ห่วงโรคระบาดดื้อยา แนะนำรับภัยพิบัติรุนแรง
โครงการ ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การอนามัยโลก (WHO-RTG) แผนงานการจัดการทางด้านภัยพิบัติ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของบุคลากรทางการแพทย์หลายฝ่าย โดยมีสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เป็นผู้รับผิดชอบหลัก จัดสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับการรับมือภัยพิบัติ เรื่อง "ความท้าทายของระบบบริการการแพทย์ไทยในการจัดการภัยพิบัติ"
ดร.พิจิต ต รัตตกุล ผอ.บริหารศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย เตือนว่า ในอนาคตภัยพิบัติจะเปลี่ยนไป โดยจะมีความถี่มากขึ้น รุนแรงมากขึ้น ดังนั้นขั้นตอนการรับมือภัยพิบัติแบบเดิมๆ อาจไม่เพียงพอแล้ว จากสถิติของภัยพิบัติทั่วๆ ไป พบว่ามีผู้เสียชีวิตในขณะเกิดภัยพิบัติประมาณ 2 ใน 3 ขณะที่อัตราผู้เสียชีวิตภายหลังเกิดภัยพิบัติสูงถึงร้อยละ 30
"ภัย พิบัติที่ไทยกำลังจะเผชิญ คือ ภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงรุนแรง ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวนาน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนอย่างมาก เช่น ภัยจากภาวะแห้งแล้ง ก่อให้เกิดโรคระบาดที่ดื้อยา โรคระบาดที่มากับน้ำท่วมขังยาวนาน หรือในเขตเมืองก็เกิดปรากฏการณ์โดมแห่งความร้อน จากกิจกรรมที่ระบายความร้อนหรือมลพิษ เช่น แอร์คอนดิชั่น ไอเสียรถยนต์ เมืองก็จะร้อนมาก" ดร.พิจิตต กล่าวสรุป
นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการ สพฉ. เสริมว่า ประเทศไทยยังขาดระบบการจัดการภัยพิบัติที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีการเตรียมพร้อมในหลายระดับ ทั้งระดับความร่วมมือระหว่างนานาชาติ ระดับประเทศไปจนถึงระดับชุมชน
ขณะ ที่สภากาชาดไทยนำเสนอว่า ประเทศไทยไม่อาจหลีกหนีเหตุการณ์น้ำท่วมได้ เนื่องจากอยู่ในโซนน้ำท่วม กรุงเทพฯ ระดับพื้นดินสูงกว่าระดับน้ำทะเลเพียง 1 เมตรเท่านั้น น้ำแข็งจากขั้วโลกก็ละลายมากขึ้นทุกปี เพราะฉะนั้นควรเตรียมเรือไว้สำหรับหนีภัย และเรียนรู้วิธีการทำน้ำให้สะอาด เช่น แกว่งสารส้มหรือนำมาต้ม หรือต้องใช้ตัวช่วยที่เรียกว่า คลอรีนแท็บเล็ต ซึ่งเป็นยาเม็ดฆ่าเชื้อที่ควรซื้อติดบ้านไว้ทุกบ้าน
การเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ สภากาชาดไทยเตรียมครัวเคลื่อนที่ 5 ชุด แต่ละชุดสามารถผลิตอาหารได้ประมาณ 3,500-5,000 ชุด/วัน, แฟมิลี่ เต็นท์ สำหรับเป็นที่พักชั่วคราวให้ผู้ประสบภัย เตรียมไว้ 200 กว่าหลัง โดย 1 เต็นท์จะอาศัยอยู่ได้ 4 คน มีพื้นที่ 16 ตารางเมตร และหน่วยผลิตน้ำดื่มฉุกเฉิน รถสื่อสารเคลื่อนที่ รวมไปถึงทีมแพทย์ฉุกเฉิน
สพฉ.ยัง เตรียมเผยแพร่สื่อความรู้ "รู้แล้วรอด" เช่น "คู่มือรับมือภัยพิบัติ (ฉบับพกพา)" เป็นต้น ติดตามรายละเอียดได้ที่ www.niems.go.th หรือ Facebook/สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
ขอบคุณ http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1pXRXdORE13TURjMU5nPT0= (ขนาดไฟล์: 167)
ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 ก.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
สื่อประชาสัมพันธ์แนะนำรับภัยพิบัติ โครงการ ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การอนามัยโลก (WHO-RTG) แผนงานการจัดการทางด้านภัยพิบัติ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของบุคลากรทางการแพทย์หลายฝ่าย โดยมีสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) เป็นผู้รับผิดชอบหลัก จัดสัมมนาทางวิชาการเกี่ยวกับการรับมือภัยพิบัติ เรื่อง "ความท้าทายของระบบบริการการแพทย์ไทยในการจัดการภัยพิบัติ" ดร.พิจิต ต รัตตกุล ผอ.บริหารศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย เตือนว่า ในอนาคตภัยพิบัติจะเปลี่ยนไป โดยจะมีความถี่มากขึ้น รุนแรงมากขึ้น ดังนั้นขั้นตอนการรับมือภัยพิบัติแบบเดิมๆ อาจไม่เพียงพอแล้ว จากสถิติของภัยพิบัติทั่วๆ ไป พบว่ามีผู้เสียชีวิตในขณะเกิดภัยพิบัติประมาณ 2 ใน 3 ขณะที่อัตราผู้เสียชีวิตภายหลังเกิดภัยพิบัติสูงถึงร้อยละ 30 "ภัย พิบัติที่ไทยกำลังจะเผชิญ คือ ภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงรุนแรง ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวนาน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนอย่างมาก เช่น ภัยจากภาวะแห้งแล้ง ก่อให้เกิดโรคระบาดที่ดื้อยา โรคระบาดที่มากับน้ำท่วมขังยาวนาน หรือในเขตเมืองก็เกิดปรากฏการณ์โดมแห่งความร้อน จากกิจกรรมที่ระบายความร้อนหรือมลพิษ เช่น แอร์คอนดิชั่น ไอเสียรถยนต์ เมืองก็จะร้อนมาก" ดร.พิจิตต กล่าวสรุป นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการ สพฉ. เสริมว่า ประเทศไทยยังขาดระบบการจัดการภัยพิบัติที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีการเตรียมพร้อมในหลายระดับ ทั้งระดับความร่วมมือระหว่างนานาชาติ ระดับประเทศไปจนถึงระดับชุมชน คู่มือรับภัยพิบัติขณะ ที่สภากาชาดไทยนำเสนอว่า ประเทศไทยไม่อาจหลีกหนีเหตุการณ์น้ำท่วมได้ เนื่องจากอยู่ในโซนน้ำท่วม กรุงเทพฯ ระดับพื้นดินสูงกว่าระดับน้ำทะเลเพียง 1 เมตรเท่านั้น น้ำแข็งจากขั้วโลกก็ละลายมากขึ้นทุกปี เพราะฉะนั้นควรเตรียมเรือไว้สำหรับหนีภัย และเรียนรู้วิธีการทำน้ำให้สะอาด เช่น แกว่งสารส้มหรือนำมาต้ม หรือต้องใช้ตัวช่วยที่เรียกว่า คลอรีนแท็บเล็ต ซึ่งเป็นยาเม็ดฆ่าเชื้อที่ควรซื้อติดบ้านไว้ทุกบ้าน การเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ สภากาชาดไทยเตรียมครัวเคลื่อนที่ 5 ชุด แต่ละชุดสามารถผลิตอาหารได้ประมาณ 3,500-5,000 ชุด/วัน, แฟมิลี่ เต็นท์ สำหรับเป็นที่พักชั่วคราวให้ผู้ประสบภัย เตรียมไว้ 200 กว่าหลัง โดย 1 เต็นท์จะอาศัยอยู่ได้ 4 คน มีพื้นที่ 16 ตารางเมตร และหน่วยผลิตน้ำดื่มฉุกเฉิน รถสื่อสารเคลื่อนที่ รวมไปถึงทีมแพทย์ฉุกเฉิน สพฉ.ยัง เตรียมเผยแพร่สื่อความรู้ "รู้แล้วรอด" เช่น "คู่มือรับมือภัยพิบัติ (ฉบับพกพา)" เป็นต้น ติดตามรายละเอียดได้ที่ www.niems.go.th หรือ Facebook/สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ขอบคุณ http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1pXRXdORE13TURjMU5nPT0= ข่าวสดออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 30 ก.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)