ปภ.จับมือ “ไจก้า” พัฒนาศักยภาพจัดการภัยพิบัติ
เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. ที่โรงแรมเมืองลิกอร์ นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม รองผวจ.นครศรีธรรมราช เป็นประธานเปิดการฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะ หรือทีทีเอ็กซ์ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพในการจัดการภัยพิบัติของประเทศไทย ระยะที่ 2 โดยความร่วมมือระหว่างกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ.
กระทรวงศึกษาธิการ และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น หรือ ไจก้า (JICA) ทั้งนี้เพื่อให้ความรู้ สร้างความตระหนัก และเตรียมความพร้อมให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการดำเนินงานเพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งทดสอบแผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งเพื่อทดสอบการประสานงาน การแก้ไขปัญหา การบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ในภาวะฉุกเฉิน
การฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญจากไจก้า เป็นวิทยากร มีเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง และหน่วยงานภาคีเครือข่ายเข้าร่วมฝึกซ้อมแผน 140 คน ใช้ระยะเวลา 2 วัน ทั้งนี้นายนายทรงพล กล่าวว่า การฝึกซ้อมครั้งนี้ เป็นการจินตนาการว่าจะเกิดภัยอะไรขึ้นบ้าง และจะแก้ไขอย่างไร โดยมีบทบาทสมมติว่าจะเล่นกันอย่างไร ในอดีตที่ผ่านมาเคยเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง มีปัญหาอะไรบ้าง ซึ่งแต่เดิมเราเคยมีความเชื่อว่าภัยพิบัติบางอย่างไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย เป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องของจินตนาการในภาพยนตร์ต่างประเทศ แต่หลังจากเกิดดินโคลนถล่ม เกิดคลื่นสึนามิ ความเชื่อเดิม ๆ เหล่านั้นจึงหมดไป
โดยช่วงแรกที่เกิดภัยพิบัติทำให้เราตั้งหลักไม่ทัน เกิดความสูญเสียจำนวนมาก การสั่งการ การช่วยเหลือมีความสับสน การที่ทางประเทศญี่ปุ่นเข้ามาให้คำแนะนำในด้านต่าง ๆ ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเพราะญี่ปุ่นเคยเผชิญเหตุภัยพิบัติที่หนักมาก ๆ มาแล้วหลายครั้ง มีระบบบริหารจัดการที่ค่อนข้างสมบูรณ์ และที่สำคัญเราต้องเรียนรู้ทัศนคติ ความมุ่งมั่น ความมีระเบียบวินัยและความพร้อมที่จะฝ่าฟันภยันตรายให้ผ่านพ้นไปให้ได้ เหมือนกับคนญี่ปุ่น ซึ่งสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือเมื่อครั้งที่ญี่ปุ่นประสบภัยพิบัติคลื่น สึนามิ เราจะไม่เห็นคนญี่ปุ่นแย่งหรือเวียนกันรับของบริจาค ถือว่าเขามีระเบียบวินัยมาก ซึ่งต่างจากบ้านเราเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นจะมีคนเข้ามามุงดูเหตุการณ์จำนวน มาก และด้วยความที่สังคมไทยมีความเอื้ออาทร ต่างคนเอาของไปมอบให้กันและกัน ทำให้รถติด เจ้าหน้าที่เข้าไปทำงานได้ยากมาก ๆ ทำอย่างไรที่จะจัดระบบเหล่านี้ให้ดี
ทั้งนี้ นายโนบูรุ จิดซูฮีโร่ คณะผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนการจัดการภัยพิบัติองค์การความร่วมมือระหว่าง ประเทศญี่ปุ่น หรือ ไจก้า กล่าวว่า ระยะแรกเมื่อปี 2004 – 2006 ทางไจก้าได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือด้านการจัดการภัยพิบัติในพื้นที่ภาคเหนือ ที่จังหวัดลำปางและลำพูน ส่วนในระยะที่ 2 ปี 2010 -2014 ได้เลือกพื้นที่ภาคใต้คือจังหวัดนครศรีธรรมราช เพราะจากการศึกษาข้อมูลพบว่าเป็นพื้นที่ ที่เคยเกิดภัยพิบัติแล้วมีความเสียหายมาก ซึ่งถือเป็นพื้นที่นำร่องเพื่อขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป สำหรับการฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะในครั้งนี้มีความคาดหวังให้องค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่นมีศักยภาพในการรับมือกับภัยพิบัติทั้งก่อนเกิดภัย ระหว่างเกิดภัยและหลังเกิดภัยพิบัติ ซึ่งหลังจากฝึกอบรมแล้วขอให้กลับไปฝึกซ้อมแผนนี้เป็นประจำอย่างน้อยปีละ ครั้งเพื่อรักษาระดับมาตรฐานและเพิ่มพูนความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่.
ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/thailand/213436 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
การประชุมภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพในการจัดการภัยพิบัติของประเทศไทย ระยะที่ 2 เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. ที่โรงแรมเมืองลิกอร์ นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม รองผวจ.นครศรีธรรมราช เป็นประธานเปิดการฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะ หรือทีทีเอ็กซ์ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพในการจัดการภัยพิบัติของประเทศไทย ระยะที่ 2 โดยความร่วมมือระหว่างกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ. กระทรวงศึกษาธิการ และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น หรือ ไจก้า (JICA) ทั้งนี้เพื่อให้ความรู้ สร้างความตระหนัก และเตรียมความพร้อมให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการดำเนินงานเพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งทดสอบแผนปฏิบัติการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมทั้งเพื่อทดสอบการประสานงาน การแก้ไขปัญหา การบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน และภาคีเครือข่ายในพื้นที่ในภาวะฉุกเฉิน การฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญจากไจก้า เป็นวิทยากร มีเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 10 แห่ง และหน่วยงานภาคีเครือข่ายเข้าร่วมฝึกซ้อมแผน 140 คน ใช้ระยะเวลา 2 วัน ทั้งนี้นายนายทรงพล กล่าวว่า การฝึกซ้อมครั้งนี้ เป็นการจินตนาการว่าจะเกิดภัยอะไรขึ้นบ้าง และจะแก้ไขอย่างไร โดยมีบทบาทสมมติว่าจะเล่นกันอย่างไร ในอดีตที่ผ่านมาเคยเกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นบ้าง มีปัญหาอะไรบ้าง ซึ่งแต่เดิมเราเคยมีความเชื่อว่าภัยพิบัติบางอย่างไม่เกิดขึ้นในประเทศไทย เป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องของจินตนาการในภาพยนตร์ต่างประเทศ แต่หลังจากเกิดดินโคลนถล่ม เกิดคลื่นสึนามิ ความเชื่อเดิม ๆ เหล่านั้นจึงหมดไป โดยช่วงแรกที่เกิดภัยพิบัติทำให้เราตั้งหลักไม่ทัน เกิดความสูญเสียจำนวนมาก การสั่งการ การช่วยเหลือมีความสับสน การที่ทางประเทศญี่ปุ่นเข้ามาให้คำแนะนำในด้านต่าง ๆ ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเพราะญี่ปุ่นเคยเผชิญเหตุภัยพิบัติที่หนักมาก ๆ มาแล้วหลายครั้ง มีระบบบริหารจัดการที่ค่อนข้างสมบูรณ์ และที่สำคัญเราต้องเรียนรู้ทัศนคติ ความมุ่งมั่น ความมีระเบียบวินัยและความพร้อมที่จะฝ่าฟันภยันตรายให้ผ่านพ้นไปให้ได้ เหมือนกับคนญี่ปุ่น ซึ่งสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือเมื่อครั้งที่ญี่ปุ่นประสบภัยพิบัติคลื่น สึนามิ เราจะไม่เห็นคนญี่ปุ่นแย่งหรือเวียนกันรับของบริจาค ถือว่าเขามีระเบียบวินัยมาก ซึ่งต่างจากบ้านเราเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นจะมีคนเข้ามามุงดูเหตุการณ์จำนวน มาก และด้วยความที่สังคมไทยมีความเอื้ออาทร ต่างคนเอาของไปมอบให้กันและกัน ทำให้รถติด เจ้าหน้าที่เข้าไปทำงานได้ยากมาก ๆ ทำอย่างไรที่จะจัดระบบเหล่านี้ให้ดี ทั้งนี้ นายโนบูรุ จิดซูฮีโร่ คณะผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนการจัดการภัยพิบัติองค์การความร่วมมือระหว่าง ประเทศญี่ปุ่น หรือ ไจก้า กล่าวว่า ระยะแรกเมื่อปี 2004 – 2006 ทางไจก้าได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือด้านการจัดการภัยพิบัติในพื้นที่ภาคเหนือ ที่จังหวัดลำปางและลำพูน ส่วนในระยะที่ 2 ปี 2010 -2014 ได้เลือกพื้นที่ภาคใต้คือจังหวัดนครศรีธรรมราช เพราะจากการศึกษาข้อมูลพบว่าเป็นพื้นที่ ที่เคยเกิดภัยพิบัติแล้วมีความเสียหายมาก ซึ่งถือเป็นพื้นที่นำร่องเพื่อขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป สำหรับการฝึกซ้อมแผนบนโต๊ะในครั้งนี้มีความคาดหวังให้องค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่นมีศักยภาพในการรับมือกับภัยพิบัติทั้งก่อนเกิดภัย ระหว่างเกิดภัยและหลังเกิดภัยพิบัติ ซึ่งหลังจากฝึกอบรมแล้วขอให้กลับไปฝึกซ้อมแผนนี้เป็นประจำอย่างน้อยปีละ ครั้งเพื่อรักษาระดับมาตรฐานและเพิ่มพูนความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่. ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/thailand/213436
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)