ฝนตกกรุงเทพฯ...น้ำท่วม-น้ำขัง สารพัดแผนลงทุน "กทม." สร้างอุโมงค์ยักษ์-คลองด่วน-แก้มลิง
ช่วงนี้กำลังเข้าสู่ฤดูฝน วันไหนที่ตกหนักจะเกิดน้ำท่วมฉับพลันบนถนนบางสายใจกลางเมือง ทำให้ "คุณชายหมู-ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร" ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่แบกภาระหนักอึ้งบนบ่าเพราะได้นั่งบริหารราชการแผ่นดินเป็นสมัยที่ 2 ต้องลุกขึ้นมาติดตามแผนบริหารจัดการน้ำของ กทม.แบบเกาะติดสถานการณ์น้ำท่วมอีกครั้ง หลังผ่านประสบการณ์น้ำท่วมใหญ่ปลายปี 2554
โดยเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา ได้ไปรับฟังรายงานจาก "สำนักการระบายน้ำ กทม." ถึงแผนการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ ทั้งระยะสั้น-ระยะยาวที่บรรจุไว้ในแผนบริหารจัดการน้ำยั่งยืนของ กทม. กรอบเวลาทำงาน 4 ปี (2556-2560) มีทั้งหมด 5 โครงการใหญ่ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 100,671.48 ล้านบาท
เร่งขุดลอกท่อ-คูคลอง
ใน แผนเฉพาะหน้าจะเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือน้ำฝนโดย "อดิศักดิ์ ขันตี" ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กทม.กล่าวว่า การเตรียมพร้อมรับมือช่วงฤดูฝนนี้ ได้ดำเนินการขุดลอกคูคลองเพื่อเปิดทางน้ำไหลเป้าหมาย 1,133 คลอง ดำเนินการแล้ว 897 คลอง คิดเป็น 79.38%, การลอกท่อระบายน้ำความยาวรวม 3,949 กิโลเมตร ดำเนินการแล้ว 2,884 กิโลเมตร คิดเป็น 73.51% และติดตั้งเครื่องสูบน้ำในจุดอ่อนและจุดเสี่ยง ติดตั้งแล้ว 810 เครื่อง สำรองอีก 249 เครื่อง
"ความคืบหน้ารวมถึงได้เพิ่มเครื่องสูบน้ำและ อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้แก่สำนักงานเขตตามที่ร้องขอ เบื้องต้นจัดส่งแล้ว 254 เครื่องเพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำ แต่ยังขาดอีก 36 เครื่องเนื่องจากมีจำนวนเครื่องสูบน้ำไม่เพียงพอ"
โชว์แผน 6 อุโมงค์ยักษ์
ขณะ ที่แผนงานระยะยาวของ กทม. เมกะโปรเจ็กต์ดูเหมือนจะออกมาในรูปแบบของแผนลงทุนอุโมงค์ยักษ์ "ผอ.สำนักการระบายน้ำ" ระบุว่า โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่สำคัญจะต้องของบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลประกอบ ด้วย 1.ก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำหรืออุโมงค์ยักษ์เพิ่ม 6 แห่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี งบประมาณรวม 20,812.9 ล้านบาท
ความคืบหน้าล่าสุด "อุโมงค์ใต้คลองบางซื่อ" ระบายน้ำจากคลองลาดพร้าวถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ประสิทธิภาพการสูบ 60 ลบ.ม./วินาที เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เมตร ความยาว 6.4 กิโลเมตร อยู่ระหว่างเสนอขออนุมัติ "ครม.-คณะรัฐมนตรี" เพื่อลงนามสัญญาจ้าง วงเงิน 2,500 ล้านบาท
ส่วนที่ออกแบบเสร็จแล้วมี "อุโมงค์บึงหนองบอน" ระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ความยาว 9.4 กิโลเมตร วงเงิน 4,900 ล้านบาท และ "อุโมงค์คลองทวีวัฒนา" ระบายน้ำบริเวณคอขวด ความยาว 2 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างขออนุมัติเงินอุดหนุนรัฐบาล
ด้าน "อุโมงค์คลองเปรมประชากร" ระบายน้ำจากคลองบางบัวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 13.5 กิโลเมตร วงเงิน 6,000 ล้านบาท อยู่ระหว่างปรับปรุงแบบเนื่องจาก "ทช.-กรมทางหลวงชนบท" ไม่อนุญาตให้ก่อสร้างสถานีสูบน้ำมีโครงการที่เพิ่มเข้ามาใหม่และเตรียมศึกษา ความเหมาะสม คือ "อุโมงค์ระบายน้ำคลองพระยาราชมนตรี"
ระบายน้ำจาก คลองภาษีเจริญถึงคลองสนามชัย ความยาว 8.95 กิโลเมตร และ "อุโมงค์ระบายน้ำด้านตะวันออก" เชื่อมต่อคลองระบายน้ำสุวรรณภูมิ กำลังสูบ 100 ลบ.ม./วินาที
ปี58 สร้าง 4 คลองด่วน
นอกจากนี้ ในปี 2558 กทม.มีโครงการก่อสร้าง "ทางด่วนระบายน้ำ" รวม 4 โครงการด้วยกัน วงเงิน 4,340 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาขอใช้พื้นที่ ได้แก่ 1.คลองด่วนรามอินทรา ความยาว 4.9 กิโลเมตร โดยปรับปรุงระบบระบายน้ำบริเวณถนนรามอินทรา 2.คลองด่วนประดิษฐ์มนูญธรรม ความยาว 3.5 กิโลเมตร เพื่อลำเลียงน้ำจากทิศเหนือของกรุงเทพฯ และบริเวณถนนรามอินทราลงสู่อุโมงค์ยักษ์พระราม 9 แต่ยังมีอุปสรรคเรื่องการรุกล้ำพื้นที่ของชุมชน
3.คลองด่วน รัชดาภิเษก ช่วงสถานีสูบน้ำรัชวิภาถึงคลองห้วยขวาง ความยาว 5 กิโลเมตร ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมถนนรัชดาภิเษกช่วงบริเวณหน้าศาลอาญา เสริมการระบายน้ำเมื่ออุโมงค์บางซื่อแล้วเสร็จได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งจะต้องประสานขอใช้พื้นที่กับ "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย"
และ 4.คลองด่วนพระยาราชมนตรี เป็นโครงการขุดลอกคลองใหม่เชื่อมคลองบ้านไทรกับคลองพระยาราชมนตรี สร้างเป็นแนวเขื่อนความยาว 9 กิโลเมตร อยู่ระหว่างสำรวจพื้นที่และเลือกแนวคลองที่เหมาะสมให้มีผลกระทบต่อประชาชน น้อยที่สุด
ปัดฝุ่น เก็บค่าบำบัดน้ำเสีย
ขณะเดียว กัน "สำนักการระบายน้ำ กทม." ทำแผน 4 ปี (2556-2560) เพื่อของบประมาณประจำปีในการแก้ปัญหาน้ำท่วม รวมงบประมาณ 27,506.69 ล้านบาท
เช่น ปรับปรุงแนวป้องกันน้ำท่วมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย และคลองมหาสวัสดิ์ 24 โครงการ วงเงิน 620 ล้านบาท, ฟื้นฟูระบบระบายน้ำพื้นที่ฝั่งธนฯ 9 โครงการ วงเงิน 1,421 ล้านบาท, ฟื้นฟูระบบระบายน้ำพื้นที่ฝั่งตะวันออก 25 โครงการ วงเงิน 10,980 ล้านบาท,
แก้ ปัญหาน้ำท่วมถนนสายหลัก 18 สาย 42 โครงการ วงเงิน 1,747 ล้านบาท, ก่อสร้างและปรับปรุงพื้นที่ชะลอน้ำหรือแก้มลิง 628 ล้านบาท, ปรับปรุงระบบระบายน้ำพื้นที่ฝั่งตะวันออก 41 โครงการ 5,171 ล้านบาท เป็นต้น
รวม ถึงแผนก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย 4 แห่ง รวม 31,112.89 ล้านบาท ภายใน 4 ปี ประกอบด้วยโรงบำบัดน้ำเสียมีนบุรี วงเงิน 452.89 ล้านบาท, โรงบำบัดน้ำเสียธนบุรี 10,976 ล้านบาท, โรงบำบัดน้ำเสียคลองเตย 11,745 ล้านบาท และโรงบำบัดน้ำเสียบึงหนองบอน 7,939 ล้านบาท
กล่าวสำหรับ นโยบายบำบัดน้ำเสียของเมือง ยังมีงานที่คาราคาซังยังไม่สำเร็จสักทีนั่นคือ "การจัดเก็บค่าบำบัดน้ำเสีย" งานนี้ "ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์" สั่งตั้งคณะทำงานเร่งศึกษาพิจารณาถึงแนวทางที่จะไม่เพิ่มภาระให้กับคนจนหรือ ผู้มีรายได้น้อย
เพราะ กทม.เล็งเห็นว่า...ได้เวลาต้องบังคับจัดเก็บอย่างจริงจังตั้งแต่บัดนี้ หลังจากเป็นนโยบายที่เงื้อง่าราคาแพงมานาน
ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1373427627
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
ฝนตกกรุงเทพฯ...น้ำท่วม-น้ำขัง ช่วงนี้กำลังเข้าสู่ฤดูฝน วันไหนที่ตกหนักจะเกิดน้ำท่วมฉับพลันบนถนนบางสายใจกลางเมือง ทำให้ "คุณชายหมู-ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร" ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่แบกภาระหนักอึ้งบนบ่าเพราะได้นั่งบริหารราชการแผ่นดินเป็นสมัยที่ 2 ต้องลุกขึ้นมาติดตามแผนบริหารจัดการน้ำของ กทม.แบบเกาะติดสถานการณ์น้ำท่วมอีกครั้ง หลังผ่านประสบการณ์น้ำท่วมใหญ่ปลายปี 2554 โดยเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคมที่ผ่านมา ได้ไปรับฟังรายงานจาก "สำนักการระบายน้ำ กทม." ถึงแผนการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ ทั้งระยะสั้น-ระยะยาวที่บรรจุไว้ในแผนบริหารจัดการน้ำยั่งยืนของ กทม. กรอบเวลาทำงาน 4 ปี (2556-2560) มีทั้งหมด 5 โครงการใหญ่ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 100,671.48 ล้านบาท เร่งขุดลอกท่อ-คูคลอง ใน แผนเฉพาะหน้าจะเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือน้ำฝนโดย "อดิศักดิ์ ขันตี" ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กทม.กล่าวว่า การเตรียมพร้อมรับมือช่วงฤดูฝนนี้ ได้ดำเนินการขุดลอกคูคลองเพื่อเปิดทางน้ำไหลเป้าหมาย 1,133 คลอง ดำเนินการแล้ว 897 คลอง คิดเป็น 79.38%, การลอกท่อระบายน้ำความยาวรวม 3,949 กิโลเมตร ดำเนินการแล้ว 2,884 กิโลเมตร คิดเป็น 73.51% และติดตั้งเครื่องสูบน้ำในจุดอ่อนและจุดเสี่ยง ติดตั้งแล้ว 810 เครื่อง สำรองอีก 249 เครื่อง "ความคืบหน้ารวมถึงได้เพิ่มเครื่องสูบน้ำและ อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้แก่สำนักงานเขตตามที่ร้องขอ เบื้องต้นจัดส่งแล้ว 254 เครื่องเพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำ แต่ยังขาดอีก 36 เครื่องเนื่องจากมีจำนวนเครื่องสูบน้ำไม่เพียงพอ" โชว์แผน 6 อุโมงค์ยักษ์ ขณะ ที่แผนงานระยะยาวของ กทม. เมกะโปรเจ็กต์ดูเหมือนจะออกมาในรูปแบบของแผนลงทุนอุโมงค์ยักษ์ "ผอ.สำนักการระบายน้ำ" ระบุว่า โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่สำคัญจะต้องของบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลประกอบ ด้วย 1.ก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำหรืออุโมงค์ยักษ์เพิ่ม 6 แห่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี งบประมาณรวม 20,812.9 ล้านบาท ความคืบหน้าล่าสุด "อุโมงค์ใต้คลองบางซื่อ" ระบายน้ำจากคลองลาดพร้าวถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ประสิทธิภาพการสูบ 60 ลบ.ม./วินาที เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 เมตร ความยาว 6.4 กิโลเมตร อยู่ระหว่างเสนอขออนุมัติ "ครม.-คณะรัฐมนตรี" เพื่อลงนามสัญญาจ้าง วงเงิน 2,500 ล้านบาท ส่วนที่ออกแบบเสร็จแล้วมี "อุโมงค์บึงหนองบอน" ระบายน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ความยาว 9.4 กิโลเมตร วงเงิน 4,900 ล้านบาท และ "อุโมงค์คลองทวีวัฒนา" ระบายน้ำบริเวณคอขวด ความยาว 2 กิโลเมตร ปัจจุบันอยู่ระหว่างขออนุมัติเงินอุดหนุนรัฐบาล ด้าน "อุโมงค์คลองเปรมประชากร" ระบายน้ำจากคลองบางบัวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ระยะทาง 13.5 กิโลเมตร วงเงิน 6,000 ล้านบาท อยู่ระหว่างปรับปรุงแบบเนื่องจาก "ทช.-กรมทางหลวงชนบท" ไม่อนุญาตให้ก่อสร้างสถานีสูบน้ำมีโครงการที่เพิ่มเข้ามาใหม่และเตรียมศึกษา ความเหมาะสม คือ "อุโมงค์ระบายน้ำคลองพระยาราชมนตรี" ระบายน้ำจาก คลองภาษีเจริญถึงคลองสนามชัย ความยาว 8.95 กิโลเมตร และ "อุโมงค์ระบายน้ำด้านตะวันออก" เชื่อมต่อคลองระบายน้ำสุวรรณภูมิ กำลังสูบ 100 ลบ.ม./วินาที ปี58 สร้าง 4 คลองด่วน นอกจากนี้ ในปี 2558 กทม.มีโครงการก่อสร้าง "ทางด่วนระบายน้ำ" รวม 4 โครงการด้วยกัน วงเงิน 4,340 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาขอใช้พื้นที่ ได้แก่ 1.คลองด่วนรามอินทรา ความยาว 4.9 กิโลเมตร โดยปรับปรุงระบบระบายน้ำบริเวณถนนรามอินทรา 2.คลองด่วนประดิษฐ์มนูญธรรม ความยาว 3.5 กิโลเมตร เพื่อลำเลียงน้ำจากทิศเหนือของกรุงเทพฯ และบริเวณถนนรามอินทราลงสู่อุโมงค์ยักษ์พระราม 9 แต่ยังมีอุปสรรคเรื่องการรุกล้ำพื้นที่ของชุมชน 3.คลองด่วน รัชดาภิเษก ช่วงสถานีสูบน้ำรัชวิภาถึงคลองห้วยขวาง ความยาว 5 กิโลเมตร ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมถนนรัชดาภิเษกช่วงบริเวณหน้าศาลอาญา เสริมการระบายน้ำเมื่ออุโมงค์บางซื่อแล้วเสร็จได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งจะต้องประสานขอใช้พื้นที่กับ "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" และ 4.คลองด่วนพระยาราชมนตรี เป็นโครงการขุดลอกคลองใหม่เชื่อมคลองบ้านไทรกับคลองพระยาราชมนตรี สร้างเป็นแนวเขื่อนความยาว 9 กิโลเมตร อยู่ระหว่างสำรวจพื้นที่และเลือกแนวคลองที่เหมาะสมให้มีผลกระทบต่อประชาชน น้อยที่สุด ปัดฝุ่น เก็บค่าบำบัดน้ำเสีย ขณะเดียว กัน "สำนักการระบายน้ำ กทม." ทำแผน 4 ปี (2556-2560) เพื่อของบประมาณประจำปีในการแก้ปัญหาน้ำท่วม รวมงบประมาณ 27,506.69 ล้านบาท เช่น ปรับปรุงแนวป้องกันน้ำท่วมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อย และคลองมหาสวัสดิ์ 24 โครงการ วงเงิน 620 ล้านบาท, ฟื้นฟูระบบระบายน้ำพื้นที่ฝั่งธนฯ 9 โครงการ วงเงิน 1,421 ล้านบาท, ฟื้นฟูระบบระบายน้ำพื้นที่ฝั่งตะวันออก 25 โครงการ วงเงิน 10,980 ล้านบาท, แก้ ปัญหาน้ำท่วมถนนสายหลัก 18 สาย 42 โครงการ วงเงิน 1,747 ล้านบาท, ก่อสร้างและปรับปรุงพื้นที่ชะลอน้ำหรือแก้มลิง 628 ล้านบาท, ปรับปรุงระบบระบายน้ำพื้นที่ฝั่งตะวันออก 41 โครงการ 5,171 ล้านบาท เป็นต้น รวม ถึงแผนก่อสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย 4 แห่ง รวม 31,112.89 ล้านบาท ภายใน 4 ปี ประกอบด้วยโรงบำบัดน้ำเสียมีนบุรี วงเงิน 452.89 ล้านบาท, โรงบำบัดน้ำเสียธนบุรี 10,976 ล้านบาท, โรงบำบัดน้ำเสียคลองเตย 11,745 ล้านบาท และโรงบำบัดน้ำเสียบึงหนองบอน 7,939 ล้านบาท กล่าวสำหรับ นโยบายบำบัดน้ำเสียของเมือง ยังมีงานที่คาราคาซังยังไม่สำเร็จสักทีนั่นคือ "การจัดเก็บค่าบำบัดน้ำเสีย" งานนี้ "ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์" สั่งตั้งคณะทำงานเร่งศึกษาพิจารณาถึงแนวทางที่จะไม่เพิ่มภาระให้กับคนจนหรือ ผู้มีรายได้น้อย เพราะ กทม.เล็งเห็นว่า...ได้เวลาต้องบังคับจัดเก็บอย่างจริงจังตั้งแต่บัดนี้ หลังจากเป็นนโยบายที่เงื้อง่าราคาแพงมานาน ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1373427627
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)