ศูนย์เตือนภัยฯ ชวนโหลดแอพภัยพิบัติ ศึกษาภูมิอากาศก่อนออกจากบ้าน
ศูนย์เตือนภัยฯ แนะประชาชนศึกษาเส้นทางก่อนออกเดินทางในวันหยุดยาว ชี้อุบัติเหตุมักเกิดกับคนนอกพื้นที่ แนะนำดาวน์โหลดแอพเตือนภัยพิบัติ “NDWC และWater4Thai” เพื่อศึกษาสภาพภูมิศาสตร์ก่อนออกจากบ้าน โอดงบปี 57 โดนตัดกว่า 85% ไม่พอเสริมความรู้ประชาชนรับมือภัยธรรมชาติ
น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลวันหยุดยาวหรือช่วงวันหยุดพักผ่อนของใครหลาย ๆ คน ศูนย์เตือนภัยฯ อยากเตือนนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปยังจังหวัดต่าง ๆ ควรศึกษาเส้นทางให้รอบคอบก่อนเดินทาง เนื่อง จากขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน ถึงแม้จะไม่รุนแรงเหมือนก่อนก็ตาม บางเส้นทางอาจต้องเจอกับดินโคลนที่ไหลมากับน้ำได้ จึงไม่ควรขับรถหรือใช้เส้นทางผ่านทางไหลของน้ำโดยเด็ดขาด
สำหรับเส้นทางที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษขณะนี้คือ พื้นที่ภาคเหนือตอนบน ภาคใต้ตั้งแต่ตอนบนไปถึงตะวันออกเฉียงใต้ฝั่งอันดามัน ในขณะที่ภาคตะวันออก แหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ โดยเฉพาะอุทยานการท่องเที่ยวช่วงนี้ก็ควรระมัดระวังด้วยเช่นกัน และควรเชื่อฟังคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ของอุทยานอย่างเคร่งครัด
น.อ.สมศักดิ์ ระบุว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวไกล อินเทอร์เน็ตไปได้ทุกพื้นที่ ประชาชนมักใช้เวลาว่างหรือหาวันพักผ่อนตามความชื่นชอบของตนเอง ทั้งทะเล น้ำตก ภูเขา ถือเป็นการท่องเที่ยวที่ต้องเดินทางและต้องเสี่ยงต่อภัยที่อาจเกิดขึ้นโดย ไม่รู้ตัว
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ศูนย์เตือนภัยฯ มีแอพเตือนภัยพิบัติ คือ “NDWC” เป็นแอพของศูนย์เตือนภัยฯ และแอพ “Water4Thai” ของสำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทก ภัยแห่งชาติ (สบอช.) โดยประชาชนสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นเพื่อติดตามข่าวสารและศึกษาสภาพภูมิ อากาศ สภาพน้ำในเขื่อนกักน้ำและทางไหลของน้ำทั่วประเทศ เป็นต้น
“ปัญหาหลัก ๆ ที่ผ่านมาของการสูญเสียจะมาจากการไม่ชำนาญทางหรือพื้นที่ของนักท่องเที่ยว หรือผู้เดินทาง จะเห็นได้ว่าคนในพื้นที่จะไม่ค่อยพบกับปัญหาอุบัติเหตุจากการเดินทางหรือ ท่องเที่ยงในจังหวัดของตน เพราะมีความชำนาญในเส้นทางที่คุ้นเคยอยู่แล้ว และช่วงนี้เป็นช่วงหน้าฝนไม่อยากให้คิดแค่เพียงว่าแค่ฝนตกไม่มีประเด็นอะไร แต่จริง ๆ แล้วอุบัติเหตุมักเกิดขึ้นตอนฝนตก ดังนั้น หากหยุดการเดินทางได้ก็ควรหยุดเมื่อฝนหยุดแล้วค่อยเดินทางต่อ”
ทั้งนี้ ปัญหาภัยพิบัติมักเกิดขึ้นจากน้ำมือของมนุษย์ทั้งสิ้น อาทิ การบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อการเกษตร สร้างอาคารบ้านเรือนในพื้นที่เสี่ยงภัย และยังรวมไปถึงการพัฒนาเมือง เป็นต้น ดังนั้น หน้าที่หลักของศูนย์เตือนภัยฯ คือ สร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชนในทุกพื้นที่ที่เสี่ยงกับการเกิดภัยพิบัติ โดยเฉพาะหมู่บ้านที่อยู่ในเขต 25 ลุ่มแม่น้ำเสี่ยงภัย
สำหรับการดำเนินงานครึ่งปีหลังนี้ศูนย์เตือนภัยฯ จะยังคงลงพื้นที่เพื่อสร้างองค์ความรู้ทั่วภูมิภาคให้กับชาวบ้านในเขต พื้นที่เสี่ยงภัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ ถือเป็นโครงการต่อเนื่องที่ทำทุกปีและต้องใช้งบประมาณที่สูง แต่ปีงบ ประมาณ 2557 ศูนย์เตือนภัยฯ โดนตัดงบกว่า 85% เหลือราว 170 กว่าล้านบาท หายไปประมาณ 400-500 ล้านบาท ซึ่งความจริงแล้วงบประมาณควรเพิ่มขึ้นทุกปีด้วยซ้ำ
นอกจากศูนย์เตือนภัยฯ ต้องใช้งบประมาณในการสร้างองค์ความรู้ทั่วภูมิภาคแล้วยังต้องใช้งบประมาณใน การบำรุงรักษา (ค่าเสื่อมอุปกรณ์) อาทิ หอเตือนภัยกว่า 400 จุด แต่ขณะนี้มีมากกว่า 1,000 จุด เนื่องจากท้องถิ่นโอนมาให้ศูนย์เตือนภัยฯ เป็นผู้ดูแล ที่ปกติใช้งบประมาณราว 50 ล้านบาท แต่ปีนี้เหลือเพียง 13 ล้านบาทเท่านั้น
งบประมาณที่ตัดไปเป็นงบประมาณที่ศูนย์เตือนภัยฯ ต้องใช้สร้างองค์ความรู้ให้แก่ประชาชน ถือเป็นหน้าที่หลักที่สำคัญ เมื่อประชาชนไม่รับทราบข้อมูลขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยพิบัติก็จะ อยู่ด้วยความลำบาก…โดย กัญณัฏฐ์ บุตรดี
ขอบคุณ … http://www.dailynews.co.th/technology/220743 (ขนาดไฟล์: 167)
เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ก.ค.56
แสดงความคิดเห็น
รายละเอียดกระทู้
แอพภัยพิบัติศูนย์เตือนภัยฯ แนะประชาชนศึกษาเส้นทางก่อนออกเดินทางในวันหยุดยาว ชี้อุบัติเหตุมักเกิดกับคนนอกพื้นที่ แนะนำดาวน์โหลดแอพเตือนภัยพิบัติ “NDWC และWater4Thai” เพื่อศึกษาสภาพภูมิศาสตร์ก่อนออกจากบ้าน โอดงบปี 57 โดนตัดกว่า 85% ไม่พอเสริมความรู้ประชาชนรับมือภัยธรรมชาติ น.อ.สมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ในช่วงเทศกาลวันหยุดยาวหรือช่วงวันหยุดพักผ่อนของใครหลาย ๆ คน ศูนย์เตือนภัยฯ อยากเตือนนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปยังจังหวัดต่าง ๆ ควรศึกษาเส้นทางให้รอบคอบก่อนเดินทาง เนื่อง จากขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดผ่าน ถึงแม้จะไม่รุนแรงเหมือนก่อนก็ตาม บางเส้นทางอาจต้องเจอกับดินโคลนที่ไหลมากับน้ำได้ จึงไม่ควรขับรถหรือใช้เส้นทางผ่านทางไหลของน้ำโดยเด็ดขาด สำหรับเส้นทางที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษขณะนี้คือ พื้นที่ภาคเหนือตอนบน ภาคใต้ตั้งแต่ตอนบนไปถึงตะวันออกเฉียงใต้ฝั่งอันดามัน ในขณะที่ภาคตะวันออก แหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ โดยเฉพาะอุทยานการท่องเที่ยวช่วงนี้ก็ควรระมัดระวังด้วยเช่นกัน และควรเชื่อฟังคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ของอุทยานอย่างเคร่งครัด แอพภัยพิบัติน.อ.สมศักดิ์ ระบุว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวไกล อินเทอร์เน็ตไปได้ทุกพื้นที่ ประชาชนมักใช้เวลาว่างหรือหาวันพักผ่อนตามความชื่นชอบของตนเอง ทั้งทะเล น้ำตก ภูเขา ถือเป็นการท่องเที่ยวที่ต้องเดินทางและต้องเสี่ยงต่อภัยที่อาจเกิดขึ้นโดย ไม่รู้ตัว อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ศูนย์เตือนภัยฯ มีแอพเตือนภัยพิบัติ คือ “NDWC” เป็นแอพของศูนย์เตือนภัยฯ และแอพ “Water4Thai” ของสำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทก ภัยแห่งชาติ (สบอช.) โดยประชาชนสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นเพื่อติดตามข่าวสารและศึกษาสภาพภูมิ อากาศ สภาพน้ำในเขื่อนกักน้ำและทางไหลของน้ำทั่วประเทศ เป็นต้น “ปัญหาหลัก ๆ ที่ผ่านมาของการสูญเสียจะมาจากการไม่ชำนาญทางหรือพื้นที่ของนักท่องเที่ยว หรือผู้เดินทาง จะเห็นได้ว่าคนในพื้นที่จะไม่ค่อยพบกับปัญหาอุบัติเหตุจากการเดินทางหรือ ท่องเที่ยงในจังหวัดของตน เพราะมีความชำนาญในเส้นทางที่คุ้นเคยอยู่แล้ว และช่วงนี้เป็นช่วงหน้าฝนไม่อยากให้คิดแค่เพียงว่าแค่ฝนตกไม่มีประเด็นอะไร แต่จริง ๆ แล้วอุบัติเหตุมักเกิดขึ้นตอนฝนตก ดังนั้น หากหยุดการเดินทางได้ก็ควรหยุดเมื่อฝนหยุดแล้วค่อยเดินทางต่อ” ทั้งนี้ ปัญหาภัยพิบัติมักเกิดขึ้นจากน้ำมือของมนุษย์ทั้งสิ้น อาทิ การบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อการเกษตร สร้างอาคารบ้านเรือนในพื้นที่เสี่ยงภัย และยังรวมไปถึงการพัฒนาเมือง เป็นต้น ดังนั้น หน้าที่หลักของศูนย์เตือนภัยฯ คือ สร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชนในทุกพื้นที่ที่เสี่ยงกับการเกิดภัยพิบัติ โดยเฉพาะหมู่บ้านที่อยู่ในเขต 25 ลุ่มแม่น้ำเสี่ยงภัย สำหรับการดำเนินงานครึ่งปีหลังนี้ศูนย์เตือนภัยฯ จะยังคงลงพื้นที่เพื่อสร้างองค์ความรู้ทั่วภูมิภาคให้กับชาวบ้านในเขต พื้นที่เสี่ยงภัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ ถือเป็นโครงการต่อเนื่องที่ทำทุกปีและต้องใช้งบประมาณที่สูง แต่ปีงบ ประมาณ 2557 ศูนย์เตือนภัยฯ โดนตัดงบกว่า 85% เหลือราว 170 กว่าล้านบาท หายไปประมาณ 400-500 ล้านบาท ซึ่งความจริงแล้วงบประมาณควรเพิ่มขึ้นทุกปีด้วยซ้ำ นอกจากศูนย์เตือนภัยฯ ต้องใช้งบประมาณในการสร้างองค์ความรู้ทั่วภูมิภาคแล้วยังต้องใช้งบประมาณใน การบำรุงรักษา (ค่าเสื่อมอุปกรณ์) อาทิ หอเตือนภัยกว่า 400 จุด แต่ขณะนี้มีมากกว่า 1,000 จุด เนื่องจากท้องถิ่นโอนมาให้ศูนย์เตือนภัยฯ เป็นผู้ดูแล ที่ปกติใช้งบประมาณราว 50 ล้านบาท แต่ปีนี้เหลือเพียง 13 ล้านบาทเท่านั้น งบประมาณที่ตัดไปเป็นงบประมาณที่ศูนย์เตือนภัยฯ ต้องใช้สร้างองค์ความรู้ให้แก่ประชาชน ถือเป็นหน้าที่หลักที่สำคัญ เมื่อประชาชนไม่รับทราบข้อมูลขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยพิบัติก็จะ อยู่ด้วยความลำบาก…โดย กัญณัฏฐ์ บุตรดี ขอบคุณ … http://www.dailynews.co.th/technology/220743 เดลินิวส์ออนไลน์/มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย 23 ก.ค.56
จัดฟอร์แม็ตข้อความและมัลติมีเดีย
รายละเอียดการใส่ ลิงค์ รูปภาพ วิดีโอ เพลง (Soundcloud)