ภัยพิบัติ-ราคาที่ต้องจ่าย ยูเอ็นเผยตัวเลขพุ่งกระฉูด
ช่วงนี้พายุโหมกระหน่ำทั้งซีกโลกตะวันตกและตะวันออก สร้างความเสียหายยับเยินไปพอๆ กัน
ไซโคลน "มหาเสน" ถล่มบ้านเรือนชาวบ้านในบังกลาเทศและพม่า พังเสียหายไปหลายหมื่นหลัง มีผู้เสียชีวิตกว่าครึ่งร้อย
ส่วนในสหรัฐ พายุทอร์นาโดเพิ่งกวาดซัดพื้นที่ในรัฐโอกลาโฮมา คร่าชีวิตชาวอเมริกันไปครึ่งร้อยเช่นกัน ในจำนวนนี้เป็นเด็กถึง 20 ราย
ภัยพิบัติทางธรรมชาติในทั้งสองเหตุการณ์ล้วนสร้างความสูญเสียในชีวิตและความเสียหายทางเศรษฐกิจไปพร้อมกัน
คณะทำงานว่าด้วยการลดความเสี่ยงอันเกิดจากภัยธรรมชาติขององค์การสหประชาชาติ (UNISDR) เพิ่งเปิดตัวเลขความเสียหายอันเกิดจากภัยธรรมชาติในศตวรรษใหม่นี้ไปถึง 2.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 72.5 ล้านล้านบาทแล้ว
เป็นมูลค่าสูงกว่าที่เคยประมาณกันไว้
การ สำรวจครั้งนี้ นายแอนดรูว์ มาสก์เรย์ ผู้สำรวจยืนยันว่า การเก็บข้อมูลที่แสดงเฉพาะความเสียหายโดยตรงนั้น มีความแม่นยำกว่ารายงานอื่นๆ ที่เสนอเฉพาะความเสียหายที่ใหญ่ๆ เท่านั้น
พร้อมตั้งข้อสังเกตต่อไปว่า ในยุคปัจจุบันแม้ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้ออกมาเตือนว่าโลกของเราจะเผชิญกับ ภัยพิบัติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อันเป็นผลมาจากความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก และรัฐบาลพยายามที่จะลดความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคมให้ครอบคลุมเท่าใดก็ ตาม
ภาคธุรกิจกลับกลายเป็นประเด็นที่ไม่มีใครพูดถึง
เช่น ในปี 2554 ที่ประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัย ส่งผลให้โรงงานอุตสาห กรรมที่ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ส่งออกไปยังสหรัฐ อังกฤษ อินเดีย และจีนต้องหยุดชะงัก ทำให้เกิดความเสียหายมหาศาลต่อระบบเศรษฐกิจโลก
"ปัจจุบันธุรกิจได้ขยายตัวออกไปยังพื้นที่ที่มีแนวโน้มจะประสบภัยพิบัติ เนื่องจากมีแรงงานราคาถูกและสาธารณูปโภคที่ดี แน่ นอนว่าการทำธุรกิจโลกแบบนี้ทำให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น กำไรสูงขึ้น แต่ความไม่ระมัด ระวังถึงประเด็นที่ว่าหากมีความเสียหายจากภัยธรรมชาตินั้นอาจจะทำให้มีราคา ที่ต้องจ่ายมากกว่าเดิม" นายมาสก์เรย์กล่าว
ผู้ เขียนรายงานของ UNISDR อธิบายว่า การกำหนดพื้นที่การผลิตไม่ใช่การเดินผิดทาง แต่หน่วยงานที่เกี่ยวกับการลงทุนของภาครัฐและนักวิเคราะห์จำเป็นต้องให้ ข้อมูลอย่างเปิดเผย จริงใจ และบริษัทนั้นจะต้องเลือกลงทุนอย่างฉลาด เช่น การเลือกอาคารที่มีระบบป้องกันภัยที่ดี
ส่วนหลายบริษัทที่มีแผนกบริหารความเสี่ยง ยังคงไม่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัญหาภัยพิบัติมากนัก แต่กลับตั้งกรอบไว้เพียงแค่เรื่องความอ่อนไหวทางการเมือง การตลาด เงินเฟ้อ หรือการฟ้องร้องคดีเท่านั้น ทั้งที่เรื่องภัยธรรมชาติเป็นเรื่องใหญ่ การลงทุนแบบไม่คิดให้รอบคอบนั้นไม่เพียงแต่ทำให้ "ทรัพย์ สินด้อยค่า" เท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมันในระยะยาวอีกด้วย
"ลองบอกว่าธุรกิจคุณเลิกทำธุรกิจหรือกิจการคุณต้องหยุดชั่วคราวไป 2 หรือ 3 เดือนสิ ลูกค้าของคุณคงจะย้ายไปจ้างผู้ประกอบการรายอื่น แรงงานฝีมือดีของคุณอาจจะ ลาออก ส่วนแบ่งการตลาดคุณอาจจะลดลง และชื่อเสียงของคุณเองจะได้รับผลกระทบ" มาสก์เรย์กล่าว
นักวิเคราะห์ยังชี้ให้เห็นถึงปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่ง คือบรรดาบริษัทต่างๆ มักปล่อยให้ผู้รับประกันภัยเป็นผู้คิด ทั้งที่รับผิดชอบเพียงแค่บางส่วนของความเสียหายเท่านั้น โดยมีเพียงในอเมริกาที่บริษัทประกันอาจ รับผิดชอบความเสียหายถึงร้อยละ 90 แต่ ในตลาดโลกส่วนใหญ่ บรรดาบริษัทประกัน มักรับผิดชอบไม่เกินร้อยละ 10
"บริษัทประกันนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิธีแก้ปัญหา แต่ไม่ใช่คำตอบ"
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เหตุการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ ช่วงนี้พายุโหมกระหน่ำทั้งซีกโลกตะวันตกและตะวันออก สร้างความเสียหายยับเยินไปพอๆ กัน ไซโคลน "มหาเสน" ถล่มบ้านเรือนชาวบ้านในบังกลาเทศและพม่า พังเสียหายไปหลายหมื่นหลัง มีผู้เสียชีวิตกว่าครึ่งร้อย ส่วนในสหรัฐ พายุทอร์นาโดเพิ่งกวาดซัดพื้นที่ในรัฐโอกลาโฮมา คร่าชีวิตชาวอเมริกันไปครึ่งร้อยเช่นกัน ในจำนวนนี้เป็นเด็กถึง 20 ราย ภัยพิบัติทางธรรมชาติในทั้งสองเหตุการณ์ล้วนสร้างความสูญเสียในชีวิตและความเสียหายทางเศรษฐกิจไปพร้อมกัน คณะทำงานว่าด้วยการลดความเสี่ยงอันเกิดจากภัยธรรมชาติขององค์การสหประชาชาติ (UNISDR) เพิ่งเปิดตัวเลขความเสียหายอันเกิดจากภัยธรรมชาติในศตวรรษใหม่นี้ไปถึง 2.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 72.5 ล้านล้านบาทแล้ว เป็นมูลค่าสูงกว่าที่เคยประมาณกันไว้ การ สำรวจครั้งนี้ นายแอนดรูว์ มาสก์เรย์ ผู้สำรวจยืนยันว่า การเก็บข้อมูลที่แสดงเฉพาะความเสียหายโดยตรงนั้น มีความแม่นยำกว่ารายงานอื่นๆ ที่เสนอเฉพาะความเสียหายที่ใหญ่ๆ เท่านั้น พร้อมตั้งข้อสังเกตต่อไปว่า ในยุคปัจจุบันแม้ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านได้ออกมาเตือนว่าโลกของเราจะเผชิญกับ ภัยพิบัติเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อันเป็นผลมาจากความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก และรัฐบาลพยายามที่จะลดความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคมให้ครอบคลุมเท่าใดก็ ตาม ภาคธุรกิจกลับกลายเป็นประเด็นที่ไม่มีใครพูดถึง เช่น ในปี 2554 ที่ประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัย ส่งผลให้โรงงานอุตสาห กรรมที่ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ส่งออกไปยังสหรัฐ อังกฤษ อินเดีย และจีนต้องหยุดชะงัก ทำให้เกิดความเสียหายมหาศาลต่อระบบเศรษฐกิจโลก "ปัจจุบันธุรกิจได้ขยายตัวออกไปยังพื้นที่ที่มีแนวโน้มจะประสบภัยพิบัติ เนื่องจากมีแรงงานราคาถูกและสาธารณูปโภคที่ดี แน่ นอนว่าการทำธุรกิจโลกแบบนี้ทำให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น กำไรสูงขึ้น แต่ความไม่ระมัด ระวังถึงประเด็นที่ว่าหากมีความเสียหายจากภัยธรรมชาตินั้นอาจจะทำให้มีราคา ที่ต้องจ่ายมากกว่าเดิม" นายมาสก์เรย์กล่าว ผู้ เขียนรายงานของ UNISDR อธิบายว่า การกำหนดพื้นที่การผลิตไม่ใช่การเดินผิดทาง แต่หน่วยงานที่เกี่ยวกับการลงทุนของภาครัฐและนักวิเคราะห์จำเป็นต้องให้ ข้อมูลอย่างเปิดเผย จริงใจ และบริษัทนั้นจะต้องเลือกลงทุนอย่างฉลาด เช่น การเลือกอาคารที่มีระบบป้องกันภัยที่ดี ส่วนหลายบริษัทที่มีแผนกบริหารความเสี่ยง ยังคงไม่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัญหาภัยพิบัติมากนัก แต่กลับตั้งกรอบไว้เพียงแค่เรื่องความอ่อนไหวทางการเมือง การตลาด เงินเฟ้อ หรือการฟ้องร้องคดีเท่านั้น ทั้งที่เรื่องภัยธรรมชาติเป็นเรื่องใหญ่ การลงทุนแบบไม่คิดให้รอบคอบนั้นไม่เพียงแต่ทำให้ "ทรัพย์ สินด้อยค่า" เท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมันในระยะยาวอีกด้วย "ลองบอกว่าธุรกิจคุณเลิกทำธุรกิจหรือกิจการคุณต้องหยุดชั่วคราวไป 2 หรือ 3 เดือนสิ ลูกค้าของคุณคงจะย้ายไปจ้างผู้ประกอบการรายอื่น แรงงานฝีมือดีของคุณอาจจะ ลาออก ส่วนแบ่งการตลาดคุณอาจจะลดลง และชื่อเสียงของคุณเองจะได้รับผลกระทบ" มาสก์เรย์กล่าว นักวิเคราะห์ยังชี้ให้เห็นถึงปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่ง คือบรรดาบริษัทต่างๆ มักปล่อยให้ผู้รับประกันภัยเป็นผู้คิด ทั้งที่รับผิดชอบเพียงแค่บางส่วนของความเสียหายเท่านั้น โดยมีเพียงในอเมริกาที่บริษัทประกันอาจ รับผิดชอบความเสียหายถึงร้อยละ 90 แต่ ในตลาดโลกส่วนใหญ่ บรรดาบริษัทประกัน มักรับผิดชอบไม่เกินร้อยละ 10 "บริษัทประกันนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิธีแก้ปัญหา แต่ไม่ใช่คำตอบ" ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURObWIzSXlPVEl6TURVMU5nPT0=§ionid=TURNd05nPT0=&day=TWpBeE15MHdOUzB5TXc9PQ==
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)