ตั้งป้อมรับมือ "ภัยพิบัติชายฝั่ง" 19 ชาติพันธมิตรระดมสมอง ช่วยเหลือระดับทวิภาคี

แสดงความคิดเห็น

รวมภาพภัยพิบัติบริเวณชายหาดและท้องทะเล

อุบัติเหตุทางทะเลที่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากสภาวะอากาศ คลื่นลมแรง เป็นเหตุให้นักท่องเที่ยว เรือประมง ชาวบ้านริมชายฝั่งเสียชีวิต บาดเจ็บ บ้านเรือนเสียหาย แต่ละปีจำนวนไม่น้อย

ยังไม่นับรวมเหตุสึนามิ คลื่นยักษ์ที่ซัดถล่มบ้านเรือนเสียหายผู้คนล้มตายจนกลายเป็นโศกนาฏกรรม ที่ล่าสุดเกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2554 หรืออย่างประเทศไทยเคยเกิดสึนามิเมื่อปี 2547

ฤดูกาลแปรปรวนปีนี้ทำให้ประเทศไทยเกิดอุบัติเหตุทางทะเลหลายครั้ง อาทิ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม เกิดคลื่นลมแรงสูง 3 เมตร ซัดชายหาด จ.กระบี่ บริเวณอ่าวต้นไทร เกาะพีพี ทำให้เรือหางยาวที่จอดอยู่ริมชายหาดเสียหาย รวม 10 ลำ และบริเวณชายหาดอ่าวน้ำเมา 5 ต.ไสไทย มีเรือหางยาวถูกคลื่นซัดเสียหายกว่า 50 ลำ นักท่องเที่ยวบาดเจ็บ 1 ราย และคนขับเรือบาดเจ็บ 1 ราย เหตุที่เกิดขึ้นชาวบ้านต่างตกใจ นึกว่าเป็นสึนามิ

รวมทั้งเย็นวันที่ 28 พฤษภาคม เกิดเหตุเรือโดยสารบริษัทเพื่อนฝูง 2 ออกจากท่าเรือเกาะพีพี จ.กระบี่ เพื่อกลับท่าเทียบเรือรัษฎา บรรทุกนักท่องเที่ยว 111 คน และลูกเรืออีก 5 คน เกิดปัญหาเรือรั่วจากคลื่นลมแรง โชคดีที่ตำรวจน้ำช่วยเหลือผู้โดยสารได้ทัน

อีกเหตุการณ์เวลา 00.30 น. วันที่ 26 พฤษภาคม คลื่นซัดเรือชาวบ้านล่มกลางทะเลอันดามัน บริเวณเกาะกวางกับเกาะยาว หมู่ 1 ต.ตันหยงโป อ.เมือง จ.สตูล ซึ่งตำรวจน้ำช่วยเหลือผู้โดยสาร 12 คน ปลอดภัยเช่นกัน

เมื่อสภาพอากาศแปรปรวน ส่งผลกระทบกับหลายประเทศ ดังนั้น การป้องกันภัยทางทะเลและชายฝั่งจึงมีความสำคัญ

หลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย จึงจัดประชุมร่วมกัน ในระดับปฏิบัติการเพื่อเตรียมการประชุมหัวหน้าหน่วยงานยามฝั่งในภูมิภาคเอเชีย (WLM -HACGAM 9th, 2013) และการประชุมหัวหน้าหน่วยงานยามฝั่งในภูมิภาคเอเชีย (HACGAM 9th, 2013) ที่ล่าสุดไทยเป็นเจ้าภาพในการประชุม ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 27-30 พฤษภาคม ที่โรงแรมดุสิตธานี พัทยา จ.ชลบุรี มีประเทศสมาชิก 19 ประเทศเข้าร่วม ประกอบด้วย

บังกลาเทศ โดยหน่วยยามฝั่งประเทศบังกลาเทศ บรูไน โดยตำรวจน้ำประเทศบรูไน กัมพูชา โดยกองตำรวจน้ำประเทศกัมพูชา ฮ่องกง โดยกองบัญชาการตำรวจน้ำประเทศฮ่องกง จีน โดยกระทรวงรักษาความปลอดภัยแนวตะเข็บชายแดน และกระทรวงการขนส่งทางน้ำประเทศจีน อินเดีย โดยหน่วยยามฝั่งประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย โดยคณะกรรมการรักษาความปลอดภัยทางน้ำ ตำรวจน้ำประเทศอินโดนีเซีย และกระทรวงการขนส่งทางน้ำประเทศอินโดนีเซีย

ญี่ปุ่น โดยหน่วยยามฝั่งประเทศญี่ปุ่น เกาหลี โดยหน่วยยามฝั่งประเทศเกาหลี ลาว โดยกระทรวงการขนส่งทางน้ำประเทศลาว มาเลเซีย โดยหน่วยบังคับใช้กฎหมายทางน้ำประเทศมาเลเซีย มัลดีฟส์ โดยหน่วยยามฝั่งประเทศมัลดีฟส์ พม่า โดยกระทรวงการขนส่งทางน้ำประเทศพม่า ปากีสถาน โดยหน่วยรักษาความปลอดภัยทางน้ำ ประเทศปากีสถาน ฟิลิปปินส์ โดยหน่วยยามฝั่งประเทศฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ โดยหน่วยยามฝั่งประเทศสิงคโปร์ ศรีลังกา โดยหน่วยยามฝั่งประเทศศรีลังกา ไทย โดยกรมเจ้าท่า และกองบังคับการตำรวจน้ำ และ เวียดนาม โดยตำรวจน้ำประเทศเวียดนาม

หัวข้อในการประชุมระดับผู้ปฏิบัติ เกี่ยวกับการค้นหาและกู้ภัยทางทะเล การรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล การ

เตรียมพร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติ และการป้องกันการกระทำผิดกฎหมายทางทะเล เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนงาน กำหนดเป้าหมาย ขั้นตอนการประสานการปฏิบัติงานร่วมกัน โดยให้ความสำคัญกับการประสานงานในระดับทวิภาคี

ส่วนการประชุมหัวหน้าหน่วย เพื่อนำผลการประชุมระดับผู้ปฏิบัติมาดำเนินการตามแผนงานให้บรรลุพันธกิจและวัตถุประสงค์ในข้อตกลงระหว่างประเทศสมาชิก รวมถึงกำหนดนโยบายความร่วมมือกันในด้านต่างๆ

โดยการประชุมฝ่ายปฏิบัติ ครั้งที่ 9 มอบหมายให้แต่ละประเทศสมาชิกศึกษาและนำเสนอ ดังนี้

1.การค้นหาและกู้ภัยทางทะเล จัดโดยประเทศอินเดีย โดยมีการแบ่งปันข้อมูลในประเทศสมาชิก รวบรวมการฝึกซ้อมการค้นหาช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล 2.การรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล จัดโดยประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อทำให้แน่ใจถึงการป้องกันอุบัติเหตุทางทะเลและการรับมือต่อเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลทางทะเล โดยมีการแบ่งปันข้อมูลการรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล การฝึกซ้อมรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล

3.การเตรียมพร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติ จัดโดยประเทศไทย เพื่อลดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินให้น้อยที่สุด และพัฒนากลไกการรับมือต่อภัยพิบัติ แบ่งปันบทเรียนที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวบรวมการฝึกซ้อมรับมือภัยพิบัติ

4.การป้องกันการกระทำความผิดทางทะเล จัดโดยประเทศญี่ปุ่น เพื่อรับมือต่อการกระทำความผิดทางทะเลสะดวกและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และการป้องกันการกระทำความผิดทางทะเลในเขตทวีปเอเชีย และ 5.การพัฒนาขีดความสามารถและการประสานงานสำหรับหน่วยยามฝั่งในภูมิภาค จัดโดยประเทศมาเลเซียและญี่ปุ่น เพื่อเพิ่มความรู้ให้บุคลากรของประเทศสมาชิก

โดย พล.ต.ต.บุญสืบ ไพรเถื่อน ผู้บังคับการตำรวจน้ำ (ผบก.รน.) กล่าวว่า เป็นการหาพันธมิตรแนวร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในการช่วยเหลือประชาชนให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด อาทิ สึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น

มีสภาพอย่างไร ใครจากประเทศใดมีความชำนาญด้านไหน ให้เข้าไปช่วยกันยามเกิดภัยพิบัติ

"โดยสภาพอากาศของแต่ละประเทศจะไม่เหมือนกัน ประเทศไทยช่วงนี้ฝั่งทะเลอันดามันมีคลื่นลมสูงมาก มีเรือนักท่องเที่ยวถูกคลื่นซัด ทำให้เรือจม ซึ่งตำรวจน้ำได้เตรียมพร้อมสแตนด์บายตลอด 24 ชม. เพื่อให้ความช่วยเหลือ" ผบก.รน.กล่าว

เมื่อภัยธรรมชาติเป็นสิ่งที่ไม่อาจควบคุมได้ ฉะนั้น การเตรียมพร้อมรับมือเพื่อลดความสูญเสียจึงเป็นเรื่องสำคัญ!!

ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1369983592

ที่มา: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 31 พ.ค.56
วันที่โพสต์: 1/06/2556 เวลา 03:17:05 ดูภาพสไลด์โชว์ ตั้งป้อมรับมือ "ภัยพิบัติชายฝั่ง" 19 ชาติพันธมิตรระดมสมอง ช่วยเหลือระดับทวิภาคี

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

รวมภาพภัยพิบัติบริเวณชายหาดและท้องทะเล อุบัติเหตุทางทะเลที่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากสภาวะอากาศ คลื่นลมแรง เป็นเหตุให้นักท่องเที่ยว เรือประมง ชาวบ้านริมชายฝั่งเสียชีวิต บาดเจ็บ บ้านเรือนเสียหาย แต่ละปีจำนวนไม่น้อย ยังไม่นับรวมเหตุสึนามิ คลื่นยักษ์ที่ซัดถล่มบ้านเรือนเสียหายผู้คนล้มตายจนกลายเป็นโศกนาฏกรรม ที่ล่าสุดเกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2554 หรืออย่างประเทศไทยเคยเกิดสึนามิเมื่อปี 2547 ฤดูกาลแปรปรวนปีนี้ทำให้ประเทศไทยเกิดอุบัติเหตุทางทะเลหลายครั้ง อาทิ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม เกิดคลื่นลมแรงสูง 3 เมตร ซัดชายหาด จ.กระบี่ บริเวณอ่าวต้นไทร เกาะพีพี ทำให้เรือหางยาวที่จอดอยู่ริมชายหาดเสียหาย รวม 10 ลำ และบริเวณชายหาดอ่าวน้ำเมา 5 ต.ไสไทย มีเรือหางยาวถูกคลื่นซัดเสียหายกว่า 50 ลำ นักท่องเที่ยวบาดเจ็บ 1 ราย และคนขับเรือบาดเจ็บ 1 ราย เหตุที่เกิดขึ้นชาวบ้านต่างตกใจ นึกว่าเป็นสึนามิ รวมทั้งเย็นวันที่ 28 พฤษภาคม เกิดเหตุเรือโดยสารบริษัทเพื่อนฝูง 2 ออกจากท่าเรือเกาะพีพี จ.กระบี่ เพื่อกลับท่าเทียบเรือรัษฎา บรรทุกนักท่องเที่ยว 111 คน และลูกเรืออีก 5 คน เกิดปัญหาเรือรั่วจากคลื่นลมแรง โชคดีที่ตำรวจน้ำช่วยเหลือผู้โดยสารได้ทัน อีกเหตุการณ์เวลา 00.30 น. วันที่ 26 พฤษภาคม คลื่นซัดเรือชาวบ้านล่มกลางทะเลอันดามัน บริเวณเกาะกวางกับเกาะยาว หมู่ 1 ต.ตันหยงโป อ.เมือง จ.สตูล ซึ่งตำรวจน้ำช่วยเหลือผู้โดยสาร 12 คน ปลอดภัยเช่นกัน เมื่อสภาพอากาศแปรปรวน ส่งผลกระทบกับหลายประเทศ ดังนั้น การป้องกันภัยทางทะเลและชายฝั่งจึงมีความสำคัญ หลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย จึงจัดประชุมร่วมกัน ในระดับปฏิบัติการเพื่อเตรียมการประชุมหัวหน้าหน่วยงานยามฝั่งในภูมิภาคเอเชีย (WLM -HACGAM 9th, 2013) และการประชุมหัวหน้าหน่วยงานยามฝั่งในภูมิภาคเอเชีย (HACGAM 9th, 2013) ที่ล่าสุดไทยเป็นเจ้าภาพในการประชุม ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 27-30 พฤษภาคม ที่โรงแรมดุสิตธานี พัทยา จ.ชลบุรี มีประเทศสมาชิก 19 ประเทศเข้าร่วม ประกอบด้วย บังกลาเทศ โดยหน่วยยามฝั่งประเทศบังกลาเทศ บรูไน โดยตำรวจน้ำประเทศบรูไน กัมพูชา โดยกองตำรวจน้ำประเทศกัมพูชา ฮ่องกง โดยกองบัญชาการตำรวจน้ำประเทศฮ่องกง จีน โดยกระทรวงรักษาความปลอดภัยแนวตะเข็บชายแดน และกระทรวงการขนส่งทางน้ำประเทศจีน อินเดีย โดยหน่วยยามฝั่งประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย โดยคณะกรรมการรักษาความปลอดภัยทางน้ำ ตำรวจน้ำประเทศอินโดนีเซีย และกระทรวงการขนส่งทางน้ำประเทศอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น โดยหน่วยยามฝั่งประเทศญี่ปุ่น เกาหลี โดยหน่วยยามฝั่งประเทศเกาหลี ลาว โดยกระทรวงการขนส่งทางน้ำประเทศลาว มาเลเซีย โดยหน่วยบังคับใช้กฎหมายทางน้ำประเทศมาเลเซีย มัลดีฟส์ โดยหน่วยยามฝั่งประเทศมัลดีฟส์ พม่า โดยกระทรวงการขนส่งทางน้ำประเทศพม่า ปากีสถาน โดยหน่วยรักษาความปลอดภัยทางน้ำ ประเทศปากีสถาน ฟิลิปปินส์ โดยหน่วยยามฝั่งประเทศฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ โดยหน่วยยามฝั่งประเทศสิงคโปร์ ศรีลังกา โดยหน่วยยามฝั่งประเทศศรีลังกา ไทย โดยกรมเจ้าท่า และกองบังคับการตำรวจน้ำ และ เวียดนาม โดยตำรวจน้ำประเทศเวียดนาม หัวข้อในการประชุมระดับผู้ปฏิบัติ เกี่ยวกับการค้นหาและกู้ภัยทางทะเล การรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล การ เตรียมพร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติ และการป้องกันการกระทำผิดกฎหมายทางทะเล เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนงาน กำหนดเป้าหมาย ขั้นตอนการประสานการปฏิบัติงานร่วมกัน โดยให้ความสำคัญกับการประสานงานในระดับทวิภาคี ส่วนการประชุมหัวหน้าหน่วย เพื่อนำผลการประชุมระดับผู้ปฏิบัติมาดำเนินการตามแผนงานให้บรรลุพันธกิจและวัตถุประสงค์ในข้อตกลงระหว่างประเทศสมาชิก รวมถึงกำหนดนโยบายความร่วมมือกันในด้านต่างๆ โดยการประชุมฝ่ายปฏิบัติ ครั้งที่ 9 มอบหมายให้แต่ละประเทศสมาชิกศึกษาและนำเสนอ ดังนี้ 1.การค้นหาและกู้ภัยทางทะเล จัดโดยประเทศอินเดีย โดยมีการแบ่งปันข้อมูลในประเทศสมาชิก รวบรวมการฝึกซ้อมการค้นหาช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล 2.การรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล จัดโดยประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อทำให้แน่ใจถึงการป้องกันอุบัติเหตุทางทะเลและการรับมือต่อเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลทางทะเล โดยมีการแบ่งปันข้อมูลการรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล การฝึกซ้อมรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล 3.การเตรียมพร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติ จัดโดยประเทศไทย เพื่อลดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินให้น้อยที่สุด และพัฒนากลไกการรับมือต่อภัยพิบัติ แบ่งปันบทเรียนที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวบรวมการฝึกซ้อมรับมือภัยพิบัติ 4.การป้องกันการกระทำความผิดทางทะเล จัดโดยประเทศญี่ปุ่น เพื่อรับมือต่อการกระทำความผิดทางทะเลสะดวกและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และการป้องกันการกระทำความผิดทางทะเลในเขตทวีปเอเชีย และ 5.การพัฒนาขีดความสามารถและการประสานงานสำหรับหน่วยยามฝั่งในภูมิภาค จัดโดยประเทศมาเลเซียและญี่ปุ่น เพื่อเพิ่มความรู้ให้บุคลากรของประเทศสมาชิก โดย พล.ต.ต.บุญสืบ ไพรเถื่อน ผู้บังคับการตำรวจน้ำ (ผบก.รน.) กล่าวว่า เป็นการหาพันธมิตรแนวร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในการช่วยเหลือประชาชนให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด อาทิ สึนามิที่ประเทศญี่ปุ่น มีสภาพอย่างไร ใครจากประเทศใดมีความชำนาญด้านไหน ให้เข้าไปช่วยกันยามเกิดภัยพิบัติ "โดยสภาพอากาศของแต่ละประเทศจะไม่เหมือนกัน ประเทศไทยช่วงนี้ฝั่งทะเลอันดามันมีคลื่นลมสูงมาก มีเรือนักท่องเที่ยวถูกคลื่นซัด ทำให้เรือจม ซึ่งตำรวจน้ำได้เตรียมพร้อมสแตนด์บายตลอด 24 ชม. เพื่อให้ความช่วยเหลือ" ผบก.รน.กล่าว เมื่อภัยธรรมชาติเป็นสิ่งที่ไม่อาจควบคุมได้ ฉะนั้น การเตรียมพร้อมรับมือเพื่อลดความสูญเสียจึงเป็นเรื่องสำคัญ!! ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1369983592

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...