ปภ. ประสานจังหวัด เร่งจัดทำแผนรับมือภัยพิบัติฤดูฝน
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีมีความห่วงใยประชาชนที่อาจได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัย พิบัติในช่วงฤดูฝน โดยทาง ปภ.จึงประสานจังหวัด เร่งจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยและดินโคลนถล่ม ระดับจังหวัด อำเภอ ท้องถิ่นให้ครอบคลุมทุกมิติ สอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงภัยในพื้นที่ พร้อมกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบที่ชัดเจน และบูรณาการการปฏิบัติงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงเชื่อมโยงกับแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2553 – 2557และบทว่าด้วยการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย ตามกรอบแนวทาง
โดยกรณีเกิด หรือคาดว่าจะเกิดภัย ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด (กอ.ปภ.จว.) ปฏิบัติหน้าที่บริหารจัดการภัยจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ ส่วนกรณีสถานการณ์ภัยรุนแรงจนเกินขีดความสามารถของจังหวัด ให้มีการปรับโครงสร้างเป็นศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ส่วนหน้า เพื่อรองรับการปฏิบัติงานของกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บก.ปภ.ช.) รวมทั้งเชื่อมโยงกลไกการบริหารจัดการภัยพิบัติกับสำนักงานนโยบายและบริหาร จัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูบูรณะ จัดหาเครื่องอุปโภค บริโภค เครื่องยังชีพที่จำเป็น และที่พักชั่วคราวให้แก่ผู้ประสบภัยเป็นลำดับแรก ตลอดจนประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ฟื้นฟูบูรณะสิ่งสาธารณูปโภคที่ได้รับความเสียหาย ให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ ทั้งนี้ ในการดำเนินงานให้ยึดระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วย เหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556และหลักเกณฑ์การจ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุก เฉิน พ.ศ.2556อย่างเคร่งครัด
นอกจากนี้ ได้ประสานให้จังหวัดศึกษาบทเรียนเหตุการณ์มหาอุทกภัยปี 2554 โดยนำประสบการณ์ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย มาปรับปรุงแนวทางการเตรียมความพร้อมและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้เป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า นายกรัฐมนตรีมีความห่วงใยประชาชนที่อาจได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัย พิบัติในช่วงฤดูฝน โดยทาง ปภ.จึงประสานจังหวัด เร่งจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยและดินโคลนถล่ม ระดับจังหวัด อำเภอ ท้องถิ่นให้ครอบคลุมทุกมิติ สอดคล้องกับสภาพความเสี่ยงภัยในพื้นที่ พร้อมกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบที่ชัดเจน และบูรณาการการปฏิบัติงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงเชื่อมโยงกับแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2553 – 2557และบทว่าด้วยการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย ตามกรอบแนวทาง โดยกรณีเกิด หรือคาดว่าจะเกิดภัย ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด (กอ.ปภ.จว.) ปฏิบัติหน้าที่บริหารจัดการภัยจนกว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ ส่วนกรณีสถานการณ์ภัยรุนแรงจนเกินขีดความสามารถของจังหวัด ให้มีการปรับโครงสร้างเป็นศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ส่วนหน้า เพื่อรองรับการปฏิบัติงานของกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บก.ปภ.ช.) รวมทั้งเชื่อมโยงกลไกการบริหารจัดการภัยพิบัติกับสำนักงานนโยบายและบริหาร จัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูบูรณะ จัดหาเครื่องอุปโภค บริโภค เครื่องยังชีพที่จำเป็น และที่พักชั่วคราวให้แก่ผู้ประสบภัยเป็นลำดับแรก ตลอดจนประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ฟื้นฟูบูรณะสิ่งสาธารณูปโภคที่ได้รับความเสียหาย ให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ ทั้งนี้ ในการดำเนินงานให้ยึดระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วย เหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556และหลักเกณฑ์การจ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยกรณีฉุก เฉิน พ.ศ.2556อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ได้ประสานให้จังหวัดศึกษาบทเรียนเหตุการณ์มหาอุทกภัยปี 2554 โดยนำประสบการณ์ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย มาปรับปรุงแนวทางการเตรียมความพร้อมและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้เป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ ขอบคุณ http://www.thannews.th.com/index.php?option=com_content&view=article&id=189931:2013-07-05-11-43-00&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)