รู้ทันหน้าฝน‘ศภช.เสริมแกร่งชุมชนใน 25 ลุ่มแม่นํ้า’

แสดงความคิดเห็น

ช่วงหน้าฝนของทุกปี จะมีทั้งกลุ่มคนที่ได้รับอานิสงส์จากฤดูกาลเพื่อให้พืชพรรณได้มีการเจริญ เติบโตตามธรรมชาติ แต่ก็ยังมีประชาชนอีกกลุ่มใหญ่ ๆ ที่ต้องสูญเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิต โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ตามแนว 25 ลุ่มแม่น้ำที่เสี่ยงภัยจากน้ำท่วม น้ำหลาก และดินโคลนถล่ม ถึงแม้ว่าภัยพิบัติทางธรรมชาติจะเกิดขึ้นกับประชาชนในลุ่มแม่น้ำดังกล่าว เป็นประจำทุก ๆ ปี จนกลายเป็นความเคยชินของใคร

หลาย ๆ คน แต่คงจะดีไม่ใช่น้อยหากความสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สินจะลดน้อยลง ดังนั้น ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในเขตพื้นที่ดังกล่าว โดยเน้นสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยได้ช่วยเหลือตน เองก่อนภัยธรรมชาติจะมาถึง

นาวาอากาศเอกสมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ระบุว่า การให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ใช่เฉพาะในเรื่องของทรัพย์สินแต่ยังรวมไปถึงชีวิต ด้วย และการลงพื้นที่นอกจากประชาชนจะได้รับความรู้ความเข้าใจในการแก้ปัญหาแล้ว ศูนย์เตือนภัยฯ ยังได้ประโยชน์จากข้อมูลที่แท้จริงที่ได้จากชาวบ้านว่าเมื่อฝนตกน้ำจะไหลมา ทางไหน และเจ้าหน้าที่จะหาวิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้องเพื่อรับมือในทุกสถานการณ์

โดยจะสอนให้ชาวบ้านรู้ว่าเมื่อฝนตกและเกิดน้ำหลากในหลาย ๆ วัน ชาวบ้านควรจัดพื้นที่และเตรียมอาหารไว้โดยมีผู้นำที่เข้มแข็งคอยดูแล เพราะส่วนมากกลุ่มคนที่เสียชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นเด็กและคนชราที่ช่วยเหลือตัว เองไม่ได้

ขณะที่พลเรือเอกเกาะหลัก เจริญรุกข์ รองประธานคณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษฯ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ผู้ดำเนินโครงการและสัมผัสกับปัญหาของประชาชนยอมรับว่า ปัจจุบันประชาชนเริ่มให้ความสนใจมากขึ้น แต่ด้วยความจำกัดของทรัพยากรบุคคลที่ไม่สามารถเข้าถึงประชาชนได้ทุกหมู่บ้าน ในแนว 25 ลุ่มแม่น้ำที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม ดังนั้น จึงต้องเริ่มเจาะลุ่มแม่น้ำที่เสี่ยงภัยมากที่สุด โดยเริ่มจาก ลุ่มแม่น้ำปิง วัง ยมน่าน ก่อน และปัจจุบันได้ดำเนินการไปแล้วในลุ่มแม่น้ำยม และน่าน

สำหรับเสียงตอบรับจากประชาชน ขณะนี้มีหลายชุมชนเรียกร้องให้ศูนย์เตือนภัยฯ เข้าไปให้ความรู้ในชุมชนของตนเอง แต่ศูนย์เตือนภัยฯ ไม่สามารถเข้าถึงได้ทุกชุมชนในเวลาอันสั้น ทั้งที่ความเป็นจริงอยากลงทุกพื้นที่ ดังนั้น สิ่งที่ทำได้ตอนนี้คือ ลงพื้นที่เสี่ยงภัยที่สุดและให้ชุมชนใกล้เคียงส่งตัวแทนเข้าร่วมอบรมเพื่อ บอกต่อแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง เพราะปัญหาที่แท้จริงคือ ความไม่รู้ของประชาชนในการรับมือกับภัยธรรมชาติที่มากับน้ำ และมักทำลายระบบนิเวศ

“เรายึดถือในหลักแนวพระราชดำริของในหลวง คือ “น้ำต้องมีที่อยู่ที่ไป แต่อย่าไปทำลายสภาวะแวดล้อม” จะเห็นได้จากข่าวดินโคลนถล่มของหมู่บ้านหลาย ๆ หมู่บ้านที่ผ่านมา ที่เกิดจากการขุดลอกคูคลองเพื่อเปลี่ยนทิศทางการไหลของน้ำ และไปทำลายวัชพืช โดยไม่คำนึงว่าวัชพืชเป็นตัวกั้นน้ำได้ดี เมื่อน้ำไหลมาอีกครั้งก็เกิดดินพังถล่มและบ้านเรือนเสียหาย เป็นต้น”

ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ศูนย์เตือนภัยฯ ได้ลงพื้นที่ให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่ เสี่ยงภัยแล้วกว่า 10 พื้นที่ อาทิ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่

และล่าสุดได้ลงพื้นที่ในอำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ในวันที่ 5-6 มิ.ย. 56 ก่อนจะทยอยให้ความรู้ที่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดแพร่ จังหวัดระนอง และจังหวัดปราจีนบุรี ตามลำดับก่อนจะกระจายสู่พื้นที่ครอบคลุมทั่วประเทศ.

ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/technology/210540 (ขนาดไฟล์: 167)

ที่มา: เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 10 มิ.ย.56
วันที่โพสต์: 10/06/2556 เวลา 03:30:57

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

ช่วงหน้าฝนของทุกปี จะมีทั้งกลุ่มคนที่ได้รับอานิสงส์จากฤดูกาลเพื่อให้พืชพรรณได้มีการเจริญ เติบโตตามธรรมชาติ แต่ก็ยังมีประชาชนอีกกลุ่มใหญ่ ๆ ที่ต้องสูญเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิต โดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ตามแนว 25 ลุ่มแม่น้ำที่เสี่ยงภัยจากน้ำท่วม น้ำหลาก และดินโคลนถล่ม ถึงแม้ว่าภัยพิบัติทางธรรมชาติจะเกิดขึ้นกับประชาชนในลุ่มแม่น้ำดังกล่าว เป็นประจำทุก ๆ ปี จนกลายเป็นความเคยชินของใคร หลาย ๆ คน แต่คงจะดีไม่ใช่น้อยหากความสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สินจะลดน้อยลง ดังนั้น ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในเขตพื้นที่ดังกล่าว โดยเน้นสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยได้ช่วยเหลือตน เองก่อนภัยธรรมชาติจะมาถึง นาวาอากาศเอกสมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ระบุว่า การให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ใช่เฉพาะในเรื่องของทรัพย์สินแต่ยังรวมไปถึงชีวิต ด้วย และการลงพื้นที่นอกจากประชาชนจะได้รับความรู้ความเข้าใจในการแก้ปัญหาแล้ว ศูนย์เตือนภัยฯ ยังได้ประโยชน์จากข้อมูลที่แท้จริงที่ได้จากชาวบ้านว่าเมื่อฝนตกน้ำจะไหลมา ทางไหน และเจ้าหน้าที่จะหาวิธีแก้ปัญหาที่ถูกต้องเพื่อรับมือในทุกสถานการณ์ โดยจะสอนให้ชาวบ้านรู้ว่าเมื่อฝนตกและเกิดน้ำหลากในหลาย ๆ วัน ชาวบ้านควรจัดพื้นที่และเตรียมอาหารไว้โดยมีผู้นำที่เข้มแข็งคอยดูแล เพราะส่วนมากกลุ่มคนที่เสียชีวิตส่วนใหญ่จะเป็นเด็กและคนชราที่ช่วยเหลือตัว เองไม่ได้ ขณะที่พลเรือเอกเกาะหลัก เจริญรุกข์ รองประธานคณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยแห่งชาติ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษฯ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ผู้ดำเนินโครงการและสัมผัสกับปัญหาของประชาชนยอมรับว่า ปัจจุบันประชาชนเริ่มให้ความสนใจมากขึ้น แต่ด้วยความจำกัดของทรัพยากรบุคคลที่ไม่สามารถเข้าถึงประชาชนได้ทุกหมู่บ้าน ในแนว 25 ลุ่มแม่น้ำที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม ดังนั้น จึงต้องเริ่มเจาะลุ่มแม่น้ำที่เสี่ยงภัยมากที่สุด โดยเริ่มจาก ลุ่มแม่น้ำปิง วัง ยมน่าน ก่อน และปัจจุบันได้ดำเนินการไปแล้วในลุ่มแม่น้ำยม และน่าน สำหรับเสียงตอบรับจากประชาชน ขณะนี้มีหลายชุมชนเรียกร้องให้ศูนย์เตือนภัยฯ เข้าไปให้ความรู้ในชุมชนของตนเอง แต่ศูนย์เตือนภัยฯ ไม่สามารถเข้าถึงได้ทุกชุมชนในเวลาอันสั้น ทั้งที่ความเป็นจริงอยากลงทุกพื้นที่ ดังนั้น สิ่งที่ทำได้ตอนนี้คือ ลงพื้นที่เสี่ยงภัยที่สุดและให้ชุมชนใกล้เคียงส่งตัวแทนเข้าร่วมอบรมเพื่อ บอกต่อแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง เพราะปัญหาที่แท้จริงคือ ความไม่รู้ของประชาชนในการรับมือกับภัยธรรมชาติที่มากับน้ำ และมักทำลายระบบนิเวศ “เรายึดถือในหลักแนวพระราชดำริของในหลวง คือ “น้ำต้องมีที่อยู่ที่ไป แต่อย่าไปทำลายสภาวะแวดล้อม” จะเห็นได้จากข่าวดินโคลนถล่มของหมู่บ้านหลาย ๆ หมู่บ้านที่ผ่านมา ที่เกิดจากการขุดลอกคูคลองเพื่อเปลี่ยนทิศทางการไหลของน้ำ และไปทำลายวัชพืช โดยไม่คำนึงว่าวัชพืชเป็นตัวกั้นน้ำได้ดี เมื่อน้ำไหลมาอีกครั้งก็เกิดดินพังถล่มและบ้านเรือนเสียหาย เป็นต้น” ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ศูนย์เตือนภัยฯ ได้ลงพื้นที่ให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่ เสี่ยงภัยแล้วกว่า 10 พื้นที่ อาทิ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ และล่าสุดได้ลงพื้นที่ในอำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ในวันที่ 5-6 มิ.ย. 56 ก่อนจะทยอยให้ความรู้ที่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดแพร่ จังหวัดระนอง และจังหวัดปราจีนบุรี ตามลำดับก่อนจะกระจายสู่พื้นที่ครอบคลุมทั่วประเทศ. ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/technology/210540

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...