดเหมือนปี 54 ที่สะสมปริมาณน้ำมากจนเกิดอันตรายแล้วปล่อยมาพรวดเดียว แล้วผมยังห่วงประชาชนที่อยู่รอบนิคม ว่าจะทำอย่างไร ทั้งหมดต้องมีคำตอบมาก่อนว่าจะให้คนทำอย่างไร
ด้านนายเจน กล่าวว่า หากยังจำกันได้ เมื่อปี 2554 ฝนเริ่มตก เร็วกว่าปีนี้ แล้วกว่าคนจะรู้ตัวในปี 2554 น้ำท่วมแน่ๆ ก็ช้าแล้ว ก็ขอให้เอาความรู้สึกตรงนั้น มาแก้ไข จำไม่ผิด พอเกิดเหตุการณ์แล้ว ก็มีความเสียหายมากมายมหาศาล ถึง 1.4 ล้านล้านบาท ซึ่งตัวเลขนี้ ก็อาจทำให้รัฐบาลเห็นว่า การลงทุน 3.5 แสนล้านบาท คุ้มค่า กับความเสียหาย ที่เกิดขึ้น
ตามธรรมดาปีหนึ่งๆ ประเทศไทย มีความเสียหายจากน้ำท่วม ประมาณ 6 พันล้านบาท คำถามคือ การบริหารจัดการดำเนินการแก้ไข ได้ดีหรือยัง หลังจากในช่วงนั้น มีการสรุปปัญหาที่เกิดขึ้นว่า ส่วนหนึ่งมาจากการบริหารจัดการที่ล้มเหลว รวมทั้งปัญหาโรงงาน หรือนิคมอุตสาหกรรม ที่อยู่ผิดที่ผิดทาง ไปอยู่ในที่ ที่ไม่ควรอยู่ รวมทั้งส่วนตัวขอติงเรื่องงบประมาณ 3.5 แสนล้านบาท ที่ไม่มีการจัดการเรื่องน้ำใช้เลย
ทั้งนี้ นายเจนกล่าวต่อว่า การบริหารจัดการแก้ปัญหาน้ำท่วม ความจริงมี 3 ข้อ คือ 1. ทำดี 2. ทำเร็ว 3. ทำถูก คือ ใช้เงินน้อย 3 อย่างนี้ เอาเข้าจริง ทำได้เพียง 2 อย่างเท่านั้น ถามว่า ตอนนี้เราสามารถแก้ปัญหาระบบบริหารจัดการได้หรือยัง ไม่ใช่ดูแต่เรื่องการก่อสร้างอย่างเดียว ปัญหาโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท มันสุ่มเสี่ยงมีปัญหาในระยะยาวถึงรุ่นลูกรุ่นหลานเราได้ ก็ไม่อยากให้ลูกหลานเราก่นด่าในภายหลังว่า เราคิดออกมาได้อย่างไร ใช้อะไรคิด
ส่วน ดร.เสรี กล่าวว่า สิ่งอะไรที่เราพยายามจะทำ สังคมจะทำอะไร ก็มีความเห็นแตกต่างเป็นธรรมดา แต่ต้องมีความชัดเจน และคลายสิ่งที่ อาจารย์ ต่อตระกูล ยมนาค มีความกังวลคือเรื่อง ดีไซด์แอนด์บิวท์ ที่มีข้อจำกัด คือ โครงการที่ทำต้องมีความชัดเจน ถ้ายังไม่ชัด ก็ทำไม่ได้ ยกตัวอย่าง การทำโมดูล A1 แล้ว อาจให้ต้องทำโมดูล A5 เรื่องฟลัดเวย์ ลดลงก็ได้ รวมทั้งความชัดเจนของผู้รับเหมาว่า ต้องทำอะไร ทำตรงไหนบ้าง อย่างการที่ทีโออาร์ กำหนดวงเงินขั้นสูงสุดไว้ หากผมเป็นผู้รับเหมา ก็จะเสนอที่ดินที่มีราคาสูงสุด เพราะบริษัทเอกชนไม่ยอมเสียเปรียบอยู่แล้ว
ทั้งนี้เห็นว่า โครงการยังขาดการศึกษาเบื้องต้น ขาดการมีส่วนร่วมภาคประชาชน การใช้เงิน 3.5 แสนล้านบาท ขาดการวิเคราะห์ความเสี่ยงและความคุ้มค่า แล้วราคาประมูลต่างๆ คิดขึ้นมาได้อย่างไร ความเร่งด่วนโครงการ ผลกระทบสัญญา ผมยอมรับไม่เคยเจอโครงการใหญ่ขนาดนี้ แล้วไม่มีการจัดลำดับความสำคัญ เพราะมันมีผลต่อดอกเบี้ย ประเด็นลงทุน 3.5 แสนล้าน ไม่ใช่ว่าเราจะไม่มีน้ำท่วมต่อไปในอนาคตอีก ต่อไปมันต้องมีแน่นอน ไม่ท่วมเป็นไปไม่ได้ เพียงแต่รับได้หรือไม่ แล้วน้ำท่วมแล้วบอกความจริงกับพี่น้องประชาชนหรือไม่ อย่างถ้าน้ำท่วม 50 ซม.ประชาชนรับได้ไหม
ส่วนตัวเห็นว่า ต้องกลับไปทบทวนและปรับปรุง 5 ปี เห็นแล้วว่า โครงการมันยากมากที่จะทำเสร็จ ดังนั้นขอเวลามาหารือกับภาคประชาชนก่อน ทั้งเรื่องรูปแบบการเกิดอุทกภัย เรื่องงบประมาณ เรื่องการจัดลำดับความสำคัญ ว่าจะทำอะไรก่อน-หลัง เพราะมันไม่ได้หมายความว่า ทำทั้งหมดแล้วจะแก้ปัญหาได้เบ็ดเสร็จเลย
ส่วน คำถามว่า ทางออกที่ดีที่สุดในขณะนี้ ถ้าต้องเซ็นสัญญากับบริษัทเอกชนไปก่อนต้องทำอย่างไร นาย เสรี กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้น องค์กรภาคประชาชนปัจจุบันไม่เหมือนก่อน เพราะรู้มากขึ้น แล้วถ้าผู้รับเหมาไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่ก่อสร้างได้ เพราะอาจมีประชาชนต่อต้าน อีกเรื่องเราต้องจัดลำดับความสำคัญของโครงการให้ได้ก่อน ทางแก้คือต้องมีทางเลือกหลายๆ ทางทั้งการสร้างฟลัดเวย์ทางตะวันออก หรือทางตะวันตก เพื่อลดปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ และต้องบอกประชาชนในพื้นที่ผลกระทบด้วยข้อเท็จจริงว่าจะเจออะไรบ้าง ถ้าท่วมซัก 50 ซม.รับได้หรือไม่
อ.ศศิน กล่าวเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่าง การคำนวณอีไอเอ การสร้างเขื่อนแม่วงศ์ จะต้องปลูกป่าเพิ่มเติมถึง 3 เท่าตามทฤษฎี ซึ่งมันแทบเป็นไปไม่ได้ ยิ่งมาใช้วิธีปลูกป่าที่เป็นป่าที่สมบูรณ์อยู่แล้ว ก็ไม่ได้เป็นการเพิ่มพื้นที่ป่าเลย เพราะปลูกป่าในที่ที่มีป่าอยู่แล้ว ไม่มีประโยชน์
ด้านนายปรเมศวร์ มินศิริ ในฐานะผู้เข้าร่วมรับฟังการเสวนา กล่าวแสดงความคิดเห็นว่า การที่คุณปลอดประสพ ไม่มาร่วมสัมมนาในวันนี้ ก็ชัดเจน เพราะวันนี้คณะผู้จัดงานคือองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่น การมอบคู่มือ ในหนังสือฉบับนี้ ที่มีรูป น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และมีการระบุเป็นตัวอักษรว่า คู่มือบริหารจัดการน้ำของประเทศอย่างสมบูรณ์เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง และความเข้าใจสถานการณ์น้ำของประชาชน ส่วนตัว ขอพูดอย่างนี้ก็คงได้ว่า เชื่อว่า คู่มือที่แจกมาให้ในวันนี้ เหมือนเป็นการโกหกพี่น้องประชาชน ทั้งหมด เพราะเห็นชัดเจน จากการเสวนาในครั้งนี้ว่า คู่มือนี้ มันยังไม่สามารถแก้ปัญหา น้ำท่วม น้ำแล้งได้อย่างสมบูรณ์.
ขอบคุณ... http://www.thairath.co.th/content/pol/347322 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นประเทศไทย นักวิชาการ อัดยับ โครงการน้ำ 3.5 แสนล้าน รัฐควรต้องจัดลำดับความสำคัญก่อน-หลังโครงการลงทุน วอนถอยมาหารือเพื่อความชัดเจนก่อน ด้าน"ปลอดประสพ"ล่องหน เบี้ยวร่วมงานสัมมนาทั้งที่มีชื่อเข้าร่วมฯ วันที่ 27 พ.ค. ที่โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ร่วมกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นประเทศไทย โดยนายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชั่นประเทศไทย เป็นประธานเปิดการสัมมนา โครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้าน “เรื่องงบน้ำเพื่อชีวิต ขอร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ” โดยมีวิทยากรผู้เข้าร่วมสัมมนา อาทิ นายเจน นำชัยศิริ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นายสุวัฒน์ เชาวปรีชา นายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต และนายศศินทร์ เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ขณะที่นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ซึ่งมีรายชื่อเป็นแขกรับเชิญ ไม่ได้เดินทางมาร่วมการสัมมนาที่จัดขึ้นในครั้งนี้ นายสุวัฒน์ กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นด้วยกับการแก้ปัญหาน้ำท่วมของประเทศไทยให้เป็นไปอย่างยั่งยืน แต่ไม่เห็นด้วยกับโครงการนี้ ที่เป็นโครงการใหญ่ขนาดใช้เงินลงทุนถึง 3.5 แสนล้าน แต่รัฐบาลกลับเอาเรื่อง เวลาและจำนวนเงินที่ต้องกู้เป็นตัวตั้ง ยืนยันว่า ไม่เห็นด้วย ที่อ้างเรื่องกรอบเวลา และเงินกู้เป็นตัวตั้ง แล้ว รัฐบาล ยังอ้างอีกว่า ถ้าสร้างไม่ทันแล้วเกิดน้ำท่วมประเทศกลับมาอีกเหมือนเมื่อปี 2554 ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ก็อย่างจะถามกลับบ้างว่า หากใช้เงินงบประมาณ 3.5 แสนล้านบาท แล้ว กลับแก้ปัญหาน้ำท่วมไม่ได้จริงแล้วใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ แล้ว ที่บอกว่านี่คือ การบริหารจัดการแก้ปัญหาน้ำท่วมแบบใหม่ จริงหรือไม่ เหตุใดคุณปลอดประสพ ที่รับผิดชอบโครงการน้ำนี้ จึงไปให้ความไว้วางใจบริษัทรับเหมาก่อสร้างมากเกินไป หรือไม่ การทำงานต้องมีการศึกษาความคุ้มค่าของโครงการในด้านต่างๆ แล้วเหตุใด จึงไปมอบความไว้วางใจทั้งหมดให้บริษัทรับเหมาก่อสร้าง ได้อย่างไร แล้วตอนนี้ก็ทราบมาว่าเหลือผู้รับเหมาโครงการ เพียงแค่ 2 รายเท่านั้นซึ่งเป็นผู้รับเหมารายใหญ่ ทั้งนี้ หากโครงการไม่เสร็จใครจะรับผิดชอบ นอกจากมีความสุ่มเสี่ยงโครงการไม่เสร็จแล้ว มันอาจจะเริ่มงานก่อสร้างไม่ได้ด้วย เพราะยังไม่ผ่านการฟังความคิดเห็นของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ขณะนี้ยังไม่สามารถเข้าไปศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ส่วนตัวก็ ไม่ทราบว่าท่านปลอดประสพ มั่นใจได้อย่างไรว่า โครงการบริหารน้ำนี้ จะสามารถทำเสร็จในเวลา 5 ปี ทั้งที่ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำของประเทศทุกคน ยืนยันตรงกันว่า ไม่มีใครสามารถทำเสร็จได้ภายในเวลา 5 ปีแน่ ยิ่งไปมอบความไว้วางใจให้ผู้รับเหมาก่อสร้าง มันก็เหมือนโครงการก่อสร้างโรงพักตำรวจ 398 แห่ง ซึ่งไม่แล้วเสร็จอย่างที่เป็นข่าวที่ทราบกันอยู่ ขณะเดียวกัน กรณีที่เปิดให้บริษัทเอกชนผู้รับเหมา ยื่นซองประมูลโครงการ เมื่อวันที่ 3 พ.ค. ที่ผ่านมา ทราบว่าข้อมูลที่บริษัทรับเหมายื่นเข้ามามีปริมาณเป็นรถสิบล้อแล้ว ขณะ ที่ นายสุวัฒน์ กล่าวถึงกรณีดีไซด์แอนด์บิวท์ (สร้างไปออกแบบไป)ว่า ผมไม่เห็นด้วยตั้งแต่ต้น เพราะเร่งร้อนรวบรัดเกินไป และเมื่อรัฐบาลอ้างถึงกรณีที่จะให้มีการเซ็นสัญญากับเอกชนก่อนแล้วค่อยออก แบบก่อสร้าง หรือ ที่เรียกว่ารัฐต้องการช็อปปิ้งไอเดียของบริษัทเอกชนแล้ว ถามว่า เวลารัฐบาลทำงานรัฐก็ต้องทำงานเพื่อประโยชน์ของพี่น้องประชาชน แต่ถ้าเป็นบริษัทเอกชนผู้รับเหมาทำงาน ก็ต้องทำงานเพื่อผลประโยชน์ของบริษัท แล้ว การทำงานต้องมีหลักเกณฑ์ ถ้าปรากฏว่า มีความจำเป็นต้องทำ ก็ต้องทำ แม้เงินจะเพิ่มเป็น 5 ล้านล้านบาท ถ้าจำเป็นก็ต้องทำ แต่ถ้าไม่ก็ไม่ควรเสีย การ เชิญบริษัทเข้ามาดีไซด์แอนด์บิวท์แล้วอ้างว่า บริษัทเอกชนเหล่านั้น มีประสบการณ์สามารถทำงานได้แน่นั้น แน่นอนว่าเอกชนรับเหมาก่อสร้าง ก็ต้องคิดเพื่อผลประโยชน์เขาก่อน ไม่เหมือนองค์กรไจก้าของญี่ปุ่น ที่ไม่คิดอย่างนั้น ให้ข้อมูลที่แท้จริง โดยไม่มีผลประโยชน์แอบแฝงอยู่เบื้องหลัง ด้านนายศศินทร์ กล่าวว่า อุทกภัยที่ผ่านมาของประเทศไทย ที่ผ่านมาไม่มีใครรับผิดชอบ รัฐบาลที่ผ่านมา ทั้งรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ หรือ รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็ไม่มีเวลาเข้ามาดูอย่างเป็นจริงเป็นจัง ก็ใช้เจ้าหน้าที่ระดับล่างมาดู ขณะที่ท่านปลอดประสพ ก็เดินมาถูกทางแล้ว เบื้องต้น น้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 ที่ผ่านมาเห็นชัด ต่างคนต่างทำ และถูกการเมืองก็แทรกแซง ใครๆ ก็ทราบ แล้วเรามีข้อมูลอย่างไจก้า อยู่แล้ว แล้วก็หาผู้เชี่ยวชาญมาดูแล ประสานก็น่าจะดี อาจเป็นคุณปลอดประสพก็ได้ พองบ 3.5 แสนล้าน มาผลกระทบก็เจอเลย คือ เรื่องเขื่อนแม่วงศ์ ซึ่ง อีไอเอ ยังระบุเลยว่า แก้ปัญหาน้ำท่วมได้เพียงนิดเดียว ข้อมูลเขื่อนแม่วงศ์ แม้แต่เรื่องเสือโคร่งก็ยังให้ไปศึกษา กลายเป็นว่า งานทุกอย่างการอนุมัติ หรือไปตรวจสอบสิ่งแวดล้อม ก็กลายเป็นคุณปลอดประสพ เป็นคนอนุมัติ นี่แค่โครงการเขื่อนแม่วงศ์ หรือแม้แต่เขื่อนเก่งเสือเต้นซึ่งเล็กกว่าโครงการน้ำ 3.5แสนล้านของรัฐบาล ความจริงส่วนตัวผมเอง ก็เห็นด้วยเรื่องทำฟลัดเวย์ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ วันจะเสร็จตามเวลาที่กำหนดหรือไม่ ขณะที่ อ.ศศินทร์ กล่าวต่อว่า แผนเร่งด่วน คือการรักษาพื้นที่หลักประเทศ ด้วยการผันน้ำ แล้วยืนยันได้ว่า ที่ผ่านมาอย่างพื้นที่ นครชัยศรี ลุ่มน้ำท่าจีน ที่มีการสร้างแนวกำแพงกั้นน้ำ ก็ไม่มีการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ หากสร้างแนวกำแพงเสร็จก็จะมีฝั่งหนึ่งน้ำท่วม และอีกฝั่งน้ำไม่ท่วม คุณปลอดประสพเมื่อ 10 ปีก่อน เป็นคนค้านสร้างเขื่อนแม่วงศ์ แล้วผ่านมา 10 ปี ท่านกลับมาเป็นคนบอกว่าต้องสร้างเขื่อนแม่วงศ์เพื่อป้องกันน้ำท่วมแล้ว นักการเมืองในพื้นที่ก็ยอมรับกันแล้วว่า กันน้ำท่วมไม่ได้ แต่มีประโยชน์เรื่องภัยแล้ง ก็คนละเรื่องครับ ผมติดใจเรื่องเซ็น สัญญากับบริษัทรับเหมาไปก่อนแล้วมาออกแบบ ขนาดสร้างบ้านยังต้องขอดูแบบก่อนว่าทำอะไร อย่างไรบ้าง พอเลือกแบบแก้แบบแล้วชอบใจ จึงมาเรียกเซ็นสัญญา แต่พอบอกว่าเซ็นสัญญาก่อนมันก็เลยแปลก และเป็นห่วงตรงนี้ ถ้าบอกว่าเซ็นก่อนแล้วแก้สัญญาได้ ถ้าเช่นนั้นขอถามว่ามันจะไม่ส่งผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่และผู้รับเหมา หรือ โอกาสที่จะเกิดขึ้นสูง ส่วนวิธีแก้ไขทำอย่างไร รัฐบาลไม่ใช่ตอบคนเดียวต้องถามประชาชนด้วย ผมเป็นห่วงเรื่องรัฐบาลเซ็นสัญญา อย่าลืมว่ารัฐบาลหลายรัฐบาลเซ็นสัญญาอัปยศมาแล้ว ไม่ใช่รัฐบาลนี้ การเซ็นสัญญาผิดพลาด เซ็นสัญญาไปก่อนแล้วมันอันตราย ขอดูสัญญาก่อนได้ไหม ผม ไม่อยากให้เกิดเหมือนปี 54 ที่สะสมปริมาณน้ำมากจนเกิดอันตรายแล้วปล่อยมาพรวดเดียว แล้วผมยังห่วงประชาชนที่อยู่รอบนิคม ว่าจะทำอย่างไร ทั้งหมดต้องมีคำตอบมาก่อนว่าจะให้คนทำอย่างไร ด้านนายเจน กล่าวว่า หากยังจำกันได้ เมื่อปี 2554 ฝนเริ่มตก เร็วกว่าปีนี้ แล้วกว่าคนจะรู้ตัวในปี 2554 น้ำท่วมแน่ๆ ก็ช้าแล้ว ก็ขอให้เอาความรู้สึกตรงนั้น มาแก้ไข จำไม่ผิด พอเกิดเหตุการณ์แล้ว ก็มีความเสียหายมากมายมหาศาล ถึง 1.4 ล้านล้านบาท ซึ่งตัวเลขนี้ ก็อาจทำให้รัฐบาลเห็นว่า การลงทุน 3.5 แสนล้านบาท คุ้มค่า กับความเสียหาย ที่เกิดขึ้น ตามธรรมดาปีหนึ่งๆ ประเทศไทย มีความเสียหายจากน้ำท่วม ประมาณ 6 พันล้านบาท คำถามคือ การบริหารจัดการดำเนินการแก้ไข ได้ดีหรือยัง หลังจากในช่วงนั้น มีการสรุปปัญหาที่เกิดขึ้นว่า ส่วนหนึ่งมาจากการบริหารจัดการที่ล้มเหลว รวมทั้งปัญหาโรงงาน หรือนิคมอุตสาหกรรม ที่อยู่ผิดที่ผิดทาง ไปอยู่ในที่ ที่ไม่ควรอยู่ รวมทั้งส่วนตัวขอติงเรื่องงบประมาณ 3.5 แสนล้านบาท ที่ไม่มีการจัดการเรื่องน้ำใช้เลย ทั้งนี้ นายเจนกล่าวต่อว่า การบริหารจัดการแก้ปัญหาน้ำท่วม ความจริงมี 3 ข้อ คือ 1. ทำดี 2. ทำเร็ว 3. ทำถูก คือ ใช้เงินน้อย 3 อย่างนี้ เอาเข้าจริง ทำได้เพียง 2 อย่างเท่านั้น ถามว่า ตอนนี้เราสามารถแก้ปัญหาระบบบริหารจัดการได้หรือยัง ไม่ใช่ดูแต่เรื่องการก่อสร้างอย่างเดียว ปัญหาโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท มันสุ่มเสี่ยงมีปัญหาในระยะยาวถึงรุ่นลูกรุ่นหลานเราได้ ก็ไม่อยากให้ลูกหลานเราก่นด่าในภายหลังว่า เราคิดออกมาได้อย่างไร ใช้อะไรคิด ส่วน ดร.เสรี กล่าวว่า สิ่งอะไรที่เราพยายามจะทำ สังคมจะทำอะไร ก็มีความเห็นแตกต่างเป็นธรรมดา แต่ต้องมีความชัดเจน และคลายสิ่งที่ อาจารย์ ต่อตระกูล
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)