กรมชลฯแก้ปัญหาน้ำท่วมเจ้าพระยา ขุดคลองจากกำแพงเพชร-เมืองกาญจน์
นครสวรรค์ - ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน เผยถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกว่า ตามที่มีการศึกษาแผนงานที่เกี่ยวข้อง 5 แผนงาน และในเบื้องต้นได้คัดเลือก 2 โครงการหลักศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม
โครงการ แรก ขุดคลองระบายน้ำสายใหม่ ขาณุวรลักษบุรี-ท่าม่วง เริ่มจากแม่น้ำปิง บริเวณ อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร ลงมาสู่แม่น้ำแม่กลอง ที่ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ความยาวประมาณ 289 ก.ม. โดยเขื่อนแม่กลองจะทำหน้าที่บริหารจัดการน้ำผ่านระบบชลประทานไปสู่พื้นที่ชล ประทาน รวมทั้งผลักดันออกสู่อ่าวไทยด้วย ตามแผนจะขุดคลองผ่านพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร นครสรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี ประมาณ 43,239 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่การเกษตร โครงการที่สอง ขุดคลองระบายน้ำสายใหม่ บางบาล-บางไทร ความยาวประมาณ 22 ก.ม. มีลักษณะเป็นคลองบายพาส หรือคลองเลี่ยงเมืองพระนครศรีอยุธยา
การ ขุดคลองสายใหม่ ขาณุวรลักษบุรี-ท่าม่วง เป็นการตัดยอดน้ำแม่ปิง ไม่ให้ไหลลงไปสมทบแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์ และตัดยอดน้ำของแม่น้ำสะแกกรัง เป็นการลดภาระของแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงน้ำหลากก่อนถึงเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ส่วนคลองขุดระบายน้ำ บางบาล-บางไทร เป็นการตัดยอดน้ำเจ้าพระยา ช่วงที่ไหลผ่านบริเวณเกาะเมืองซึ่งมีลักษณะเป็นคอขวด ไม่ให้ท่วมพื้นที่เกาะเมือง ซึ่งเป็นชุมชนเมืองและสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ การศึกษาโครงการดังกล่าวกรมชลประทานได้ดำเนินการก่อนการจัดตั้งคณะกรรมการ บริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) และได้จัดส่งข้อมูลให้กับ กบอ. เพื่อดำเนินการต่อไป
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
นครสวรรค์ - ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน เผยถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกว่า ตามที่มีการศึกษาแผนงานที่เกี่ยวข้อง 5 แผนงาน และในเบื้องต้นได้คัดเลือก 2 โครงการหลักศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการ แรก ขุดคลองระบายน้ำสายใหม่ ขาณุวรลักษบุรี-ท่าม่วง เริ่มจากแม่น้ำปิง บริเวณ อ.ขาณุวรลักษบุรี จ.กำแพงเพชร ลงมาสู่แม่น้ำแม่กลอง ที่ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี ความยาวประมาณ 289 ก.ม. โดยเขื่อนแม่กลองจะทำหน้าที่บริหารจัดการน้ำผ่านระบบชลประทานไปสู่พื้นที่ชล ประทาน รวมทั้งผลักดันออกสู่อ่าวไทยด้วย ตามแผนจะขุดคลองผ่านพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร นครสรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี ประมาณ 43,239 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่การเกษตร โครงการที่สอง ขุดคลองระบายน้ำสายใหม่ บางบาล-บางไทร ความยาวประมาณ 22 ก.ม. มีลักษณะเป็นคลองบายพาส หรือคลองเลี่ยงเมืองพระนครศรีอยุธยา การ ขุดคลองสายใหม่ ขาณุวรลักษบุรี-ท่าม่วง เป็นการตัดยอดน้ำแม่ปิง ไม่ให้ไหลลงไปสมทบแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์ และตัดยอดน้ำของแม่น้ำสะแกกรัง เป็นการลดภาระของแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงน้ำหลากก่อนถึงเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ส่วนคลองขุดระบายน้ำ บางบาล-บางไทร เป็นการตัดยอดน้ำเจ้าพระยา ช่วงที่ไหลผ่านบริเวณเกาะเมืองซึ่งมีลักษณะเป็นคอขวด ไม่ให้ท่วมพื้นที่เกาะเมือง ซึ่งเป็นชุมชนเมืองและสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ การศึกษาโครงการดังกล่าวกรมชลประทานได้ดำเนินการก่อนการจัดตั้งคณะกรรมการ บริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) และได้จัดส่งข้อมูลให้กับ กบอ. เพื่อดำเนินการต่อไป ขอบคุณ... http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd2NtOHdNVEF5TURjMU5nPT0=§ionid=TURNeE13PT0=&day=TWpBeE15MHdOeTB3TWc9PQ==
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)