ขยะพิษภัยพิบัติโลก
น่าตกใจเป็นอย่างยิ่งกับข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ที่ระบุว่า ในอีก 3 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะประสบปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมหาศาล อันเป็นผลมาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้มีการพัฒนา อย่างรวดเร็วและมีอายุการใช้งานที่ไม่นาน อาจจะประมาณ 3-4 ปีเท่านั้น อีกทั้งราคาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ๆ ก็มีราคาถูกเมื่อต้องกลายเป็นขยะจะเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม เป็นอันตรายต่อสุขภาพมีธาตุบางชนิดที่เป็นพิษ ได้แก่ ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม และกำมะถัน โดยเฉพาะจอมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปมีตะกั่วเป็นองค์ประกอบ สูงถึงร้อยละ 6
สังคมโลกได้ตระหนกถึงพิษภัยขณะพิษเหล่านี้ โดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเอ็นดีพี เผยข้อมูลขยะพิษทั่วทุกมุมโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้นถึงปีละ 18 เปอร์เซ็นต์ หรือราว 40 ล้านตัน สำหรับข้อมูลในไทยในปี 2547 พบว่า มีขยะอันตรายจากชุมชนเกิดขึ้นในประเทศไทยปีละ 4 แสนตัน และนับวันจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น โดยช่วงปลายปี 2554 ยังมีขยะอันตรายจากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในภาคกลางตอนล่างอีก 18,000 ตัน ซึ่งล้วนยังไม่มีระบบการจัดการที่ดี ยังคงเป็นปัญหาที่หลายฝ่ายร่วมมือกันลดการใช้และทำลายอย่างถูกวิธี
โครงการพัฒนาแนวทางการประเมินปริมาณซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ของกรมควบคุมมลพิษ ได้มีการคาดการณ์ว่า ในช่วงปี พ.ศ.2555-2559 หากไม่มีการดำเนินการกำจัดขยะอันตรายอย่างถูกต้อง จะมีซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ดังนี้ โทรทัศน์ 12 ล้านเครื่อง กล้องถ่ายภาพ/วิดีโอ 4 ล้านเครื่อง อุปกรณ์เล่นภาพ/เสียงขนาดพกพา 17 ล้านเครื่อง เครื่องพิมพ์/โทรสาร 7 ล้านเครื่อง โทรศัพท์มือถือ/โทรศัพท์บ้าน 48 ล้านเครื่อง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล 11 ล้านเครื่อง เครื่องปรับอากาศ 3 ล้านเครื่อง และตู้เย็น 4 ล้านเครื่อง
ความน่ากลัวของขยะอิเล็กทรอนิกส์กำลังคุกคามไปยังประเทศกำลังพัฒนา เมื่อกรีนพีซชี้ว่า ประเทศไทย จีน และอินเดียกำลังกลายเป็นแหล่งทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมหาศาลจากประเทศที่ พัฒนาแล้ว ซึ่งเข้ามาในรูปแบบของสินค้ามือสองหรือซากผลิตภัณฑ์เพื่อรีไซเคิล ขณะที่ทั่วโลกได้พุ่งเป้าวิธีกำจัดที่นอกเหนือจากการเผาทำลายแล้ว ยังได้คิดค้นการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยบางประเทศในเอเชียได้ออกกฎหมาย รีไซเคิลคอมพิวเตอร์แห่งชาติ บริษัทผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หลายบริษัทมีการพัฒนาสินค้า อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีการตั้งจุดรับคืนสินค้าที่หมด อายุเพื่อนำไปรีไซเคิลอีกด้วย
ปัญหาขยะพิษก็เช่นเดียวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่น คนมักจะมองว่าเป็นเรื่องไกลตัวและไม่สนใจนัก แต่จะตระหนักกันมากขึ้นเมื่อเกิดปัญหาแล้ว หลายภาคส่วนเริ่มตระหนักถึงอันตรายที่มีมากขึ้นทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและการค้า แต่นั่นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น รัฐควรออกกฎหมายที่เข้มแข็งและเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย โดยใช้ความยั่งยืนของสุขภาพและทรัพยากรของคนในท้องถิ่นเป็นเป้าหมายสำคัญ ขยะข้ามชาติต้องมีการจัดการด้วยวิธีการที่ถูกต้องตามหลักสากล โดยการเคารพสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
กองขยะจำนวนมหาศาล น่าตกใจเป็นอย่างยิ่งกับข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ที่ระบุว่า ในอีก 3 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะประสบปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมหาศาล อันเป็นผลมาจากเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้มีการพัฒนา อย่างรวดเร็วและมีอายุการใช้งานที่ไม่นาน อาจจะประมาณ 3-4 ปีเท่านั้น อีกทั้งราคาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใหม่ๆ ก็มีราคาถูกเมื่อต้องกลายเป็นขยะจะเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม เป็นอันตรายต่อสุขภาพมีธาตุบางชนิดที่เป็นพิษ ได้แก่ ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม และกำมะถัน โดยเฉพาะจอมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปมีตะกั่วเป็นองค์ประกอบ สูงถึงร้อยละ 6 สังคมโลกได้ตระหนกถึงพิษภัยขณะพิษเหล่านี้ โดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเอ็นดีพี เผยข้อมูลขยะพิษทั่วทุกมุมโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้นถึงปีละ 18 เปอร์เซ็นต์ หรือราว 40 ล้านตัน สำหรับข้อมูลในไทยในปี 2547 พบว่า มีขยะอันตรายจากชุมชนเกิดขึ้นในประเทศไทยปีละ 4 แสนตัน และนับวันจะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้น โดยช่วงปลายปี 2554 ยังมีขยะอันตรายจากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในภาคกลางตอนล่างอีก 18,000 ตัน ซึ่งล้วนยังไม่มีระบบการจัดการที่ดี ยังคงเป็นปัญหาที่หลายฝ่ายร่วมมือกันลดการใช้และทำลายอย่างถูกวิธี โครงการพัฒนาแนวทางการประเมินปริมาณซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและ อิเล็กทรอนิกส์ของกรมควบคุมมลพิษ ได้มีการคาดการณ์ว่า ในช่วงปี พ.ศ.2555-2559 หากไม่มีการดำเนินการกำจัดขยะอันตรายอย่างถูกต้อง จะมีซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย ดังนี้ โทรทัศน์ 12 ล้านเครื่อง กล้องถ่ายภาพ/วิดีโอ 4 ล้านเครื่อง อุปกรณ์เล่นภาพ/เสียงขนาดพกพา 17 ล้านเครื่อง เครื่องพิมพ์/โทรสาร 7 ล้านเครื่อง โทรศัพท์มือถือ/โทรศัพท์บ้าน 48 ล้านเครื่อง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล 11 ล้านเครื่อง เครื่องปรับอากาศ 3 ล้านเครื่อง และตู้เย็น 4 ล้านเครื่อง ความน่ากลัวของขยะอิเล็กทรอนิกส์กำลังคุกคามไปยังประเทศกำลังพัฒนา เมื่อกรีนพีซชี้ว่า ประเทศไทย จีน และอินเดียกำลังกลายเป็นแหล่งทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมหาศาลจากประเทศที่ พัฒนาแล้ว ซึ่งเข้ามาในรูปแบบของสินค้ามือสองหรือซากผลิตภัณฑ์เพื่อรีไซเคิล ขณะที่ทั่วโลกได้พุ่งเป้าวิธีกำจัดที่นอกเหนือจากการเผาทำลายแล้ว ยังได้คิดค้นการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยบางประเทศในเอเชียได้ออกกฎหมาย รีไซเคิลคอมพิวเตอร์แห่งชาติ บริษัทผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หลายบริษัทมีการพัฒนาสินค้า อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีการตั้งจุดรับคืนสินค้าที่หมด อายุเพื่อนำไปรีไซเคิลอีกด้วย ปัญหาขยะพิษก็เช่นเดียวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมอื่น คนมักจะมองว่าเป็นเรื่องไกลตัวและไม่สนใจนัก แต่จะตระหนักกันมากขึ้นเมื่อเกิดปัญหาแล้ว หลายภาคส่วนเริ่มตระหนักถึงอันตรายที่มีมากขึ้นทั้งต่อสิ่งแวดล้อมและการค้า แต่นั่นเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น รัฐควรออกกฎหมายที่เข้มแข็งและเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่าย โดยใช้ความยั่งยืนของสุขภาพและทรัพยากรของคนในท้องถิ่นเป็นเป้าหมายสำคัญ ขยะข้ามชาติต้องมีการจัดการด้วยวิธีการที่ถูกต้องตามหลักสากล โดยการเคารพสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/detail/20130616/161108/ขยะพิษภัยพิบัติโลก.html#.Ub0iNTcs2yg
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)