กทม. เตรียมแก้น้ำท่วมดอนเมืองหลังพบระบายได้ช้า
นายอดิศักดิ์ ขันตี ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ(สนน.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ขณะนี้ได้เร่งดำเนินการแก้ไขจุดอ่อนน้ำท่วมในกทม. โดยเฉพาะพื้นที่เขตดอนเมือง ซึ่งมีปัญหาน้ำท่วมขังในหมู่บ้านและชุมชนทุกครั้งที่ฝนตก อาทิ หมู่บ้านณัฐนันท์ 3 หมู่บ้านโกสุมรวมใจ ชุมชนวัดไผ่เขียว เป็นต้น ต้องใช้เวลาในการระบายค่อนข้างนาน เนื่องจากลักษณะพื้นที่เป็นแบบปิดล้อม มีชุมชนเป็นจำนวนมากและมีหมู่บ้านจัดสรรเกิดขึ้นมากมาย ไม่ได้มีการวางระบบระบายน้ำร่วมกัน นอกจากนี้ยังพบว่า ถนนสายหลัก อาทิ ถนนช่างอากาศอุทิศ ถนนสรงประภา มีขนาดท่อระบายน้ำประมาณ 80 เซนติเมตร (ซม.) โดยทั่วไปถนนสายหลักควรมีท่อระบายน้ำขนาด 1.50 เมตรขึ้นไป ขณะที่ถนนในหมู่บ้านมีขนาดท่อระบายน้ำเพียง 30-60 ซม.เท่านั้น ที่ผ่านมาได้มีมาตรการเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหา อาทิ การเพิ่มประสิทธิภาพสถานีสูบน้ำคลองตาอูฐ การก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. ดาดท้องคลองคูนายกิมสาย 1-3 การเสริมเครื่องสูบน้ำในพื้นที่จุดอ่อน เป็นต้น
นาย อดิศักดิ์ กล่าวว่า สนน.จึงได้ดำเนินการว่าจ้างที่ปรึกษาทำการศึกษาพื้นที่เขตดอนเมือง เพื่อจัดทำแผนแก้ปัญหาดังกล่าว ขณะนี้ขั้นตอนการศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว และได้นำเสนอผู้บริหารกทม.รับทราบแล้ว อยู่ระหว่างทำโครงการเพื่อเสนอของบประมาณ ทั้งนี้แนวทางการแก้ปัญหาต้องวางระบบระบายน้ำใหม่ คือการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำ การเพิ่มขนาดท่อระบายน้ำในถนนสายหลักและสายรองให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน การพัฒนาคูคลองและการสร้างบ่อพักน้ำเพื่อระบายลงคลองเปรมประชากร ทั้งหมดนี้เป็นแผนระยะยาวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในพื้นที่
ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/bkk/212912 (ขนาดไฟล์: 167)
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ท่อระบายขนาดใหญ่ใช้ระบายลงสู่แม่น้ำ นายอดิศักดิ์ ขันตี ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ(สนน.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า ขณะนี้ได้เร่งดำเนินการแก้ไขจุดอ่อนน้ำท่วมในกทม. โดยเฉพาะพื้นที่เขตดอนเมือง ซึ่งมีปัญหาน้ำท่วมขังในหมู่บ้านและชุมชนทุกครั้งที่ฝนตก อาทิ หมู่บ้านณัฐนันท์ 3 หมู่บ้านโกสุมรวมใจ ชุมชนวัดไผ่เขียว เป็นต้น ต้องใช้เวลาในการระบายค่อนข้างนาน เนื่องจากลักษณะพื้นที่เป็นแบบปิดล้อม มีชุมชนเป็นจำนวนมากและมีหมู่บ้านจัดสรรเกิดขึ้นมากมาย ไม่ได้มีการวางระบบระบายน้ำร่วมกัน นอกจากนี้ยังพบว่า ถนนสายหลัก อาทิ ถนนช่างอากาศอุทิศ ถนนสรงประภา มีขนาดท่อระบายน้ำประมาณ 80 เซนติเมตร (ซม.) โดยทั่วไปถนนสายหลักควรมีท่อระบายน้ำขนาด 1.50 เมตรขึ้นไป ขณะที่ถนนในหมู่บ้านมีขนาดท่อระบายน้ำเพียง 30-60 ซม.เท่านั้น ที่ผ่านมาได้มีมาตรการเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหา อาทิ การเพิ่มประสิทธิภาพสถานีสูบน้ำคลองตาอูฐ การก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. ดาดท้องคลองคูนายกิมสาย 1-3 การเสริมเครื่องสูบน้ำในพื้นที่จุดอ่อน เป็นต้น นาย อดิศักดิ์ กล่าวว่า สนน.จึงได้ดำเนินการว่าจ้างที่ปรึกษาทำการศึกษาพื้นที่เขตดอนเมือง เพื่อจัดทำแผนแก้ปัญหาดังกล่าว ขณะนี้ขั้นตอนการศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว และได้นำเสนอผู้บริหารกทม.รับทราบแล้ว อยู่ระหว่างทำโครงการเพื่อเสนอของบประมาณ ทั้งนี้แนวทางการแก้ปัญหาต้องวางระบบระบายน้ำใหม่ คือการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำ การเพิ่มขนาดท่อระบายน้ำในถนนสายหลักและสายรองให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน การพัฒนาคูคลองและการสร้างบ่อพักน้ำเพื่อระบายลงคลองเปรมประชากร ทั้งหมดนี้เป็นแผนระยะยาวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในพื้นที่ ขอบคุณ... http://www.dailynews.co.th/bkk/212912
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)