กทม.-ภาคีเครือข่ายทำคู่มือเตรียมพร้อมป้องกันภัยพิบัติทุกรูปแบบ
กรุงเทพฯ 26 ก.ค.-กทม.ร่วมกับมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย จัดทำคู่มือรับภัยพิบัติทุกรูปแบบในเมืองหลวง พร้อมประสานทุกหน่วยงานให้เข้าใจตรงกัน ทั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของเมืองใหญ่ในอาเซียน ที่มีคู่มือแผนรับมือภัยพิบัติ
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน สำหรับการบริหารจัดการภัยพิบัติในการรักษาพระนคร” จัดโดยมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มหาวิทยาลัยในสังกัด กทม. เพื่อหาแนวทางในการสร้างคู่มือปฏิบัติการเกี่ยวกับภัยพิบัติต่างๆ รวมถึงเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิชาการและประสบการณ์ ระหว่างผู้เชี่ยวชาญของศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) กับผู้ปฏิบัติงานในการรับมือภัยพิบัติของ กทม.
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า กทม. มีแผนปฏิบัติการรับมือจากภัยพิบัติอยู่แล้ว แต่การจัดทำคู่มือในครั้งนี้ หน่วยงานในสังกัด กทม.จะทบทวนสถานการณ์ในสภาวะปัจจุบันและอนาคต เพื่อกำหนดแผนรับมือภัยพิบัติทุกรูปแบบรองรับสถานการณ์ตามลักษณะความเสี่ยง ของความรุนแรงในทุกระดับ โดยเฉพาะช่วงก่อนเกิดภัยพิบัติ ขณะเกิดภัยพิบัติ และภายหลังจากภัยพิบัติ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้การจัดทำคู่มือจะใช้เวลา 6 เดือน ผลที่ได้รับคือจะมีแผนงานของหน่วยงานกทม. ที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติทั้ง 12 หน่วยงาน รวมเป็น 12 แผนงานที่ชัดเจน
นอกจากจะจัดทำคู่มือแล้ว กทม.จะประสานและร่วมงานกับหน่วยงานอื่น ทั้งกองทัพ ตำรวจและจังหวัดปริมณฑล เพื่อให้การรับมือภัยพิบัติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและแนวทางเดียวกัน เพราะอุปกรณ์และบุคลากรของ กทม.อาจจะไม่เพียงพอ และเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2554 ก็เป็นบทเรียนสำคัญที่สร้างความเข้าใจไม่ตรงกันกับจังหวัดใกล้เคียง จึงต้องทำให้เรื่องนี้กลายเป็นรูปธรรมให้ชัดเจน
ด้านนายพิจิตต รัตตกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กล่าวว่าคู่มือที่จัดทำขึ้นจะระบุว่าทั้ง 12 หน่วยงาน มีหน้าที่ต้องทำอะไรที่ไหนใครทำก่อนหลัง และจะเผยแพร่แนวทางการทำงานให้ประชาชนทราบ ถือเป็นการเตรียมพร้อมรับมือปัญหาภัยพิบัติในพื้นที่ กทม. ทั้งอุทกภัย วาตภัย ภัยแล้ง แผ่นดินไหว พายุลมแรงและภัยจากการกระทำของมนุษย์ เช่น อัคคีภัย อุบัติภัยจากการรั่วไหลของสารเคมี เป็นต้น คู่มือดังกล่าวจะมีแนวทางการประสานของกับหน่วยงานต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพทุกด้าน และระบบทั้งระบบเตือนภัย ระบบประเมินความเสี่ยง ระบบปฏิบัติการ ณ ภาวะวิกฤติ ระบบสั่งการและประสานงาน หากจัดทำเสร็จแล้วจะถือเป็นครั้งแรกของเมืองใหญ่ในอาเซียนที่มีคู่มือแผนรับ มือภัยพิบัติ ทั้งนี้ในระยะ 6 เดือน จากนี้ไปจะมีการประชุมกลุ่มย่อย 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มประเมินความเสี่ยง 2.กลุ่มจัดทำแผนและคู่มือปฏิบัติการ และ 3.กลุ่มประสานงานและความร่วมมือ จากนั้นจะสรุปและจัดทำเป็นคู่มือให้หน่วยงาน กทม.นำไปปฏิบัติ
ขอบคุณ … http://www.mcot.net/site/content?id=51f24542150ba0f052000072#.UfMtWjcrWyg
สำนักข่าวไทยออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ก.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
กรุงเทพฯ 26 ก.ค.-กทม.ร่วมกับมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย จัดทำคู่มือรับภัยพิบัติทุกรูปแบบในเมืองหลวง พร้อมประสานทุกหน่วยงานให้เข้าใจตรงกัน ทั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกของเมืองใหญ่ในอาเซียน ที่มีคู่มือแผนรับมือภัยพิบัติ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ “การจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน สำหรับการบริหารจัดการภัยพิบัติในการรักษาพระนคร” จัดโดยมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช มหาวิทยาลัยในสังกัด กทม. เพื่อหาแนวทางในการสร้างคู่มือปฏิบัติการเกี่ยวกับภัยพิบัติต่างๆ รวมถึงเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิชาการและประสบการณ์ ระหว่างผู้เชี่ยวชาญของศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) กับผู้ปฏิบัติงานในการรับมือภัยพิบัติของ กทม. ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า กทม. มีแผนปฏิบัติการรับมือจากภัยพิบัติอยู่แล้ว แต่การจัดทำคู่มือในครั้งนี้ หน่วยงานในสังกัด กทม.จะทบทวนสถานการณ์ในสภาวะปัจจุบันและอนาคต เพื่อกำหนดแผนรับมือภัยพิบัติทุกรูปแบบรองรับสถานการณ์ตามลักษณะความเสี่ยง ของความรุนแรงในทุกระดับ โดยเฉพาะช่วงก่อนเกิดภัยพิบัติ ขณะเกิดภัยพิบัติ และภายหลังจากภัยพิบัติ เพื่อให้สามารถบริหารจัดการภัยพิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้การจัดทำคู่มือจะใช้เวลา 6 เดือน ผลที่ได้รับคือจะมีแผนงานของหน่วยงานกทม. ที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติทั้ง 12 หน่วยงาน รวมเป็น 12 แผนงานที่ชัดเจน นอกจากจะจัดทำคู่มือแล้ว กทม.จะประสานและร่วมงานกับหน่วยงานอื่น ทั้งกองทัพ ตำรวจและจังหวัดปริมณฑล เพื่อให้การรับมือภัยพิบัติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและแนวทางเดียวกัน เพราะอุปกรณ์และบุคลากรของ กทม.อาจจะไม่เพียงพอ และเหตุการณ์น้ำท่วมปี 2554 ก็เป็นบทเรียนสำคัญที่สร้างความเข้าใจไม่ตรงกันกับจังหวัดใกล้เคียง จึงต้องทำให้เรื่องนี้กลายเป็นรูปธรรมให้ชัดเจน ด้านนายพิจิตต รัตตกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กล่าวว่าคู่มือที่จัดทำขึ้นจะระบุว่าทั้ง 12 หน่วยงาน มีหน้าที่ต้องทำอะไรที่ไหนใครทำก่อนหลัง และจะเผยแพร่แนวทางการทำงานให้ประชาชนทราบ ถือเป็นการเตรียมพร้อมรับมือปัญหาภัยพิบัติในพื้นที่ กทม. ทั้งอุทกภัย วาตภัย ภัยแล้ง แผ่นดินไหว พายุลมแรงและภัยจากการกระทำของมนุษย์ เช่น อัคคีภัย อุบัติภัยจากการรั่วไหลของสารเคมี เป็นต้น คู่มือดังกล่าวจะมีแนวทางการประสานของกับหน่วยงานต่างๆ ให้เกิดประสิทธิภาพทุกด้าน และระบบทั้งระบบเตือนภัย ระบบประเมินความเสี่ยง ระบบปฏิบัติการ ณ ภาวะวิกฤติ ระบบสั่งการและประสานงาน หากจัดทำเสร็จแล้วจะถือเป็นครั้งแรกของเมืองใหญ่ในอาเซียนที่มีคู่มือแผนรับ มือภัยพิบัติ ทั้งนี้ในระยะ 6 เดือน จากนี้ไปจะมีการประชุมกลุ่มย่อย 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มประเมินความเสี่ยง 2.กลุ่มจัดทำแผนและคู่มือปฏิบัติการ และ 3.กลุ่มประสานงานและความร่วมมือ จากนั้นจะสรุปและจัดทำเป็นคู่มือให้หน่วยงาน กทม.นำไปปฏิบัติ ขอบคุณ … http://www.mcot.net/site/content?id=51f24542150ba0f052000072#.UfMtWjcrWyg สำนักข่าวไทยออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 26 ก.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)