มุมมองของเด็ก ๆ กับภัยพิบัติ
โดย ยุลักษณ์ เหมะวิบูลย์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร มูลนิธิรักษ์ไทย
นั่งดูรายงานข่าวน้ำท่วมในหลาย ๆจังหวัด รวมถึงประสบการณ์ตรงในฐานะที่เป็นผู้ประสบภัยน้ำท่วมเมื่อปลายปี"54 ถึงตอนนี้ยังหนาว ๆ ร้อน ๆ อยู่เลยว่าจะมีวันนั้นอีกไหม
ตรงข้ามกับ สมัยตอนเป็นเด็ก พอน้ำท่วมแทนที่จะกลัวกลับดีใจ เพราะได้เล่นน้ำ แต่เพราะน้ำสมัยก่อนสะอาดกว่าสมัยนี้ เลยคิดว่า แล้วเด็กในปัจจุบันล่ะ เขาคิด หรือจะทำอย่างไร เมื่อเจอเหตุการณ์ภัยพิบัติแบบนี้
ในปี 2555 ผ่านมา ได้เกิดโครงการวิจัยเพื่อศึกษา และสะท้อนมุมมองจากสายตาเด็ก ในขณะที่เกิดภัยพิบัติ โดยมูลนิธิรักษ์ไทย ซึ่งเป็นการนำเด็กผู้ประสบภัยน้ำท่วมมาแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของตัว เองต่อเหตุการณ์ที่ผ่านมา รวมถึงการเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อเป็นข้อเสนอแนะต่อสังคม และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม
ผ่าน มุมมองของเด็กกลุ่มผู้ประสบภัยน้ำท่วม ในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคกลางที่มีบริบททางพื้นที่แตกต่างกัน คือจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ลพบุรี และกรุงเทพมหานคร จนทำให้เกิดแนวคิดในการพัฒนาศักยภาพของเด็ก ๆ ในการสู้ภัยน้ำท่วม
ปัจจุบันมูลนิธิรักษ์ไทยยังคงมีการลงพื้นที่ ชุมชนทั้งหมด 30 ชุมชน โดยร่วมกับภาคเอกชนที่ให้ความสำคัญกับงาน CSR ในด้านของการพัฒนาฟื้นฟูภัยพิบัติน้ำท่วมอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น MERCK, ONYX, Give2Asia และ Johnson & Johnson ในการสร้างความเข้มแข็งในผู้หญิงและเด็กเกี่ยวกับภัยพิบัติ
โดย เฉพาะเด็ก ๆ เราเน้นการเพิ่มศักยภาพในด้านความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ และลงมือปฏิบัติเอง เพื่อให้เด็ก ๆ ได้แสดงศักยภาพและความสามารถของตัวเองในการรับมือภัยพิบัติน้ำท่วมในครอบ ครัว ชุมชน และโรงเรียนของตัวเอง อย่างเช่นเด็กนักเรียนที่โรงเรียนวัดตะบอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เด็ก ๆ คิดโครงงานเรือน้อยกู้ชีพ โดยเด็กให้เหตุผลว่า...ในเมื่อเราเดินบนน้ำไม่ได้ เราก็ต้องมีเรือ เพื่อให้เราข้ามผ่านน้ำไปได้
นี่เป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้าง สรรค์ทักษะที่เกิดกับเด็กคือการค้นคว้าข้อมูล ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ การออกแบบประดิษฐ์เรือ การคิดวิเคราะห์ การคิดเชื่อมโยง และการเขียน Mind Map
ประโยชน์ที่เด็กได้รับคือได้เรียนรู้ประเภทของเรือ และการใช้ประโยชน์ การออกแบบเรือตามจินตนาการที่นำไปใช้ได้จริง ผลที่เกิดขึ้นกับเด็กคือการได้ออกแบบ และสร้างเรือด้วยตัวเอง พอถึงเวลาทดลองพายเรือประดิษฐ์ในคลองข้างโรงเรียน ก็เป็นสิ่งที่เด็ก ๆ สนุก และตื่นเต้นไปกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
หรือแม้แต่โครงงานจิตอาสา น้อยนักสู้ เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ถึงการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการดูแลตัวเองเมื่อประสบภัย การช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อเจอความทุกข์และไม่สบายใจ จิตอาสาน้อยเหล่านี้
จะ แบ่งบทบาทหน้าที่ลงเยี่ยมบ้านน้อง ๆ ที่มีปัญหาในครอบครัว มีการจดบันทึกรายงาน และประชุมเล่าสู่กันฟัง เพื่อแลกเปลี่ยนกัน และหาแนวทางช่วยเหลือต่อไป
สิ่งที่ได้จากโครงงานนี้คือความภาคภูมิใจ จากการเป็นผู้ให้ที่มีส่วนช่วยเหลือสังคม ถึงแม้จะเป็นส่วนเล็ก ๆ ก็ตาม (ข้อมูลโดย...คุณวันทอง รัตนสงคราม มูลนิธิรักษ์ไทย)
ในส่วนของ ผู้หญิงนั้นเราได้สร้างแกนนำวิทยากรผู้หญิงใน 30 ชุมชน จากการช่วยเหลือผู้ประสบภัยกว่า 7,000 คนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและลพบุรีให้มีความรู้ และตระหนักถึงความต้องการของชาวบ้าน
โดยเฉพาะ "กลุ่มเปราะบาง" ได้แก่เด็ก, คนท้อง, คนแก่, คนพิการ และผู้หญิงที่เป็นหัวหน้าครอบครัว ในการ
เตรียมรับมือภัยพิบัติ ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญที่จะผลักดันให้เกิดแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ที่มุ่งลดผลกระทบต่อกลุ่มเปราะบาง
นอก จากนี้ผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมกว่า 200 คนยังได้รับการอบรมทักษะอาชีพ และการเข้าถึงกองทุนเงินหมุนเวียนเพื่อประกอบอาชีพ เด็กกว่า 1,500 คนได้รับความรู้และมีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง และเพิ่มทักษะชีวิตในการเอาตัวรอดจากวิกฤตภัยพิบัติ
ภัยพิบัติทาง ธรรมชาติในปัจจุบันมีการเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง อันเนื่องมาจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลกที่ร้อนขึ้น จนทำให้เราต้องปรับตัว และทันต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นอย่างทันท่วงที การฝึกฝน และอบรมคนรุ่นใหม่ ๆ โดยเฉพาะเด็ก ๆ ให้สามารถรับมือ และช่วยเหลือตัวเองภายใต้ความกดดันทางภัยพิบัติ ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง
เพราะ จะสามารถบรรเทาและเยียวยาทางร่างกายและจิตใจได้ เพราะฉะนั้นเราจึงควรให้ความสำคัญในการสร้างพลัง เพื่อพัฒนาศักยภาพ และความคิดของพวกเขาเหล่านั้นให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป
ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1375150405
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ก.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
เหตุการณ์ภัยพิบัติ โดย ยุลักษณ์ เหมะวิบูลย์ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กร มูลนิธิรักษ์ไทย นั่งดูรายงานข่าวน้ำท่วมในหลาย ๆจังหวัด รวมถึงประสบการณ์ตรงในฐานะที่เป็นผู้ประสบภัยน้ำท่วมเมื่อปลายปี"54 ถึงตอนนี้ยังหนาว ๆ ร้อน ๆ อยู่เลยว่าจะมีวันนั้นอีกไหม ตรงข้ามกับ สมัยตอนเป็นเด็ก พอน้ำท่วมแทนที่จะกลัวกลับดีใจ เพราะได้เล่นน้ำ แต่เพราะน้ำสมัยก่อนสะอาดกว่าสมัยนี้ เลยคิดว่า แล้วเด็กในปัจจุบันล่ะ เขาคิด หรือจะทำอย่างไร เมื่อเจอเหตุการณ์ภัยพิบัติแบบนี้ ในปี 2555 ผ่านมา ได้เกิดโครงการวิจัยเพื่อศึกษา และสะท้อนมุมมองจากสายตาเด็ก ในขณะที่เกิดภัยพิบัติ โดยมูลนิธิรักษ์ไทย ซึ่งเป็นการนำเด็กผู้ประสบภัยน้ำท่วมมาแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของตัว เองต่อเหตุการณ์ที่ผ่านมา รวมถึงการเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อเป็นข้อเสนอแนะต่อสังคม และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม ผ่าน มุมมองของเด็กกลุ่มผู้ประสบภัยน้ำท่วม ในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคกลางที่มีบริบททางพื้นที่แตกต่างกัน คือจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, ลพบุรี และกรุงเทพมหานคร จนทำให้เกิดแนวคิดในการพัฒนาศักยภาพของเด็ก ๆ ในการสู้ภัยน้ำท่วม ปัจจุบันมูลนิธิรักษ์ไทยยังคงมีการลงพื้นที่ ชุมชนทั้งหมด 30 ชุมชน โดยร่วมกับภาคเอกชนที่ให้ความสำคัญกับงาน CSR ในด้านของการพัฒนาฟื้นฟูภัยพิบัติน้ำท่วมอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น MERCK, ONYX, Give2Asia และ Johnson & Johnson ในการสร้างความเข้มแข็งในผู้หญิงและเด็กเกี่ยวกับภัยพิบัติ โดย เฉพาะเด็ก ๆ เราเน้นการเพิ่มศักยภาพในด้านความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ และลงมือปฏิบัติเอง เพื่อให้เด็ก ๆ ได้แสดงศักยภาพและความสามารถของตัวเองในการรับมือภัยพิบัติน้ำท่วมในครอบ ครัว ชุมชน และโรงเรียนของตัวเอง อย่างเช่นเด็กนักเรียนที่โรงเรียนวัดตะบอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เด็ก ๆ คิดโครงงานเรือน้อยกู้ชีพ โดยเด็กให้เหตุผลว่า...ในเมื่อเราเดินบนน้ำไม่ได้ เราก็ต้องมีเรือ เพื่อให้เราข้ามผ่านน้ำไปได้ นี่เป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้าง สรรค์ทักษะที่เกิดกับเด็กคือการค้นคว้าข้อมูล ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ การออกแบบประดิษฐ์เรือ การคิดวิเคราะห์ การคิดเชื่อมโยง และการเขียน Mind Map ประโยชน์ที่เด็กได้รับคือได้เรียนรู้ประเภทของเรือ และการใช้ประโยชน์ การออกแบบเรือตามจินตนาการที่นำไปใช้ได้จริง ผลที่เกิดขึ้นกับเด็กคือการได้ออกแบบ และสร้างเรือด้วยตัวเอง พอถึงเวลาทดลองพายเรือประดิษฐ์ในคลองข้างโรงเรียน ก็เป็นสิ่งที่เด็ก ๆ สนุก และตื่นเต้นไปกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ หรือแม้แต่โครงงานจิตอาสา น้อยนักสู้ เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ถึงการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการดูแลตัวเองเมื่อประสบภัย การช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อเจอความทุกข์และไม่สบายใจ จิตอาสาน้อยเหล่านี้ จะ แบ่งบทบาทหน้าที่ลงเยี่ยมบ้านน้อง ๆ ที่มีปัญหาในครอบครัว มีการจดบันทึกรายงาน และประชุมเล่าสู่กันฟัง เพื่อแลกเปลี่ยนกัน และหาแนวทางช่วยเหลือต่อไป สิ่งที่ได้จากโครงงานนี้คือความภาคภูมิใจ จากการเป็นผู้ให้ที่มีส่วนช่วยเหลือสังคม ถึงแม้จะเป็นส่วนเล็ก ๆ ก็ตาม (ข้อมูลโดย...คุณวันทอง รัตนสงคราม มูลนิธิรักษ์ไทย) ในส่วนของ ผู้หญิงนั้นเราได้สร้างแกนนำวิทยากรผู้หญิงใน 30 ชุมชน จากการช่วยเหลือผู้ประสบภัยกว่า 7,000 คนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและลพบุรีให้มีความรู้ และตระหนักถึงความต้องการของชาวบ้าน โดยเฉพาะ "กลุ่มเปราะบาง" ได้แก่เด็ก, คนท้อง, คนแก่, คนพิการ และผู้หญิงที่เป็นหัวหน้าครอบครัว ในการ เตรียมรับมือภัยพิบัติ ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญที่จะผลักดันให้เกิดแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ที่มุ่งลดผลกระทบต่อกลุ่มเปราะบาง นอก จากนี้ผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมกว่า 200 คนยังได้รับการอบรมทักษะอาชีพ และการเข้าถึงกองทุนเงินหมุนเวียนเพื่อประกอบอาชีพ เด็กกว่า 1,500 คนได้รับความรู้และมีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นศูนย์กลาง และเพิ่มทักษะชีวิตในการเอาตัวรอดจากวิกฤตภัยพิบัติ ภัยพิบัติทาง ธรรมชาติในปัจจุบันมีการเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง อันเนื่องมาจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลกที่ร้อนขึ้น จนทำให้เราต้องปรับตัว และทันต่อเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นอย่างทันท่วงที การฝึกฝน และอบรมคนรุ่นใหม่ ๆ โดยเฉพาะเด็ก ๆ ให้สามารถรับมือ และช่วยเหลือตัวเองภายใต้ความกดดันทางภัยพิบัติ ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะ จะสามารถบรรเทาและเยียวยาทางร่างกายและจิตใจได้ เพราะฉะนั้นเราจึงควรให้ความสำคัญในการสร้างพลัง เพื่อพัฒนาศักยภาพ และความคิดของพวกเขาเหล่านั้นให้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้อย่างยั่งยืนต่อไป ขอบคุณ... http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1375150405 ประชาชาติธุรกิจออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 28 ก.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)