นายกฯ ยิ่งลักษณ์ กล่าวสุนทรพจน์ เรียกร้องป้องกันภัยพิบัติน้ำ
วันที่ 20 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานการประชุมระดับผู้นำด้านน้ำแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 2 ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จ.เชียงใหม่ ว่า เมื่อเวลา 07.20 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต้อนรับบรรดาผู้นำจากประเทศต่างๆ ก่อนเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารเช้า
ก่อนที่การประชุมจะเริ่มอย่างเป็นทางการเวลา08.30น. นายกฯ พร้อมด้วยนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) พาคณะผู้นำและรัฐมนตรีทุกประเทศเยี่ยมชมนิทรรศการด้านน้ำตามบูธหัวข้อหลัก ประกอบด้วย การแสดงนิทรรศการโครงการบริหารจัดการน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น โครงการฝนหลวงแก้ปัญหาความแห้งแล้ง การปลูกหญ้าแฝกป้องกันดินพังทลาย และการสร้างอ่างเก็บน้ำบริเวณเชิงเขา เขื่อน เกษตรทฤษฎีใหม่ แก้มลิง
การแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับมหาอุทกภัยในไทยที่เกิดขึ้นเมื่อปลายปี2554การแสดงนิทรรศการทางเทคนิคโดยมี 4 กลุ่มบริษัทผ่านการยื่นซองราคาและซองเทคนิคจัดซื้อจัดจ้าง (ทีโออาร์) โครงการบริหารจัดการน้ำแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ในโครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยวงเงิน 350,000 ล้านบาทของรัฐบาล โชว์ศักยภาพการบริหารจัดการภายในประเทศแต่ละโครงการ เช่น จัดการน้ำด้วยระบบเขื่อน ระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยน้ำท่วม การพยากรณ์น้ำท่วมฉับพลันอย่างแม่นยำ และนวัตกรรมใหม่ที่ใช้ในการบริหารจัดการน้ำ รวมทั้งการแสดงนิทรรศการเทคโนโลยีด้านน้ำและการแสดงสินค้าจากหญ้าแฝก สินค้าพื้นเมือง และสินค้าท้องถิ่นมากมาย ซึ่งได้รับความสนใจและสอบถามจากคณะผู้นำและรัฐมนตรีจากประเทศที่เข้าร่วมประชุม
ภาย หลังนำคณะผู้นำและรัฐมนตรีชมนิทรรศการด้านน้ำน.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวสุนทรพจน์ เปิดการประชุมตอนหนึ่งว่าทรัพยากรน้ำเป็นสมบัติของมนุษย์ทุกคน ไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่งหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงเห็นด้วยกับนายบัน คีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ ที่เคยกล่าวไว้ว่า “น้ำ เป็นเรื่องของสิทธิมนุษยชนที่เราทุกคนควรปกปักรักษา” การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หารือประเด็นสำคัญต่างๆ เกี่ยวกับความมั่นคงด้านน้ำและภัยพิบัติที่เกี่ยวกับน้ำ โดยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
นายกฯ กล่าวถึงประสบการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ของประเทศไทยว่า รัฐบาลได้เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสโดยการลงทุน 1,2000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในการจัดการน้ำทั้งระบบ โดยดำเนินการตามแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงอุทิศพระวรกายเพื่อจัดการกับปัญหาด้านน้ำ ทำให้ได้รับความเชื่อมั่นทั้งชุมชนและภาคธุรกิจระดับโลกคืนกลับมา ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยเติบโตร้อยละ 6.4 ในปีที่ผ่านมา
น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า การบริหารจัดการน้ำ ต้องให้ความสำคัญและดำเนินการสอดคล้องกันทั้งระบบ เพราะภัยพิบัติไม่รู้จักพรมแดนและความแตกต่างของคน ต้องเน้นการแก้ปัญหาที่ต้นทางและลดกิจกรรมของมนุษย์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอากาศ ทุกคนต้องร่วมมือกันวางแผนป้องกัน ซึ่งค่าใช้จ่ายจะต่ำกว่าค่าเสียหายที่เกิดขึ้นและต้องมาฟื้นฟูหลังเกิดเหตุภัยพิบัติและอุทกภัย ไม่มีประเทศใดจัดการได้เพียงลำพัง จำเป็นต้องสร้างพลังขับเคลื่อนให้เกิดความร่วมมือที่ใกล้ชิดในระดับภูมิภาคและระดับโลก ไทยพร้อมมีบทบาทร่วมอย่างเต็มที่ โดยร่วมกันบริหารจัดการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ สร้างระบบเตือนภัยที่แม่นยำ วางระบบป้องกันความเสี่ยงต่างๆ
น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า หวังว่าประเทศในเอเชียแปซิฟิกจะร่วมมือกับภูมิภาคอื่นๆ ในเวทีสหประชาชาติ และเวทีอื่นๆ เพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จัดทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน ลดความเสี่ยงที่เกิดจากภัยพิบัติน้ำ และในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายในการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ เราต้องมั่นใจว่าประเด็นเหล่านี้จะถูกบรรจุไว้ในวาระการพัฒนาภายหลังปี ค.ศ.2015 และหวังว่าการประชุมครั้งนี้จะนำไปสู่ความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง เสริมสร้างเอเชียแปซิฟิก ให้มีภูมิคุ้มกันต่อน้ำและภัยพิบัติที่ดียิ่งขึ้น
จาก นั้น เป็นการกล่าวถ้อยแถลงโดยประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาลที่เข้าร่วมประชุม สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ พระราชาธิบดีแห่งบรูไน มีกระแสพระราชดำรัสตอนหนึ่ง ทรงชื่นชมโครงการบริหารจัดการน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริว่าเป็นโครงการและ เป็นตัวอย่างการบริหารจัดการน้ำที่ดีและประสบผลสำเร็จโดยเฉพาะการอนุรักษ์ ทรัพยากรน้ำแม้บรูไนจะมีทรัพยากรน้ำเพียงพอแต่ได้ริเริ่มให้ทุกคนตระหนักถึง ความสำคัญและการลดการสูญเสียของทรัพยากรน้ำ ซึ่งจำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
วันที่ 20 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานการประชุมระดับผู้นำด้านน้ำแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 2 ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จ.เชียงใหม่ ว่า เมื่อเวลา 07.20 น. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต้อนรับบรรดาผู้นำจากประเทศต่างๆ ก่อนเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารเช้า ก่อนที่การประชุมจะเริ่มอย่างเป็นทางการเวลา08.30น. นายกฯ พร้อมด้วยนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) พาคณะผู้นำและรัฐมนตรีทุกประเทศเยี่ยมชมนิทรรศการด้านน้ำตามบูธหัวข้อหลัก ประกอบด้วย การแสดงนิทรรศการโครงการบริหารจัดการน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น โครงการฝนหลวงแก้ปัญหาความแห้งแล้ง การปลูกหญ้าแฝกป้องกันดินพังทลาย และการสร้างอ่างเก็บน้ำบริเวณเชิงเขา เขื่อน เกษตรทฤษฎีใหม่ แก้มลิง การแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับมหาอุทกภัยในไทยที่เกิดขึ้นเมื่อปลายปี2554การแสดงนิทรรศการทางเทคนิคโดยมี 4 กลุ่มบริษัทผ่านการยื่นซองราคาและซองเทคนิคจัดซื้อจัดจ้าง (ทีโออาร์) โครงการบริหารจัดการน้ำแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ในโครงการเพื่อออกแบบและก่อสร้างระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยวงเงิน 350,000 ล้านบาทของรัฐบาล โชว์ศักยภาพการบริหารจัดการภายในประเทศแต่ละโครงการ เช่น จัดการน้ำด้วยระบบเขื่อน ระบบเฝ้าระวังและเตือนภัยน้ำท่วม การพยากรณ์น้ำท่วมฉับพลันอย่างแม่นยำ และนวัตกรรมใหม่ที่ใช้ในการบริหารจัดการน้ำ รวมทั้งการแสดงนิทรรศการเทคโนโลยีด้านน้ำและการแสดงสินค้าจากหญ้าแฝก สินค้าพื้นเมือง และสินค้าท้องถิ่นมากมาย ซึ่งได้รับความสนใจและสอบถามจากคณะผู้นำและรัฐมนตรีจากประเทศที่เข้าร่วมประชุม ภาย หลังนำคณะผู้นำและรัฐมนตรีชมนิทรรศการด้านน้ำน.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวสุนทรพจน์ เปิดการประชุมตอนหนึ่งว่าทรัพยากรน้ำเป็นสมบัติของมนุษย์ทุกคน ไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่งหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงเห็นด้วยกับนายบัน คีมูน เลขาธิการสหประชาชาติ ที่เคยกล่าวไว้ว่า “น้ำ เป็นเรื่องของสิทธิมนุษยชนที่เราทุกคนควรปกปักรักษา” การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หารือประเด็นสำคัญต่างๆ เกี่ยวกับความมั่นคงด้านน้ำและภัยพิบัติที่เกี่ยวกับน้ำ โดยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นายกฯ กล่าวถึงประสบการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ของประเทศไทยว่า รัฐบาลได้เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาสโดยการลงทุน 1,2000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในการจัดการน้ำทั้งระบบ โดยดำเนินการตามแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงอุทิศพระวรกายเพื่อจัดการกับปัญหาด้านน้ำ ทำให้ได้รับความเชื่อมั่นทั้งชุมชนและภาคธุรกิจระดับโลกคืนกลับมา ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยเติบโตร้อยละ 6.4 ในปีที่ผ่านมา น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า การบริหารจัดการน้ำ ต้องให้ความสำคัญและดำเนินการสอดคล้องกันทั้งระบบ เพราะภัยพิบัติไม่รู้จักพรมแดนและความแตกต่างของคน ต้องเน้นการแก้ปัญหาที่ต้นทางและลดกิจกรรมของมนุษย์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอากาศ ทุกคนต้องร่วมมือกันวางแผนป้องกัน ซึ่งค่าใช้จ่ายจะต่ำกว่าค่าเสียหายที่เกิดขึ้นและต้องมาฟื้นฟูหลังเกิดเหตุภัยพิบัติและอุทกภัย ไม่มีประเทศใดจัดการได้เพียงลำพัง จำเป็นต้องสร้างพลังขับเคลื่อนให้เกิดความร่วมมือที่ใกล้ชิดในระดับภูมิภาคและระดับโลก ไทยพร้อมมีบทบาทร่วมอย่างเต็มที่ โดยร่วมกันบริหารจัดการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ สร้างระบบเตือนภัยที่แม่นยำ วางระบบป้องกันความเสี่ยงต่างๆ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า หวังว่าประเทศในเอเชียแปซิฟิกจะร่วมมือกับภูมิภาคอื่นๆ ในเวทีสหประชาชาติ และเวทีอื่นๆ เพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จัดทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน ลดความเสี่ยงที่เกิดจากภัยพิบัติน้ำ และในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายในการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ เราต้องมั่นใจว่าประเด็นเหล่านี้จะถูกบรรจุไว้ในวาระการพัฒนาภายหลังปี ค.ศ.2015 และหวังว่าการประชุมครั้งนี้จะนำไปสู่ความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง เสริมสร้างเอเชียแปซิฟิก ให้มีภูมิคุ้มกันต่อน้ำและภัยพิบัติที่ดียิ่งขึ้น จาก นั้น เป็นการกล่าวถ้อยแถลงโดยประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาลที่เข้าร่วมประชุม สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์ พระราชาธิบดีแห่งบรูไน มีกระแสพระราชดำรัสตอนหนึ่ง ทรงชื่นชมโครงการบริหารจัดการน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริว่าเป็นโครงการและ เป็นตัวอย่างการบริหารจัดการน้ำที่ดีและประสบผลสำเร็จโดยเฉพาะการอนุรักษ์ ทรัพยากรน้ำแม้บรูไนจะมีทรัพยากรน้ำเพียงพอแต่ได้ริเริ่มให้ทุกคนตระหนักถึง ความสำคัญและการลดการสูญเสียของทรัพยากรน้ำ ซึ่งจำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน ขอบคุณ … http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMk9UQTBPREl5TXc9PQ==&subcatid=
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)