ท่วมซ้ำสะเทือน'โคราชโมเดล'แก้ตรงจุดหรือไม่

แสดงความคิดเห็น

เหตุการณ์น้ำท่วม

น้ำท่วมเมืองซ้ำ... เมืองย่าโม สะเทือน'โคราชโมเดล'แก้ตรงจุดหรือไม่ : ประสิทธิ์ ตั้งประเสริฐ/ปัญญาพร สายทองรายงาน

ฝนกระหน่ำตกลงมาอย่างหนักต่อเนื่องทั้งวันทั้งคืนเมื่อวันเข้าพรรษา จนเกิดน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ของ จ.นครราชสีมา ปลุกความหวาดกลัวภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ ที่ยังเป็นฝันร้ายของคนเมืองโคราชเมื่อปี 2553 ให้ผวาอีกครั้ง

ย้อนไปเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2553 เกิดร่องมรสุมพาดผ่านโคราช ทำให้มีฝนตกลงมาอย่างหนัก 3 วัน 3 คืน เขื่อนลำพระเพลิง และเขื่อนลำตะคอง รับน้ำไม่ไหว ต้องปล่อยน้ำออกมา เพื่อป้องกันไม่ให้เขื่อนแตก ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่ อ.เมือง อ.สูงเนิน อ.ขามทะเลสอ อ.โนนสูง อ.ปักธงชัย อ.พิมาย อ.ครบุรี อ.เสิงสาง อ.ประทาย อ.บัวใหญ่ โดยเฉพาะเมืองปักธงชัยจมอยู่ใต้บาดาลราว 1-2 เมตร บริษัท จิม ทอมป์สัน ผู้ผลิตผ้าไหมรายใหญ่ของไทย ก็ถูกน้ำท่วม จากนั้นกระแสน้ำไหลบ่าเข้าท่วมเขตอุตสาหกรรมนวนคร โคราช และ อ.ปากช่อง

ส่วน "ลำตะคอง" ซึ่งไหลผ่านตัวเมืองนครราชสีมา น้ำบ่าท่วมบ้านเรือนประชาชนที่อยู่ติดกับลำน้ำตลอดทั้งสาย รวมทั้งวิทยาลัยอาชีวศึกษา ร.ร.อนุบาลนครราชสีมา ร.ร.สุรนารีวิทยา แม้แต่โรงพยาบาลมหาราช โรงพยาบาลเซนต์เมรี่ สถานีขนส่งแห่งที่ 2 ก็ถูกน้ำท่วมอย่างหนัก

สภาพเมืองอยู่ในความโกลาหลอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน วิกฤติน้ำท่วมโคราชครั้งนั้น กระทบต่อภาคอุตสาหกรรม การค้าพาณิชย์ และพืชเศรษฐกิจ สร้างความเสียหายมหาศาลกว่าหมื่นล้านบาท

เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ชาวโคราชต่างลุ้นว่าจะเกิดเหตุซ้ำรอยอีกหรือไม่ ?

สองปีที่ผ่านมา ชาวนาโชคร้ายที่ประสบภัยแล้ง แต่สำหรับชาวเมืองโคราชถือเป็นเรื่องดีที่ไม่ต้องลุ้น "น้ำ" จะพาหายนะใดมาด้วย แต่ปีนี้พระพิรุณห่าใหญ่โถมเข้ามาทักทายตั้งแต่ช่วงต้นฤดูฝน ชวนให้เกิดคำถามทำนองว่า "จะเกิดน้ำท่วมใหญ่ซ้ำรอยปี 53 หรือไม่"

ม.ล.อนุมาศ ทองแถม ผู้อำนวยการชลประทานที่ 8 นครราชสีมา ยืนยันว่า ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นอีกแน่นอน เพราะปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 5 แห่ง ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ขณะนั้นมีปริมาณน้ำเฉลี่ยเพียงร้อยละ 33 ของความจุ โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำลำตะคอง สามารถกักเก็บน้ำได้ถึง 374 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ขณะนี้มีปริมาณน้ำเพียง 80 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังรับน้ำได้อีกถึง 294 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นเพียงน้ำท่วมขังระบายไม่ทันเท่านั้น

สำหรับต้นเหตุของน้ำท่วมเมืองย่าโมที่เพิ่งเคยเกิดขึ้นในระยะหลังนั้น "ทวิสันต์ โลณานุรักษ์" เลขาธิการสภาหอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในฐานะคนพื้นที่ มองว่า นอกจากสาเหตุหลักจากภัยธรรมชาติแล้ว ยังเกิดจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างไร้ระเบียบ สร้างทับเส้นทางน้ำผ่าน เมื่อน้ำไม่มีที่ระบายก็ย้อนกลับเข้าท่วมขังอยู่ในพื้นที่

เส้นทางน้ำของ จ.นครราชสีมา เริ่มจากบริเวณเหวสุวัต ปากช่อง ลำตะคอง (อ.สีคิ้ว) ก่อนจะแยกเป็น 2 ทางเข้าตัวเมืองนครราชสีมา ตลอดเส้นทางมีการพัฒนาของเมืองตามไปด้วย คือ มีการก่อสร้างหรือการตั้งถิ่นฐานชุมชนในบริเวณที่ราบน้ำท่วมไม่ว่าจะเป็น หมู่บ้าน บ้านจัดสรร รีสอร์ท โรงแรม โครงการนิคมอุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ รวมไปถึงสนามกีฬา 70 ปี เดิมเป็นอ่างเถกิงพล ที่พักน้ำขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งของจังหวัด ก็ถูกสร้างทับเส้นทางน้ำ

นอกจากนั้นการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ อย่างถนน การขาดการบำรุงรักษา ฟื้นฟูบูรณะหรือขุดลอกทางน้ำ ทางระบายน้ำ แหล่งน้ำ ทำให้เกิดการตื้นเขิน

"สุดท้ายที่ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ จ.นครราชสีมา ยังเป็นเหมือนเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนหนึ่งมาจากการขาดความจริงจังในการแก้ไขปัญหา และการปล่อยปละละเลย อาศัยแก้ปัญหาเฉพาะหน้า รอให้เกิดเหตุการณ์ก่อนแล้วรอแก้ไข ทำให้ปัญหาตรงนี้ยังคงอยู่ การแก้ปัญหาน้ำท่วมควรแก้ที่ต้นเหตุ เป็นการแก้ปัญหาระยะยาว เพราะปัญหาน้ำท่วม ไม่ว่าปี 2553 หรือปีไหนๆ ก็มาจากสาเหตุเดียวกัน คือ การขวางเส้นทางน้ำ ฉะนั้นจึงต้องรื้อผังเมืองมานั่งวิเคราะห์ว่า พื้นที่ตรงไหนเป็นทางน้ำผ่าน ต้องมีการบริหารจัดการใหม่ทั้งหมด" นายทวิสันต์กล่าว

สิ่งที่พูดถึงมากที่สุดคือโครงการ "โคราชโมเดล" ที่เกิดขึ้นปี 2554 หลังเกิดวิกฤติน้ำท่วมใหญ่ ด้วยงบประมาณกว่า 270 ล้านบาท สำหรับสร้างโครงการแก้มลิง และประตูระบายน้ำ แก้ไขปัญหาน้ำท่วมแบบยั่งยืน โดยได้ดำเนินการไปแล้ว ทั้งขุดลอกแก้มลิงขนาดใหญ่ 2 จุด ที่บึงพุดซา เหนือตัวเมืองโคราช สามารถกักเก็บน้ำได้ประมาณ 5 ล้านลูกบาศก์เมตร และบริเวณกุดปลาทอง ภายในค่ายสุรนารี เก็บน้ำได้ประมาณ 2 ล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมกับสร้างโครงการประตูผันน้ำละลมหม้อ ต.โคกกรวด อ.เมือง จ.นครราชสีมา เพื่อแยกน้ำจากลำตะคอง ออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ผันไปแก้มลิงบึงพุดซา ผันไปสู่ลำเชียงไกร และผันน้ำเข้าตัวเมืองนครราชสีมา ทั้งหมดสร้างเสร็จสิ้นเมื่อต้นปี 2555

เมื่อเกิดน้ำท่วมเมืองเมื่อวันเข้าพรรษาที่ผ่านมา โครงการโคราชโมเดล ถูกนำมาพูดถึงว่า แก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้จริงหรือไม่ "วินัย บัวประดิษฐ์" ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา วิเคราะห์ว่า เหตุการณ์น้ำท่วมเกิดจากระบายน้ำไม่ทัน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังหลายจุด เช่น สามแยกหัวทะเล ตลาดเซฟวัน ถนนราชดำเนิน ถนนเส้นราชสีมา-โชคชัย ถนนสุรนารายณ์ และเมืองบัวใหญ่ทั้งเมือง ไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดของโครงการ “โคราชโมเดล” เพราะไม่เกี่ยวข้องกับเขื่อนขนาดใหญ่บริหารจัดการน้ำผิดพลาด และไม่เกี่ยวกับประตูระบายน้ำทำงานไร้ประสิทธิภาพ แต่เกิดจากท่อน้ำในตัวเมืองระบายไม่ทันเท่านั้น

ตัวอย่างหนึ่งของการก่อสร้างขวางเส้นทางน้ำ "ไพบูลย์ พฤกษ์พนาเวศ" นายกเทศมนตรีตำบลหนองไผ่ล้อม บอกว่า สาเหตุของน้ำท่วมถนนร่วมเริงไชย ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการช่วยรบที่ 2 ค่ายสุรนารี ที่มีสภาพสูงชัน เมื่อเกิดฝนตกลงมา น้ำทั้งหมดจะไหลมาลงท่อระบายน้ำของเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม แต่เมื่อปี 2555 ได้มีการสร้างถนนร่วมเริงไชยขึ้น เพื่อเป็นเส้นทางเลี่ยงเมืองไปสู่ถนนสาย 304 (ปักธงชัย-กบินทร์บุรี) จึงสร้างกำแพงสูงประมาณ 2.5 เมตร ยาวกว่า 600 เมตร กั้นระหว่าง บชร.2 กับชุมชนหนองไผ่ล้อม ซึ่งขวางทางน้ำจนกลายเป็นเขื่อนขนาดย่อมๆ ต้องขอกำลังทหารมาช่วยทุบกำแพงยาวกว่า 50 เมตร เพื่อระบายน้ำออกป้องกันกำแพงพังลงมาสร้างความเสียหายให้แก่ชุมชนโดยรอบ เป็นการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าไปได้ในระดับหนึ่ง

"โคราช" นับเป็นตัวอย่างหนึ่งของเหยื่อภัยธรรมชาติ ที่เชื่อว่าต้นตอสำคัญมาจากน้ำมือของมนุษย์ เนื่องจากความเจริญที่ขยายตัวแบบก้าวกระโดด การก้าวล้ำเข้าสู่ชุมชนของภาคอุตสาหกรรมโดยไม่สนใจผังเมืองเดิม สุดท้ายเมื่อ "น้ำ" ไม่มีทางไป มันก็ย้อนกลับมาทำลายทุกสิ่งที่ขวางหน้

ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/detail/20130727/164404/ท่วมซ้ำสะเทือนโคราชโมเดลแก้ตรงจุดหรือไม่.html#.UfRxmjcrWyg (ขนาดไฟล์: 167)

คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ก.ค.56

ที่มา: คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ก.ค.56
วันที่โพสต์: 28/07/2556 เวลา 03:00:14 ดูภาพสไลด์โชว์ ท่วมซ้ำสะเทือน'โคราชโมเดล'แก้ตรงจุดหรือไม่

แสดงความคิดเห็น

รอตรวจสอบ
จัดฟอร์แม็ต ดูการแสดงผล

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

รอตรวจสอบ

ยกเลิก

รายละเอียดกระทู้

เหตุการณ์น้ำท่วม น้ำท่วมเมืองซ้ำ... เมืองย่าโม สะเทือน'โคราชโมเดล'แก้ตรงจุดหรือไม่ : ประสิทธิ์ ตั้งประเสริฐ/ปัญญาพร สายทองรายงาน ฝนกระหน่ำตกลงมาอย่างหนักต่อเนื่องทั้งวันทั้งคืนเมื่อวันเข้าพรรษา จนเกิดน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ของ จ.นครราชสีมา ปลุกความหวาดกลัวภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ ที่ยังเป็นฝันร้ายของคนเมืองโคราชเมื่อปี 2553 ให้ผวาอีกครั้ง ย้อนไปเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2553 เกิดร่องมรสุมพาดผ่านโคราช ทำให้มีฝนตกลงมาอย่างหนัก 3 วัน 3 คืน เขื่อนลำพระเพลิง และเขื่อนลำตะคอง รับน้ำไม่ไหว ต้องปล่อยน้ำออกมา เพื่อป้องกันไม่ให้เขื่อนแตก ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่ อ.เมือง อ.สูงเนิน อ.ขามทะเลสอ อ.โนนสูง อ.ปักธงชัย อ.พิมาย อ.ครบุรี อ.เสิงสาง อ.ประทาย อ.บัวใหญ่ โดยเฉพาะเมืองปักธงชัยจมอยู่ใต้บาดาลราว 1-2 เมตร บริษัท จิม ทอมป์สัน ผู้ผลิตผ้าไหมรายใหญ่ของไทย ก็ถูกน้ำท่วม จากนั้นกระแสน้ำไหลบ่าเข้าท่วมเขตอุตสาหกรรมนวนคร โคราช และ อ.ปากช่อง ส่วน "ลำตะคอง" ซึ่งไหลผ่านตัวเมืองนครราชสีมา น้ำบ่าท่วมบ้านเรือนประชาชนที่อยู่ติดกับลำน้ำตลอดทั้งสาย รวมทั้งวิทยาลัยอาชีวศึกษา ร.ร.อนุบาลนครราชสีมา ร.ร.สุรนารีวิทยา แม้แต่โรงพยาบาลมหาราช โรงพยาบาลเซนต์เมรี่ สถานีขนส่งแห่งที่ 2 ก็ถูกน้ำท่วมอย่างหนัก สภาพเมืองอยู่ในความโกลาหลอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน วิกฤติน้ำท่วมโคราชครั้งนั้น กระทบต่อภาคอุตสาหกรรม การค้าพาณิชย์ และพืชเศรษฐกิจ สร้างความเสียหายมหาศาลกว่าหมื่นล้านบาท เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ชาวโคราชต่างลุ้นว่าจะเกิดเหตุซ้ำรอยอีกหรือไม่ ? สองปีที่ผ่านมา ชาวนาโชคร้ายที่ประสบภัยแล้ง แต่สำหรับชาวเมืองโคราชถือเป็นเรื่องดีที่ไม่ต้องลุ้น "น้ำ" จะพาหายนะใดมาด้วย แต่ปีนี้พระพิรุณห่าใหญ่โถมเข้ามาทักทายตั้งแต่ช่วงต้นฤดูฝน ชวนให้เกิดคำถามทำนองว่า "จะเกิดน้ำท่วมใหญ่ซ้ำรอยปี 53 หรือไม่" ม.ล.อนุมาศ ทองแถม ผู้อำนวยการชลประทานที่ 8 นครราชสีมา ยืนยันว่า ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นอีกแน่นอน เพราะปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 5 แห่ง ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ขณะนั้นมีปริมาณน้ำเฉลี่ยเพียงร้อยละ 33 ของความจุ โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำลำตะคอง สามารถกักเก็บน้ำได้ถึง 374 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ขณะนี้มีปริมาณน้ำเพียง 80 ล้านลูกบาศก์เมตร ยังรับน้ำได้อีกถึง 294 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นเพียงน้ำท่วมขังระบายไม่ทันเท่านั้น สำหรับต้นเหตุของน้ำท่วมเมืองย่าโมที่เพิ่งเคยเกิดขึ้นในระยะหลังนั้น "ทวิสันต์ โลณานุรักษ์" เลขาธิการสภาหอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในฐานะคนพื้นที่ มองว่า นอกจากสาเหตุหลักจากภัยธรรมชาติแล้ว ยังเกิดจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างไร้ระเบียบ สร้างทับเส้นทางน้ำผ่าน เมื่อน้ำไม่มีที่ระบายก็ย้อนกลับเข้าท่วมขังอยู่ในพื้นที่ เส้นทางน้ำของ จ.นครราชสีมา เริ่มจากบริเวณเหวสุวัต ปากช่อง ลำตะคอง (อ.สีคิ้ว) ก่อนจะแยกเป็น 2 ทางเข้าตัวเมืองนครราชสีมา ตลอดเส้นทางมีการพัฒนาของเมืองตามไปด้วย คือ มีการก่อสร้างหรือการตั้งถิ่นฐานชุมชนในบริเวณที่ราบน้ำท่วมไม่ว่าจะเป็น หมู่บ้าน บ้านจัดสรร รีสอร์ท โรงแรม โครงการนิคมอุตสาหกรรม ห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ รวมไปถึงสนามกีฬา 70 ปี เดิมเป็นอ่างเถกิงพล ที่พักน้ำขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งของจังหวัด ก็ถูกสร้างทับเส้นทางน้ำ นอกจากนั้นการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ อย่างถนน การขาดการบำรุงรักษา ฟื้นฟูบูรณะหรือขุดลอกทางน้ำ ทางระบายน้ำ แหล่งน้ำ ทำให้เกิดการตื้นเขิน "สุดท้ายที่ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ จ.นครราชสีมา ยังเป็นเหมือนเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนหนึ่งมาจากการขาดความจริงจังในการแก้ไขปัญหา และการปล่อยปละละเลย อาศัยแก้ปัญหาเฉพาะหน้า รอให้เกิดเหตุการณ์ก่อนแล้วรอแก้ไข ทำให้ปัญหาตรงนี้ยังคงอยู่ การแก้ปัญหาน้ำท่วมควรแก้ที่ต้นเหตุ เป็นการแก้ปัญหาระยะยาว เพราะปัญหาน้ำท่วม ไม่ว่าปี 2553 หรือปีไหนๆ ก็มาจากสาเหตุเดียวกัน คือ การขวางเส้นทางน้ำ ฉะนั้นจึงต้องรื้อผังเมืองมานั่งวิเคราะห์ว่า พื้นที่ตรงไหนเป็นทางน้ำผ่าน ต้องมีการบริหารจัดการใหม่ทั้งหมด" นายทวิสันต์กล่าว สิ่งที่พูดถึงมากที่สุดคือโครงการ "โคราชโมเดล" ที่เกิดขึ้นปี 2554 หลังเกิดวิกฤติน้ำท่วมใหญ่ ด้วยงบประมาณกว่า 270 ล้านบาท สำหรับสร้างโครงการแก้มลิง และประตูระบายน้ำ แก้ไขปัญหาน้ำท่วมแบบยั่งยืน โดยได้ดำเนินการไปแล้ว ทั้งขุดลอกแก้มลิงขนาดใหญ่ 2 จุด ที่บึงพุดซา เหนือตัวเมืองโคราช สามารถกักเก็บน้ำได้ประมาณ 5 ล้านลูกบาศก์เมตร และบริเวณกุดปลาทอง ภายในค่ายสุรนารี เก็บน้ำได้ประมาณ 2 ล้านลูกบาศก์เมตร พร้อมกับสร้างโครงการประตูผันน้ำละลมหม้อ ต.โคกกรวด อ.เมือง จ.นครราชสีมา เพื่อแยกน้ำจากลำตะคอง ออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ผันไปแก้มลิงบึงพุดซา ผันไปสู่ลำเชียงไกร และผันน้ำเข้าตัวเมืองนครราชสีมา ทั้งหมดสร้างเสร็จสิ้นเมื่อต้นปี 2555 เมื่อเกิดน้ำท่วมเมืองเมื่อวันเข้าพรรษาที่ผ่านมา โครงการโคราชโมเดล ถูกนำมาพูดถึงว่า แก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้จริงหรือไม่ "วินัย บัวประดิษฐ์" ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา วิเคราะห์ว่า เหตุการณ์น้ำท่วมเกิดจากระบายน้ำไม่ทัน ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมขังหลายจุด เช่น สามแยกหัวทะเล ตลาดเซฟวัน ถนนราชดำเนิน ถนนเส้นราชสีมา-โชคชัย ถนนสุรนารายณ์ และเมืองบัวใหญ่ทั้งเมือง ไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดของโครงการ “โคราชโมเดล” เพราะไม่เกี่ยวข้องกับเขื่อนขนาดใหญ่บริหารจัดการน้ำผิดพลาด และไม่เกี่ยวกับประตูระบายน้ำทำงานไร้ประสิทธิภาพ แต่เกิดจากท่อน้ำในตัวเมืองระบายไม่ทันเท่านั้น ตัวอย่างหนึ่งของการก่อสร้างขวางเส้นทางน้ำ "ไพบูลย์ พฤกษ์พนาเวศ" นายกเทศมนตรีตำบลหนองไผ่ล้อม บอกว่า สาเหตุของน้ำท่วมถนนร่วมเริงไชย ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการช่วยรบที่ 2 ค่ายสุรนารี ที่มีสภาพสูงชัน เมื่อเกิดฝนตกลงมา น้ำทั้งหมดจะไหลมาลงท่อระบายน้ำของเทศบาลตำบลหนองไผ่ล้อม แต่เมื่อปี 2555 ได้มีการสร้างถนนร่วมเริงไชยขึ้น เพื่อเป็นเส้นทางเลี่ยงเมืองไปสู่ถนนสาย 304 (ปักธงชัย-กบินทร์บุรี) จึงสร้างกำแพงสูงประมาณ 2.5 เมตร ยาวกว่า 600 เมตร กั้นระหว่าง บชร.2 กับชุมชนหนองไผ่ล้อม ซึ่งขวางทางน้ำจนกลายเป็นเขื่อนขนาดย่อมๆ ต้องขอกำลังทหารมาช่วยทุบกำแพงยาวกว่า 50 เมตร เพื่อระบายน้ำออกป้องกันกำแพงพังลงมาสร้างความเสียหายให้แก่ชุมชนโดยรอบ เป็นการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าไปได้ในระดับหนึ่ง "โคราช" นับเป็นตัวอย่างหนึ่งของเหยื่อภัยธรรมชาติ ที่เชื่อว่าต้นตอสำคัญมาจากน้ำมือของมนุษย์ เนื่องจากความเจริญที่ขยายตัวแบบก้าวกระโดด การก้าวล้ำเข้าสู่ชุมชนของภาคอุตสาหกรรมโดยไม่สนใจผังเมืองเดิม สุดท้ายเมื่อ "น้ำ" ไม่มีทางไป มันก็ย้อนกลับมาทำลายทุกสิ่งที่ขวางหน้ ขอบคุณ http://www.komchadluek.net/detail/20130727/164404/ท่วมซ้ำสะเทือนโคราชโมเดลแก้ตรงจุดหรือไม่.html#.UfRxmjcrWyg คมชัดลึกออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 27 ก.ค.56

จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย

  1. เพิ่ม
  2. เพิ่ม ลบ
  3. เพิ่ม ลบ
  4. เพิ่ม ลบ
  5. เพิ่ม ลบ
  6. เพิ่ม ลบ
  7. เพิ่ม ลบ
  8. เพิ่ม ลบ
  9. เพิ่ม ลบ
  10. ลบ
เลือกการตกแต่งที่ต้องการ

ตกลง ยกเลิก

รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)

Waiting...